Thursday, 4 July 2024
นายพล

นักอ่านแถลงการณ์คณะปฏิวัติชื่อดัง ถาม!! ศัตรูของศัตรูคือมิตร แล้วศัตรูนายพล-นายร้อยคือใคร?

นายอาคม มกรานนท์ อดีตพิธีรายการโทรทัศน์ชื่อดัง และอดีตผู้ประกาศข่าวและผู้อ่านประกาศแถลงการณ์คณะปฏิวัติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Akhom Makaranond’ โดยมีเนื้อหาระบุว่า…

“ศัตรูของศัตรูคือมิตร แล้วศัตรูของนายพลกับนายร้อย คือ ใคร?”

คำถามนี้ยาวหน่อย ส่วนตอบจะยาวหรือสั้นไม่ทราบ ขอย้อนหลังเล่าเรื่องเก่าให้ฟัง แล้วช่วยกันคิดก็แล้วกันว่า มันพอจะเป็นไปได้ไหม? ถ้าฟังแล้วคิดว่าไม่ใช่ ก็ไม่ผิดกติกาใดๆ

พรรคพลังประชารัฐ มีหลายคนบอกว่าเป็นพรรคการเมืองเฉพาะกิจ ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับอำนาจรัฐของรัฐบาล คสช. จะเดินหน้าต่อไปหรือจะล่มสลาย คำถามนี้ดังขึ้นมาเรื่อยๆ ในสังคมไทย

วันที่พรรคพลังประชารัฐแพ้การเลือกตั้งซ่อมสามจังหวัดติดต่อกันอย่างหมดศักดิ์ศรีของการเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล

หลายคนที่ติดตามสถานการณ์ภายในพรรคนี้ ต่างทราบดีว่ามีความแตกแยกอย่างหนักเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่เหตุที่พรรคยังไม่ถึงกับแตกละเอียด ก็เพราะยังมีอำนาจรัฐอยู่ในกำมือของนายกรัฐมนตรีและกลุ่ม ๓ ป.

คนที่เขามองพรรคอย่างเข้าใจเนื้อแท้ย่อมทราบดีว่า แม้ ๓ ป.จะประกาศว่ารักใคร่กลมเกลียวกันก็ตาม แต่ ป.ป้อม กับ ป.ประยุทธ์ ก็งัดกันมาในทีเป็นประจำ แต่ก็สู้อุตส่าห์กล้ำกลืนฝืนทนกอดคอกันมาได้ เพราะทุกๆ ป. รู้ซึ้งอยู่แก่ใจว่า หากแตกแยกกันวันใด จะต้องตกบัลลังก์แห่งอำนาจ และเมื่อหล่นแล้ว อำนาจก็จะถูกศัตรูที่ตนเคยรัฐประหารเขามา กลับมาเล่นงานอย่างหนัก

เพราะฉะนั้น ทั้ง ๓ ป. จึงต้องทนอยู่บนหลังเสือต่อไป เพราะไม่ต้องการลงมาแล้ว ต้องกลายเป็นศพไม่สวย

เห็นหรือยังว่า ฉากการเมืองแห่งความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๙ กับนายร้อยนอกประจำการ ผู้เต็มไปด้วยบาดแผลเต็มตัว และข้อรังเกียจจากสังคมที่มีต่อตัวของผู้กองนอกราชการคนนี้ และเป็นอดีตแกนนำคนสำคัญของพรรค 

นี่คือฉากการเมืองที่คอการเมืองไทยรู้ซึ้งเป็นอย่างดีว่า มันคือภาพของความขัดแย้งระหว่างนายพลกับนายพล คนหนึ่งหนุนหลังผู้กองนอกราชการมาตลอด แล้วเมื่อวันที่ผู้กองเดินออกจากพรรคไป พร้อมกับ ส.ส. อีก ๒๐ คน ทำให้ภาพความแตกแยกระหว่างนายพลกับนายพลเด่นชัดขึ้น จนไม่สามารถจะปิดบังได้อีกต่อไป แล้วก็ทำให้ทุกคนรู้ด้วยว่า วันที่ผู้กองคนนี้กล้าต่อกรกับคนเป็นนายกฯ ในวันลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งล่าสุดนั้น มีภาพของนายพลอีกคนอยู่เบื้องหลังการแสดงบทกร้าวของผู้กอง

