Friday, 28 June 2024
อีอีซี

อีอีซี ชูศักยภาพพลังคนรุ่นใหม่ ร่วมโครงการ “อีอีซี สแควร์” เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน พร้อมผนึกกำลังทุกภาคส่วนผลักดันสร้างโอกาสขยายผลโครงการจริง

​เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. หรือ อีอีซี เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลในงานประกาศรางวัลโครงการ อีอีซี สแควร์ ประจำปี 2566 (EEC2 : Environmental Empowerment CAMP & CONTEST) ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อาทิ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพื้นที่และชุมชน นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายชัยพร  แพภิรมย์รัตน์ ปลัดจังหวัดชลบุรี 

นายฉัตรชัย ทิมกระจ่าง นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา นายณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ผศ.ดร.ณยศ คุรุกิจโกศล ผู้รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา ธนาคารกรุงไทย จำกัดบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าร่วมชมผลงานและแสดงความยินดีแก่เยาวชน โดยโครงการ อีอีซี สแควร์ ประจำปี 2566 ได้สร้างการมีส่วนร่วม และสิ่งเสริมให้เยาวชนใน อีอีซี แสดงศักยภาพผ่านการประกวดการสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นในมิติต่างๆ ตามบริบทของพื้นที่ พร้อมสร้างโอกาสการขยายผลจริงในชุมชน 

​ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการประเมินผลงานเยาวชนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก EECi. NECTEC สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร PTTGC และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยผลงานดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กับการออกแบบและพัฒนาถังดักไขมันในน้ำเสียเพื่อใช้ในครัวเรือน รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา กับโครงการ Smart farm feeding เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติและติดตามอุณหภูมิน้ำผ่าน Application และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนหมอนทองวิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา กับผลงานโครงการกระถางจากธรรมชาติ โดยนำฟางข้าวมาแปรรูปเป็นกระถางเพื่อลดมลภาวะทางอากาศจากการเผาฟางข้าว  
​นอกจากนี้ ยังมีรางวัลพิเศษแห่งความประทับใจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงไทย อีก 5 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best Content Creator ได้แก่ โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย จังหวัดระยอง รางวัล Best Impact ได้แก่ โรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม จังหวัดฉะเชิงเทรา รางวัล School Supporter ได้แก่ โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จังหวัดชลบุรี รางวัล Young EEC Square Courage ได้แก่ โรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง และรางวัล Start Up DNA ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จังหวัดระยอง 

​สำหรับโครงการ อีอีซี สแควร์ นับเป็นโครงการสำคัญที่ อีอีซี สร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพเยาวชน ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2566 นี้ได้เปิดรับสมัครเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่อีอีซี มีเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 17 โรงเรียน และได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับ อีอีซี การนำเทคโนโลยีนำเทคโนโลยี board Kidbright มาปรับใช้ในการทำโครงงาน ซึ่งตั้งใจให้เยาวชนที่เรียนเรื่อง coding ในโรงเรียนอยู่แล้วได้เข้าใจว่าสิ่งที่เรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานที่เป็นประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงมีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การศึกษาดูงานกระบวนการผลิตแบตตารีลิเทียมในอุตสาหกรรมจริง เป็นต้น และที่สำคัญ อีอีซี ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ให้ความสนใจนำผลงานเยาวชนไปพัฒนาต่อยอดขยายผลจริงในชุมชน ในโรงงาน และสร้างโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์อีกด้วย

'อีอีซี' ร่วม 'CtrlS' ทุนบิ๊กอินเดีย ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลกใน EECd เชื่อ!! ช่วยดึงเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ไหลเข้าไทย

(2 ก.พ. 67) ดร.นลินี ทวีสิน ผู้แทนการค้าไทย และ H.E. Mr. Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน พิธีลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ราชพัสดุในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ภายในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ EECd จังหวัดชลบุรี ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ บริษัท CtrlS Datacenters จากประเทศอินเดีย เพื่อตั้งโครงการไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ (Hyperscale Datacenter) ในประเทศไทย โดยมี ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี และ Mr.Siddharth Singh รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาด (Senior Vice President, Marketing) บริษัท CtrlS Datacenters เป็นผู้ลงนามสัญญา

