Thursday, 4 July 2024
หมอธีระ

'หมอธีระ' ชี้ ติดเชื้อหลักหมื่นในแต่ละวัน ไม่ใช่ภาวะ 'New Normal ที่ควรยอมรับ'

24 ก.ย. 64 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก รายงานสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก 23 กันยายน 2564 มีเนื้อหาดังนี้

ทะลุ 231 ล้านไปแล้ว

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 500,679 คน รวมแล้วตอนนี้ 231,343,782 คน ตายเพิ่มอีก 8,453 คน ยอดตายรวม 4,741,457 คน

5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย รัสเซีย และบราซิล 

อเมริกา ติดเชื้อเพิ่ม 119,715 คน รวม 43,524,743 คน ตายเพิ่ม 1,916 คน ยอดเสียชีวิตรวม 702,920 คน อัตราตาย 1.6%

อินเดีย ติดเพิ่ม 31,458 คน รวม 33,593,492 คน ตายเพิ่ม 319 คน ยอดเสียชีวิตรวม 446,399 คน อัตราตาย 1.3%

บราซิล ติดเพิ่ม 24,611 คน รวม 21,308,178 คน ตายเพิ่ม 607 คน ยอดเสียชีวิตรวม 592,964 คน อัตราตาย 2.8%

สหราชอาณาจักร ติดเพิ่ม 36,710 คน ยอดรวม 7,565,867 คน ตายเพิ่ม 182 คน ยอดเสียชีวิตรวม 135,803 คน อัตราตาย 1.8%

รัสเซีย ติดเพิ่ม 21,438 คน รวม 7,354,995 คน ตายเพิ่ม 820 คน ยอดเสียชีวิตรวม 201,445 คน อัตราตาย 2.7%

อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิหร่าน อาร์เจนติน่า และโคลอมเบีย ติดกันหลักพันถึงหลายหมื่น

หากรวมทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ พบว่ามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 90.64 ของจำนวนติดเชื้อใหม่ทั้งหมดต่อวัน

แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลักร้อยถึงหลักพัน

แถบตะวันออกกลางส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน ยกเว้นอิหร่านติดเพิ่มหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง

ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ติดเพิ่มกันหลักหมื่น

เวียดนาม ญี่ปุ่น เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ติดกันหลักพัน กัมพูชา และลาว ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง และไต้หวัน ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

‘หมอธีระ’ เปิดข้อมูลงานวิจัยจุฬาฯ ล่าสุด พบ ‘หมา-แมว’ ติดโควิดจากเจ้าของที่ติดเชื้อได้

‘หมอธีระ’ เปิดข้อมูลงานวิจัยการติดเชื้อโควิด-19 ของสุนัขและแมวในไทย ชี้คนที่ติดเชื้อจะสามารถถ่ายทอดไปยังสัตว์เลี้ยงได้

วันนี้ (8 พ.ย. 64) ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า การติดเชื้อโควิด-19 ของสุนัขและแมวในไทย ล่าสุดมีงานวิจัยจากทีมคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รายงานในวารสารวิชาการเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ตรวจพบสุนัข 3 ตัวจากการตรวจ 35 ตัว และแมว 1 ตัวจากการตรวจ 9 ตัว ติดเชื้อโควิด-19 โดยเป็นทั้งหมดที่ตรวจนั้นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่มีเจ้าของติดเชื้อโควิด-19

ข้อมูลข้างต้นนี้ช่วยกระตุ้นให้เราตระหนักถึงความสำคัญว่า คนที่ติดเชื้อจะสามารถถ่ายทอดไปยังสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้นหากมีอาการไม่สบาย นอกจากควรจะแยกตัวออกจากสมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงการไปคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน

‘หมอธีระ’ เตือน! ‘Long COVID’ น่ากลัวกว่าที่คิด ชี้ อย่าหลงคำลวง ‘Omicron’ เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนคนไทยอย่าหลงคำลวงว่าแค่หวัดธรรมดา หากติด Omicron รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าก็จริง แต่มีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติระยะยาว หรือ Long COVID จากเคยปกติ กลายเป็นไม่ปกติ

วันนี้ 15 เม.ย. รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยระบุว่า "Long COVID is real" อย่าหลงคำลวงว่าแค่หวัดธรรมดา กระจอก เป็นแป๊บเดียวก็หาย เอาอยู่ เป็นโรคธรรมดาประจำถิ่น

"หาย ตาย และ Long COVID" เป็นสามทางที่จะเกิดขึ้นหากติดเชื้อ Omicron รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าก็จริง

ติดแล้วป่วยมีอาการ มากกว่าไม่มีอาการ มีโอกาสปอดอักเสบ รุนแรง ใช้ท่อช่วยหายใจ มีโอกาสตาย

อายุเฉลี่ยสั้นลง!  'หมอธีระ' ยกงานวิจัยอเมริกา  ชี้! ประเทศโควิดระบาดหนัก ส่งผลประชากรอายุสั้นลง!

(17 เม.ย.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า...

