Thursday, 4 July 2024
ธรรมศาสตร์

อ่านใจธรรมศาสตร์ ปัดตกเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง คาดยก ‘ปรีดี’ ถูกลิดรอนสิทธิ์ช่วงรปห.2490 มาอ้าง!!

ทำเอาศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดือดและเข้าไปสอบถามถึงการตัดสินใจครั้งนี้กันอย่างมากมาย หลังจากเพจเฟสบุ๊ก ‘องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ หรือ อมธ. ได้โพสต์ข้อความแจ้งว่า อมธ. ประกาศใช้ “เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” แทนเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย อมธ. 

ซึ่งทาง อมธ.อ้างว่า เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะในการเลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยอันเป็นการแสดงออกที่สำคัญถึงอัตลักษณ์ การก่อกำเนิด และการเชิดชูประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมหาวิทยาลัย อมธ. จึงได้จัดทำแบบสำรวจประชามติของประชาคมธรรมศาสตร์ 

โดยเพลงที่เข้ารับการคัดเลือกมีจำนวนทั้งหมด 3 เพลง คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว, มาร์ช มธก. และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 5,168 คน ได้เลือกเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาวคิดเป็นสัดส่วนกว่า 51.9% 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ วิเคราะห์ถึงสาเหตุการเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้ว่า… 

อ่านใจธรรมศาสตร์ เรื่องการเปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย ว่าเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้หรือไม่

กล่าวคือ สาเหตุที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปลี่ยนเพลงประจำมหาวิทยาลัย เพราะเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกก่อตั้งโดย ปรีดี พนมยงค์ ในนามคณะราษฏร์ ถูกริดรอนสิทธิ์และคุณค่าความเป็นธรรมศาสตร์และการเมือง โดยรัฐประหาร 2490 

ซึ่งมีสมเด็จย่าฯ อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหาร และในเวลาต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของสมเด็จย่าฯ ผู้อยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหาร 2490 ที่ทำให้พนมยงค์และคณะราษฏร์หมดอำนาจ ได้พระราชทานเพลงยูงทอง ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ให้กับธรรมศาสตร์ เท่ากับความพยายามในการริดรอนสิทธิ์และคุณค่าความเป็นธรรมศาสตร์และการเมือง

'เด็กวิศวะฯ มธ.' โวย!! แต่ง 'ไปรเวท' เข้าสอบถูกขวาง ซัดคณะลิดรอนสิทธิ แบบนี้ประเทศถึงไม่เจริญสักที

เมื่อวานนี้ (26 ก.ย. 65) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Kao Ambavat นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความระบุว่า...

เช้ามาก็เอาเลย กรรมการคุมสอบจะไม่ให้เพื่อนกูเข้าสอบเพราะเพื่อนกู “แต่งชุดสุภาพ” ซึ่งเป็นการแต่งกายสอบที่ถูกต้องตามข้อบังคับวินัยปี 64 และพรบ.มธ. ปี 58 ซึ่งวินิจฉัยโดยกองนิติการของมหาลัยไปแล้ว

เช้านี้คณะบ้าเป็นพิเศษกว่าการสอบที่ผ่านมา ปกติตอนที่กูและเพื่อนใส่ไปรเวทมาสอบรอบก่อน คณะจะเตือนบ้าง หรือให้เขียนบันทึกข้อความบ้างก่อนสอบ แต่รอบนี้มีการให้เซ็นเอกสาร “ใบอนุญาตเข้าห้องสองเนื่องจากไม่ได้แต่งกายด้วยชุดนักศึกษา” โดยอ้างประกาศคณะวิศวะ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549

การออกประกาศของคณะใดๆ ก็ตามก่อนปี 2558 สิ้นสภาพ ไม่ว่าจะใช้อำนาจจากระเบียบสอบปี 49 ข้อบังคับวินัยปี 47 หรือพรบ.มธ.ปี 31 กฎหมายมั้งหมดจะสิ้นสภาพ ตามมาตรา 3 พรบ.มธ. ปี 58 ดังนั้นการไม่ให้เข้าห้องสอบการให้เซ็นเอกสารใด ๆ ก็ตามของคณะ เข้าข่ายเป็น “คำสั่งทางปกครองที่มิชอบด้วยกฎหมาย”

