Friday, 28 June 2024
พระมหากรุณาธิคุณ

‘ไบโอดีเซล’ เชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพ จากพระอัจฉริยภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงศึกษาวิจัยค้นคว้าพลังงานชีวภาพ แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล จากผลิตผลทางเกษตรในประเทศ และช่วยให้ประชาชนสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในราคาถูก กว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพของโครงการส่วนพระองค์จิตรลดา เริ่มต้นในปี 2528 ด้วยในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทย มีพระราชดำริว่า ในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนน้ำมัน จึงมีพระราชประสงค์ให้นำอ้อยมาผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ต่อมาโครงการได้ศึกษาวิจัยการผลิตและกลั่นแอลกอฮอล์ จากพืชผลทางเกษตรหลายอย่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย มีการปรับปรุงการกลั่นเรื่อยมา จนสามารถผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% หรือที่เรียกว่า เอทานอล ไปกลั่นแยกน้ำ และใช้เป็นวัตถุดิบผสมน้ำมันเบนซินผลิตแก๊สโซฮอล์ โดยศึกษาทดลองสูตรการผสม และผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้กับรถยนต์ทุกคันของโครงการส่วนพระองค์ฯ

ต่อมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้นำผลการศึกษาของโครงการส่วนพระองค์จิตรลดามาต่อยอด ผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2545 ส่วน บริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ศึกษาทดลองผลิตเอทานอลบริสุทธิ 99.5% จากมันสำปะหลัง แล้วนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วน 10% ทดแทนสาร เพิ่มออกเทน MTBE ที่ใช้แทนสารตะกั่ว ซึ่งต้องนำเข้าเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 เริ่มจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ถ.ติวานนท์

ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ส่วนหนึ่ง และยังช่วยลดมลพิษในอากาศได้อีกด้วย เพราะแก๊สโซฮอล์ไม่ต้องเติมสารตะกั่ว และสารเพิ่มออกเทน MTBE

ไบโอดีเซลในประเทศไทย เริ่มพัฒนามาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2526 ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทดลองขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่ และอีกหลายแห่งในเวลาต่อมา ในปี 2543 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และกองงานส่วนพระองค์ วังไกลกังวล หัวหิน เริ่มการทดลองนำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จากการทดลองพบว่า น้ำมันปาล์ม บริสุทธิ์ 100% สามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นฯ หรืออาจใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลได้ ตั้งแต่น้อยสุด 1 - 99% ทั้งนี้องคมนตรี (อำพล เสนาณรงค์) เป็นผู้แทนในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ‘การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล’ แล้ว

จากโครงการพัฒนาและทดลองการผลิตการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในโครงการส่วนพระองค์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 จนเทคโนโลยีการผลิตการใช้ไบโอดีเซลก้าวหน้า สามารถนำมาใช้ในเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในทางพาณิชย์ได้ ผลการวิจัยในการนำน้ำมันพืชมาใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย พบว่าน้ำมันพืชที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซล คือ น้ำมันปาล์ม

>> ไบโอดีเซลในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นไบโอดีเซลชุมชน และไบโอเชิงพาณิชย์
ไบโอดีเซลชุมชน คือไบโอดีเซลที่กลั่นน้ำมันปาล์มออกมาเหมือนน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียว รอบเครื่องยนต์คงที่ เช่น รถไถนาเดินตาม รถอีแต๋น เครื่องสูบน้ำ แต่ไม่เหมาะกับการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีหลายสูบ เช่นเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ เพราะระยะยาวจากเกิดยางเหนียวในเครื่องติดที่ลูกสูบ

สำหรับไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ คือ ไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันปาล์มผ่านกระบวนการไปผสมกับน้ำมันดีเซล โดยผู้ผลิตรถยนต์ทดสอบและให้การรับรองว่าใช้กับรถยนต์รุ่นที่ทดสอบแล้วได้

