Friday, 5 July 2024
แก้ปัญหา

'วัชระ' เสนอนายกฯเร่งตั้ง 'กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ' ก่อนสายเกินไป เหตุเจ้าภาพเยอะ กระจัดกระจาย อำนาจไม่รวมศูนย์ ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่สะเด็ดน้ำ

วันที่ 11 ต.ค. นายวัชระ กรรณิการ์ กรรมการบริหารและรองเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ภาคกลาง ให้สัมภาษณ์ ภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นทั้งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นปัญหาที่หมักหมมมานานตั้งแต่อดีตแล้ว ซึ่งตนเข้าใจและยอมรับได้ในระดับหนึ่งว่า ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ง่ายต่อการเกิดน้ำท่วม แต่ถ้ามองในแง่ข้อเท็จจริงก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในแต่ละปีปัญหาน้ำท่วมได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สร้างความเดือดร้อนและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนอย่างมาก ถึงแม้จะมีการเยียวยาหรือชดเชยจากหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ แต่ก็เชื่อว่าไม่สามารถทดแทนกันได้ และไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ตนเห็นความเสียหายของชาวบ้านในทุกรูปแบบ บางคนเสียบ้าน เสียรถ เสียร้านค้า บางคนเสียไร่นา เสียบ่อปลา และที่สำคัญที่สุดผู้ประสบภัยทุกคนสูญเสียความสุขที่เคยมี หลายคนต้องหนีน้ำมานอนเพิงริมถนนที่ศูนย์พักพิง รอถุงยังชีพจากภาครัฐหรือภาคเอกชนที่จะมาช่วยเท่านั้น

เปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ

ที่บริเวณสหกรณ์การเกษตรเพชรบูรณ์ จำกัด ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในการเปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2565/2566 โดยมี นายสุพล ศรีทับทิม พาณิชย์จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร เข้าร่วม

นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการตลาดนัดข้าวเปลือก เพื่อแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ และให้เกิดกลไกการแข่งขันการรับซื้อข้าวเปลือกของเกษตรกร โดยจัดหาผู้ประกอบการเข้าไปรับซื้อข้าวเปลือก และมีการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมขั้นตอนการรับซื้อ ซึ่งนอกจากใช้เป็นแหล่งรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรทั่วไปในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว ยังสามารถเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร เพื่อพัฒนาระบบการซื้อขายแบบตลาดกลางอีกด้วย

ผบ.ตร.เปิดโครงการอบรมวิทยากรต้นแบบชุมชนยั่งยืนแก้ไขยาเสพติดตามยุทธศาสตร์ชาติ ตร.ภ.2

ชลบุรี-ผบ.ตร.เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ตำรวจภูธรภาค 2 

วันที่ 9 มี.ค.66 ที่ห้องประชุมโรงแรมซีบรีซ จอมเทียน รีสอร์ท จ.ชลบุรี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ตำรวจภูธรภาค 2 โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.ภ.2 และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

ภาคประชาชนอัดรัฐลักไก่ ทิ้งทวน เตรียมดันหวยรูปแบบใหม่เข้า ครม. ไม่สนเสียงค้าน ด้านนักวิชาการชี้ไม่ควรออกหวยตัวใหม่ หวั่นซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจ ไม่เคยมียุคไหนที่เพิ่มสลากมากเท่านี้

ต่อกรณีข่าวรมต.คลังเตรียมเสนอต่อที่ประชุมครม.ในวันอังคารที่ 14 มีนาคมนี้ เพื่อขอความเห็นชอบในการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลรูปแบบใหม่ L6 และ N3   รศ.ดร.นวลน้อย  ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน แสดงความเห็นว่า


​“ต้องถามก่อนว่ารัฐบาลต้องการอะไรจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อหารายได้เพิ่มหรือเพื่อแก้ปัญหาสลากเกินราคา  หากเป็นประเด็นการหารายได้เพิ่ม ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีการเพิ่มสลากจาก 36 ล้านฉบับเป็น 100 ล้านฉบับ เพิ่มเป็น 3 เท่า  ทำให้รัฐบาลมีรายได้จากสลากเพิ่มขึ้นเยอะมากจากการซื้อสลากของประชาชน   ประเทศไทยไม่เคยมีสลากมากเท่านี้มาก่อน”