วันนี้ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อย อาจจะยังรักนายกฯ ประยุทธ์ฯ เพราะเห็นว่าเป็นคนซื่อมือสะอาด แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่มองว่า ท่านนายกฯ คนนี้นั่งอยู่บนเก้าอี้แห่งอำนาจได้ ก็เพราะมีแรงหนุนจากพี่ใหญ่และ ส.ส.ในส่วนของพี่ใหญ่ 

ทีนี้เมื่อพี่ใหญ่เปิดภาพการเมืองออกมา โดยสั่งให้ผู้กองยอดรักและก๊วนออกไปอยู่พรรคอื่น (หลายคนมองว่าเป็นพรรคของพี่ใหญ่) ก็หมายความว่า นี่คือการเปิดศึกฉากสำคัญ เพื่อโจมตีนายกฯ โดยตรงนั่นเอง

‘กองทัพบก’ จ่อโอนย้าย ‘บิ๊กบี้’ เข้าหน่วยงานในพระองค์ พร้อมเลื่อนพิธีส่งมอบหน้าที่เร็วขึ้น จับตา!! โผผู้การกรมฯ

(15 ก.ย. 66) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพบกได้เลื่อนกำหนดการส่งมอบหน้าที่ ผบ.ทบ. เร็วขึ้น โดยขยับขึ้นมาเป็นวันที่ 20 ก.ย.นี้ จากเดิม ที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 ก.ย. พร้อมทั้งปรับพิธีให้สั้นกระชับ เหลือแค่การลงนามเอกสารรับ-ส่งหน้าที่ และพิธีรับมอบการบังคับบัญชา โดยไม่มีการสวนสนามของหน่วยรบจากที่เคยเตรียมการไว้

และวันที่ 15 ก.ย. 66 พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.) เป็นประธานในการประชุมจัดงานแสดงมุทิตาจิต พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อมผู้เกษียณอายุราชการในปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะจัดในวันที่ 20 ก.ย. เช่นกัน

มีรายงานว่า มีกระแสข่าวสะพัดในกองทัพบกว่า มีคำสั่งโอนย้ายให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ ไปปฎิบัติหน้าที่หน่วยงานในพระองค์แล้ว ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อในการจัดทำโผรองนายพล-ผู้การกรมฯ พอดี 

ขณะที่พิธีส่งมอบหน้าที่ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งจัดขึ้นที่กองทัพเรือ (วังเดิม) และส่งมอบหน้าที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ ลานอเนกประสงค์ อุทยานการบิน ทอ. (รร.นายเรืออากาศนวมินทร์ฯเดิม) ยังคงเป็นกำหนดการเดิม คือวันที่ 29 ก.ย.นี้

แง้มแผนลด ‘นายพล’ ยุค ‘บิ๊กทิน’ แรงจูงใจชวนเออรี่ก่อนเกษียณเพียบ

(11 ม.ค. 67) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ฝ่ายการเมือง เปิดเผยกรณีนโยบายการปรับลดจำนวนนายพลทุกเหล่าทัพ ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ของ นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ว่า รัฐมนตรีได้กำชับให้แต่ละเหล่าทัพเร่งทำความเข้าใจกับกำลังพลในโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนนายพลในตำแหน่งดังกล่าวเกินความจำเป็น ลงกว่า 50% ภายใน 3 ปี หรือเหลือน้อยกว่า 300 คน ในปี 2570 ซึ่งที่ผ่านมามีชั้นนายพลประมาณ 2,000 นาย โดยเป็นกำลังหลักประมาณ 1,300 นาย ซึ่งกำลังหลักจำเป็นต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ความมั่นคงของโลกและในภูมิภาค รวมทั้งรูปแบบในยุทธวิธีต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีสงครามไซเบอร์หรือ Cyber warfare และเรื่องอวกาศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ส่วนจำนวนนายพลกว่า 700 นาย ในตำแหน่งประจำ ได้เริ่มดำเนินการมาก่อนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ รมว.กลาโหม ได้กำหนดนโยบายเร่งรัดให้มีผลสัมฤทธิ์ในช่วงรัฐบาลท่านนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ในปี 2568 - 2570 โดยนายพลในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ จะต้องลดลงให้เหลือน้อยที่สุดตามความจำเป็นของกองทัพ อีกทั้งยังให้นโยบายสร้างแรงจูงใจในการลดจำนวนชั้นยศ พันเอก (พิเศษ) ที่จะขึ้นไปเป็นนายพลในอนาคต ให้ลดลงอีกกว่า 570 อัตรา เพื่อให้สอดรับกับตำแหน่งนายพลที่จะลดลงไปด้วย