>> ไบโอดีเซลช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์ม
นอกจากการส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้ไบโอดีเซล เพื่อลดการการนำเข้าน้ำมันแล้ว ในยามที่ปาล์มมีราคาตกต่ำ รัฐบาลก็สนับสนุนส่งเสริมให้มีการผลิต การจำหน่าย การใช้ไบโอดีเซลที่ผสมน้ำมันปาล์มในรถยนต์ด้วย

ที่ผ่านมาใช้น้ำมันดีเซลผสมกับน้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการในอัตรา 95 : 5 จะได้ไบโอดีเซล ที่เรียกว่า บี 5 ถ้าเป็นอัตรา 93 : 7 จะได้ไบโอดีเซลเรียกว่า บี 7 ซึ่งเป็นการเพิ่มความต้องการน้ำมันปาล์ม ที่สามารถยกระดับราคาปาล์ม ตามกลไกตลาดได้ระดับหนึ่ง

>> ปัจจุบันมีปัญหาราคาปาล์มตกต่ำอีก กระทรวงพลังงานจึงได้ร่วมกับหน่วยงานอื่นและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลักดันไบโอดีเซล บี 10 เพื่อแก้วิกฤตราคาปาล์ม

บี 10 คือ น้ำมันไบโอดีเซล ที่มีอัตราผสมน้ำมันดีเซลอัตรา 90 ส่วน ต่อน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธี 10 ส่วน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความต้องการน้ำมันปาล์มได้ดีกว่า บี 5 และบี 7 นอกจากนี้ยังมีการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล บี 20 ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มผ่านกรรมวิธี 20% ด้วย

ในการผลักดันการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 10 ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซล นอกจากช่วยผู้ใช้รถประหยัดค่าใช้จ่ายจากราคาน้ำมันแล้ว ยังเป็นการช่วยชาวสวนปาล์มด้วยทางหนึ่ง 

รู้จัก 'พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9' แห่งอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ สวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ในหลวง ร.10 พระราชทานเพื่อปวงชน

ย้อนไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งอยู่ในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีขนาดความสูงถึง 7.7 เมตร หรือขนาด 4 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฐานพระบรมรูปตั้งอยู่บนลานรูปไข่ ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 8 เหลี่ยมมีแผ่นจารึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข อันก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน

ทั้งนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีชื่อเต็มว่า  'อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร' มีพื้นที่ทั้งหมด 297 ไร่ เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสามแยกนางเลิ้ง ล้อมรอบด้วยถนนสวรรคโลก ถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต

ในหลวง ทรงเป็นดั่งแสงสว่างสร้างชีวิตใหม่ ลูกทุน ม.ท.ศ. ตั้งมั่นตอบแทนคุณแผ่นดิน สานต่อพระราชปณิธาน “พระราชา”

ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระราชหฤทัยอันแน่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นว่าการพัฒนาการศึกษา คือ การสร้างความมั่นคงของประเทศ จึงทรงสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับประชาชนได้เรียนรู้สามารถนํามาใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว รวมถึงสามารถนำความรู้มาพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้

ดังนั้น จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนิน “โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเมื่อปี 2552 โดยให้ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยที่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษาให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อมาในปี2553 มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร” โดยเรียกย่อว่า “ม.ท.ศ.” ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำโครงการทุนการศึกษาฯ มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสืบต่อไป

ตลอดระยะเวลา 13 ปี ของการดำเนินงานโครงการทุน ม.ท.ศ. น้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นได้ส่องประกายสานฝันให้เยาวชนไทยทั่วประเทศ จากรุ่นสู่รุ่น ได้มีอนาคตอันสดใส นักเรียนทุนพระราชทานบางคนจากที่ไม่เคยคิดว่าชีวิตนี้จะได้รับการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ก็กลับมามีความหวังในเส้นทางแห่งอนาคตที่วาดฝันไว้อีกครั้ง บางคนที่ได้รับทุนพระราชทานจนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีพวกเขาก็พร้อมนำความรู้ความสามารถที่ได้เล่าเรียนกลับไปพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน และประเทศชาติอย่างยั่งยืนสืบไปดังพระบรมราโชบายที่นักเรียนทุนพระราชทานทุกคนล้วนจำได้อย่างขึ้นใจว่า “เรียนดี ความรู้ดี การงานดี ชีวิตสดใส ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติมีความสุข”