บัณฑิต ‘จุฬา-ธรรมศาสตร์-เกษตร’  กวาดตำแหน่งงาน จาก Top 20 บริษัทชั้นนำของไทย

ข้อมูลที่รวบรวมโดยเว็บไซต์ Candid Data เผยว่า บัณฑิตจาก ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ครองแชมป์สถาบันที่มีตำแหน่งงานในบริษัท Top 20 ของประเทศไทยสูงสุด ที่ 4,085 ตำแหน่ง ในขณะที่อันดับสองตกเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 2,572 ตำแหน่ง ส่วนอันดับสามได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีบัณฑิต 2,018 คน เข้าไปร่วมงานในหลากหลายตำแหน่งของบริษัทใหญ่ รวม 3 มหาวิทยาลัย มีจำนวนทั้งสิ้น 8,675 ตำแหน่ง

นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ ที่ครองที่นั่งในบริษัทระดับท็อปของประเทศเช่นกัน อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 5,532 ตำแหน่ง
 ‘จุฬา - มธ. - เกษตร’ กวาดที่นั่งบริษัทดังกว่าครึ่ง

ตำแหน่งงานทั้งหมดจากการสำรวจในครั้งนี้มี 14,207 ตำแหน่ง เท่ากับว่า บัณฑิตจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กว่าที่นั่งไปทั้งสิ้น 61% คิดเป็นกว่าครึ่งจากจำนวนที่นั่งทั้งหมด โดยมหาวิทยาลัยที่ครองตำแหน่งสูงสุดอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครองตำแหน่งคิดเป็น 28.7% หรือมากกว่า 1 ใน 4 ของตำแหน่งทั้งหมดในบริษัทชั้นนำของไทย

นอกจากนี้ Candid Data ยังเผยว่าในบรรดาบริษัทที่ติดโผนั้น บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครองอันดับสูงสุดในแทบทุกบริษัท ยกเว้น AIS, SCB, และ Boon Rawd Brewery ที่มีบัณฑิตจากรั้วเกษตรศาสตร์เข้าทำงานสูงสุด ส่วน Tesla นั้นมีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำงานอยู่มากสุด
ชาวเน็ตตั้งข้อสงสัย ไหนว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน?

หลังบทความดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาตั้งคำถามในทำนองว่า ‘ไหนว่าเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน?’ สะท้อนปัญหาด้านความเชื่อมั่นที่บริษัทต่างๆ มีต่อสถาบันการศึกษาที่แตกต่างกัน รวมถึงคุณภาพการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่มีอยู่มากมาย

อีกด้านหนึ่ง ก็มีผู้ตั้งคำถามถึง ‘โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่ต่างกัน’ โดยประชากรที่เกิดในบ้านที่มีชนชั้นทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า ก็มีโอกาสที่จะเลือกมหาวิทยาลัยได้มากกว่า นำไปสู่โอกาสที่จะเข้าไปทำงานในบริษัทชั้นนำได้มากกว่าเช่นกัน

ที่ทำงาน / สถาบันการศึกษา ไม่ได้การันตีความสำเร็จในชีวิต
แม้บริษัทที่ทำการสำรวจนี้ จะเป็นบริษัทจาก “สุดยอดบริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วย 2023” ที่รวบรวมโดย WorkVenture แต่ก็มิได้หมายความว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในชีวิต เพราะเป้าหมายชีวิต และนิยามของความสำเร็จนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล บางคนนิยามความสำเร็จด้วยชื่อบริษัทที่ตนทำงาน, บางคนมองว่าการเป็นเจ้าของธุรกิจคือความสำเร็จ, บางคนมองหาความพอดีระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตในมิติอื่นๆ

สถาบันการศึกษา องค์กรที่ทำงาน เป็นเพียงบันไดหนึ่งขั้นที่จะช่วยให้ชีวิตดำเนินไป พึงเลือกบันไดที่ใช่ ที่เหมาะสม เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ ‘ความสำเร็จ’ ตามนิยามของตัวคุณเอง

ที่มา :  https://www.amarintv.com/spotlight/future-of-work/detail/47691
https://candiddata.co/2023/05/31/dashboard-graduate-placement-2023/

 

'พิธา' ร่วมงาน 'มธ.' บรรยายถึง 'ปชต.ที่ถดถอย-สังคมเหลื่อมล้ำรุนแรง' ชี้!! โลกต้องการ 'พลังใหม่-คนรุ่นใหม่' ร่วมนิยามและกำหนดอนาคต

(4 ส.ค.66) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมรับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในงาน 'รับเพื่อนใหม่' ให้กับนักศึกษาเข้าใหม่ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ 'ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรม : 3 เสาหลักจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ สู่การสร้างสรรค์สังคม'

