Tuesday, 2 July 2024
ไชยันต์ไชยพร

‘อ.ไชยันต์’ ชี้!! ผู้ที่ใช้อำนาจข่มขู่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ใช้ชีวิตของประชาชนมาต่อรอง เป็น ‘มาเฟีย’ มากกว่า ‘นักการเมืองที่ดี’

(13 ก.ค.66) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

ถ้าการนำข้อกล่าวหาการขาดคุณสมบัติของนักการเมืองคนหนึ่งเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รัฐจะต้องมี ‘ราคาที่ต้องจ่ายสูง’

มันไม่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประชาชนทุกคนในประเทศนะครับ

คุณจะเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่ยอมรับการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 

และใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งนำความสงบสุขในการทำมาหากินและใช้ชีวิตของประชาชนมาต่อรอง เป็นตัวประกัน

ผมว่าคุณเข้าข่าย ‘มาเฟีย’ มากกว่า ‘นักการเมืองที่ดี’

ชำแหละเทคนิคทางการเมืองแบบมวลชน ฉบับ ‘ก้าวไกล’ หากยอมถอย ‘ม.112’ ก็จะไม่มี ‘ปีศาจ’ ไว้ปั่นความเกลียดชัง

(15 ก.ค. 66) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Chaiyan Chaiyaporn’ โดยระบุว่า…

จาก ‘อาจารย์แก้วสรร’ ครับ

การเมืองของก้าวไกล 
เทคนิคของการใช้การเมืองแบบมวลชน คือ ต้องหาเป้าหมายสักอย่างหนึ่ง มาให้ผู้คนร่วมกันเกลียดชังว่า “เป็นต้นตอของความงี่เง่าเฮงซวยของบ้านเมือง”

เป้าหมายนี้ ต้องดูมีฤทธิ์เดช เ_ี้ยได้มากจริง เช่น ถ้าเป็นคอม ก็วาดเป้าหมายเป็นนายทุน เป็นนาซีก็วาดเป็นยิว เป็นชาตินิยมก็เป็นจักรวรรดิ์นิยม

การเมืองของก้าวไกลเดินมาทางนี้ แล้วเลือกเอาสถาบันฯ เป็นปีศาจของความเกลียดชัง ทำให้ดูขลัง จึงลากเป็นมรดก 2475

คนเราพอเกลียดร่วมกันมากๆ ก็เกิดเป็นพวกเป็นม็อบไปในที่สุด การเลิกไม่พูดไม่ชูแก้ ม.112 จะทำให้ขาดการชี้ปีศาจไปในทันที พลังก้าวไกลจะอ่อนยวบลงเลย ให้เขาเลิกไม่ได้เด็ดขาด เพราะเป็นตัวตนของเขา

นี่คือเหตุผลที่ก้าวไกล ไม่มีวิสัยทัศน์ของอนาคตมาโชว์จริงๆ มีแต่ความเกลียดชังร่วมในกองทัพและสถาบันฯ แล้วแถมของชำร่วยทางปัจเจกชนนิยมให้กลุ่มต่างๆ เป็นพิเศษ ทั้งเพศพิเศษ ก_หรี่เสรี เลิกเครื่องแบบนักเรียนฯ

การเมืองวันนี้ เดิมทีระบาดด้วยโลภ จนเกิดนิสัยประชานิยมที่ก้าวไกลมาเติมใหม่

ใหม่จริงแต่ไม่ใช่ ‘ประชาธิปไตย’

แต่เป็น ‘โมหะ’

สองตัวนี้ถึงจุดหนึ่ง ‘โทสะ’ จะเกิดขึ้นในที่สุด

'อ.ไชยันต์' เทียบ 'จำนวนประชากร-ผู้เสียชีวิต' จากโควิด-19 ผู้เสียชีวิตในไทยต่ำกว่าชาติอื่นที่มีประชากรใกล้เคียงกัน

(9 ส.ค. 66) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19

- สหราชอาณาจักร 228,890 (จำนวนประชากร 67.33 ล้าน)

- ฝรั่งเศส 167,642 (จำนวนประชากร 67.75 ล้าน)

- สวีเดน 24,537 (จำนวนประชากร 10.42 ล้าน)

- ไทย 34,437 (จำนวนประชากร 71.6 ล้าน)

แกนนำกลุ่มทะลุวัง กล่าวหาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยเป็น ‘ฆาตกร’ เพราะประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นจำนวน 34,437 คน

แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, สวีเดน ฯลฯ ล่ะครับ ?