ผู้หมวดบาส - ว่าที่ร้อยตรี อนุรุทธ ด้วงทอง นักเรียนทุนฯ ม.ท.ศ.รุ่นที่ 2 รับราชการตำรวจที่ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 จ.ราชบุรี ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์สัญญาบัตร1 (นวท.สบ1) เล่าด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณว่า ในชีวิตนี้ไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสได้ศึกษาจนจบระดับชั้นปริญญาตรีเลยด้วยซ้ำไป แค่ศึกษาจบแค่ระดับชั้นมัธยมปลายก็ดีที่สุดแล้ว แต่วันหนึ่งก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เกิดขึ้นเมื่อเขาได้รับคัดเลือกให้ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน ม.ท.ศ. และวันนั้นเองที่เขาได้เห็นรอยยิ้มแห่งความยินดีบนใบหน้าผู้เป็นมารดาอีกครั้ง

“ผมเป็นนักเรียนทุนพระราชทานปีการศึกษา 2553 ตอนนั้นทางบ้านฐานะยากจนคุณแม่กับคุณพ่อแยกทางกันตั้งแต่ผมอายุ 2 ขวบ คุณแม่ทำงานคนเดียวเป็นเสาหลักของครอบครัวซึ่งต้องดูแลคนในครอบครัวกว่า6 ชีวิต ตอนนั้นลำบากมากคุณแม่หาเช้ากินค่ำเป็นแม่ค้าขาย แม่บอกว่ายังไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีกำลังส่งเราเรียนถึงได้ในระดับไหนแต่เราก็มีความตั้งใจว่าอยากจะศึกษาไป ในระดับที่สูงเท่าที่ครอบครัวจะส่งได้ แต่พออาจารย์ที่โรงเรียนแนะนำให้สมัครทุน ม.ท.ศ. เราก็รีบสมัครทันที ตอนนั้นเขาคัดเลือกนักเรียนทุนจาก 3 ข้อคือ เรื่องความประพฤติ ฐานะและความมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพ ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในคนที่ได้รับคัดเลือก 

ดีใจมากครับพอมีทุนการศึกษาพระราชทานซึ่งเป็นทุนต่อเนื่องที่ส่งเสียจนเรียนจบปริญญาตรี ก็เป็นโอกาสที่ทำให้เราก้าวมาถึงจุดนี้ พอรู้ว่าได้ทุนสิ่งแรกเลยชีวิตเรามันเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือจากแม่ที่เคยเหนื่อยก็ลดภาระจากการส่งเสียอย่าเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพราะทุนนี้มีเงินที่เป็นของค่าเรียนและค่าครองชีพให้ ซึ่งตรงนี้ก็ช่วยลดภาระของแม่ที่ทำงานได้เป็นอย่างดี”

เพราะมีความฝันอันแน่วแน่ที่อยากจะเป็นข้าราชการ เพื่อเป็นฟันเฟืองเล็กๆในการช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชนเมื่อสำเร็จการศึกษาจากระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ ผู้หมวดบาสจึงเลือกเข้าสู่เส้นทางชีวิตข้าราชการที่เขาเคยวาดฝันไว้ และพร้อมน้อมนำพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้แก่นักเรียนทุนทุกคนเมื่อครั้งที่เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานทุนมาเป็นหลักยึดในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

