Sunday, 30 June 2024
ธนาคารโลก

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! มุมมอง 3 องค์กรระดับโลก ยก ‘ไทย’ สุดยอดประเทศแห่งการฝ่าวิกฤติ

(8 ก.พ. 66) เมื่อเวลา 11.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์ข้อความบนเฟซบุ้คส่วนตัว ว่า ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาลนี้ ขอรวบรวมมุมมองของชาวโลกที่มีต่อบ้านเมืองของเรา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย และความสำเร็จในแง่มุมต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการทำงานและฝ่าวิกฤตร่วมกันมาอย่างสมัครสมานสามัคคีของทีมประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยคนไทยทุกคน จากทุกภาคส่วน ดังนี้

1.) องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นอันดับที่ 44 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพในการขจัดความยากจน การศึกษาที่มีคุณภาพ การสุขาภิบาลและแหล่งน้ำสะอาด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

2.) ธนาคารโลก (World Bank) จัดทำรายงาน "ตามติดเศรษฐกิจไทย : นโยบายการคลังเพื่อสังคมที่เสมอภาค และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ธันวาคม 2565” โดยระบุว่านโยบายการคลังของไทยมีประสิทธิภาพสูงกว่าประเทศอื่น สามารถช่วยบรรเทา ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้ดี โดยในระยะสั้นนั้นใช้มาตรการทางภาษี เงินช่วยเหลือ และการอุดหนุนรายได้ครัวเรือน สามารถกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนในระยะยาวใช้การสนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณสุข ส่งเสริมการศึกษา และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างมียุทธศาสตร์

'องค์กรระดับโลก' ชี้!! ทักษะ 'การอ่าน' ของคนไทยต่ำกว่าเกณฑ์  อยู่ในระดับไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ได้

เมื่อไม่นานมานี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยรายงานเรื่อง Fostering Foundational Skills in Thailand ซึ่งทำการสำรวจ ‘ทักษะทุนชีวิต’ (Foundational Skills) ของเยาวชนและแรงงานไทยเป็นครั้งแรก โดยทำการสำรวจ 3 ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ 1.ทักษะการรู้หนังสือการอ่าน 2.ทักษะด้านทุนดิจิทัล และ 3.ทักษาะทางด้านอารมณ์และการเข้าสังคม

โดยผลสำรวจประชากร ช่วงอายุ 15 - 64 ปี จำนวน 7,300 คนจากทั่วประเทศทุกภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทักษะทุนชีวิต โดยเยาวชนและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีทักษะทุนชีวิตที่ ‘ต่ำกว่าเกณฑ์’ กล่าวคือพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ได้ ไม่สามารถใช้งานเครื่องมือดิจิทัลแบบง่ายๆ ได้ เช่นเดียวกับไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มทางสังคมหรือมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น

เกือบ 2 ใน 3 ของเยาวชนและผู้ใหญ่ในประเทศไทย หรือ 64.7% มีทักษะด้านการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์ แปลว่าพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ เช่น การอ่านและทำตามฉลากยา เป็นต้น

ผลสำรวจ 3 ใน 4 หรือ 74.1% มีทักษะทุนชีวิตด้านดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ แปลว่าพวกเขาไม่สามารถใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (เมาส์) และแป้นพิมพ์ (คีย์บอร์ด) บนคอมพิวเตอร์พกพา เพื่อใช้ทำงานง่ายๆ ได้ เช่น การหาราคาที่ถูกต้องของสินค้าบนเว็บไซต์ซื้อขายของออนไลน์ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น 30.3% ของเยาวชนและผู้ใหญ่ในไทย มีทักษะรากฐานทางอารมณ์และสังคมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือพวกเขาไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจนในการริเริ่มทางสังคม หรือมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมีจินตนาการ

วิกฤตทักษะทุนชีวิตที่สังคมไทยกำลังเผชิญ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ​ (Gross Domestic Product หรือ GDP) หายไปประมาณ 20.1% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ในปี 2022 กล่าวคือเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ “มีรายได้น้อย” กว่ากลุ่มคนที่มีทักษะสูงกว่าเกณฑ์ หรือมีรายได้แตกต่างมากถึง 6,324 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นความแตกต่างที่เยอะมาก 

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าประเทศไทยมีเยาวชนและผู้ใหญ่เกือบ 1 ใน 5 หรือ 18.7% ที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เนื่องจากขาดทักษะทุนชีวิตทั้ง 3 ด้าน ซึ่งหมายถึงพวกเขาเหล่านั้นแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง และมีแนวโน้มที่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นเพื่อชดเชยวิกฤตด้านทักษะ

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเสนอ 5 ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะทางการศึกษาสำหรับการเสริมสร้างทักษะทุนชีวิต ดังต่อไปนี้ 

- ปรับปรุงคำแนะนำเชิงกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจและตอบสนองต่อวิกฤตทักษะทุนชีวิต
- เพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุมเรื่องการส่งมอบการเรียนรู้แบบกระจายอำนาจ
- ปรับใช้เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม เพื่อช่วยปรับปรุงการเรียนการสอน
- เสริมสร้างการประกันคุณภาพ
- ใช้ประโยชน์จากพลังของแคมเปญการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆ 

ส่องระดับรายได้ 11 ชาติอาเซียน ประเทศไทยอยู่กลุ่มไหน?

สิงคโปร์มี GNI (Gross National Income) หรือ รายได้ประชาชาติ โดยมีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุด และมีรายได้สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!

