Monday, 1 July 2024
ระนอง_ชุมพร

ดีเดย์ 16-18 ส.ค.ประชุมรับฟังความคิดเห็น Land Bridge ครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอโครงการ พัฒนาท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล ‘ระนอง-ชุมพร’

(5 ส.ค.66) เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ภาพและข้อความ ระบุว่า...

16-18 สิงหาคม 66 นี้!!! พื้นที่ระนอง และชุมพร เชิญผู้ได้รับผลกระทบ และคนพื้นที่เข้าร่วม เพื่อร่วมลดผลกระทบจากโครงการ พัฒนาท่าเรือ 2 ฝั่งทะเล ‘ระนอง-ชุมพร’ หรือ ‘Land Bridge’ ดังนี้...

ลงทะเบียนเข้าร่วม
*** ท่าเรือระนอง
- วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องราชาวดี ชั้น 3 เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 

- วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

ลิงก์ลงทะเบียน : https://forms.gle/48VhBTPmmsH9Y6J69

*** ท่าเรือชุมพร
- ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องอวยชัยแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวยชัยแกรนด์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

โดยสามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมล่วงหน้า จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้ที่ : https://forms.gle/BUh6pwDwmazQtqpHA

***รายละเอียดโครงการ
ในโครงการ Land Bridge เป็นหนึ่งโครงการที่ถูกพูดถึงมาตลอด และถูกเปรียบเทียบกับโครงการคลองไทย (ซึ่งคงไม่เกิดแล้ว) 

ซึ่งสุดท้ายเลือกเป็นรูปแบบสะพานบก (Land Bridge) เพื่อเป็นการเชื่อม 2 ฝั่งทะเล อ่าวไทย-อันดามัน

โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ 2 ฝั่งทะเล ซึ่งจากการเปรียบเทียบในการศึกษาเบื้องต้น มีการเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ...

- ฝั่งอันดามัน ที่ แหลมอ่าวอ่าง
- ฝั่งอ่าวไทย ที่ แหลมริ่ว

นอกจากนั้นก็จะมีการทำสาธารณูปโภค เชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งต่อ

โดยในเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระยอง นี้จะมีส่วนประกอบที่มากกว่าถนนธรรมดา ซึ่งรวมการขนส่งทุกรูปแบบมารวมกันได้แก่...

- Motorway 
- ทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร (เชื่อมต่อรถไฟทางคู่ในประเทศ)
- ทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร (เส้นทางพิเศษเพื่อเชื่อมโยงระหว่าง 2 ท่าเรือ รองรับตู้คอนเทนเนอร์ 2 ชั้น ***ในระยะยาว)
- ท่อส่งน้ำมัน และก๊าซ
- ถนนเลียบเลียบทางรถไฟ (local road)

ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องเผื่อเขตทาง 160 เมตร เพื่อรองรับในอนาคตทั้งหมด แต่ในเฟสแรกอาจจะมีแค่บางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการจริง

โดยเปรียบเทียบเป็น 3 ทางเลือก ได้แก่...
1.) เส้นทางตัดตรง จากท่าเรือแหลมริ่ว-ท่าเรืออ่าวอ่าง มีระยะทาง 80 กิโลเมตร
2.) เส้นทางปรับตามภูมิประเทศ ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเมืองระนอง และ อ้อมลงทางทิศใต้ เข้าสู่ท่าเรืออ่าวอ่าง มีระยะทาง 89 กิโลเมตร
3.) เส้นทางตามเส้นทางที่ 2 แต่มีการตัดข้ามทะเลก่อนเข้าท่าเรืออ่าวอ่าง ตามเส้นทางที่ 1 มีระยะทาง 88.7 กิโลเมตร

ซึ่งจากการเปรียบเทียบ ทั้ง 3 เส้นทาง เส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด

ใครที่สนใจสามารถตามโครงการได้จากเว็บไซต์: 
http://landbridgethai.com

คลิปรายละเอียดโครงการ : https://youtu.be/v6smSg5TtFs

อยากจะฝากว่า ถ้ามีความคิดเห็นอะไร คัดค้านอะไรให้รีบพูดครับ จะได้แก้ หรือมองเห็นถึงปัญหาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ว่าตอนสร้างมาค้านเหมือนบางที่…

อุปสรรค Landbridge 'ชุมพร-ระนอง' สารพันปัญหาจากทีมคัดค้าน สุดท้าย ECRL เชื่อม 2 ฝั่งทะเลของมาเลย์ ปาดหน้า เปิดปี 2570

(25 มิ.ย. 67) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ เหตุขัดแย้งเกี่ยวกับโครงการ แลนด์บริดจ์ ช่วง ชุมพร-ระนอง โดยมีเนื้อความระบุว่า…

“ถ้า #Landbridge ชุมพร-ระนอง มัวแต่ทะเลาะกันก็เลิกเถอะ รอไปใช้ #ECRL ของมาเลย์ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เปิด 2570”

“ส่วนไทย สร้างไม่ได้ กลัวผลกระทบสิ่งแวดล้อม กลัวคนต่างถิ่น สารพัดปัญหา สุดท้ายข้างบ้านเสร็จก่อน รอไปใช้นะ!!”