“ชีวิตนี้มีความฝันอยู่สองอย่างคือเป็นข้าราชการในสายทหารตำรวจกับเป็นข้าราชการครูตอนแรกก็ไปเป็นอาจารย์ก่อนใช้ชีวิตในการสอนหนังสือแต่เราก็ยังรักในสายตำรวจก็เลยมาสอบซึ่งมาบรรจุหน่วยพิสูจน์หลักฐานผมได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของในหลวงมาใช้ในฐานะข้าราชการตำรวจคือการผดุงความยุติธรรมเพื่อที่จะรับใช้ประชาชนดังนั้นในสายงานของพิสูจน์หลักฐานตำรวจประชาชนจะต้องมีความเดือดร้อนแล้วต้องให้เราช่วยในการแก้ไขปัญหาเพราะเราเอาหลักของวิทยาศาสตร์ไปช่วยคลี่คลายคดีในการเริ่มต้นคดีประกอบสำนวนของพนักงานสอบสวนจะต้องมีพยานหลักฐาน การตรวจเก็บวัตถุพยานเราก็จะใช้ความรู้จากสาขาของฟิสิกส์มาช่วยแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้สิ่งนี้มันอยู่ในใจของเราอยู่แล้วว่าการทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติเราอาจไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมดแต่เราก็สามารถช่วยในสิ่งที่เราทำได้”

ผู้หมวดบาส ยังเล่าต่อว่า ทุนการศึกพระราชทาน ม.ท.ศ. เปรียบเสมือนกับน้ำทิพย์ มาหล่อเลี้ยงชีวิตต่อลมหายใจให้เขาและครอบครัวได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

“ทุนพระราชทานนี้ไม่ใช่แค่ได้กับเราคนเดียวแต่ปัจจุบันผมสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้เพราะฉะนั้นมันเป็นผลลัพธ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆเริ่มต้นมาจากการได้รับพระราชทานทุนของพระองค์ดังนั้นสิ่งนี้ถือเป็นกำลังใจ ให้ตัวเองและครอบครัวที่ได้มาถึงจุดนี้ในปัจจุบัน และผมตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นและตอบแทนสังคมอย่างสุดกำลังเมื่อมีโอกาส”

‘อนุทิน’ ส่งข้อความร่วมยินดี ‘บิ๊กตู่’ ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี เผย ‘อดีตนายกฯ’ ขอบคุณ-ฝากฝังทุกคนช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมือง

(1 ธ.ค. 66) ที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นองคมนตรี ว่า…

“ยินดีกับท่านด้วย เพราะเคยทำงานด้วยกันมาก่อนในฐานะร่วมรัฐบาลเดียวกัน ได้ส่งข้อความไปยินดีกับท่านแล้ว และท่านตอบกลับมาว่า ขอบคุณ และให้ช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมือง ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อท่าน”

‘โจ มณฑานี’ แชร์เรื่องราว ร้านอาหารไฟไหม้ 10 ชีวิตเดือดร้อนหนัก ‘ในหลวง ร.10’ ทรงเมตตา พระราชทานสิ่งของช่วยเหลือทันท่วงที

(6 มิ.ย.67) จากเฟซบุ๊ก 'Jo Montanee' โดยคุณโจ มณฑานี ตันติสุข ดีเจ พิธีกร นักวิจารณ์ นักเขียนและวิทยากรชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

“ไปเจอเรื่องดีงามมาใน tiktok ห้องพูดคุยเรื่อง #ชาลีกามิน ค่ะ

มีสมาชิกห้องมาส่งข่าวว่าจะคอมเมนต์ไม่ได้ไปสักพัก เนื่องจากบ้านไฟไหม้หมด รถเสียหายไปหกคัน แต่..พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานความช่วยเหลือมาแล้ว

พี่โจเลยถามน้องว่าไหม้ชุมชนหรือว่าไหม้บ้านเราหลังเดียว? 

สาเหตุที่ถามคือถ้าไหม้ชุมชนใหญ่ออกข่าวไปทั่ว ปกติในหลวงของเราจะทรงงานช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนอย่างว่องไวอยู่แล้ว แต่ถ้าไหม้บ้านหลังเดียวแล้วพระองค์ทรงพระราชทานความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้จริง ๆ ค่ะ 🙏

น้องตอบกลับมาว่าไหม้ร้านอาหารครอบครัวที่มีญาติพี่น้องอยู่กัน 10 คนค่ะ

นี่คือเครื่องยืนยันอย่างเด่นชัดว่าในหลวงของเราทรงเห็นความทุกข์ของประชาชนทุกคนจริง ๆ

#เทิดไว้เหนือเกล้า”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top