โดยระหว่างที่พิธาเดินเข้าสู่หอประชุม ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับจากนักศึกษา ทั้งปรบมือและส่งเสียงเฮจนลั่นหอประชุม โดยระหว่างรอคิวขึ้นบรรยาย พิธายังได้ร่วมรับชมการบรรยายและกิจกรรมพิเศษจากนักศึกษากองสันธนาการอย่างเป็นกันเอง

เมื่อถึงลำดับการบรรยาย พิธาเริ่มต้นโดยระบุว่าตนยินดีที่ได้กลับมาสู่บรรยากาศและพลังงานแบบเหลืองแดงอีกครั้ง สิ่งที่ธรรมศาสตร์ได้สอนตนมา แทบจะไม่ต่างกับวิถีแบบก้าวไกล คือสิ่งที่อยู่ในตัวของตนเอง ธนาธร, ปิยบุตร, ศิริกัญญา, โรม ฯลฯ เป็นดีเอนเอที่ใกล้เคียงกัน นั่นคือความยึดมั่นในประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรม

ย้อนกลับไปในวันที่ตัวเองเป็นนักศึกษารหัส 41 เหมือนทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ ทั่วโลกมีประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า 50% ของทั้งโลก แต่วันนี้ความเป็นประชาธิปไตยบนโลกถอยหลังลงอยู่เหลือเพียงประมาณ 20% ส่วนความเหลื่อมล้ำ ในสมัยนั้นคนที่รวยที่สุด 1% กับคน 50% ล่าง มีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรต่างกัน 8 เท่า แต่เวลานี้คือ 16 เท่า คน 1% ข้างบนสุดครองทรัพย์สิน 50% ของทั้งโลก ส่วนคน 50% ครองทรัพย์สิน 2% เท่านั้น

น่าเจ็บใจที่ผ่านไป 25 ปี ทุกอย่างกลับถดถอยลง เรากำลังอยู่ในโลกที่ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรมกำลังถดถอย สิ่งเก่ากำลังล้มพังลง ขณะที่สิ่งใหม่ที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นยังไม่สำเร็จ โลกใบใหม่เต็มไปด้วยความปกติใหม่ แต่เรายังคงไม่มีฉันทามติใหม่สำหรับความปกติใหม่เสียที

พิธากล่าวต่อไป ว่าเมื่อหันกลับมาดูประเทศไทย ประชาธิปไตยของไทยวันนี้คือประชาธิปไตยที่เพียงแค่ สว. ที่มาจากการลากตั้งไม่มาเป็นองค์ประชุม ก็สามารถล้มแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ คือประชาธิปไตยที่บอกว่าคนเท่ากัน แต่อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนกลับสามารถถูกคานโดยอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชนได้ มีองค์กรอิสระสามารถหยุดยั้งประชาธิปไตยได้ เสรีภาพในการแสดงออก ในการกำหนดชีวิตตัวเอง แม้แต่ในการหายใจ ในการทำมาหากินถดถอยลง

นี่ยิ่งเป็นสาเหตุที่โลกและประเทศไทยต้องการคนรุ่นพวกคุณ ต้องการพลังงานอย่างพวกคุณ มากำหนดนิยามใหม่ให้กับประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรม เรียนรู้อดีต กำหนดสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นี่คือสิ่งที่พวกเราต้องช่วยกัน เป็นพลังงานของคนรุ่นใหม่ ๆ ถึงเวลาต้องคิดใหญ่ โลกใบนี้กำลังต้องการคนรุ่นใหม่ รุ่นพวกคุณขึ้นมาช่วยพวกผมในการผลักสิ่งเก่า ๆ ออกไปและนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา ช่วยกันนิยามความคิดประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเป็นธรรมในยุคของเรา

พิธากล่าวต่อไป ว่าสำหรับคนธรรมศาสตร์ เราถูกเสมอสอนว่าที่นี่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว สอนว่าฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน สอนว่าเหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้ ถ้าย้อนกลับไปได้ สิ่งที่ตนอยากจะทำให้ดีกว่านี้คือการคิดให้ใหญ่ ตนขอฝากให้ทุกคน ได้ใช้เวลา 4 ปีให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด เรียนนอกห้องให้เหมือนในห้อง ฟังแต่ยังไม่ต้องเชื่อ อย่าให้ใครมาบอกว่าความสามารถของคุณมีแค่นี้ อย่าให้ใครมาบอกว่าคุณเป็นในสิ่งที่อยากเป็นไม่ได้ แม้แต่อาจารย์ของคุณ นี่คือความปกติใหม่ คุณต้องเชื่อว่าคุณสามารถเป็นในเส้นทางที่อยากเป็นได้ และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้ได้