การลงนามสัญญาฯ ครั้งนี้ เพื่อประกาศถึงความสำเร็จรับการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษของพื้นที่อีอีซี โดยบริษัท CtrlS ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำระดับโลก (Hyperscale Tier4) จากประเทศอินเดีย และรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้เช่าพื้นที่ภายในเขต EECd ซึ่งเป็นพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษจากอีอีซี จำนวน 25 ไร่ ระยะเวลา 50 ปี ลงทุนโครงการไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ ศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่สามารถรองรับปริมาณข้อมูลด้านดิจิทัลได้สูงสุด และถือเป็นการขยายฐานการลงทุนนอกประเทศครั้งแรก รับกลุ่มลูกค้าด้านบริการข้อมูลชั้นนำระดับโลก มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 15,000 ล้านบาท สร้างรายได้จากการเช่าพื้นที่ให้อีอีซี ประมาณ 1,300 ล้านบาท สนับสนุนการจ้างงานในพื้นที่ประมาณ 1,000 อัตรา เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับ บริการระบบข้อมูล (Cloud Service) รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อความยั่งยืน ตามนโยบายหลักของรัฐบาล และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับการแข่งขันของประเทศ 

ทั้งนี้ การลงทุนโครงการไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ จะใช้เทคโนโลยีจัดการพลังงาน และพลังงานสะอาดรองรับกำลังไฟฟ้าสูงสุด 150 เมกะวัตต์ รวมทั้งที่ตั้งจะอยู่ใกล้สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 3 จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อที่มีความพร้อมทั้งโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำและภาคพื้นดิน สามารถเชื่อมต่อระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และไต้หวัน ด้วยระบบเคเบิลใต้น้ำประสิทธิภาพสูง และเชื่อมต่อไปยังดาต้าเซ็นเตอร์ และนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยคาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการเฟสแรกในปี 2568 และจะเป็นโครงการสำคัญ ให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งภูมิภาค รองรับนักลงทุนในและต่างประเทศในธุรกิจดิจิทัลขั้นสูง เช่น 5G ระบบ AI, Cloud, IoT, Smart City และสามารถดึงดูดผู้ประกอบการด้านบริการข้อมูลระดับโลกให้เข้าลงทุนในพื้นที่อีอีซี ต่อไป 

อีอีซี ร่วมมือ มูลนิธิเสนาะอูนากูลม.บูรพา พร้อมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนา “บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก” สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำผลักดันลงทุนเศรษฐกิจสีเขียวสู่การพัฒนาพื้นที่ อีอีซีและชุมชนอย่างยั่งยืน  

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2567) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรืออีอีซี ร่วมกับมูลนิธิเสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)และศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่องสถานการณ์ภาคตะวันออก พ.ศ. 2567 หัวข้อ “ระบบนิเวศของภาคตะวันออก และการบริหาร จัดการน้ำ”ณ หอประชุมธํารงบัวศรีมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูล เป็นประธาน ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี ร่วมปาฐกถาพิเศษ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมเสวนา และนำเสนอกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิเสนาะ อูนากูลดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการ TDRI ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรม GISTDA นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ส.อ.ท.เป็นต้น และมีดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI ร่วมดำเนินการเสวนา 
 ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานมูลนิธิเสนาะ อูนากูลกล่าวว่า งานสัมมนาฯ ครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกให้มีใช้อย่างยั่งยืน ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม ตลอดจนสถาบันการศึกษาและเยาวชน อีกทั้งเพื่อนำเสนอ“รายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกพ.ศ. 2565”เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ให้สาธารณชนโดยรวมได้รับทราบสถานภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยมูลนิธิเสนาะ อูนากูล ได้จัดทำรายงานชิ้นนี้เพื่อติดตามสถานการณ์การพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำเสนอข้อมูลโดยสรุป หรือDashboardเรื่อง State of the Eastern Regionเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการพัฒนาในพื้นที่

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวถึง การบริหารความพิเศษเพื่อโอกาสของ อีอีซี ซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้แนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ใช้ข้อมูลเดียวกับแนวคิดการพัฒนาอีอีซี กลไกในการขับเคลื่อนการลงทุนและการบริหารงานใน สกพอ. การส่งเสริมการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ การพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี รวมถึงสิทธิประโยชน์ และมาตรการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนที่ สกพอ. พร้อมให้บริการมาตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
2566 – 2570 