"เป็นวิสัยทัศน์ของ รมว.กลาโหม ที่ให้นโยบายในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่แก้ปัญหาการลดนายพล แต่ฐานพันเอก (พิเศษ) ยังมีมาก ก็จะไปสร้างปัญหาใหม่ในอนาคต ซึ่งนโยบายนี้ กองทัพยังสามารถปฏิบัติงาน และอาชีพทหาร ยังมีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้กองทัพอีกด้วย มั่นใจโครงการเออร์รี่นายพลผู้รับใช้ชาติต้องอยู่ดีมีเกียรติ คาด ก.พ.นี้ นำเข้าสภากลาโหมก่อนชงเข้า ครม.ทันในงบปีนี้"

นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า รมว.กลาโหม ได้กำชับให้จัดทำนโยบายสร้างแรงจูงใจให้นายทหารเกษียณก่อนกำหนด Early Retire เช่น การจ่ายเงินชดเชย หรือ ‘เงินก้อน’ ประมาณ 7 แสนบาท ขึ้นอยู่กับชั้นยศ และเวลารับราชการ ซึ่งจะมีสูตรคำนวณชัดเจน รวมทั้งสิทธิบำเหน็จ/บำนาญก็จะได้รับตามปกติ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ และกำลังใจต่อกำลังพลของกองทัพ เมื่อตัดสินใจในช่วงนี้ ถือว่าได้สิทธิประโยชน์มากที่สุดเมื่อเทียบกับโครงการที่ผ่าน ๆ มา และในการบริหารของรัฐบาลจะสามารถลดภาระงบประมาณประเทศในระยะยาวอีกด้วย

ส่วนความคืบหน้าถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันได้จัดทำรูปแบบข้อเสนอแรงจูงใจต่าง ๆ แล้ว อยู่ในขั้นตอนรับฟังความเห็นจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะนำเข้าที่ประชุมสภากลาโหม จากนั้นจะนำเข้า ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนและกรอบงบประมาณ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันปีนี้ ดังนั้น ในช่วงการเกษียณอายุราชการของข้าราชการในเดือนตุลาคม 2567 นี้ สำหรับโครงการนี้จะใช้เงินงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ประมาณ 600 ล้านบาท ภายใน 3 ปี (2568 - 2670) หรือเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปี

นายจิรายุ กล่าวอีกว่า แม้ที่ผ่านมากองทัพจะมีแผนปรับลดจำนวนนายพลระยะยาว ปี 2551 - 2571 แต่นโยบายครั้งนี้ จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย รวดเร็วขึ้นภายใน 3 ปี โดยเน้นกลุ่มพลตรี, พลโท, พลเอก ในตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทุกเหล่าทัพ 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าในช่วงรัฐบาล คสช. ปี 2557 - 2561 เคยทำโครงการเกษียณก่อนกำหนดทุกชั้นยศทุกตำแหน่ง โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 26,000 ตำแหน่ง จึงเชื่อว่าโครงการลดนายพลครั้งนี้จะได้รับการตอบรับดีอย่างแน่นอน

'หนุ่ม' เดือด!! กางเหตุผลที่ต้องมีนายพล ก็คงเหมือนบริษัทเอกชนที่ต้องมีซีอีโอ และคงไม่ถึงขั้นต้องให้ซีอีโอ ลงไปยืนหน้าเคาท์เตอร์ ถามลูกค้าว่า "รับอะไรดี?"

(29 ม.ค.67) ผู้ใช้งานบัญชีติ๊กต็อกชื่อ ‘fhakram.chavit’ หรือ ‘ฟ้าคราม’ ได้ออกมาโพสต์วิดีโอในหัวข้อ ‘นายพลมีไว้ทำไม’ พร้อมแคปชัน ‘ทวงคือความรู้สึกของ...ทหาร ข้อเท็จจริงสู้ด้วยคลิป’ โดยในวิดีโอได้อธิบายอย่างละเอียด ความว่า…

“หากจะคุยเรื่องทหาร นายพล ขอให้เอาเจตนาและเหตุผลที่ดีมาคุย ไม่ใช่เอาความแค้น ความโกรธเคืองทางการเมืองมาคุยกัน 

>> ถามว่า ‘นายพล’ มีไว้ทําไม?
ก็ต้องตอบแบบกําปั้นทุบดินว่าแล้วบริษัทเอกชนมี ‘CEO’ หรือ ‘MD’ ไว้เพื่ออะไร? ส่วน ‘ระดับผู้พัน’ ก็เช่นกัน ก็ต้องไปถามบริษัทเอกชนว่ามี ‘ผู้จัดการ’ ไว้ทําไม?