“สำหรับสลากตัวใหม่ L6 และ N3 ไม่แน่ใจว่าโครงสร้างของราคาจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้าออกมาคล้าย ๆ เดิม  เท่ากับรัฐบาลจะมีส่วนแบ่งด้วย ซึ่งเป็นรายได้ที่รัฐบาลได้มาจากผู้มีรายได้น้อย  ถามต่อว่าในลักษณะแบบนี้มันไปกระตุ้นเศรษฐกิจไหม คำตอบคือไม่กระตุ้น เพราะกิจการสลากเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีห่วงโซ่การผลิตสั้นมาก จึงไม่ได้ก่อให้เกิดผลต่อวัฏจักรการผลิตสักเท่าไหร่   แต่จะมีผลต่อการบริโภคมากกว่า  ลองคิดง่าย ๆ สลาก 1 ชุด มี 1 ล้านใบ เป็นเงินรางวัล 60% มีผู้ถูกรางวัลเพียง 14,168 รางวัล และคนถูกรางวัลใหญ่จะนำเงินมาใช้ไม่มาก สลากจึงเป็นกิจกรรมที่แย่งชิงตลาดการบริโภคสินค้าอื่นๆ ดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจจริง การที่ประชาชนซื้อสลากงวดละ 100 ล้านใบ ๆ ละ 80 บาท คิดเป็นเงิน 8,000 ล้านบาทต่องวด หรือปีละ 192,000 ล้านบาท แทนที่ประชาชนจะนำเงินจำนวนนี้ไปใช้เพื่อการบริโภคสินค้าและบริการอื่นๆ  การเพิ่มสลากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริโภคในลักษณะที่ไม่เป็นผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม”


“ส่วนการออกผลิตภัณท์ตัวใหม่เพื่อสู้กับหวยใต้ดินนั้น ต้องถามว่าจะสู้อย่างไร เพราะถ้าไปดูบทเรียนสมัยที่ออกหวยเขียน 2 ตัว 3 ตัว ทำได้แค่ดึงส่วนแบ่งมาบางส่วน บางส่วนก็ดึงไม่ได้  ในขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็ไม่ค่อยจะดี รัฐบาลก็ยังคิดจะหารายได้จากการออกผลิตภัณฑ์หวยเพิ่มขึ้น ก็รู้สึกเป็นกังวลว่าหวยใต้ดินก็ยังอยู่ และจะมีหวยอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก  ส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยเพราะไม่อยากให้เพิ่มการพนันในสังคม ” รศ.นวลน้อยกล่าว


​ด้านนายธนากร  คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า “การแก้ปัญหาสลากแพงด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ เป็นวิธีการที่ล้มเหลวซ้ำซาก ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 11 ของรัฐบาลพลเอกประยุทธตั้งแต่สมัยคสช. มีการพิมพ์สลากเพิ่มทั้งหมด 11 ครั้ง ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล    

ขณะที่การเปลี่ยนผ่านการจำหน่ายสลากใบมาสู่การจำหน่ายผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์ แสดงให้เห็นผลว่าทำให้สามารถจำหน่ายสลากได้ในราคา 80 บาทจริง เพียงแต่ว่ายังเป็นสลากส่วนน้อยเท่านั้น จึงยังดึงราคาสลากทั้งตลาดลงมาไม่ได้  สิ่งที่ควรทำต่อคือ การเพิ่มจำนวนสลากเข้าสู่ระบบดิจิตัลให้มากพอ  อย่างน้อย 50% ของสลากทั้งหมด หรือ 50 ล้านใบ  ก็น่าจะมีผลทำให้ราคาสลากลงมาที่ 80 บาทได้ เรื่องนี้สำนักงานสลากฯ ควรทำโดยเร็ว แต่ก็ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลอะไรถึงเพิ่มจำนวนสลากฯเข้าระบบได้ช้ามาก  ทั้งที่เดินมาถูกทางแล้ว และก็ยังไม่เห็นความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องออกสลาก L6 มาซ้ำซ้อนกับสลากใบที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน และดูมีแนวโน้มจะเกิดการ “ตีกิน” เติมจำนวนสลากเพิ่มเข้ามาอีก นอกเหนือจากสลาก 100 ล้านใบเดิม”


​“ในช่วงปลายรัฐบาลอย่างนี้ หากครม.มีมติที่ดูเป็นการทิ้งทวนเพื่อหวังผลประโยชน์บางอย่าง จะทำให้รัฐบาลถูกครหาได้ กลายเป็นการจบที่ไม่สวยของรัฐบาลนี้  อีกทั้งเป็นการตอกย้ำว่าที่เคยสัญญาว่าจะแก้ปัญหาสลากแพง 8 ปีผ่านไปยังทำไม่สำเร็จ และกลายเป็นยุคที่ทำให้หวยเฟื่องฟูมากที่สุด

เชียงใหม่-ศอ.ปกป.ภาค 3 ส่งกำลังทหารสนับสนุน จ.เชียงใหม่ หลังพบไฟไหม้ป่าไหม้ลุกลามบนดอยสุเทพ