สำหรับงานสัมมนาวิชาการฯ ครั้งนี้ ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการจัดการน้ำในพื้นที่ทั้งที่ใช้ระบบเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังของชุมชน เช่นระบบ Actionable Intelligence Policy (AIP) ที่ GISTDA ได้พัฒนาและทดลองดำเนินการเพื่อเสริมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซีและกรณีศึกษาชุมชนในท้องถิ่นที่บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งมีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรน้ำด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่

นอกจากนี้ ภายในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการจัดการน้ำในภาคตะวันออกซึ่งมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ประธาน TDRI ดำเนินการเสนวนา ได้เจาะลึกถึงข้อเสนอหลักจากรายงานการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ภาคตะวันออก พ.ศ. 2565 ดังกล่าวรวมทั้งได้มีการอภิปรายจากมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรผู้ใช้น้ำโดยเฉพาะภาคเอกชน รวมทั้ง TDRI GISTDA สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยในรายงานฯ ได้มี4ข้อเสนอหลัก ถึงเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกได้แก่
1)ปรับวิธีคิดของภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยให้คำนึงถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ 2)เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรผู้ใช้น้ำ โดยพัฒนาบุคลากรและเพิ่มทักษะความรู้ ให้กับบุคลากรในองค์กรทุกระดับ 3)พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ หรือที่เรียกว่า Integrated Area-based Water Resource Management (IWRM)โดยอาจดำเนินการในลักษณะSandboxในอีอีซี4)เตรียมแผนรองรับ ป้องกัน และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเผชิญกับภัยภูมิอากาศ ในเขตพื้นที่อีอีซีรวมถึงพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย

EEC เปิด 'ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี' นำร่อง!! สร้างกลไกมีส่วนร่วมชุมชน เชื่อมประโยชน์การลงทุนสู่การพัฒนาพื้นที่และชุมชนอย่างยั่งยืน

(25 มี.ค. 67) ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับนายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. และนายวีกิจ มานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง เข้าร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นำร่อง ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ตำบลหนองปลาไหล จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นเสมือนตัวแทน อีอีซี ในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจ บอกเล่าถึงประโยชน์และความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี ให้กับชุมชนในอำเภอบางละมุง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ซึ่งเป็นกลไกหลักและเป็นตัวแทนของ อีอีซี ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี จะช่วยเป็นแกนกลางในการผลักดันให้สินค้าและบริการของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งใน Supply Chain ของนักลงทุน ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานสำคัญในปัจจุบัน ในการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนมาสู่การพัฒนาพื้นที่ และชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมจากกลุ่มพลังสตรี อีอีซี ที่ได้ร่วมเป็นกระบอกเสียงสำคัญสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ได้รับข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าถึงประโยชน์จากการพัฒนาอีอีซีได้อย่างทั่วถึง และถือเป็นช่องทางสำคัญในการรับฟังความคิดเห็น และรับฟังข้อมูล เกี่ยวกับอีอีซี รวมถึงจะสนับสนุนให้กลุ่มพลังสตรี อีอีซี ได้รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมประโยชน์ต่อสาธารณในพื้นที่ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ รวมถึง สกพอ. ก็มีกิจกรรมในการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ

เพื่อให้เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเตรียมความพร้อมการนำประโยชน์จากการลงทุนในพื้นที่ให้สามารถยกระดับเศรษฐกิจชุมชน สร้างโอกาสให้แก่สินค้าชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีมาตรฐาน รองรับการเข้ามาใช้จ่ายของคนที่มาทำงานใน อีอีซี มีศูนย์กลางในการพบปะทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

