Saturday, 22 June 2024
มูลนิธิชัยพัฒนา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

เมื่อวานนี้ (18 พ.ย.65) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการเกี่ยวข้าว ณ แปลงสาธิตการเกษตรที่ 5 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

ปตท. มอบรางวัล การประกวดการพัฒนา - รณรงค์ใช้ ‘หญ้าแฝก’ เพื่อเป็นแบบอย่างการอนุรักษ์ดิน-น้ำอย่างยั่งยืน

ปตท. จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2563 - 2565

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 (ประจำปี 2563 - 2565) ภายใต้แนวคิด ‘รักษ์น้ำ ป่า ดิน ด้วยแฝกองค์ภูมินทร์ ฟื้นถิ่น ยั่งยืน’ ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรร่วมจัด ได้แก่ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการขยายผลการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน

การจัดการประกวดครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยได้รับโล่พร้อมรับเกียรติบัตรจากองค์กรร่วมจัด โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 58 ผลงาน ซึ่งแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภทผลงาน คือ

‘ลุงซาเล้ง’ เล่าความประทับใจ ‘กรมสมเด็จพระเทพฯ’ ทรงรถซาเล้งพ่วงข้าง เผย สุดแสนปิติ ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตเคยได้ถวายงานเป็นพลขับให้พระองค์ท่าน

(17 ก.พ. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘มูลนิธิชัยพัฒนา’ ได้โพสต์ภาพเก่าเล่าเรื่อง เป็นภาพที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรถซาเล้งพ่วงข้าง คงเป็นภาพที่อยู่ในความประทับใจของใครต่อใครหลายคน

… แต่ใครจะรู้ว่าภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากเมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและทรงติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ด้วยภูมิศาสตร์ของโรงเรียนตั้งอยู่บนเกาะ การเดินทางซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนบนเกาะสาหร่ายจึงใช้รถมอเตอร์ไซค์และรถซาเล้งพ่วงข้างในการเดินทาง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ได้ประทับรถซาเล้งพ่วงข้างเฉกเช่นสามัญชนทั่วไป โดยมีคนท้องถิ่นนำรถของตนน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นรถพระที่นั่งขณะทรงงานบนเกาะ พร้อมทั้งถวายงานเป็นพลขับเพราะคุ้นชินและชำนาญพื้นที่

นายนาซาด หมัดตุกัง หรือ ‘คุณลุงขับซาเล้ง’ ที่เห็นในภาพ เคยถ่ายทอดความประทับใจที่ได้ถวายงานในวันนั้น ว่า…

“ขณะร่วมทาง พระองค์ได้ทรงสอบถามทุกข์สุขของชาวบ้าน พูดคุยอย่างเป็นกันเอง… ส่วนรถซาเล้ง ชาวบ้านละแวกนั้นจะเรียก ‘รถพระเทพฯ’ ...และหากถามถึงความรู้สึก ก็ตื่นเต้นมาก บอกไม่ถูก ผมเป็นมุสลิม เคยไปอยู่มาเลย์ แต่ก็กลับมาอยู่เมืองไทย เมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีปัญหา คนเกาะอยู่กันสุขสบาย… ที่นี่เจริญขึ้นมาก เจ้าเหยียบเมืองตรงไหนก็เจริญ”

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากเฟซบุ๊ก : มูลนิธิชัยพัฒนา
https://www.facebook.com/chaipattanafoundation/posts/801975968639531?ref=embed_post

พระราชดำริฯ โดย 'กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ' เพื่อประโยชน์สุขแก่ 'ชาวประชา-เด็กนักเรียน' ในถิ่นทุรกันดาร

(21 พ.ค. 67) 'มูลนิธิชัยพัฒนา' ได้โพสต์เรื่องราวของ ไข่ไก่ อารมณ์ดี Happy Chicken ไข่โอเมก้า ผลิตผลจากการพัฒนา เพื่อให้ราษฎรในถิ่นทุรกันดารเลี้ยงไก่ไข่ไว้เป็นอาหารโปรตีน ระบุว่า...