ทะลุ 504 ล้านคนไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 559,952 คน ตายเพิ่ม 1,567 คน รวมแล้วติดไปรวม 504,190,244 คน เสียชีวิตรวม 6,221,498 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ อิตาลี ญี่ปุ่น และเยอรมัน

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.23 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.81

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 39.49 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 38.35

...สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก

ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 20.79% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...โควิด-19 ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกสั้นลง
งานวิจัยจากอเมริกาโดย Woolf SH และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์สากล JAMA Network Open เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา

เปรียบเทียบให้เห็นผลของการระบาดระลอกแรกของโรคโควิด-19 ใน 22 ประเทศทั่วโลก
พบว่าประเทศต่างๆ ที่มีการระบาดหนัก ทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ย่อมทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศนั้นสั้นลง

ทั้งนี้ในปี 2020 ซึ่งระบาดระลอกแรกนั้น ประเทศที่มีการคุมการระบาดได้ดี (เช่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์) จะมีอายุขัยเฉลี่ยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะที่กลุ่มประเทศที่มีการระบาดหนัก จะทำให้อายุขัยเฉลี่ยลดลง โดยสหรัฐอเมริกาลดลงมากที่สุดถึงเกือบ 2 ปี

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นสัจธรรม และความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรค

แน่นอนว่า หากมีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากระลอกเดลต้าและ Omicron ผลกระทบน่าจะมากกว่าที่เห็นจากระลอกแรก

‘หมอธีระ’ ระบุ โอมิครอน BA.2.75 เป็นอีกสายพันธุ์ย่อยที่น่ากังวล หลังผลวิจัยพบ ดื้อต่อภูมิคุ้มกันไม่ต่างจาก โอมิครอน BA.5 มากนัก อีกทั้งยังมีผลกระทบมากับผู้ที่เคยติด โควิด-19 สายพันธุ์ เดลตา 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 617,204 คน ตายเพิ่ม 1,095 คน รวมแล้วติดไป 566,020,541 คน เสียชีวิตรวม 6,383,840 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 70.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 65.38 สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

ตัวเลขรายงานของทั่วโลก จะเห็นว่าค่าเฉลี่ย 7 วันของจำนวนติดเชื้อใหม่ต่อประชากร 1 ล้านคนของโลก ทวีป และประเทศนั้น สะท้อนให้เห็นว่ากำลังอยู่ในขาขึ้นกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นของไทย ที่ตัวเลขรายงานแต่ละวันนั้นไม่ได้สะท้อนจำนวนติดเชื้อใหม่ที่เกิดขึ้นจริง แต่เลือกรายงานเฉพาะที่ป่วยมารับการรักษาในโรงพยาบาล
 
การรายงานต่ำกว่าความเป็นจริงนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อระบบข้อมูลของสากลที่ใช้ในการเปรียบเทียบสถานการณ์ระหว่างประเทศและภาพรวมของโลกได้

ทั้งนี้หากมาดูค่าเฉลี่ยรอบ 7 วันของจำนวนเสียชีวิตใหม่ต่อประชากร 1 ล้านคน จะเห็นว่า จำนวนการเสียชีวิตของไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ของทวีปเอเชีย และสูงกว่าอีกหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความไม่สอดคล้องกันของตัวเลขติดเชื้อที่รายงาน และตัวเลขการเสียชีวิต ซึ่งตอกย้ำว่าตัวเลขติดเชื้อที่รายงานนั้นต่ำกว่าความเป็นจริงนั่นเอง

ดังนั้นหากเราตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการรับรู้ของประชาชนในประเทศ และผลกระทบต่อการเฝ้าระวังระหว่างประเทศ การกลับทิศทางนโยบายให้หันมารายงานตัวเลขการติดเชื้อที่สะท้อนสถานการณ์จริงนั้นจะเป็นประโยชน์มากกว่าการปล่อยให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโควิด-19 ในสหราชอาณาจักร

‘หมอธีระ’ เผย แม้ WHO ประกาศยุติภาวะฉุกเฉิน แต่การระบาดยังมีอยู่ ย้ำ!! ‘คนไทย-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง’ อย่าประมาทโควิด-19

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 66 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 48,348 คน ตายเพิ่ม 295 คน รวมแล้วติดไป 687,652,147 คน เสียชีวิตรวม 6,870,442 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเวียดนาม

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.38 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 97.28

อัพเดต XBB.1.16.x ข้อมูลจาก GISAID (Cr: Rajnarayanan R) พบว่าตอนนี้ Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB.1.16.x นั้นมีรายงานตรวจพบเพิ่มเป็น 48 ประเทศแล้ว สัดส่วนสายพันธุ์ในอเมริกา รายงานจาก US CDC ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบัน XBB.1.5 ยังครองการระบาดอยู่ราว 67% ในขณะที่ XBB.1.16 และ XBB.1.9.x นั้นมีสัดส่วนพอๆ กันราว 13%

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern: PHEIC) เป็นคนละเรื่องกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic)

เมื่อคืนนี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยุติการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์กันไว้ก่อนมีการประชุมเมื่อวานนี้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนลักษณะการรายงานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงจำนวนเสียชีวิตโดยรวมที่ลดลง การได้รับวัคซีนที่มากขึ้น และแรงกดดันในด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

ชุดเครื่องมือทางนโยบายจากประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศนั้น ไม่ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดปัจจุบันที่มีการระบาดต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะที่เรียกว่า subacute to chronic phases แบบในปัจจุบัน

ดังนั้น หลังยุติการประกาศ PHEIC ลงแล้ว จะเป็นช่วงเวลาที่จะพิสูจน์ว่าแต่ละประเทศจะรับมือ และจัดการสถานการณ์ระบาดที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

ทั้งระบบเฝ้าระวัง การกระตุ้นเตือนและให้ความรู้ประชาชน การควบคุมป้องกันโรค การเข้าถึงบริการ ยา วัคซีน รวมถึงการจัดการคน เงิน และทรัพยากรอื่นที่จำเป็น ทางองค์การอนามัยโลกได้เตือนไว้อย่างชัดเจนว่า การระบาดทั่วโลกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่กังวล และย้ำเตือนให้ระวังคือ

“The worst thing any country could do now is to use this news as a reason to let down its guard, to dismantle the systems it has built, or to send the message to its people that COVID19 is nothing to worry about”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top