สกพอ. ได้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นำร่องในชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปลวกแดง ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และชมรมผู้สูงอายุดอกลำดวน มัสยิดดารุ้ลดอยร็อต ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี รวมกว่า 600 คน เป็นตัวแทนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และร่วมกับอีอีซี ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนรายได้ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับที่ตั้ง ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่สะท้อนความโดดเด่นด้านการทำนาด้วยภูมิปัญญาการปลูกข้าวที่มีมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันเขตพื้นที่ ต.หนองปลาไหล มีพื้นที่นาประมาณ 190 ไร่ แม้ว่าปัจจุบันจะมีพื้นที่ทำนาลดลง แต่ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์และสืบสานอาชีพการทำนา ด้วยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ เป็นอีกหนึ่งเส้นทางท่องเที่ยวด้านการเกษตร ที่นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมได้ อาทิ ทดลองดำนา เกี่ยวข้าว ชมดนตรีพื้นบ้าน ทดลองทำอาหารพื้นบ้านจากวัตถุดิบท้องถิ่น เป็นต้น

อนุชุมชนฯ ลงพื้นที่ฉะเชิงเทรา ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ อีอีซี

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่การพัฒนาพื้นที่และชุมชน นำโดย รองศาสตราจารย์มณฑล แก่นมณี ประธานอนุกรรมการ พร้อมด้วย นายธนาคม จงจิระ รองประธานฯ และอนุกรรมการ รวมทั้งผู้บริหาร สกพอ. นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ สายงานพื้นที่และชุมชน และเจ้าหน้าที่ สกพอ. นายอาทร เสริมศักดิ์ศศิธร ประธาน YEC และผู้ผแทน YEC ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเรียนรู้แนวทางการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของนิคมอุตสาหกรรม ฯ และชุมชนรอบโครงการอย่างเป็นรูปธรรม และการยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีมูลค่าสูงขึ้นของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ รวมถึงร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานในพื้นที่และผู้นำท้องถิ่นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกผ่านโครงการ EEC Tambon Mobile Team คณะอนุกรรมการฯ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ สกพอ. ได้ลงพื้นที่ประชุมหารือและศึกษาแนวทาง การดำเนินงาน 'เขาดิน โมเดล' 

ซึ่งเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการช่วยเหลือเกื้อกูลและสนับสนุนส่งเสริมกันของนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ และชุมชนรอบโครงการทั้งด้านที่ดิน ด้านอาชีพ และด้านสิ่งแวดล้อม ณ ศูนย์เรียนรู้ “ทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน” แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีนางสาวกุลพรภัสร์ วงค์มาจารภิญญาประธานผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชนให้มีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถขยายช่องทางการตลาดได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปขยายผลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ของบริษัท บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เกิดจากการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ กับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ไต้หวัน) ผลผลิตของโรงงานแห่งนี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี  

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมประชุมหารือร่วมกับนายศักรินทร์ ศรีสมวงศ์ นายอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และผู้นำท้องถิ่น ประกอบด้วย นายหิรัญ หริ่มเจริญ กำนันตำบลหนองตีนนก นายสมศักดิ์ ไหลไผ่ทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 และนายเมืองแมน มนจ้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลหนองตีนนก และนายวิลาศ สุวินัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตีนนก เป็นต้น เกี่ยวกับแนวทางการทำงานร่วมกันในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี รวมทั้งการเตรียมพื้นที่และชุมชนให้มีความพร้อมและศักยภาพที่จะรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านโครงการ EEC Tambon Mobile Team จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานและการแปรรูปตำบลหนองตีนนก ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2567 วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของประชาชนในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่สมาชิก ด้วยการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ด้วยวิธีการธรรมชาติ ให้สมาชิกมีอาหารที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ ส่วนรายได้ที่เกิดจาการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรจะนำมาปันผลให้แก่สมาชิก และช่วยเหลือสมาชิกยามเจ็บป่วย มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อลดต้นทุนการผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจแบบ BCG โดยคณะอนุกรรมการฯ จะนำข้อมูลและบทเรียนแห่งความสำเร็จไปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการเชื่อมโยงจากการลงทุนสู่พื้นที่และชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของคณะอนุกรรมการฯ ต่อไป

อีอีซี เปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซีนำร่อง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง สร้างกลไกการรับรู้ถึงระดับชุมชน ดึงพลังท้องถิ่นร่วมพัฒนาอีอีซีต่อเนื่อง

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี จะเป็นกลไกสำคัญ เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี และประโยชน์สำคัญที่ในพื้นที่จะได้รับ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง อีกทั้ง กลุ่มเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี จะร่วมเป็นแกนกลางในการผลักดันให้สินค้าและบริการของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งใน Supply Chain ของนักลงทุน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยศูนย์เครือข่ายพลังสตรี ที่อำเภอปลวกแดงแห่งนี้ จะร่วมกับอีอีซี ทำกิจกรรมประโยชน์ต่อสาธารณในพื้นที่ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