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์จากโครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และโครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก 'ไข่ไก่ อารมณ์ดี Happy Chicken ไข่โอเมก้า' ไข่มีคุณภาพ สะอาด ถูกหลักอนามัย มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมด้วยวิตามิน โอเมก้า 3 และแร่ธาตุมากมาย เพราะเกิดจากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ปลอดภัยจากสารเร่งและยาปฏิชีวนะ ทำให้ไก่มีความสุข อารมณ์ดี จึงดีต่อผู้บริโภค ซึ่งการศึกษาวิจัยพบว่าไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงแม่ไก่แบบปล่อยอิสระ มีกรดไขมันโอเมก้า วิตามิน A และ E สูงกว่าการเลี้ยงแบบขัง

เรื่องราวก่อนจะมี 'ไข่ไก่ อารมณ์ดี Happy Chicken ไข่โอเมก้า' มาจากปัญหาความยากจนและความทุกข์ยากลำบากของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร โดยเฉพาะเด็ก ๆ ขาดสารอาหารที่จำเป็น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีโอกาสเสด็จไปกับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาค ทำให้ทรงตระหนักถึงปัญหานี้ จึงทรงหาแนวทางแก้ไขตามแนวพระราชดำริของพระราชบิดาที่ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553 จึงพระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ฯ เป็นศูนย์กลางในการผลิตพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งพิจารณาส่งเสริมพันธุ์สัตว์พันธุ์ดีให้แก่ราษฎรที่ยากจนในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ฯ เพื่อให้ราษฎรสามารถเลี้ยงสัตว์ใช้เป็นอาหารโปรตีน 

วันนั้นทรงมีพระราชดำรัสด้วยว่า “...ไก่พวกนี้เขาให้ไข่เรากินแล้ว ก็ต้องเลี้ยงให้เขามีความสุขด้วย ต้องปล่อยให้ออกมาเดินเล่นบ้าง ต้องเลี้ยงแบบให้ไก่มีความสุข หรือที่เรียกว่า เลี้ยงแบบ Happy Chicken...”

จากนั้นในปี 2558 มีกระแสรับสั่งเพิ่มเติมให้ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ฯ ดำเนินการส่งเสริมขยายพันธุ์ไก่ไข่สู่โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโดยให้สามารถดำเนินการขยายพันธุ์ได้เอง และให้ดำเนินงานฝึกอบรมและส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่แก่โรงเรียนถิ่นทุรกันดารในพื้นที่จังหวัดตาก ผลิตพันธุ์เป็ดไข่สนับสนุนแก่พื้นที่ที่มีความต้องการให้มากขึ้น 

ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดทำโครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบจังหวัดตาก เพื่อผลิตและกระจายพันธุ์ไก่ไข่และเป็ดไข่พระราชทานแก่โรงเรียนทุรกันดารพื้นที่จังหวัดตาก รวมทั้งเป็นแหล่งสาธิตฝึกอบรมและศึกษาเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ปีกและการผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น

โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย และโครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ จังหวัดตาก จึงเป็นโครงการที่ผลิตไก่ไข่พระราชทานและส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่แบบ Happy Chick โดยเป็นการเลี้ยงไก่แบบปล่อย Free range system หมายถึงระบบการจัดการเลี้ยงไก่ที่ปล่อยให้ไก่ได้ออกมาภายนอกได้อย่างอิสระในพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุม ทำให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ เช่น การคลุกฝุ่น การไซร้ขน การจิกกินพืช ผัก และแมลง ทำให้ไก่มีความสุข จึงเรียกว่า 'Happy Chicken' รวมทั้งการใช้อาหารที่มีวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อพระราชทานพันธุ์ไก่ไข่ที่มีคุณภาพแก่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดารและประชาชนที่ยากจน ตลอดจนประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ

พระราชดำรินี้เกิดประโยชน์สุขโดยตรงแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนที่จะได้รับอาหารโปรตีนไว้บริโภคอย่างเพียงพอ ขณะที่เกษตรกรได้รับองค์ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ที่มีคุณภาพ การผลิตอาหารเลี้ยงไก่ การได้รับการส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ทั้งได้ขยายต่อยอดไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

'ไข่ไก่ อารมณ์ดี Happy Chicken ไข่โอเมก้า' ปัจจุบันยังเป็นสินค้าส่งมอบความสุขแก่ผู้บริโภคทั่วไป ด้วยเป็นที่ยอมรับว่าเป็นไข่คุณภาพถูกหลักอนามัย ดีต่อกายและใจ

นี่คือเรื่องราวความหมายที่อยู่เบื้องหลังผลิตผลจากการพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งมีเป้าหมายช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุขและอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ

📢ผู้สนใจ 'ไข่ไก่ อารมณ์ดี Happy Chicken ไข่โอเมก้า' สามารถติดต่อได้ที่ โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย โทร. 042 810497 และโครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ จังหวัดตาก โทร. 055 508950


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top