Tuesday, 2 July 2024
33ล้านบาท

โซเชียลไม่ติดใจป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้าน แต่ทำไมถึงได้มาเปลี่ยนชื่อสถานีทีหลัง

(4 ม.ค. 66) เพจ 'LivingPop' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ 'เรื่องป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ ราคา 33 ล้าน' ความว่า...

ส่วนตัวผมไม่ค่อยติดใจเรื่องราคาป้าย เพราะป้ายเป็นป้ายไฟขนาดใหญ่มหึมามาก ตัวอักษรไทยสูง 3 เมตร ตัวอักษรอังกฤษสูง 2 เมตรกว่า ความยาวรวมเกือบ 50 เมตร แถมยังมี Logo การรถไฟขนาดสูง 7 เมตรอีก ซึ่งโลโก้การรถไฟก็เป็นแบบโบราณที่รายละเอียดค่อนข้างเยอะ

ผมมองว่ามีทั้งค่าเนื้องานป้ายทั้ง 2 ฝั่ง ค่ารื้อถอนของเดิมแบบไม่ทำลาย (รื้อแล้วคืนเจ้าของ) ค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง ค่ารับประกันงาน ค่าความเสี่ยงการทำงานกับราชการอีก 33 ล้านก็ค่อนข้างสมเหตุสมผล แต่ด้วยความที่การจัดซื้อจัดจ้างเป็นแบบที่มีการล็อกผู้รับเหมา ก็ทำให้เรื่องนี้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

❌ แต่! สำหรับผมและทีม LivingPop คิดว่าคำถามของเรื่องนี้อยู่ที่...
"ทำไมถึงได้มาเปลี่ยนชื่อสถานีทีหลัง" ❌ 

ในเมื่อสถานีก็สร้างของมันมาตั้งเกือบ 10 ปีแล้ว ที่สำคัญช่วงที่ติดตั้งป้ายชื่อก็เป็นช่วงรัฐบาลนี้เอง ถ้าคิดว่าจะขอพระราชทานชื่อ แล้วจะทำป้ายชื่อที่ยังไงมันก็จะโดนเปลี่ยนแน่ๆ ออกมาทำไม?

แล้วไม่ใช่แค่ป้าย 33 ล้านอันนี้ด้วย นี่เป็นแค่จุดนึงที่เห็นเด่นชัดเท่านั้น แต่การเปลี่ยนชื่อสถานีในวันที่สร้างเสร็จแล้ว มันกระทบไปถึงหน่วยงานอื่นๆ ที่เขามาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงด้วย ที่ต้องมาไล่เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนป้ายตามทั้งหมด

เปิดรายละเอียดป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้าน พบ!! ขอบเขตของงานมากกว่าแค่การเปลี่ยนป้าย

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Pat Sangtum' ได้โพสต์ข้อความอธิบายรายละเอียดราคาป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้านบาทที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ว่า...

อ่านดูก่อน - มันไม่ใช่การถอดตัวอักษรเก่าแล้ว เอาตัวใหม่ไปแปะ มันคือการรื้อวัสดุกระจกทั้งหมดเพราะเป็นกระจกหล่อพิเศษ ที่ตอนหล่อจะต้องทำรูเจาะ ตามตำแหน่งการติดตั้งตัวอักษร ไม่ใช่เอาสว่านเจาะ เหมือนข้างฝาไม้เชอร่าที่หอพัก ตัวอักษรขนาดใหญ่ยักษ์ สูง 3 เมตร หนา 40 ซม. ความยาวป้ายรวม 60 เมตร ป้ายนี้ไม่ได้ทำด้วยพลาสติกแบบป้ายหน้าร้านข้าวมันไก่ และป้ายชื่อใหม่ ต้องเปลี่ยนทั้งสองด้านของสถานี เท่ากับ 33 ล้าน หาร 2 ต่อป้าย หรือ 16.5 ล้าน ทำงาน 5 เดือน รับประกัน 12 เดือน

การถอดป้ายเก่า การรื้อถอนผนังกระจกเดิม และการติดตั้ง เป็นการทำงานที่ตำแหน่งสูงเท่าตึก 9 ชั้น การทำงาน ระยะ 5 เดือน ให้การรับประกัน 12 เดือน ฯลฯ

ถ้าไม่เข้าใจเรื่องการ custom design, manufacturing technology และ เทคนิคการติดต้้ง ก็คงคิดว่าใช้งบ แบบป้ายหน้าคอนโด

อย่าทำตัวเป็น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเงินแผ่นดินทิพย์ อ่านให้เข้าใจ และค้นคว้าราคาวัสดุ ค่าชิ้นงานที่เป็นลักษณะพิเศษ และการลงทุนในการด้านเนินการด้านวิศวกรรม เช่นการสร้างกระเช้าสลิง ในการปฎิบัติงาน

ขอบเขตของงานที่หลากหลาย ไม่ได้มีเพียงแค่การเปลี่ยนป้ายชื่อเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดทำระบบไฟ งานรื้อถอน ที่มีความละเอียดอ่อนและต้องปรับปรุงอย่างระมัดระวัง รวมถึงมีการรับประกันความชำรุดบกพร่อง เพื่อให้โครงการเกิดความรอบคอบ เสร็จสิ้นเรียบร้อยตามกำหนด ซึ่งมีขอบเขตงานทั้งหมด ประกอบด้วย...

'ก้าวไกล' ชี้ ราคาป้ายสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้านแค่เรื่องรอง แต่มีความจำเป็นอะไรถึงต้องเปลี่ยนป้ายให้สับสน

'สุรเชษฐ์’ แนะใช้ทั้ง 2 ชื่อสถานีกลางบางซื่อ ชื่อใหม่ใช้ในเอกสารราชการ ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนป้ายให้คนงง ฝากประชาชนจับตาคมนาคม ใกล้เลือกตั้งขยันผิดปกติ ดันเมกะโปรเจกต์หลายแสนล้านผ่าน ครม. ทั้งที่งานเก่ายังไม่เสร็จ แต่โฆษณาเอาหน้าไปเรื่อย ๆ

(4 ม.ค. 66) สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์เรื่องความเหมาะสมของการเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ วงเงิน 33 ล้านบาท ระบุว่ามอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคมตรวจสอบแล้ว และเรื่องนี้มีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบด้วย จึงไม่ต้องกังวลว่า ตนขอโต้แย้งสิ่งที่รัฐมนตรีคมนาคมตอบ ประเด็นแรก ป้าย 33 ล้านบาท จะราคาแพงเกินไปหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่สังคมสงสัยเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สังคมสงสัยมากกว่าคือ มีความจำเป็นอะไรถึงต้องเปลี่ยนป้ายจริงๆ เพราะโดยหลักการตั้งชื่อของสถานีขนส่ง ควรเป็นชื่อที่คนจำง่ายและทำให้รู้ว่าตำแหน่งของสถานีอยู่ตรงไหน เช่น สถานีรถไฟชินจูกุ (Shinjuku) ที่ตั้งอยู่ที่แขวงชินจูกุของกรุงโตเกียว สถานีกลางบางซื่อก็ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ กทม. ประชาชนคนต่างจังหวัด คนต่างชาติได้ยินชื่อก็นึกออกว่าต้องไปที่ไหน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top