เพื่อให้สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าและบริการ ในระดับวิสาหกิจชุมชน ไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ผ่านกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพื้นที่ อีอีซี ได้มีช่องทางการตลาดที่กว้างขวางยิ่งขึ้น สร้างโอกาสให้แก่สินค้าชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีมาตรฐาน รองรับการเข้ามาใช้จ่ายของนักลงทุน และผู้ที่จะมาทำงานในพื้นที่ อีอีซี ต่อไป

อีอีซี เดินหน้าสร้างการรับรู้ระดับพื้นที่ต่อเนื่อง เปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นำร่อง ฉะเชิงเทรา ดึงพลังสตรี ร่วมพัฒนาอาชีพ สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้เข้าถึงชุมชน

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ นายประสิทธิ์ อินทโชติ ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา นายธีระพล สุ่มมาตย์ นายอำเภอบางน้ำเปรี้ยว และนางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. เข้าร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นำร่อง ณ ชมรมผู้สูงอายุ ดอกลำดวน มัสยิดดารุ้ลคอยร็อต อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้กลุ่มสตรีในพื้นที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญ บอกเล่าถึงประโยชน์และความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี เข้าตรงถึงชุมชน และเป็นศูนย์กลางดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ในพื้นที่ สร้างโอกาสการพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตให้พื้นที่และชุมชน  

ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การเปิดศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นำร่อง ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งนี้ ถือเป็น ศูนย์ฯ พลังสตรี นำร่องในพื้นที่ อีอีซี ครบทั้ง 3 จังหวัด ซึ่งที่ผ่านมา อีอีซี ได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้วิถีชาวนาภูมิปัญญาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เพื่อดึงพลังของกลุ่มสตรี มาเป็นตัวแทนสร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน ร่วมถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี และประโยชน์สำคัญที่จะได้รับ ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง อีกทั้ง กลุ่มเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี จะเป็นกลไกสำคัญผลักดันให้สินค้าและบริการของชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งใน Supply Chain ของนักลงทุน ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญที่อีอีซี จะส่งเสริมคู่ไปกับการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี นำร่อง ฉะเชิงเทรา แห่งนี้ จะประสานกับอีอีซี ทำกิจกรรมประโยชน์ต่อสาธารณในพื้นที่ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าและบริการ ในระดับวิสาหกิจชุมชน ไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ผ่านกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากพื้นที่ อีอีซี มีช่องทางการตลาดที่กว้างขวางยิ่งขึ้น สร้างโอกาสให้แก่สินค้าชุมชน สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมถึงการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีมาตรฐาน รองรับการเข้ามาใช้จ่ายของนักลงทุน และผู้ที่จะมาทำงาน และอยู่อาศัยในพื้นที่ อีอีซี ต่อไป

สำหรับที่ตั้งศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ณ ชมรมผู้สูงอายุดอกลำดวน ตั้งอยู่ภายในมัสยิสดารุ้ลคอยร๊อต อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวมุสลิม แต่สามารถอยู่ร่วมกับชาวพุทธได้อย่างกลมกลืน พื้นที่นี้จึงเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นเครือข่ายศูนย์กสิกรรมธรรมชาติที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และสามารถนำความรู้ประสบการณ์กลับมาขยายผลในพื้นที่ทั้งประชาชนและโรงเรียนต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมตลาดนัดในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ทำให้มีผู้มาติดต่อ และเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เยาวชนจากโรงเรียนหมอนทองวิทยา ยังเป็นเครือข่ายเยาวชน อีอีซี ที่เข้มแข็งมีผลงานด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้รับรางวัลจากโครงการ อีอีซี สแควร์ ถึง 2 ปี ศูนย์เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ณ ชมรมผู้สูงอายุดอกลำดวน จึงเป็นอีกกลไกสำคัญของ อีอีซี ที่สามารถขยายการรับรู้และสร้างความเข้มแข็งไปยังกลุ่มผู้นำศาสนา ชุมชน และเยาวชนในพื้นที่ได้อีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top