Monday, 1 July 2024
จังหวัดแพร่

'พิธา' เปิดตัว 'ทนายเคน' ว่าที่ผู้สมัครส.ส. จ.แพร่ ลั่น!! พร้อมผลักดัน 'สุราก้าวหน้า-ทวงคืนผืนป่า' ให้ปชช.

'พิธา' นำทีมเยือนแพร่สร้างการเมืองแห่งความหวังอีกครั้ง ส่ง 'ทนายเคน ติรานนท์' ทนายอาสา ฉายา 'ทนายคนจน' ที่ทำงานช่วยเหลือประชาชนมายาวนานเป็นว่าที่ผู้สมัครจังหวัดแพร่ มอบหมายดันแพร่เป็น 'เมืองหลวงสุราก้าวหน้า - ทวงคืนผืนป่าให้ประชาชน - ภาษีสำหรับดูแลป่า'

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เดินทางมาที่แพร่ครั้งนี้มีความฝังใจ ไม่ใช่เพราะลาบอร่อย เหล้ามีรสชาติดี หรือพี่น้องประชาชนกว่า 127,711 คน หรือครึ่งจังหวัด ให้ความไว้วางใจเลือกเราในสมัยที่เป็นพรรคอนาคตใหม่ แต่สิ่งที่ฝังใจมากสุดนั้นคือ จ.แพร่ คือที่สุดท้ายที่เรามาก่อนที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ เพราะตอนนั้นเราอยากทำ 3 เรื่องสำคัญให้เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่ คือ ทำให้ จ.แพร่เป็นเมืองหลวงของสุราก้าวหน้า การมีเบี้ยดูแลป่าสำหรับชาวแพร่ในฐานะเป็นผู้ดูแลทำให้มีพื้นที่ป่าไม้เป็นอันดับสองของประเทศเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาของคนแพร่ 

“เราเชื่อว่าถ้าสิ่งเหล่านี้สามารถปลดล็อกได้จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพี่น้องชาวแพร่ได้อย่างมหาศาล และถึงวันนั้น ลูกหลานคนแพร่ไม่ต้องไปหางานในกรุงเทพฯ หรือต่างประเทศ แต่ทุกคนจะกลับมาทำงานอยู่ที่บ้านเกิดอย่างภาคภูมิใจเพราะมีสินค้าที่ดีที่สุดที่ส่งขายไปทั่วโลก”

"สิ่งที่เราอยากมุ่งมั่นอยากทำให้เกิดขึ้นใน จ.แพร่ นั้นยังคงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุราก้าวหน้า เบี้ยดูแลป่า และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นี่ยังคงเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นจะทำให้กับชาวแพร่ รวมถึงปัญหาเรื่องผลกระทบจากเหมืองแร่ที่พี่น้องชาวแพร่ประสบอยู่ก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าให้ได้รับการแก้ไข เรายังคงมุ่งมั่นที่จะทลายทุนผูกขาด ปรับโครงสร้างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เพียงนโยบายแบบปะผุ แต่เราต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง แม้ทั้งหมดนี้จะยังไม่เกิดขึ้น แต่เราก็ยังมีความหวังว่าทำได้ นี่คือการเมืองแห่งความหวัง การเมืองที่เป็นเรื่องของทุกคน และเราหวังว่าพี่น้องชาวแพร่จะลุกขึ้นมาทีละคน บอกกันว่าพอกันทีเผด็จการ พอกันทีการเมืองแบบเดิมๆ และให้ความไว้วางใจเราเหมือนที่เคยไว้วางใจพรรคอนาคตใหม่ โดยมี ‘ทนายเคน’ ติรานนท์ เวียงธรรม ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล จ.แพร่ ที่จะมาตั้งคำถามว่าสุราเถื่อนหรือว่ากฎหมายเถื่อน คนนี้ที่จะมาร่วมต่อสู้กับพี่น้องเรื่องเหมืองแร่ และถ้าเขาได้เข้าไปในสภา ถ้าอยากให้แพร่ก้าวหน้า ต้องกาก้าวไกล" พิธา กล่าว