"สิ่งที่ผมได้ติดมาจนถึงทุกวันนี้และจะไม่มีวันจากผมไป คือจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ ที่มีความเป็นภราดรภาพ เสรีภาพ และความพร้อมทำทุกอย่างเพื่อประชาชน ให้นิยามของคำว่าประชาธิปไตยเต็มใบ ความยุติธรรมต่อหน้ากฎหมาย เสรีภาพในการกำหนดอนาคตของตัวเองและเพื่อน ๆ ในประเทศและโลกใบเดียวกันนี้ ขอให้ 4 ปีของทุกคน เป็น 4 ปีที่กล้าฝันใหญ่ คิดใหญ่ คิดให้ออกนอกกรอบ อยู่เป็นโลกไม่เปลี่ยน ความอยู่ไม่เป็นคือวิญญาณของความเป็นธรรมศาสตร์เราทุกคน" พิธากล่าว

'นันทนา' ปลื้ม!! อธิการ มธ. เชิญ 'พิธา' ปาฐกถารับปี 1  ชี้!! มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็น idol ของคนรุ่นใหม่

(7 ส.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก โพสต์ข้อความผ่านเพจ ‘ดร.นันทนา นันทวโรภาส’ ระบุว่า

“ในฐานะศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ 3 ปริญญา
ปริญญาตรี : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์)
ปริญญาโท : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง)
ปริญญาเอก : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ( สื่อสารมวลชน)

ขอสนับสนุนและยกย่อง ท่านอธิการบดีและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้เชิญคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มาปาฐกถาต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2566 นี้

คุณพิธา เป็นลูกแม่โดม จากคณะบัญชี ที่เรียนเก่งจนต่อยอดไปจบปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก อย่าง Harvard และ MIT  มีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุทิศตนรับใช้ประชาชน จนประสบความสำเร็จในทางการเมือง เป็นหัวหน้าพรรคที่ชนะเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงบริสุทธิ์กว่า 14 ล้านเสียง และหากเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแบบอารยะ คุณพิธา ก็คือนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทยแล้ว!

นี่คือผลผลิต อันน่าภาคภูมิใจ ของชาวธรรมศาสตร์มิใช่หรือนี่คือแบบอย่าง ที่จุดประกายความคิด ให้แก่คนรุ่นใหม่ของธรรมศาสตร์ มิใช่หรือ

เช่นนี้แล้ว พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คือองค์ปาฐกฯ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทในการปฐมนิเทศนี้

พิธานับเป็น idol ของคนรุ่นใหม่ การปรากฏตัวบนเวทีหอประชุมธรรมศาสตร์ เรียกเสียงกรี๊ดตบมือดังสนั่นตลอดเวลา ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ามหาวิทยาลัยเชิญรุ่นพี่มาถูกใจยิ่งนัก

พิธา เป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเองสูง มีบุคลิกผู้นำ แต่งกายถูกกาละเทศะ กิริยาท่าทางสุภาพ อ่อนโยน ลีลาการนำเสนอเร้าใจ น้ำเสียงมีพลัง จังหวะการพูดกระชับ ฉับไว เนื้อหาการพูด เรียบเรียงมาอย่างเป็นระบบ

‘สาร’ สำคัญ ที่นำเสนอคือ การกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ กล้าคิดใหญ่ กล้าฝันใหญ่ และให้คิดนอกกรอบ พลังของคนรุ่นใหม่ จะเปลี่ยนสังคม การเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบ

สุดท้ายพิธาได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ให้รุ่นต่อไป ยืนหยัดต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย เสรีภาพ และ ความยุติธรรมในสังคม ดังปณิธานของชาวธรรมศาสตร์ที่ว่า

“เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้”

การกล่าวปฐมนิเทศที่น่าประทับใจนี้ ย่อมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ของธรรมศาสตร์ ที่จะผลิดอก ออกผล แห่งการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ต่อไป”

‘อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มธ.’ ฝากถึงทุกคนที่ห่วงใย มธ. ไม่ต้องกลัวสถาบันตกต่ำ เพราะมีเด็กสมัครเกินโควตาเสมอ

(7 ส.ค. 66) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Boonsom Akkarathammakul’ ของนายบุญสม อัครธรรมกุล อดีตผู้ช่วยอธิการบดี มธ. โพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความ ระบุว่า..