>>ทําไมนายพลเยอะ อยู่ในตําแหน่งพันกว่าคน ตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ 700 กว่าคน
ต้องตอบว่าเขาไม่ได้เข้ามารับราชการ 1-2 ปี และสามารถขึ้นมาเป็นนายพลได้เลย เขารับราชการมาตั้งแต่ 30 40 ปีที่แล้ว”

ผู้ใช้ติ๊กต็อกรายนี้ ระบุต่อว่า “คิดตามดี ๆ ในการปรับอัตรานายพลลง ซึ่งเป็นการลดขนาดองค์กร มีการ early retire ทหารทําอยู่แล้วในทุก ๆ ปี การปรับอัตราของผู้พันที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นนายพลให้น้อยลงก็สามารถทําได้ แต่ถ้าคนที่เข้าใจทหารจริง ๆ จะรู้ว่าตําแหน่งหลักไม่ต้องไปแก้เลย เพราะว่ามันสําคัญ

ยศพันเอกหรือนายพล ในเชิงปฏิบัติ ในเชิงบารมีทางการทหารแทบไม่ต่างกันเลย ดังนั้นนายพลเยอะหรือว่าพันเอกเยอะ ไม่ได้ต่างกันมากขนาดนั้น สรุปก็คือขนาดของทหารทั้งหมดลดลงไปมากแล้ว เพราะว่าทหารยุคใหม่กำลังบาลานซ์ทุกอย่างอย่างยอดเยี่ยม เขาแค่ไม่ได้ปรับอัตราตําแหน่งขึ้นไปเป็นนายพลลอยให้ลดลง เพราะยศ-ตำแหน่งนี้ก็ถือเป็นขวัญกําลังใจของคนที่ทํางานราชการมาตลอด 60 ปี จึงต้องให้ขึ้นไปเป็นพลตรีหรือตําแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะนำเรื่องนี้มายึดถือว่า ‘นายพลเยอะ’ ไม่ได้ สุดท้ายแล้วต้องดูภาพรวมว่า ‘ลดลง’

>>เวลาเกิดสงครามขึ้นมาจริง ๆ นายพลไม่ได้ลงสนามรบ แต่ส่งผู้ใต้บังคับบัญชาไปแทน
ต้องไปถามเจ้าสัวธนินท์ว่า ณ วันนี้จะต้องมาอยู่หน้าเคาท์เตอร์เซเว่นฯ หรือเปล่า ส่วนผบ.ตร. จะต้องไปตั้งด่านเองอยู่หรือเปล่า? เจ้าของธุรกิจต่าง ๆ จะต้องเดินไปถ่ายเอกสารเอง ไม่ใช้เด็กฝึกงาน ไม่ใช้พนักงาน ไม่ใช้เลขาฯ หรือเปล่า? ตำแหน่งพวกนี้อยู่ในภาคบริหาร ไม่จำเป็นต้องทำเอง และจำไว้ว่าไม่มีสงครามไหน ไม่มีแม่ทัพ หากขาดหัวเรือใหญ่ไป ใครจะกําหนดทิศทางองค์กรหรือทิศทางการสู้รบ

>>ส่วนเรื่องงบประมาณฯ ก็เอาไปจัดการสร้างที่อยู่อาศัยของกําลังพลกันเอง?
ก็มีการเรียกร้องอยากให้ทหารชั้นปฏิบัติการหรือชั้นประทวนมีชีวิตที่ดีขึ้นไม่ใช่เหรอ? แน่นอนว่าผู้บังคับบัญชาและกองทัพก็อยากให้กําลังพลทุกคนอยู่ดีมีสุขเหมือนกัน ไม่ใช่ต้องทนเงินน้อย ที่อยู่หรือสวัสดิการก็ไม่ดี ต้องกู้ ต้องยืมทุกอย่าง

>>สนามกอล์ฟเอาไว้ปรนเปรอนายพล เป็นแหล่งธุรกิจของทหารตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน
ขอย้ำว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่แค่สมัยองคมนตรีลุงตู่ ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ว่าง ๆ ของกองทัพ ยังเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ในฐานะผู้บริหารจะต้องคิดเอาพื้นที่ที่ว่างนั้นไปทําอะไรที่เป็นประโยชน์ ให้กำลังพลได้ใช้สวัสดิการ ให้คนนอกได้ใช้ในราคาย่อมเยา พื้นที่กองทัพมีทั้งโรงพยาบาล สนามกีฬา หอพัก โรงเรียนแพทย์”

นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมอีกว่า “หากไม่ชอบ ไม่พอใจ โกรธเคือง เมื่อมีโอกาสเป็นรัฐบาลก็ค่อยมาหาทางจัดการ สำหรับรัฐบาลลุงตู่ ไม่ได้มานั่งเดือดร้อนเรื่องพวกนี้ เพราะเขารู้ว่าสิ่งพวกนี้เป็นสวัสดิการให้กับกำลังพล คนนอกได้เข้ามาใช้ในราคาถูก และอีกอย่างรัฐบาลลุงตู่เดินหน้าทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่กว่านี้แล้ว เช่น ทำอย่างไรให้คนไทยอยู่ดีกินดี หรือเกิดเศรษฐกิจใหม่ เช่น

-รถไฟฟ้าความเร็วสูง (รถไฟฟ้าไทย-จีน) วิ่งจากกรุงเทพฯ ไปหนองคายระยะทาง 500 กิโลเมตร และเชื่อมกับกลุ่ม CLMVT จะแล้วเสร็จในปี 69 

-ภาคการคมนาคม การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน ระเบียงเศรษฐกิจ EEC รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

-พัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง-มาบตาพุด เพื่อให้ไทยเป็นฮับและเป็นจุดศูนย์กลางแห่งใหม่ เป็นแหล่งเศรษฐกิจใหม่ของอาเซียนและเอเชีย

-สำหรับ EEC สร้างเสร็จไปแล้วกว่า 50 โครงการ คิดประมาณ 30% ส่วนอีก 50% กําลังดําเนินการ และที่เหลืออีกไม่กี่เปอร์เซ็นต์ กำลังรอการอนุมัติอยู่ ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึก รถไฟฟ้าความเร็วสูง กําลังจะสร้างในปี 2024 คิดว่าจะเสร็จในปี 2027-2028 ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีเอง

และต้องยอมรับนะว่าวันนี้เงินเข้าประเทศกว่า 80-90% มาจาก EEC และยังไม่รวมแลนด์บริดจ์ที่จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่ยิ่งใหญ่ของเอเชียและอาเซียน แถมค่ายรถไฟฟ้าของจีนก็เข้ามาลงทุนที่ไทยแล้ว 3 เจ้า ได้แก่ SAIC ฉางอัน GWM นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอวกาศ ดาวเทียม หัวเว่ยเข้ามาลงทุน data base AI ในไทย

สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในยุค ‘ลุงตู่’ ทำให้เรื่องสนามกอล์ฟกลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย”

ผู้ใช้ติ๊กต็อกรายนี้ ยังระบุต่ออีกว่า “ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาหลายปี ไม่มีใครบังคับ ทหารเกณฑ์สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่กองร้อยกับเพื่อน หรือถ้าคิดว่ามันวุ่นวาย ก็สามารถเลือกที่จะไปอยู่บ้านนายได้ ซึ่งทหารที่ไปดูแลผู้บังคับบัญชา ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่ก็ได้เงินเดือน ได้อยู่ใกล้กับผู้บังคับบัญชา แต่ถ้ามองว่าไม่สมควรเพราะใช้ภาษีประเทศจ่าย ก็สามารถพูดได้ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่ามันไม่ได้เพิ่งเกิดในยุคพลเอกประยุทธ์ มันเกิดขึ้นมาตั้งนานแล้ว ฉะนั้นจะเอาเรื่องนี้มาโจมตีไม่ได้ และห้ามเหมารวมอาชีพทหารด้วย”

ผู้ใช้ติ๊กต็อกรายนี้ ทิ้งท้ายไว้ว่า “ถึงทหารทั้งประเทศ คุณจะเชื่อได้ยังไงกับคนที่บอกว่าจะทําให้ชีวิตทหารของคุณดีขึ้น ทั้งที่การกระทําของเขาด้อยค่าอาชีพทหารของคุณ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่าลงมือทํา ‘การกระทํา’ เสียงดังกว่า ‘คําพูด’ เสมอ ขอเซฟทหารไทยทั้งประเทศไทยสุดหัวใจ เซฟนายพลนายพันที่ไม่คอร์รัปชัน และเซฟ ‘องคมนตรีลุงตู่’ สุดที่รักสุดหัวใจ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top