Thursday, 4 July 2024
สับปะรดห้วยมุ่น

พาณิชย์ฯ ดัน 3 สินค้า GI ไทย เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น คาดดึงรายได้กลับชุมชนท้องถิ่นกว่า 1,200 ลบ.

'พาณิชย์ฯ' ดัน กาแฟดอยตุง, กาแฟดอยช้าง, สับปะรดห้วยมุ่น 3 สินค้า GI ไทย เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เชื่อ!! สร้างรายได้ให้เกษตรกรท้องถิ่นได้กว่า 1,200 ล้านบาท

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งเสริมสินค้าชุมชนท้องถิ่นให้ขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับสินค้าท้องถิ่นและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในคุณภาพสินค้า GI ไทย

สำหรับ GI นั้น เป็นสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพ หรือชื่อเสียงของสินค้านั้น ๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็น 'แบรนด์' ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพ และแหล่งที่มาของสินค้า 

พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นสินค้าที่ผลิตได้จากท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากภูมิปัญญาเฉพาะ หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น เช่น ดิน อากาศ แร่ธาตุ ฯลฯ ทำให้ได้สินค้าที่มีอัตลักษณ์ มีลักษณะเฉพาะ หรือรสชาติเฉพาะ ที่สินค้าแบบเดียวกันของท้องถิ่นอื่นไม่มี และเลียนแบบไม่ได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top