“ขอบคุณที่ห่วงธรรมศาสตร์ กลัวสถาบันจะตกต่ำ จะตกต่ำเพราะเรื่องนี้จริงหรือ??? เห็นแต่ละคณะยังมีเด็กสมัครเกินจำนวนที่นั่งกันเยอะเลย ในขณะที่…ที่อื่นสถานการณ์ตรงกันข้าม”

ทั้งนี้ภาพที่โพสต์เป็นข้อความคำพูดของนักวิชาการหลายท่านที่แสดงถึงความห่วงใยในสถาบันธรรมศาสตร์ หลังได้เชิญ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขึ้นพูดในวันปฐมนิเทศนักศึกษาปีที่ 1 เช่น

คำพูดของ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ศิษย์เก่าดีเด่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ และ คณบดีคณะวารสารศาสตร์ฯ ที่ระบุว่า “รู้สึกเศร้าใจมาก เมื่องานรับเพื่อนใหม่ของธรรมศาสตร์ มีการเชิญ 'พิธา' ไปเป็นผู้บรรยาย ให้นักศึกษาปีที่ 1 ฟัง เชิญนักการเมืองที่มี agenda คนที่ทำกิจกรรมด้วยตรรกะผิด ๆ บิดเบือนไม่เหมาะสม..ต้องยอมรับว่า ธรรมศาสตร์ช่วงนี้ตกต่ำจริง ๆ ..อย่าให้มหาวิทยาลัยของเรา ตกต่ำไปกว่านี้เลย”

คำพูดของ รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กล่าวว่า แปลกใจทำไมจึงกล้าเชิญคุณพิธามาแสดงปาฐกถาโดยไม่กลัวข้อครหาใด ๆ สิ่งรับไม่ได้ที่สุดคือ การกล่าวว่าจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ เป็นวิถีของก้าวไกล ทั้งที่ความเป็นธรรมศาสตร์แท้จริง จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่พูดโกหกเพื่อเอาตัวรอด...ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ 'สถาบันพระมหากษัตริย์' เหมือนก้าวไกล และด้อมส้ม ส่วนคุณพิธา เป็นที่ประจักษ์ว่าพูดไม่จริงและพูดจริงครึ่งเดียวหลายเรื่อง จึงเป็นการเชิญมาโดยไม่พิจารณาคุณสมบัติอื่น ๆ หรือเชิญมาเพื่อเปิดโอกาสให้สร้างคะแนนนิยม เป็นนายกรัฐมนตรีให้ได้

นอกจากนี้ยังมีคำพูดของนายเกษมสันต์ วีระกุล ประธานกรรมการ บริษัท​ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มธ.เชิญพิธา ไปพูดในงานปฐมนิเทศ นศ.ใหม่ ซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่า "จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ เหมือนกับวิถีก้าวไกล"

ในฐานะศิษย์เก่าคนหนึ่ง ขอยืนยันว่า จิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ที่ผมและศิษย์เก่าจำนวนมากก็มีนั้น ต่างจากวิถีก้าวไกลโดยสิ้นเชิง จิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ไม่เคยสอนให้พวกเราก้าวร้าว ก้าวล่วงและพยายามจะเปลี่ยนแปลงสถาบันหลักของชาติแต่อย่างใด

อีกทั้งพิธาเองยังมีอีกหลายประเด็นที่สังคมสงสัยและกำลังโดนตรวจสอบทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ธุรกิจและการเมือง ดังนั้นพิธาจึงไม่ควรจะเป็นตัวอย่างศิษย์เก่า มธ. ที่ดีจนกว่าจะได้พิสูจน์ตัวเองให้ได้เสียก่อน

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น่าจะตระหนักให้มากกว่านี้ถึงความละเอียดอ่อนของสถานการณ์ทางการเมืองและความมั่นคงของชาติ รวมถึงความอ่อนไหวของอารมณ์และความรู้สึกของนักศึกษาและประชาชนในปัจจุบัน

คำพูดของ นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
กล่าวในฐานะอดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ระบุว่า สมัยผมเป็น 'นศ.มธ. เราต่อต้าน จักรวรรดินิยมตะวันตก แต่เด็ก นศ.สมัยนี้ กลายเป็น 'เหยื่อ' และ 'หมากเบี้ยขุน' ให้จักรวรรดินิยมเอาไว้ใช้งาน ดิสเครดิตประเทศบ้านเกิดตัวเอง จิตวิญญาณมันต่างกันจริง ๆ