“วันนี้ผมมาขอระบายเรื่องแผนการพัฒนา Landbridge ช่วง ชุมพร-ระนอง หน่อยครับ เพราะผ่านมากว่า 2 ปี ที่เริ่มศึกษา หาข้อมูล และหาความเป็นไปได้ จนมาถึงการทดสอบความสนใจของเอกชน ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาเส้นทาง”

“แต่!! ที่ผมได้ยินมา ทั้งในข่าว และมีคนในพื้นที่เล่าให้ฟังว่า มีการตั้งทีมคัดค้านเพื่อไม่ให้โครงการเกิด โดยยกสารพัดปัญหา สิ่งแวดล้อม ไม่คุ้มค่า เรือใช้เวลานาน ไม่มีสายเรือมาใช้ต่าง ๆ นา ๆ ตั้งมอบมาคัดค้าน ให้โครงการมีความมั่นคงต่ำ และสุดท้ายเอกชนก็จะไม่สนใจเข้ามาร่วม”

“แต่คุณรู้รึเปล่า ระหว่างที่เรามัวแต่ทะเลาะกัน มาเลย์ เขาทำนำหน้าเราไปแล้วกับโครงการ ECRL (East Coast Rail Link) เชื่อม 2 มหาสมุทร ระหว่างท่าเรือ Port Klang ฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กับ Kuantan Port ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมันก็คือ Landbridge ที่เราพูดถึงกันอยู่เนี่ย!!”

“ซึ่งมาถึงตอนนี้แล้ว ถ้าโครงการเรายังไม่ได้ข้อสรุป และยังคัดค้านเตะขากันไปมาอยู่แบบนี้ก็ “เลิกเถอะครับ” เสียเวลา เปลืองเงิน เอาไปใช้กับ EEC เถอะ เพราะถ้าช้ากว่านี้เราก็ไม่ทัน มาเลย์แล้ว”

>> เผื่อใครยังไม่รู้จัก Landbridge พร้อมผลการศึกษาเบื้องต้น รวมทั้งโครงการ ตามลิงก์ใน
https://www.facebook.com/share/VhDoED4eksUG13mz/?mibextid=WC7FNe

>> รายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน รายการ อัปเดตประเทศไทย EP.6
https://fb.watch/opmDXJfSvl/

>> รายละเอียด MR8 Landbridge ชุมพร-ระนอง ก่อนหน้านี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1364108297360979&id=491766874595130

>> สรุปตำแหน่งท่าเรือน้ำลึก และเส้นทาง MR8 เชื่อม 2 ฝั่งทะเล
https://www.facebook.com/share/mXvppD6gf4wVN6Kg/?mibextid=WC7FNe

“มาดูรายละเอียด โครงการ ECRL คู่แข่งของ Landbridge ของเรากันก่อน”

“ECRL เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง รัฐบาล จีน (75%) และมาเลย์ (25%) โดยเป็นรถไฟเชื่อมระหว่าง 2 ฝั่งทะเล เพื่อมาแก้ปัญหาช่องแคบมะละกา ที่หนาแน่นมาก และนำสินค้าเข้าแปรรูปในประเทศก่อนส่งออกทั้ง 2 ฝั่งทะเล”

รายละเอียดเส้นทาง ระยะทางรวม 665 กิโลเมตร
- ยกระดับ 138 กิโลเมตร
- อุโมงค์ 53 กิโลเมตร
- ระดับดิน 404 กิโลเมตร
- สายทางแยก 70 กิโลเมตร

“มาตรฐานการออกแบบรถไฟ
- รถไฟราง Standard Gauge (1.435 เมตร)
- ทำความเร็วรถโดยสารสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เป็นทางคู่ ตลอดเส้นทาง
- ติดระบบจ่ายไฟฟ้า (OCS) ตลอดเส้นทาง”

“ซึ่งล่าสุด Update ความคืบหน้า เดือนมิถุนายน คืบหน้าแล้ว 65% คาดกว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2571!!”

>> ลิงก์รายละเอียดโครงการ
https://www.mida.gov.my/wp-content/uploads/2024/03/East-Coast-Rail-Link-ECRL-–-Value-Adding-Disruptor-for-National-Logistics-by-MRL_compressed.pdf?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2MDChMP1s0Db4zDglPjogg5c_TX9EVDJmMMi5zSN1JVzb5nf_1eJJugeQ_aem_CQvxFc87wf9Al93rMldtyA

>> VDO ความคืบหน้าโครงการ เดือนมิถุนายน 67
https://youtu.be/hNCcl6Po3d8?si=YPGGOuj0xVIlE3r9

“ซึ่งอีกหนึ่งความน่าสนใจของเล่นทางนี้ จะทำสายแยกมาติดกับทางรถไฟสายใต้ ของไทย (สถานีสุไหงโกลก) ซึ่งอนาคตอาจจะมีการเจรจารื้อฟื้นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศได้
แต่ในอีกมุมหนึ่ง สินค้าไทยเราต้องไปอาศัยท่าเรือมาเลย์ ในการขนส่งมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่สะดวกมากขึ้นในการรับ-ส่งสินค้าเข้าสู่ โครงการ ECRL ได้โดยตรง”

“สุดท้ายผมขอฝากถึงผู้เกี่ยวข้อง ช่วยตัดสินใจให้ชัดว่าจะเอายังไง จะทำไม่ทำ เพราะถ้าช้ากว่านี้ มันก็สายเกินไปแล้ว”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top