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 น. ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ภาค 3 (ศอ.ปกป.ภาค3) ได้สนับสนุนชุดปฏิบัติการลาดตระเวนและดับไฟป่า กองทัพภาคที่ 3 ให้กับจังหวัดเชียงใหม่ 2 ชุดปฏิบัติการ จำนวน 30 นาย พร้อมอุปกรณ์ดับไฟ สนธิกำลังร่วมกับ ชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำนวน 100 นาย หลังจากเกิดเหตุไปไหม้ป่าบนพื้นที่ป่าภูเขาสูง ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ของ อ.สะเมิง , อ.หางดง และ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยจะจัดชุดเดินเท้าทางภาคพื้นดินเข้าไปดับไฟและสร้างแนวกันไฟ ไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ของประชาชนโดยรอบ พร้อมกันนี้ ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จัดรถบรรทุกน้ำจำนวน 3 คัน จากเทศบาลตำบลสุเทพและเทศบาลเมืองแม่เหียะ เตรียมความพร้อม หากลุกลามเข้ามาในพื้นชุมชนและหมู่บ้าน

นอกจากนี้ยังได้ประสานขอเฮลิคอปเตอร์ขี้นบินสนับสนุนด้วยการบรรทุกน้ำจากแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดขึ้น บินโปรยน้ำดับไฟเพื่อจำกัดวงของไฟไม่ให้ลุกลามขยายเป็นวงกว้าง จำนวน 18 เที่ยว ปริมาณ 9,000 ลิตร ซึ่งคาดว่าจากการปฏิบัติทางภาคพื้นและอากาศยาน สามารถควบคุมจุดไฟป่าส่วนใหญ่ได้แล้ว ยังคงปฏิบัติการพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน ต่อเนื่อง

นภาพร/เชียงใหม่

ผบ.ตร. ส่งชุดสืบ สตม. ไปจีนแก้ปัญหาคนจีนเข้ามาก่อเหตุกับคนจีนด้วยกันโดยใช้ไทยเป็นแหล่งก่อเหตุ ส่งชุดสืบ สตม. ไปจีนแก้ปัญหาคนจีนเข้ามาก่อเหตุกับคนจีนด้วยกันโดยใช้ไทยเป็นแหล่งก่อเหตุ

จากสถานการณ์ปัจจุบัน มีเหตุชาวจีนเข้ามากระทำความผิด ต่อชาวจีนด้วยกันในประเทศไทย แล้วหลบหนีออกนอกประเทศ รวมถึงมีบางส่วนเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหลบหนีการกระทำความผิดมาจากประเทศจีน รวมถึงประเทศต่างๆ เข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งบางส่วนมีพฤติกรรมเข้ามาก่อตั้งรกรากและประกอบธุรกิจผิดกฎหมายในประเทศไทย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. จึงได้สั่งการผ่าน พล.ต.ท. ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธ์ุ ผบช.สตม.ให้หาแนวทาง มาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมอบหมายให้ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. และคณะ เดินทางไปประชุมหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจีน ระหว่างวันที่ 5-11 พฤษภาคม 2566 เพื่อประชุม แสวงหาความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล กับเจ้าหน้าที่ตำรวจมณฑลต่างๆที่สำคัญในประเทศจีน เพื่อหาแนวทางในการสกัดกั้น และป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีประวัติในการกระทำความผิด หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยผ่านตามช่องทางสนามบินและช่องทางด่านต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงติดตามจับกุมผู้ที่มีหมายจับของประเทศจีน 
ผลการประชุมหารือได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตามมณฑลต่างๆ เป็นอย่างดี โดยทางตำรวจจีนได้ส่งข้อมูลผู้ต้องหาที่มีหมายจับที่สำคัญและมีข้อมูลว่าหลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทยให้ทางสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของไทยช่วยติดตามจับกุมให้ จำนวนหลายเป้าหมายและมีการประสานงานร่วมกันผ่าน contact person เพื่อส่งข้อมูลผู้ต้องหาที่มีหมายจับในจีนเพื่อให้ทางสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไทยลงข้อมูลในระบบเพื่อแจ้งเตือน เมื่อพบว่าผู้ต้องหาเหล่านี้เข้ามายังพรมแดนประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ในการสกัดกั้นไม่ให้คนจีนเข้ามาก่อเหตุในประเทศไทย ในลักษณะดังกล่าวได้

นอกจากนี้ทาง ตำรวจจีนได้ขอบคุณในความร่วมมือเป็นอย่างดีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย รวมถึงสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในอดีตที่ผ่านมาที่ได้ช่วยจับกุมผู้ต้องหาที่มีหมายจับคดีสำคัญสำคัญในจีนมาดำเนินคดีได้เป็นจำนวนมาก

‘สส.สะถิระ’ ชงตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางโอนย้ายบริการไฟฟ้าของ ‘ชาวสัตหีบ’ จากสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือไปให้ กฟภ. หวังแก้ปัญหา ‘ไฟดับ-ไฟแพง’ 