สุดท้ายเป็นคำพูดของ จิ๊บ ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ อดีตผู้สมัคร สส.กทม. เขตบางแค ภาษีเจริญ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวในฐานะอดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (C38) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ระบุว่า ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน แต่…ธรรมศาสตร์ไม่เคยสอนให้ฉันก้าวร้าว ไม่เคยสอนให้ฉันก้าวล่วง ไม่เคยสอนให้เหยียบย่ำ หยาบคาย กับผู้ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน เพียงเพื่อความสะใจ

‘OKMD’ ผนึก ‘ธรรมศาสตร์’ ปั้นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัป  พัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษา ยกระดับไทยเท่าทันสากล

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับ 88 SANDBOX มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสในการพัฒนา นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาไทย เพื่อยกระดับความสามารถและศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน ภายใต้ ‘โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program)’ พร้อมระดมกูรูในระบบนิเวศการศึกษา และเทคโนโลยีร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดไอเดียตั้งแต่เริ่มต้น สู่เป้าหมาย เชื่อมต่อนักลงทุนคู่ค้า ที่มีศักยภาพต่อไป  

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวว่า “ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ต้องควบคู่ไปกับการลงมือทำ ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยให้กระบวนการเรียนรู้สะดวกขึ้น และทำให้ให้การลงมือปฏิบัติสำเร็จง่ายขึ้นอย่าง Education Technology หรือ EdTech หรือนวัตกรรมการศึกษา จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญและเหมาะสมกับโลกยุคใหม่ ในสมัยก่อนเรามี EdTech ในรูปแบบการศึกษาผ่านระบบดาวเทียม ต่อมาเป็นการเรียนรู้ผ่านโซเชียลมีเดีย ที่ผู้คนสามารถเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถัดมาเป็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง Zoom Meeting จนมาถึงตอนนี้นักเรียนนักศึกษาสามารถทำ Report จาก AI กันได้แล้ว OKMD จึงต้องดำเนินงานส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ควบคู่ไปกับ EdTech เพื่อช่วยให้การเข้าถึงความรู้และการเรียนรู้เป็นเรื่องง่าย ๆ”  

ดร.ทวารัฐ กล่าวต่อไปว่า “ความร่วมมือระหว่าง OKMD และ 88 SANDBOX ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะกลุ่มสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษา ให้มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ และเท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ รวมทั้งเกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับประเทศไทย และเป็นก้าวที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะในอนาคต รวมทั้งการส่งมอบประสบการณ์และการบูรณาการจุดเด่นของทั้ง 2 หน่วยงาน ในรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพต้นทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติต่อไปครับ”

ด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยถึงความคาดหวัง ในการร่วม มือในโครงการ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program ว่า เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงความรู้อย่างกว้างขวางและรอบด้าน ด้วยโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาให้กับประเทศไทย โดยการสร้างและส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และการศึกษาในสังคมให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการทุกคนที่ต้องการสร้างไอเดียจากศูนย์สู่ความสำเร็จ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย

“ปริญญาในโลกอนาคตไม่ค่อยมีความหมาย องค์กรยุคใหม่ไม่สนใจว่าเราจบอะไรมา เท่ากับทำอะไรเป็น เพราะฉะนั้นเวลาคัดเลือกคนเข้าทำงาน จะพิจารณาจากความสามารถในการแก้ปัญหา การจัดการสถาน การณ์ที่ยากซับซ้อน การทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ทุก ๆ คน ตั้งแต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ไปจนถึงนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป ให้ได้รับการสนับสนุนต่อยอดไอเดียธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมและมีศักยภาพในการนำออกสู่ตลาดในระดับนานาชาติต่อไป” รศ.ดร.พิภพ กล่าว

โครงการ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเริ่มบ่มเพาะธุรกิจด้านการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ในรูปแบบของ 1) Training & Workshop เพื่อพัฒนาธุรกิจ ด้านต่างๆ รวมถึงการเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาธุรกิจด้านการศึกษาของตนเอง โดยในกระบวนการจะมี Workshop จากวิทยากรทั้งด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

2) Education Experts เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษา ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในระบบนิเวศการศึกษา

และ 3) Community Activities เพื่อเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ ช่วยผู้ประกอบการสร้างความสัมพันธ์และทำให้ธุรกิจเติบโต 

โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 100 ทีม (237 คน) และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 20 ทีม (76 คน) โดยจะได้รับการบ่มเพาะทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและเปิดมุมมองทางด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนกว่า 30 คน อาทิ รศ.ดร.พิภพ อุดร, ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) วรุตม์ นิมิตยนต์ (Co-Founder,Deschooling Game) โตมร ศุขปรีชา (OKMD) และมีเงินรางวัลรวมกว่า 2 แสนบาท มอบให้กับ 5 ทีมสุดท้ายทีได้รับการคัดเลือก

ในวันร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน ‘โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program)’ ระหว่าง 88 SANDBOX ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD ภายในงานยังมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นที่น่าสนใจมากมาย อาทิ

• DMii, For Future Education Model โมเดลการจัดการเรียนรู้ในยุค ‘ความรู้อายุสั้น แต่คนอายุยาว’ โดย รศ. ดร. พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• Learnovation to Learnlab จากนวัตกรรมการศึกษา สู่พื้นที่แห่งการสร้างโอกาสด้านการศึกษาแห่งอนาคต โดยโตมร ศุขปรีชา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้, OKMD

• 88 SANDBOX พื้นที่ผลักดันขีดจำกัดการศึกษาไทย ให้มุ่งสู่ Better Life, Better Society

• Discover the Future of Education ค้นหา และค้นพบศักยภาพของการศึกษาแห่งอนาคต

• Innovative Edtech Lab Lab นอกห้องเรียน ที่พาคุณไปทดลอง และทำจริง กับนวัตกรรมการศึกษาแห่งอนาคต

• Integrated Education Platform บูรณาการของ 5 องค์กรนวัตกรรมชั้นนำ เชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับนวัตกรรม

• Master from Failure เชี่ยวชาญให้สุด จาก ‘ความล้มเหลว’ แบบเฮียๆ โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

 

‘อธิการฯ ม.ธรรมศาสตร์’ ตอบรับเสรีภาพการแต่งกาย นศ. เรียน-สอบ แต่งกายอย่างไรก็ได้ ขอเพียงไม่รบกวนผู้อื่น

เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 66 เพจเฟซบุ๊ก ‘สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต’ ได้โพสต์แถลงการณ์แจ้งเรื่อง ‘เสรีภาพในการแต่งกาย’ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า…

“เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เซ็นประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องแนวทางการแต่งกายของนักศึกษา พ.ศ. 2566 เพื่อออกมานิยามว่าการแต่งกายแบบใดถือว่าไม่สุภาพ เพื่อลดช่องโหว่ในการตีความของข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแต่งกายและเครื่องแบบของนักศึกษา พ.ศ. 2564

โดยสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอยืนยันถึงเสรีภาพในการแต่งกาย และยืนยันว่าเสรีภาพในการแต่งกายของพวกเราต้องไม่ถูกตีกรอบภายใต้กำหนดนิยามใคร”

‘ดร.อานนท์’ ชวนจับโป๊ะ ‘พิธา’ เคยอ้างได้ ‘ป.ตรี 2 ใบ’ แท้จริง!! แลกเปลี่ยนที่ ‘UT at Austin’ และโอนหน่วยกิตมา มธ.

เมื่อวานนี้ (20 พ.ย. 66) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘Arnond Sakworawich’ ระบุว่า…

เมื่อวานอาจารย์อาวุโสแห่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งข้อความมาบอกว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้ปริญญาตรีสองใบจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจาก University of Texas at Austin อย่างที่ให้สัมภาษณ์ในหลายสื่อ

ผมเช็กแล้วใน Dek-D.com นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ให้สัมภาษณ์จริงว่า ได้รับปริญญาตรีสองใบจากทั้งธรรมศาสตร์ และ UT at Austin

แต่ท่านอาจารย์ท่านยืนยันว่า โปรแกรม BBA ภาคภาษาอังกฤษของธรรมศาสตร์ได้ปริญญาตรีใบเดียวของธรรมศาสตร์ ไม่ใช่ Dual degree แต่อย่างใด นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแค่นักเรียนแลกเปลี่ยนที่ UT at Austin แล้วโอนผลการเรียนกลับมาเทียบหน่วยกิตที่ธรรมศาสตร์

เรื่องนี้น่าจะตรวจสอบได้ไม่ยาก ขอเชิญชาวโซเชียลฯ ลองตรวจสอบดูนะครับว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พูดจริงหรือว่าโกหก

นอกจากนี้ ผศ.ดร.อานนท์ โพสต์เฟซบุ๊กอีกด้วยว่า เวลาเราพูดอะไร ถ้าเป็นคนตรงไปตรงมาไม่โกหก อะไรที่เป็นข้อเท็จจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อะไรที่เป็นความคิดเห็น เปลี่ยนแปลงได้

