Thursday, 4 July 2024
ยุติความรุนแรง

รองโฆษก ตร. ขอเชิญชวนทุกภาคส่วน ร่วมรณรงค์! ‘ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี’

รองโฆษก ตร. เผย 16 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ความรุนแรงกับเด็ก กว่า 1,300 ราย พร้อมย้ำเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ชี้! มติ ครม. กำหนดให้ พ.ย ของทุกปี ร่วมกันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

วันนี้ (12 พ.ย.64) พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล กฤตพิทยบูรณ์ รองโฆษก ตร. เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบกำหนดให้เดือนพฤศจิกายน ของทุกปี เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ซึ่งทุก ๆ ปีจะมีการรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักในการร่วมกันป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดต่อเด็ก และสตรีในครอบครัว รวมไปถึงความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ

พ.ต.อ.หญิง ศิริกุล กล่าวว่า ในปัจจุบันก็ยังพบว่าความรุนแรงในครอบครัวยังเป็นปัญหาสังคมที่ทุกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยบูรณาการความช่วยเหลือ เริ่มจากครอบครัวสถานศึกษา สถานที่ทำงาน ในการช่วยสอดส่องดูแลป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น แต่หากพบการกระทำในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเข้าไปทำการช่วยเหลือได้โดยด่วน

นอกจากนี้ การใช้ความรุนแรง ไม่ได้เกิดจากการทำร้ายร่างกายเสมอไป เพราะรวมถึงการทำร้ายจิตใจด้วย ทั้งคำด่าทอ หรือคำหยาบคาย ล้วนแต่มีผลกระทบทางจิตใจเช่นเดียวกัน บ่อยครั้งที่ผู้ถูกทำร้ายมักไม่กล้าบอกใคร เพราะกลัว อับอาย เสียชื่อเสียง รวมถึงเกรงว่าจะมีผลกระทบกับครอบครัว โดยพบว่าสถิติ 16 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2547-2563) มีการใช้ความรุนแรงกับเด็กและมาเข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้รพ.ตร. จำนวนกว่า 1,307 ราย อีกทั้งพบว่าความรุนแรงต่อเด็กยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

กัมพูชา - องค์กรทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อยุติความรุนแรงต่อ LGBT ในกัมพูชา

พนมเปญ/กัมพูชา - กัมพูชาเป็นสังคมดั้งเดิมที่คน LGBT กว่า 81% ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เมื่อผู้คนเข้าใจว่าพวกเขาขัดต่อบรรทัดฐานและประเพณีของพวกเขา ครอบครัวจึงไม่สามารถยอมรับทางเลือกทางเพศ และรูปแบบการใช้ชีวิตของเด็ก LGBT ของพวกเขา และมักจะบังคับและไล่พวกเขาออกจากครอบครัว หรือกดดันพวกเขา เช่น กีดกันค่าเล่าเรียน หรือบังคับให้แต่งงานกับคนที่พวกเขาไม่ชอบ

ตามหนังสือเกี่ยวกับชีวิตในวัยกลางคน รากเหง้าของปัญหามีมาช้านานแล้ว ซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่เชื่อว่าความรักของลูกไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ

บางคนถึงกับคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับอาหารที่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น องค์กร MIRF กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการล่วงละเมิดในครอบครัว และให้ความช่วยเหลือบุคคล LGBT ที่มีปัญหาในชีวิตประจำวัน

ก้อย แก้ว โสภณ เด็กหญิงที่ค้นพบว่าเธอเป็นเลสเบี้ยนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เล่าถึงความทุกข์ทรมานและความรุนแรงที่เธอเผชิญเมื่อตัดสินใจบอกครอบครัวของเธอว่า พวกเขาทุบตีเธออย่างรุนแรงซึ่งทำให้เกิดรอยฟกช้ำและบาดแผลขนาดใหญ่ในร่างกายของเธอ “ฉันรู้สึกแย่มาก มันส่งผลต่อสุขภาพจิตของฉัน ดังนั้นฉันจึงออกจากบ้านของครอบครัวไปอาศัยอยู่กับคู่รัก” เธอกล่าวเสริม

เชือง รัชนะ นักเคลื่อนไหว เน้นย้ำว่า LGBTQ เกิดมาตามธรรมชาติแบบนี้ ตรงกันข้ามกับความเชื่อมั่นของผู้คน มันไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะพัฒนา และเสริมว่านี่เป็นปัญหาโบราณที่ผู้คนค้นพบเมื่อหลายร้อยปีก่อน

ทุก ๆ ปี กัมพูชาจะเฉลิมฉลอง 16 วันในการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ รวมถึงต่อต้านกลุ่มเพศทางเลือกด้วย ตามการระบุของ Kuy Thida ผู้ร่วมก่อตั้ง Loveisdiversity

 

‘วราวุธ’ ย้ำ!! พฤศจิกายนเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรง ชวนคนไทย สร้างความอบอุ่นต่อ ‘เด็ก-สตรี-บุคคลในครอบครัว’

(4 พ.ย.66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว’ และวันนี้สังคมไทยของเรามีความเปราะบางมากเหลือเกิน ความเข้มแข็งความอบอุ่นในครอบครัว เป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับเด็กและเยาวชนของเรา ความอบอุ่นของครอบครัวนั้นจะมาจากการเริ่มยุติความรุนแรงเสียก่อน แต่ไม่ใช่ยุติความรุนแรงแค่เดือนพฤศจิกายนนี้เท่านั้น แต่เราต้องยุติความรุนแรงในทุกวันทุกปีและตลอดไป เพื่อให้เด็กและเยาวชนของเรานั้นเติบโตมาในครอบครัวที่มีความอบอุ่น ปกป้องสิทธิของสตรีและดูแลสมาชิกทุกคนในครอบครัว เราต้องมาช่วยกันรณรงค์ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว’

รมว.พม. กล่าวว่า สำหรับสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว ‘White Ribbon’ เป็นสัญลักษณ์สากลที่ใช้ในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว เพื่อแสดงจุดยืนของการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวทุกรูปแบบ

หากพบเห็นการกระทำความรุนแรงในสังคม สามารถแจ้งเหตุมาที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. 1300 บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง หรือ แจ้งเหตุผ่าน Line OA ‘ESS Help Me’ เพียงกดเพิ่มเพื่อน @esshelpme ซึ่งกระทรวง พม. โดย ทีม ‘พม. หนึ่งเดียว’ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top