(2 ส.ค. 66) นายสะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.ชลบุรี เขต 10 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ตนได้เสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการมอบหน้าที่การให้บริการไฟฟ้า อำเภอสัตหีบ จากกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทาน กองทัพเรือ ไปเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยตรง เพราะในตอนนี้พี่น้องประชาชน อำเภอสัตหีบ ทั้ง 5 ตำบล ตำบลแสมสาร ตำบลพลูตาหลวง ตำบลสัตหีบ ตำบลบางเสร่ และตำบลนาจอมเทียน ประสบปัญหาได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการไฟฟ้า โดยกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ทั้งการขยายเขตไฟฟ้า ไฟดับ ไฟตก ค่าไฟ รวมถึง สิทธิประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

นายสะถิระ กล่าวต่อว่า การขยายเขตไฟฟ้าพี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ ยังไม่มีไฟฟ้าถาวรใช้อีกหลายครัวเรือน รวมถึงการเพิ่มขนาดกระแสไฟฟ้าในแต่ละครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันกระแสไฟฟ้าในอำเภอสัตหีบตกบ่อยมาก ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับความเสียหาย ทำให้พี่น้องประชาชนอำเภอสัตหีบ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

"การให้บริการไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นการให้บริการไฟฟ้าหลักของคนไทยทั้งประเทศ ควรเข้ามาให้บริการไฟฟ้าประชาชนอำเภอสัตหีบ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ผมจึงขอเสนอญัตติด่วนดังกล่าว เพื่อตั้ง กมธ.ศึกษาให้ประชาชนอำเภอสัตหีบได้รับการบริการสาธารณะชั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับคนไทยทั้งประเทศ และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน"นายสะถิระ กล่าว
 

‘รัดเกล้า’ เผย รัฐบาลเตรียมแผนรับมือหน้าฝน ปี 67 จ่อป้องกัน-แก้ปัญหา ‘อุทกภัย’ ไม่ให้กระทบประชาชน

(5 ก.ค. 67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ติดตามและรายงานความคืบหน้าการเกิดสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 โดยเพื่อให้การเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝน ปี 2567 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและแผนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้สอดคล้องกับมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดำเนินการ ดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อม ทั้งการติดตามสภาพอากาศ การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บ/กั้นน้ำ การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ และการแจ้งเตือนภัย 2.การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ให้ดำเนินการตามแนวทาง คือจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร และประชาชนจิตอาสา เฝ้าระวังพื้นที่ชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่าง ๆ

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า การจัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางตามช่องทางที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์ และเสนอความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจ สั่งการในเชิงนโยบายต่อไป

ส่วนกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานครดำเนินการ ดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อม โดยเฝ้าระวังติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำท่วมที่อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเผชิญเหตุ ตลอดจนการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น การตรวจสอบพื้นที่เขตชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเส้นทางคมนาคมที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนัก พร้อมทั้งเร่งเปิดทางน้ำโดยการดูดเลน ขุดลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดร่องน้ำเพื่อเตรียมรองรับน้ำฝน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

ขณะที่พื้นที่คู คลอง แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เป็นพื้นที่รองรับน้ำและเส้นทางระบายน้ำลงสู่แม่น้ำสายต่างๆ ให้เร่งกำจัดวัชพืช ขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำให้สามารถรองรับน้ำฝน และน้ำจากท่อระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เตรียมความพร้อมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย เพื่อใช้ในการเผชิญเหตุให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เสี่ยงในแต่ละเขตพื้นที่ พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้า โดยให้ประสานการปฏิบัติการร่วมกับจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเตรียมแผนสำรองในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินอื่นๆ

นางรัดเกล้า กล่าวว่า 2.การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้จุดชุดปฏิบัติการเร่งเข้าตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงที่มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณผิวการจราจร หรือตามเขตชุมชน พร้อมทั้งทำการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลต่อการกีดขวางการระบายน้ำทันที หากเกิดกรณีน้ำท่วมขังบนผิวการจราจร ให้บูรณาการการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการจราจรโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่อาจประสบปัญหาเครื่องยนต์ดับบนผิวจราจรที่มีน้ำท่วมขัง ส่วนในช่วงของการเกิดฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักให้กำกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดสูบน้ำดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง หากเกิดปัญหาระหว่างการปฏิบัติงานให้เร่งทำการแก้ไขตามแผนสำรอง และประสานการปฏิบัติร่วมกับชุดปฏิบัติการของการไฟฟ้านครหลวงอย่างใกล้ชิดและให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้กับประชาชน

“โดย มท. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ ซึ่งเรื่องนี้เข้าข่ายที่ต้องนำเสนอ ครม. ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 มาตรา 4(1) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี หรือให้ต้องเสนอ ครม. และ เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินนอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม” นางรัดเกล้า ระบุ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top