จะจับคนไหนว่า โกหกหรือไม่โกหก ให้ดูว่าเขาพูดข้อเท็จจริงหลาย ๆ ครั้งเรื่องเดียวกันตรงกันหรือไม่ อยู่กับร่องกับรอยหรือไม่

พ่อลิเกนี่เป็นตัวอย่างให้จับโป๊ะแตกง่ายที่สุด เพราะพูดข้อเท็จจริงไม่เคยตรงกันสักที

นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ออกโรงโต้ ม.ธรรมศาสตร์ หลังโดนกล่าวหา ‘ต้นเหตุ’ ทำบอลประเพณี เลื่อน!!

(6 ธ.ค. 66) กลายเป็นดรามาหนักมากในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟซบุ๊ก ‘ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า... 

‘งานบอล 75 ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด เหตุสมาคมศิษย์เก่าจุฬาฯ ไม่พร้อมจัดงาน’

ตามที่ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการกลับมาจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมานั้น

เนื่องจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ได้มีหนังสือแจ้งขอให้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 พิจารณาเลื่อนการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 ออกไปก่อน โดยให้มีการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ได้ข้อสรุปว่างานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 คาดว่าจะไม่ถูกจัดภายในปีการศึกษา 2566

ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิสิตนักศึกษาผู้ได้รับมอบหมายให้จัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เข้าใจดีว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจและติดตามจากประชาคมชาวธรรมศาสตร์ ประชาคมชาวจุฬาฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน แต่เมื่อมีเหตุดังกล่าวขึ้น ชุมนุมเชียร์ฯ และองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ จึงมีความจำเป็นต้องเรียนแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า การแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 จะไม่ถูกจัดขึ้นภายในปีการศึกษา 2566

ทั้งนี้ ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องขออภัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในความไม่สะดวกนี้ และหวังว่าในอนาคต กิจกรรมงานฟุตบอลประเพณีฯ จะได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านดังเช่นที่ผ่านมา จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ล่าสุด น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า…

เห็นมีข่าว ประกาศที่ออกโดยชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่างานบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ถูกเลื่อนออกไป เพราะสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ขอเลื่อน

ขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับสังคม งานบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นงานที่จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และ สมาคมธรรมศาตร์ฯ (สมธ.) โดยปกติจะจัดปลายเดือน ม.ค.- ต้น ก.พ.

การแข่งขันครั้งที่ 75 นี้ ทาง สมธ.เป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่ง สมธ. แจ้งเลื่อนการจัดงานมาตั้งแต่ปี 2564 – 2566 และเมื่อเดือนตุลาคมนี้ ก็ยังแจ้งโดยวาจาว่าจะไม่จัดงานในต้นปี 2567

แต่ทาง สมธ. มีจดหมายลงวันที่ 15 พ.ย. แจ้ง สนจ. ว่าจะจัดงานในวันที่ 30 มี.ค.67 และขอให้ สนจ. ไปร่วมประชุมและแถลงข่าวการจัดงานในวันที่ 28 พ.ย. คือ บอกล่วงหน้าแค่ 10 วัน ไม่มีการหารืออะไรกันก่อนเลย

ทาง สนจ. จึงได้ประชุมและสรุปว่าหากจัดงานบอลประเพณี วันที่ 30 มี.ค. 67 จะชนกับงานประจำปีของ สนจ. คืองานวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 26 มี.ค. จึงตอบว่าไม่พร้อมร่วมจัดงาน

แต่คนที่ออกมาออกประกาศในสื่อ Social Media กลับกลายเป็น ชุมนุมเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ผู้รับผิดชอบในการจัดงานบอลประเพณี และเขียนเหมือนกับ สนจ. เป็นต้นเหตุที่ทำให้งานเลื่อนออกไป อยากให้ สมธ. ออกมาชี้แจงให้ชัดเจน ทำไม พูดกลับไปกลับมา ทำไมแจ้ง สนจ. กะทันหัน อย่าให้น้อง ๆ ออกมาวุ่นวายเลย

หากนิสิต นักศึกษาทั้งสองสถาบัน อยากจะจัดเตะบอลเชื่อมความสัมพันธ์กัน ก็ทำได้ ไม่ต้องใช้ชื่อ งานบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 หรอก (แต่อาจหาสปอนเซอร์ได้ไม่มาก)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top