ด้าน อภิชาติ ศิริสุนทร กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค ในฐานะประธานกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เดินทางมาที่ จ.แพร่ ในวันนี้ นอกจากเพื่อร่วมกิจกรรมของพรรคแล้ว ยังมาในนามของ กมธ.การที่ดินฯ เพื่อติดตามปัญหาเรื่องผลกระทบจากเหมืองแรไบท์ ที่พี่น้อง จ.แพร่ ประสบอยู่ และได้เคยเดินทางไปยื่นหนังสือต่อพรรคก้าวไกล มี ส.ส.ของพรรคตั้งกระทู้ถาม จนในที่สุดก็ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ กมธ.ที่ดินฯ เพื่อให้มาช่วยแก้ไขปัญหานั้น วันนี้จึงเดินทางมาดูในพื้นที่จริง และมีเวทีสอบถามจากพี่น้องประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปว่า จะมีการส่งเรื่องไปถึงกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระทรวงมหาดไทย ได้เร่งฟื้นฟูพื้นที่ต่อไป โดยจะมีการตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดที่ประชาชนมีส่วนร่วมดำเนินการสำหรับในส่วนของพื้นที่สัมปทานแปลงแรก ขณะที่เรื่องของแปลงใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการขอสัมปทานของนายทุนนั้น เราจะมีหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมให้ทบทวนยกเลิก เพราะว่าผู้รับสัมปทานนั้นทำผิดเงื่อนไข พร้อมกันนี้ก็จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของเดิมที่ยังแก้ไม่จบ ซึ่งถ้าของใหม่เกิดขึ้นอีกปัญหาของประชาชนก็จะยิ่งหนักขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ชาวแพร่ จัดพิธีชำระคัมภีร์ธัมม์เก่าแก่ครั้งแรก อนุรักษณ์คัมภีร์โบราณสืบทอดสู่ชนรุ่นหลัง

เมื่อวันที่ (27 ก.พ. 66) คณะศรัทธาวัดพระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ นำโดย นายอดุลย์ ดอกเกี๋ยง กำนัน ต.พระหลวง อ.สูงเม่น จัดพิธี ชำระธัมม์ วัดพระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ เนื่องในงานประเพณีนมัสการพระธาตุเนิ้ง ประจำปี 2566 ณ วัดพระหลวง โดยมี พระอธิการมิตร ถาวโร เจ้าอาวาสวัดพระหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งพิธีดังกล่าว จัดโดยคณะสงฆ์และคณะศรัทธาวัดพระหลวง ร่วมกับ สถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น นำโดย พระครูวิบูลสรภัญ (ฉัตรเทพ) ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย มจร.แพร่ และพระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ป.ธ.9 ดร.ผอ.สำนักวิชาการ มจร.แพร่,เจ้าอาวาสวัดร่องฟอง,ผจก.ร.ร.บวรวิชชาลัย วัดร่องฟอง อ.เมือง จ.แพร่, ที่ปรึกษาสถาบันอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่นแสดงธัมม์ 

นายบรรเลง ภิญโญ อายุ 69 ปี บ้านเลขที่ 15/2 ม.3 ต.พระหลวง อ.สูงเม่น ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน เผยว่า สำหรับพิธีชำระธัมม์ วัดพระหลวง พระธาตุเนิ้งในวันนี้ จัดขึ้นเป็นปีแรก ซึ่งวัดพระหลวง เป็นอีก 1 วัดเก่าแก่ นอกจากจะมีพระธาตุเนิ้ง หรือ พระธาตุเอียง (คล้ายหอเอน ประเทศอิตาลี่) ยังมีพระธัมม์คัมภีร์ใบลานโบราณ จำนวนมากประมาณ 5,400 ผูก ถือว่ามากมาย ที่ผ่านมาเก็บไว้ในหอธัมม์ภายในวัด แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางส่วนก็ชำรุดเสียหายไปตามกาลเวลา

‘ปตท.’ ผนึกกำลังวิสาหกิจชุมชน จ.แพร่ เดินหน้าปลูกป่าล้านที่ 2 ตั้งเป้า 8,000 ไร่ ในปี 66

เมื่อไม่นานมานี้ นายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่ปลูก และบำรุงรักษา ปี 2566 ในพื้นที่แปลงปลูกป่า อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จำนวน 8,000 ไร่ ระหว่าง ปตท. กับ วิสาหกิจชุมชนคนก้นต้อรักษ์ป่าแม่สอง ตำบลเตาปูน จำนวน 5,000 ไร่ และ วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ส่งเสริมการปลูกป่า ตำบลห้วยหม้าย จำนวน 3,000 ไร่

โดยมี นายวิชัน ใจเขม็ง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนก้นต้อรักษ์ป่าแม่สอง ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ นายชัยณรงค์ สุปินะ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์ส่งเสริมการปลูกป่า ต.ห้วยหม้าย อ.สอง จ.แพร่ และนางเยาวลักษณ์ ชูโชติ ผู้จัดการฝ่ายปลูกป่าและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ปตท. ร่วมลงนาม โดยมีนายศุภชัย บุญทิพย์ นายอำเภอสอง และนายสงคราม ขาวสะอาด ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ กรมป่าไม้ และนายณัฐพล ทองไหล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว 

ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชนทั้ง 2 กลุ่ม จะดำเนินการปลูก ในปี พ.ศ. 2566 และจะร่วมกันบำรุงรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ในปี 2567 - 2575 รวมระยะเวลา 10 ปี

อธิบดีกรมอุทยานฯ ร่วมรับฟัง การนำเสนอกิจกรรมถอดบทเรียน (AAR) ไฟป่าในพื้นที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน

วันที่ 26 พ.ค. 2567 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นประธานการประชุมถอดบทเรียน (After Action Review : AAR) “การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและpm2.5ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ สังกัด สบอ.13(แพร่)ท้องที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน” โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13 ผู้อำนวยการส่วนแต่ละส่วน หัวหน้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์และหน่วยงานร่วมบูรณาการฯ เพื่อร่วมกันสะท้อนปัญหา และทบทวนกระบวนการต่าง ๆ นำมาเป็นแนวทางการจัดทำแผนและการปฏิบัติงานในปีถัดไปให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในแต่ละพื้นที่ป่าอนุรักษ์

สถานการณ์การเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในสังกัด สบอ 13(แพร่) ท้องที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่านในปีงบประมาณพ.ศ.2566 พบว่ามีพื้นที่เผาไหม้(Burnsca) 1,433,503 ไร่ และปี 2567 พบพื้นที่เผาไหม้  647,466 ไร่ ลดลง คิดเป็น 54.83% จำนวนจุดความร้อน(Hotspot)ในปี 2566 พบจำนวน 6,415 จุด และปี 2567 พบจุดความร้อน 3,474จุด พบว่าพบว่าลดลง 46.80%

ในบางพื้นที่ป่าอนุรักษ์พบจุด hotspot ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาแต่มีพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้ลดลง เช่น อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ พบจุดhotspot ในปี 2566จำนวน 550 จุด ในปี 2567 พบ 480จุด ลดลงร้อยละ 12.7% แต่ในปี 2566 พบว่ามีพื้นที่เผาไหม้ 193,560 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.94ของพื้นที่ทั้งหมด แต่พื้นที่เผาไหม้ใน ปี2567 พบเพียงแค่จำนวน 93,613(ไร่) โดยคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเป็นผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ปฏิบัติตามข้อสั่งการ “เห็นไว เข้าถึงไว ควบคุมและดับได้ไว“ 

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในท้องที่จังหวัดแพร่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดลำปางบางส่วน ไม่มีหน่วยงานร่วมบูรณาการในพื้นที่ และไม่มีสถานีควบคุมไฟป่าแต่อย่างใด ดำเนินการโดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่เพียง 45 นาย โดยอาศัยการสร้างภาคีเครือข่าย จิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความร่วมของชุมชนเครือข่ายรอบอุทยานสามารถลดจำนวนจุด hotspot ในพื้นที่ได้ถึง 50.9 %เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นอุทยานแห่งชาติในท้องที่จังหวัดน่านมีพื้นที่รับผิดชอบขนาดใหญ่จำนวน1,065,000 ไร่ ครอบคลุม 8 อำเภอ 24 ตำบล มีหน่วยงานร่วมบูรณาการจำนวน 38 หน่วยงาน ได้มีการ จัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยแบ่งเขตการจัดการจำนวน4 เขต เพื่อให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่ร่วมบรูณการเข้ามามีบาทในการดำเนินแก้ไขปัญหาร่วมกัน พบว่า จำนวนจุดhotspotปี2566พบ 1,706 จุด ส่วนในปี 2567 พบจำนวน 615 จุด ลดลงคิดเป็นร้อยละ 63.96 ซึ่งเป็นตามนโยบายของทส.ที่ได้กำหนดไว้

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน พบว่าเมื่อเทียบกับปี 2566 จุด hotspot ลดลงคิดเป็นร้อยละ 13.9 แต่มีพื้นที่เผาไหม้ลดลงคิดเป็นร้อยละ 62.84ของพื้นที่ทั้งหมด เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนและชุมชนในพื้นที่ร่วมกันบริหารจัดการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่าและpm 2.5 ทำให้สถานการณ์ภาพรวมดีขึ้น

สรุปจากข้อมูลดังกล่าวสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบปี2567 สามารถบริหารจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น จากการบูรณาการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ป่าอนุรักษ์และความร่วมมือของหน่วยงานภายนอก

ทั้งนี้นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานฯ ได้ให้แนวการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และpm2.5 นำไปวางแผนในการปฏิบัติงานต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top