ส่วนประเทศที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เลยนั้น

ขอยกตัวอย่าง 3 ประเทศ ได้แก่...
ลาว, กัมพูชา และเกาหลีเหนือ 

ส่วนรายชื่อประเทศที่เหลือที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เลย ดูได้จากภาพแนบครับ

เทียบนัย 'ร่างรัฐธรรมนูญ 2474' โดยในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่ถูกปัดตก มาตรฐานใกล้ รธน.ฉบับแรกหลายชาติยุโรป แต่กลับถูกบอก 'ไม่ประชาธิปไตย'

(24 มี.ค.67) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์บทความในหัวข้อ 'ความเข้าใจต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่สองที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ร่างขึ้น' (ตอนที่หนึ่ง) ความว่า...

#ร่างรัฐธรรมนูญรัชกาลที่7

หลังจากมีการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศและพระยาศรีวิศาลวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศยกร่างเค้าโครงรัฐธรรมนูญขึ้นอีกฉบับหนึ่ง

ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า 'An Outline of Changes in the Form of Government' (เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง)

ในเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน

โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้คัดสรรและแต่งตั้งบุคคลที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์หรือมีตำแหน่งขุนนางเสนาบดีเท่านั้น

จากการที่นายกรัฐมนตรีมาจากการคัดสรรและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีจึงรับผิดชอบโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์

แม้ว่าเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญ จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์ในการเลือกบุคคลเป็นคณะรัฐมนตรี

แต่เค้าโครงฯ นี้เห็นว่า แต่เดิมการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ดังนั้น การจะผ่องถ่ายอำนาจทั้งหมดโดยทันทีให้แก่นายกรัฐมนตรี จึงอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป

ดังนั้น ในเบื้องต้น เมื่อนายกรัฐมนตรีเลือกบุคคลเป็นคณะรัฐมนตรีแล้ว ควรที่จะให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยยืนยันเห็นชอบด้วย

นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีวาระที่กำหนดไว้ตายตัว โดยให้เป็นไปตามวาระของสภานิติบัญญัติ แต่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะลาออกก่อนครบวาระก็ได้ โดยทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์ แต่พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งอีกก็ได้

ขณะเดียวกัน พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งก็ได้ และเมื่อไรก็ตามที่นายกรัฐมนตรีลาออกเองหรือถูกขอให้ออกจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย

นายกรัฐมนตรีจะทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและเป็นผู้เดียวที่จะเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี

ในความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และเค้าโครงฯ ได้กำหนดว่า สภานิติบัญญัติจะใช้อำนาจของสภาฯ ในการลงมติไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้

ถ้ามีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จะเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ฉบับแรกของไทย

“เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กับ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศในยุโรปที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ”

เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญระบอบการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศต่างๆ ในยุโรป จะพบความคล้ายคลึงกันในเรื่องพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

เริ่มต้นจาก...

>> สวีเดน ค.ศ. 1809

สวีเดนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1809 และมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกในระบอบดังกล่าวในปี ค.ศ. 1809

มาตราแรกของรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1809 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารการปกครองแผ่นดิน” (The King alone shall govern the realm)

และมาตรา 4 ที่ตามมาจะระบุถึงการจำกัดพระราชอำนาจ เช่น การระบุให้พระมหากษัตริย์จำเป็นต้องใช้อำนาจปกครอง “ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” (in accordance with the provision of this Instrument of Government)

นอกจากนี้ในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญยังระบุว่า พระมหากษัตริย์จะต้อง...

“ทรงรับฟังข้อมูลและคำแนะนำจากรัฐมนตรีสภา (คณะรัฐมนตรี) อันเป็นสภาที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิก (รัฐมนตรี) จากบุคคลที่มีความสามารถ ประสบการณ์ เกียรติยศ และเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไปของเหล่าพสกนิกรชาวสวีเดน”

(seek the information and advice of a Council of State, to which the King shall call and appoint capable, experienced, honorable and generally respected native Swedish subjects)

>> นอร์เวย์ ค.ศ. 1814

นอร์เวย์เข้าสู่ระบอบการปกครองพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1814

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 คือกำหนดให้นอร์เวย์ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นคือ พระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถใช้พระราชอำนาจในการบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการได้โดยตรงอีกต่อไป

แต่กระนั้น รัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 ยังให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยไม่ได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเหมือนที่ปรากฎในนอร์เวย์ปัจจุบัน

มาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 กำหนดให้ 'อำนาจบริหารเป็นของกษัตริย์' (The executive power shall be vested in the King.)

และในทำนองเดียวกันกับรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1809 มาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ค.ศ. 1814 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกพลเมืองนอร์เวย์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 เป็นคณะรัฐมนตรี มีจำนวน 5 คนอย่างน้อย และอาจจะเลือกพลเมืองนอร์เวย์อื่นๆ ให้เป็นคณะรัฐมนตรี ยกเว้นสมาชิกสภาแห่งชาติ

พระองค์จะทรงแบ่งงานให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีตามที่พระองค์เห็นว่าเหมาะสมที่สุด และไม่ให้ผู้ที่เป็นบิดา บุตร และพี่น้องเป็นคณะรัฐมนตรีในเวลาเดียวกัน

จากสาระในมาตรา 28 พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการแต่งตั้งพลเมืองนอร์เวย์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ตามพระราชอัธยาศัย

ถ้าจะถามว่า ตกลงแล้วพระมหากษัตริย์ขณะนั้นทรงแต่งตั้ง 'ใคร' ให้มาทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน?

คำตอบคือ โดยส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำให้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน ก็มีบางส่วนที่แต่งตั้งจากสมาชิกสภา หากสมาชิกสภาผู้ใดได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี จะต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกสภา

>> เนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1814

เนเธอร์แลนด์เข้าสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1814 หลังจากเคยปกครองในแบบสมาพันธรัฐและสาธารณรัฐมาเป็นเวลายาวนาน

ในรัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1814 มาตรา 1 ที่เป็นมาตราที่ว่าด้วยอำนาจสูงสุด หรืออำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ของเนเธอร์แลนด์ รัฐธรรมนูญเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1814 อันเป็นรัฐธรรมนูญระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของเนเธอร์แลนด์

ได้กำหนดให้อำนาจอธิปไตยของเนเธอร์แลนด์เป็นของวิลเลม เฟรดริค และผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ “Sovereignty……belongs to Willem Frederik...”

อีกทั้งยังกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีตามพระบรมราชวินิจฉัยเช่นกัน

>> เบลเยี่ยม ค.ศ. 1831

เบลเยี่ยมเข้าสู่การปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1831

รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 กำหนดให้อำนาจบริหารเป็นของพระมหากษัตริย์

พระองค์ทรงใช้อำนาจบริหารได้ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

โดยมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 ได้กำหนดไว้ว่า พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์จะมีผลบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีผู้รับสนอง และผู้รับสนองฯจะต้องเป็นรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง

ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงกระทำผิดมิได้ รัฐมนตรีที่เป็นผู้รับสนองจะเป็นผู้รับผิดชอบ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารด้วยพระองค์เอง แต่ผ่านรัฐมนตรี และด้วยเหตุนี้ มาตรา 63 จึงกำหนดไว้ว่า ผู้ใดจะละเมิดองค์พระมหากษัตริย์มิได้

มาตรา 66 กำหนดให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี และในการแต่งตั้งรัฐมนตรี ไม่จำเป็นที่พระมหากษัตริย์จะต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีจากสมาชิกสภา (ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาล่างหรือสภาสูง) แต่ถ้าพระองค์แต่งตั้งสมาชิกสภาให้เป็นรัฐมนตรี บุคคลผู้นั้นจะต้องพ้นจากสมาชิกภาพความเป็นสมาชิกสภา

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมภายใต้รัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเบลเยี่ยมให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอิสระในการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องจากสมาชิกสภา ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติเบลเยี่ยม (โดยกำเนิดหรือได้รับสัญชาติ) แม้ว่าพระองค์จะมีอิสระ แต่ข้อจำกัดคือ พระองค์ไม่สามารถแต่งตั้งสมาชิกในพระบรมวงศานุวงศ์เป็นรัฐมนตรี

>> เดนมาร์ก ค.ศ. 1849

เดนมาร์กเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1849

รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 มาตรา 19 กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงแต่งตั้งและปลดบุคคลเข้าและออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี การลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ในกฎหมายที่ได้ตราขึ้น หรือในการประกาศให้มติในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับได้ จะต้องมีรัฐมนตรีหนึ่งหรือหลายนายลงนามสนองพระบรมราชโองการ”

และรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 ไม่ได้กล่าวถึงเงื่อนไขการแต่งตั้งและปลดบุคคลเข้าและออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด พระมหากษัตริย์เดนมาร์กทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและปลดได้ที่พระองค์ทรงเห็นสมควร

ในช่วงเริ่มแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับแรกในประเทศในยุโรปที่กล่าวไปข้างต้น (สวีเดน, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และ เดนมาร์ก) จะเริ่มต้นจากการค่อยๆแบ่งแยกอำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการออกจากกัน ที่แต่เดิมทีรวมอยู่ในสถาบันพระมหากษัตริย์

ขณะเดียวกัน ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศเหล่านี้ที่เป็นประเทศที่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีความมั่นคงยิ่งในปัจจุบัน และได้รับการจัดลำดับเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในอันดับต้นๆ ของโลก

เราจะพบการยังคงให้พระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจบริหาร แต่ไม่สามารถบริหารได้โดยลำพังพระองค์เองอีกต่อไป

แต่จะต้องมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารแทนพระองค์ แต่พระองค์ยังทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ตามพระบรมราชวินิจฉัย

สถาบันทางการเมืองในระบอบพระมหากษัตรย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ---อันได้แก่ คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์---ของประเทศเหล่านี้จะค่อยวิวัฒนาการไปตามเงื่อนไขความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ สังคมและสภาพการเมืองของแต่ละประเทศ

คำถามคือ ในช่วงที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ยังคงให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ตามพระราชอัธยาศัยนั้น...เงื่อนไขทางการเมืองและประชาชนในประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับของไทย?

จากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรกของระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและกระบวนการวิวัฒนาการทางการเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ที่นำมาซึ่ง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิศาลวาจา

และถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2474 ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงโปรดให้ร่างขึ้นไม่เป็น 'ประชาธิปไตย'

เราจะกล่าวได้ไหมว่า รัฐธรรมนูญระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของ นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และ เดนมาร์ก เป็น 'ประชาธิปไตย' ?

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

'อ.ไชยันต์' ชี้!! คนอยู่เบื้องหลังม็อบเด็กใจอำมหิต  แนะ!! อย่าแก้ 112 ที่ปลายเหตุ ต้องแก้ที่คนบิดเบือน

(15 พ.ค.67) เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า "ผู้ที่ให้การสนับสนุน-อยู่เบื้องหลังเยาวชนที่ออกมาประท้วงด้วยอาการและอารมณ์ที่รุนแรง คือ ผู้ที่มีจิตใจอำมหิตมาก เพราะพวกเขาใช้อนาคตและชีวิตของเยาวชนเป็นเครื่องมือไปสู่สิ่งที่พวกเขาต้องการ โดยพวกเขาเท่านั้น คือ ผู้ได้ประโยชน์ที่แท้จริง"

อีกข้อความหนึ่ง ระบุว่า "แก้ ม.112 เพื่อช่วยเยาวชนผู้ต้องหาเป็นการแก้ปลายเหตุ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ-ผู้ให้ข้อมูลบิดเบือน"

‘อาจารย์ไชยันต์’ โพสต์ “คนไปแจ้งความมีแต่ความโกรธ คนรับแจ้งมีแต่ความทุกข์ อัยการก็ทุกข์ พยานก็กังวล ศาลยิ่งทุกข์ สุดท้าย ไม่ว่าคำตัดสินออกมาอย่างไร สถาบันพระมหากษัตริย์ ก็เดือดร้อน”

(27 พ.ค.67) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า…

“ท่านครับ คนไปแจ้งความมีแต่ความโกรธ คนรับแจ้งมีแต่ความทุกข์ อัยการก็ทุกข์ พยานก็มีแต่ความกังวลเหน็ดเหนื่อยที่ต้องขึ้นศาล ศาลยิ่งทุกข์ สุดท้าย ไม่ว่าคำตัดสินออกมาอย่างไร สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เดือดร้อน”

พร้อมระบุต่อว่า “ท่านครับ คนที่คอยสนับสนุนให้ข้อมูลบิดเบือน ให้เด็กกระทำผิดต่างหาก ที่กระหยิ่ม ยามที่เด็กทรมาน ต้องเข้าคุก ไม่ได้ประกันตัว และคนเหล่านั้นก็พุ่งเป้าไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top