Friday, 5 July 2024
สุริยะ

‘สุริยะ’ เร่งสปีดดัน ‘โครงการแลนด์บริดจ์’ เตรียมชง ครม. ต.ค.นี้ พร้อมลุยโรดโชว์ดึงต่างชาติร่วมทุน ลุ้นเดินเรือยักษ์ใหญ่ร่วม

เมื่อวานนี้ (10 ต.ค.66) จากช่องยูทูบ MONAI CHANNEL ได้โพสต์คลิปวิดีโออธิบายเกี่ยวกับ ‘โครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร’ ที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าพร้อมเดินหน้าโครงการนี้ต่อ โดยระบุว่า…

ณ ปัจจุบันนี้ หนึ่งในเส้นทางการเดินเรือสำคัญของโลกเป็นการเชื่อมกันระหว่างเอเชียตะวันออก ก็คือประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จากนั้นก็มีการอ้อมผ่านทางทะเลจีนใต้ ผ่านแหลมมลายู สิงคโปร์ ไปสู่ที่มหาสมุทรอินเดีย ไปผ่านอินเดียตอนใต้แล้วค่อยไปออกแถวแอฟริกา จากนั้นไปผ่านคลองสุเอซ เข้าไปต่อที่บริเวณแถบยุโรป และนี่คือเส้นทางการเดินเรือสำคัญ หรือจากยุโรปเองจะมีการส่งสินค้ามาก็ผ่านเส้นทางนี้เช่นกัน

แต่ ‘โครงการแลนด์บริดจ์’ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีการศึกษามาเรียบร้อยแล้ว คือเป็นการทำ ‘ชอร์ตคัท’ ไม่ต้องไปอ้อมแหลมมลายูของทางสิงคโปร์ แต่ผ่านบริเวณแผ่นดินของประเทศไทย โดยจุดเชื่อมสำคัญบริเวณ ‘ทะเลอ่าวไทย’ คือ จังหวัดชุมพร และจุดเชื่อมสำคัญของบริเวณ ‘ทะเลอันดา’ คือ จังหวัดระนอง ซึ่งเราจะมีทั้งรถไฟทางคู่และถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อที่จะให้เวลาเหลือ มีการเปลี่ยนโหมด ซึ่งพอมาถึงชุมพรจากนั้นก็ใช้เครื่องออโตเมติกหยิบตู้คอนเทนเนอร์ใส่รถไฟ รถไฟก็จะวิ่งข้ามแผ่นดินมาถึงที่จังหวัดระนอง จากนั้นก็มีระบบอัตโนมัติหยิบตู้คอนเทนเนอร์จากรถไฟไปลงเรือ จากเรือไปต่อมหาสมุทรอินเดียแล้วก็ไปส่งของต่อ ซึ่งจะเป็นเอเชียใต้ แอฟริกา หรือยุโรปก็ได้…

ซึ่งตอนแรกสุดเหมือน คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า…อาจจะไม่เดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่ล่าสุด ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2566 คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้ ซึ่งขออนุญาตหยิบยกมาจากข่าวสด 

นายสุริยะกล่าวว่า “โครงการสภาเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย อันดามัน ชุมพรกับระนอง หรือแลนด์บริดจ์ คาดว่าจะเสนอให้ครม. พิจารณาเห็นชอบในหลักการภายใน 2 สัปดาห์นี้” ซึ่งก็คือภายในเดือนตุลาคมนี้ 

“ก่อนจะเดินหน้าไปโรดโชว์ต่างประเทศอย่างยุโรป สหรัฐฯ รวมไปถึงตะวันออกกลาง เพื่อชี้แนะรายละเอียดของโครงการประกอบการจูงใจดึงดูดนักลงทุนให้มาร่วมลงทุนในโครงการนี้ด้วย เพราะโครงการนี้ใช้เม็ดเงินลงทุนตัวเลขกลม ๆ ประมาณ 1 ล้านล้านบาท” นายสุริยะกล่าว