ทั้งนี้ ธนาคารโลก ได้จัดหมวดหมู่เศรษฐกิจโลกออกเป็นสี่กลุ่มรายได้ ได้แก่ ต่ำ, กลางล่าง, กลางบน และสูง ซึ่งอัปเดตทุกปีในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยอิงตาม GNI ต่อหัวของปีก่อน คิดเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการจัดประเภทรายได้ของธนาคารโลกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนระดับการพัฒนาของประเทศ โดยอาศัย GNI ต่อหัวเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

จากผลการจัดประเภทรอบนี้ สิงคโปร์ และ บรูไน เป็นสองประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรายได้สูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออยู่จะถูกจัดในกลุ่มรายได้ปานกลางตอนล่าง

รู้จัก 'บทบาท-หน้าที่' ธนาคารโลก ทำไมถึงปรับเป้า GDP ไทย-ประเทศอื่นๆ ได้

จากข่าวล่าสุดที่ทาง World Bank หรือธนาคารโลกได้ออกมาประกาศปรับเป้า GDP ไทยปี 2024 ลง เหลือโตเพียงแค่ +2.4% หลังจากได้มีการปรับลดก่อนหน้าลงมาในเดือนเมษายนเหลือ +2.8% ทั้งๆ ที่ต้นปีธนาคารโลกเองเคยมองว่าไทยจะมีการเติบโตอยู่ที่ระดับสูงถึง +3.2% และปรับเป้า GDP ปี 2568 เหลือเพียงแค่ +2.9%

ว่าแต่ World Bank มีหน้าที่อะไร? ทำไมถึงมาปรับเป้า GDP ไทยและประเทศอื่นๆ ในโลก?

โดยประวัติความเป็นมาของธนาคารโลกนี้ ถูกจัดตั้งมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในตอนนั้น การจัดตั้งธนาคารโลก เป็นไปเพราะต้องการเป็น 'แหล่งกู้ยืมเงิน' ให้กับประเทศสมาชิก เพื่อนำเอาไปใช้ในการฟื้นฟูประเทศหลังจากสงครามโลกค่ะ แต่ต่อมาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการให้เงินกู้แก่ประเทศในโลกที่สามเป็นสำคัญ

ธนาคารโลกก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1944 ในการประชุมที่เบร็ตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในการประชุมดังกล่าวมีการร่างกฎบัตรขึ้นมาสองฉบับสำหรับธนาคารโลกหรืออีกชื่อหนึ่งคือ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) และได้มีการรวมสถาบันการเงินอื่นๆ อีก 3 หน่วยงานได้แก่ 1) บริษัทการเงินระหว่างประเทศ, 2) สมาคมพัฒนาระหว่างประเทศ, 3) องค์การประกันการลงทุนหลายฝ่าย แล้วเรียกรวมกันว่า 'ธนาคารโลก' หรือ World Bank 

โดยในช่วงแรกมีประเทศสมาชิกเพียงแค่ 38 ประเทศ แต่ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 189 ประเทศ ซึ่งมี ซูดานใต้ เป็นประเทศที่ 189 ที่เข้าร่วมในปี 2012 ส่วนประเทศไทยเองเข้ามาเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 ด้วยลำดับสมาชิกที่ 47 ค่ะ

นอกจากธนาคารโลกจะมีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการให้กู้ยืมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และระยะยาวแล้ว ยังช่วยค้ำประกันเงินกู้ทำให้ประเทศที่กู้เงินสามารถได้รับอัตราดอกเบี้ยในเรทที่ต่ำได้ และให้คำปรึกษารวมให้ความรู้กับประเทศสมาชิก รวมถึงกระตุ้นและส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศค่ะ 

ดังนั้น สาเหตุหลักในการปรับเป้า GDP ไทย เพราะธนาคารโลก มองว่า การส่งออกและการลงทุนภาครัฐไทยดูมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง เนื่องมาจากความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณปี 2567 และไทยเองก็ยังมีหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง แถมยังมีปัญหาใหญ่ที่รออยู่นั่นก็คือ ปัญหาทางโครงสร้างประชากรที่ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วยค่ะ โดยการปรับตัวเลข GDP นี้ ยังไม่ได้มีการรวมเอาโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเข้าไป เพราะถ้าเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดไว้ โครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะเข้ามาช่วยเพิ่ม GDP ไทยได้ราว 1% เพียงแต่จะแลกมาด้วยหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นตามมา 

ส่วนในเรื่องการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นกลไกหลักในการสร้างรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถูกมองว่าจะกลับไปที่ระดับก่อนโควิดระบาดได้ในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่เรื่องการส่งออกไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออก ก็จะได้อานิสงส์จากการค้าโลกที่เติบโตดีขึ้นด้วยค่ะ

นอกจากประเทศไทยแล้ว ธนาคารโลกก็ยังปรับประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียงแค่ 2.6% ในปีนี้ ซึ่งได้แรงหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ หรือ Emerging Market และประเทศกำลังพัฒนาจะขยายตัวลดลงจากปี 2566 มาอยู่ที่ระดับ 4.2% ... จีนจะขยายตัวลดลงจากปีที่แล้วที่ระดับ 5.2% มาอยู่ที่ระดับ 4.8% และเศรษฐกิจแถบยูโรโซนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ระดับ 0.4% มาอยู่ที่ระดับ 0.7% ค่ะ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top