สะกิดต่อมผู้ใหญ่ (ใจร้าย) ฮั้วเงินสะพัด 30 ล้าน ทำเด็กๆ อดกินนม หลังการจัดสรรพื้นที่ 'ผลิต-จำหน่าย' ยังเงียบ แม้ใกล้เปิดเทอม

นมวัว 1,100 ตันต่อวัน คือปริมาณที่ใช้ทำนมโรงเรียนแจกจ่ายทั่วประเทศมาหลายปีแล้ว แต่เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 มีเอกสารราชการที่ระบุว่า...

"ความต้องการนมโรงเรียน ปี 66 – 67 จะมีมากถึง 2,064.73 ตัน"

ที่ผ่านมานมโรงเรียนมีสัดส่วน 33% หรือ 1 ใน 3 ของการบริโภคน้ำนมโคของคนไทยทั้งประเทศ ด้วยตัวเลขใหม่ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สัดส่วนเพิ่มเป็น 69.22% หรือ 2 ใน 3 ของนมในตลาด

1. หลายปีมานี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำนมวัวเพราะเกษตรกรเลิกอาชีพไปหลายราย วัวนมจำนวนมากถูกส่งเข้าโรงชำแหละ วัวสาวถูกขายส่งออกไปเวียดนาม เพื่อทดแทนน้ำนมที่ขาดจึงมีการนำเข้านมผงจาก ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ ประเทศแถบยุโรป และจีน มาผสมน้ำนมเพื่อจำหน่าย

2. หากปล่อยให้นำเข้านมผงมากเกินไป อาจทำให้ราคาน้ำนมดิบตกต่ำ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยอยู่ไม่ได้หมดกำลังใจในอาชีพนี้

3. น้ำนมวัวสด มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่านมผงที่มีหลายเกรดหลายราคา อีกทั้งสิบกว่าปีก่อนยังมีข่าวดังไปทั่วโลกเรื่องเด็กเสียชีวิตในประเทศจีน เพราะบริโภคนมผงที่ผู้ผลิตจงใจผสมสารเมลามีนเพื่อเพิ่มปริมาณและน้ำหนักนมผง

4. ในปี 2568 ภาษีนำเข้านมผงจะลดลงหรือเป็นศูนย์ ตามข้อตกลง FTA ที่ไทยร่วมตกลงไว้

นมโรงเรียน เป็นธุรกิจที่มีระบบโควตาจากรัฐ ใครได้มากจะยิ่งมั่นคงและได้เปรียบทางธุรกิจ จึงมีการแย่งชิงจนเกิดคอร์รัปชันหลาย ในหลายรูปแบบ ทำให้การจัดสรรโควตาไม่เป็นธรรม ไม่ทั่วถึง ผู้ประกอบการโรงนมเคยร้องเรียนมาครั้งแล้วครั้งเล่า

กล่าวสำคัญปีการศึกษา 2567 โรงเรียนกำลังเปิดเทอมแล้ว บางโรงในต่างจังหวัดเปิดเทอมแล้ว ในกรุงเทพจะเปิดในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ แต่ยังไม่มีนมให้เด็กนักเรียนกิน

ผู้ประกอบการโรงนมรายหนึ่งโวยวายว่า กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมสรุปยอดน้ำนมดิบ ในแต่ละปีจะต้องสรุปยอดน้ำนมดิบว่ามีอยู่ที่ไหนเท่าไหร่ เพื่อส่งให้อนุกรรมการจัดสรรพื้นที่ (โควา) ดำเนินการจัดสรรโควตาให้กับโรงนม 

“ปีนี้กรมปศุสัตว์ยังหาข้อสรุปยอดนมดิบให้กับอนุกรรมการจัดสรรโควาไม่ได้ ผู้ประกอบการก็ยังไม่สามารถผลิตนมไปแจกเด็กนักเรียนได้”

มีรายงานว่า ยอดน้ำนมดิบถูกเก็บงำไว้ที่ส่วนกลาง ไม่ยอมแจ้งต่ออนุกรรมการจัดสรรพื้นที่ โทรสอบถามก็ไม่มีใครตอบได้ อนุกรรมการจัดสรรพื้นที่ก็ปวดหัวกับการต้องตอบคำถามจากผู้ประกอบการโรงนม

มีรายงานข่าวว่า สาเหตุของความล่าช้าในการสรุปยอดน้ำนมดิบ และทำให้การจัดสรรพื้นที่ช้า เด็กไม่ได้กินนมมาจากผู้ประกอบโรงนมรายใหญ่รวมตัวกันจ่ายเงินใต้โต๊ะผู้ร่างหลักเกณฑ์นมโรงเรียนให้เข้ากับกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ได้ผลประโยชน์มหาศาลทำให้กลุ่มผู้ประกอบรายเล็กได้รับผลกระทบในภาคอีสาน, ภาคเหนือ, ภาคกลาง ที่มีโรงนมเป็นจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนมากจนนำมาขอการร้องเรียน

รายงานข่าวแจ้งว่า นี้คือขบวนการมาเฟียนมโรงเรียนล่าสุดกลุ่มนายทุนใหญ่ในวงการนมโรงเรียนรวมลงขันจ่ายเงินให้กับผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการลงนามเป็นเงิน 30 กิโลกรัม เป็นกลุ่มทุนที่เคยเข้าไปร้องเรียนเรื่องน้ำนมดิบเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา

ผู้ประกอบการโรงนมรายหนึ่งโวยว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมหลักเกณฑ์ต้องเปลี่ยนทุกปี ทั้งๆ ที่บางปีหลักเกณฑ์ดีอยู่แล้ว แต่พอเปลี่ยนผู้บริหารก็เปลี่ยนหลักเกณฑ์ มันมีผลประโยชน์อะไรอยู่ในหลักเกณฑ์นี้หรือเปล่า มันสร้างความวุ่นวายวาย เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการโรงนม

ฝากไปยังผู้ใหญ่ใจร้ายทำเด็กอดกินนม ให้รีบแจ้งยอดน้ำนมดิบ เพื่อให้อนุกรรมการได้จัดสรรพื้นที่ แบ่งโควตาการผลิตนมโรงเรียน เด็กจะได้กินนม


เรื่อง: นายหัวไทร