แต่เราจะไม่ใช้งบประมาณจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งหมด และจากนั้นให้สัมปทานไปยาว ๆ 50 ปีด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต่างถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยบางส่วนห่วงเรื่องของการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และบางส่วนบอกว่าจำเป็นต้องเดินหน้าจะเป็นโครงการที่เรียกได้ว่าพลิกโฉมหน้าประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง และแลนด์บริดจ์ที่ว่านี้ จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการเดินหน้าเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ หรือ SEC โดยปัจจุบันนี้ เรามีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จากนี้ไปเราจะมีแต่ละภาคหมด อย่างภาคเหนือจะมี NEC ส่วนภาคใต้ก็จะมี SEC 

ซึ่ง คุณสุริยะ ได้บอกต่อว่า คาดว่าจะเสนอสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA แล้วเสร็จ ภายในช่วงต้นปี 67 ก่อนจะขับเคลื่อนเรื่องการลงทุนต่อไป เช่นเดียวกับแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง ก็จะให้สนข.ผลักดันเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ‘แลนด์บริดจ์’ ยังไม่จบ…และจะมีการเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน แต่ที่นี่ต้องรอดูว่าครม.จะเห็นชอบหลักการหรือไม่ และถ้าเกิดครม.เห็นชอบหลักการเวลาไปโรดโชว์ต่างประเทศ มีนักลงทุนต่างชาติสนใจหรือเปล่า…เพราะเป้าหมายสำคัญนักลงทุนต่างชาติที่ต้องให้ความสนใจ คือ บริษัทเดินเรือขนาดใหญ่…

‘รมว.สุริยะ’ กร้าว!! เร่งขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมรอบทิศ ‘ระบบขนส่งราง -โลจิสติกส์ - รถไฟทางคู่ -รถไฟฟ้ากทม.’

(24 ม.ค.67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน ปี 2567-2568 ว่า การสัมมนาในครั้งนี้ได้จัดทำ Action Plan ทุกหน่วยงานจะได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นตลอดช่วงเวลาของการ Workshop โดยผลักดันนโยบาย Quick Win 2567-2568 พบว่ามีโครงการสำคัญ 72 โครงการ

นอกจากนี้กระทรวงได้เร่งรัดทุกหน่วยงานพิจารณานโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ดังนี้…

1. นโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค 
2. บูรณาการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับเส้นทางในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับจีนตอนใต้ (รถไฟไทย - สปป.ลาว - จีน) โครงการ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ให้ความสำคัญกับโครงการแลนด์บริดจ์ เปิดประตูการค้าสองฝั่งสมุทรทางภาคใต้

ตลอดช่วงเวลากว่า 3 เดือน ที่ผมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 ท่านเข้ามาปฏิบัติงานที่กระทรวงคมนาคม พวกเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากทุกท่าน ผมจึงมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จากการ Workshop ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ Action Plan ที่มีประสิทธิภาพ และ ผลักดันให้นโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ 

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่ามีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 9.5 -9.8 % ของจีดีพี ขณะที่ไทยมีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 11-12 % ของจีดีพี  ซึ่งถือว่าไทยมีปริมาณต้นทุนที่สูง เนื่องจากไทยใช้ระบบถนนเป็นหลัก หากสามารถหันไปใช้ระบบขนส่งทางรางได้ จะช่วยลดต้นทุนขนส่งโลจิสติกส์ได้มากขึ้น เบื้องต้นได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันการใช้ระบบขนส่ง ทางราง เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง โลจิสติกส์ ภายใน 5-6 ปี โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 และระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 554 กม.

สำหรับการสัมมนาฯ ในวันนี้ มีความคาดหวังอยากให้ทุกหน่วยงานได้เร่งรัดและบูรณาการโครงการที่จะดำเนินงานในปี 2567 รวมทั้งร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2568 ตามภารกิจและโหมดการขนส่งในทุกมิติ และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานได้นำเสนอกรอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุน แยกตามแหล่งเงิน ประโยชน์ที่จะประชาชนจะได้รับ และแผนการดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อนำภาพผลงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้วในช่วง 99 วันที่ผ่านมา มารวมกับผลลัพธ์จากการทำ Workshop ในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงทิศทางการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในอนาคต ซึ่งสามารถจับต้องได้และสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top