Wednesday, 3 July 2024
ท่าอากาศยานเชียงใหม่

เชียงใหม่ - ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนโครงการ ‘ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน บ้านดอยปุย’ ประจำปี 2565

นาวาอากาศโท มัธยัณห์ ไกรสรทองศรี รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (สายปฏิบัติการ) นำผู้บริหารและพนักงานท่าอากาศยานเชียงใหม่ ร่วมกิจกรรม “โครงการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน บ้านดอยปุย ประจำปี 2565” ณ บ้านดอยปุย หมู่ 11 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งสนับสนุนน้ำดื่มตราสัญลักษณ์ ทอท.จำนวน 3,000 แก้ว/ขวด และงบประมาณจำนวน 5,000 บาท สมทบกองทุนในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นยานพาหนะหลักที่ใช้ในการเข้าถึงพื้นที่เพื่อดับไฟป่าได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที 

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนจิตอาสาในชุมชน เพื่อลดและป้องกันปัญหาหมอกควันไฟป่า ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ด้วยการจัดทำแนวกันไฟเป็นระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี มักจะเกิดไฟป่า ทำให้ต้นไม้และทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย เกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ และบางครั้งยังมีผลต่อทัศนวิสัยการขึ้นลงของอากาศยานอีกด้วย

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มอบน้ำดื่ม 3,000 ขวด สนับสนุนการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 นายณัฐวุฒิ ทาอินต๊ะ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ มอบน้ำดื่มตราสัญลักษณ์ ทอท.จำนวน 3,000 ขวด ให้แก่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 โดยมีนายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นผู้รับมอบ ณ ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ซึ่งน้ำดื่มดังกล่าว จะนำไปใช้สนับสนุนภารกิจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานภาคสนามในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ท้องที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน และข้างเคียง ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่พิเศษ เช่น พื้นที่รอบพระตำหนักเรือนประทับแรม และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้น ไม่ให้กระทบต่อประชาชนในด้านสุขภาพ ตลอดจนเศษรฐกิจและการท่องเที่ยว

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จัดพิธีทําบุญในโอกาสครบรอบ 35 ปี การดําเนินงาน

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จัดพิธีทําบุญในโอกาสครบรอบ 35 ปี การดําเนินงาน ทั้งนี้จํานวนผู้โดยสารและเที่ยวบินมีอัตราเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยการให้บริการในภาพรวมกลับคืนมาแล้วกว่าร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โรคโควิด-19

วันที่ 1 มีนาคม 2566 นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ผู้อํานวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) เป็นประธานพิธีทําบุญเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 35 ปี การดําเนินงานท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการ บริษัทสายการบิน ผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสื่อมวลชน ให้เกียรติร่วมพิธีและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวโอกาสนี้ คณะผู้บริหารท่าอากาศยานเชียงใหม่ ได้ร่วมกันแถลงผลการดําเนินงานของท่าอากาศยานเชียงใหม่

โดยนายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ผู้อํานวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยาน เชียงใหม่ มีอัตราการเจริญเติบโตในทิศทางขาขึ้นมาโดยตลอด  มีจํานวนผู้โดยสารสูงสุดเมื่อปี 2562 ถึงกว่า 11 ล้าน 3 แสนคน และมีอัตราเที่ยวบินและผู้โดยสารลดลงเป็นครั้งแรกในปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปี 2564 ซง่ึ เป็นช่วงที่มีการระบาด ของโรคโควิด-19 แต่หลังจากรัฐบาลไทยและทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการการเดินทาง ทําให้ในปี 2565 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยาน เชียงใหม่ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนเที่ยวบินและผู้โดยสารอีกครั้ง มีผลการดําเนินงาน มีอากาศยานพาณิชย์ ขึ้น-ลง 39,027 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 90.88  มีจํานวนผู้โดยสาร 5.46 ลา้ นคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 209.72
มีปริมาณการขนถ่ายสินค้า 5,588 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 68.42

ด้านนายณัฐวุฒิ ทาอินต๊ะ รองผู้อํานวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (สายปฏิบัติการ) กล่าวว่า ปัจจุบัน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีสายการบินที่ให้บริการทั้งหมด 24 สายการบิน ใน 30 เส้นทาง เป็นสายการบินภายในประเทศ 12 เส้นทาง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค และมีเส้นทางบินตรงระหว่างประเทศ 18 เส้นทาง ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนเกิด สถานการณ์โควิดถือว่าการให้บริการในภาพรวมกลับคืนมาแล้วกว่าร้อยละ 63 โดยเส้นทางล่าสุดที่คาดว่าจะเปิดให้บริการ ในตารางฤดูร้อนคือช่วงปลายเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ได้แก่ เส้นทาง คุนหมิง-เชียงใหม่

ขณะที่ นายสรายุทธ จําปา รองผู้อํานวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (สายสนับสนุนธุรกิจ) เปิดเผยถึง ผลประกอบการด้านการเงินว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับจํานวนผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยท่าอากาศยานเชียงใหม่ เคยมีกําไรสูงสุดในปี 2562 และขาดทุนครั้งแรกในปี 2564 ต่อเนื่องจนถึงปี 2565 ทั้งนรี้ ายได้ที่ลดลงจํานวนมากคือรายได้ จากส่วนแบ่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็นรายได้หลักจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบินหรือ Non Aero เนื่องจาก ทอท.ได้มีนโยบาย ช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 และปัจจุบันก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งหากสถานการณ์ต่างๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร้านค้าต่างๆ กลับมาเปิดให้บริการเต็มพื้นที่ ผลประกอบการก็คาดว่าจะกลับมาเป็นเชิงบวกได้ภายในปีนี้

สําหรับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายงานวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งดําเนินการควบคู่ไปกับการจ้างออกแบบและจัดหาผู้รับจ้าง โดยคาดว่าจะได้ผู้รับจ้าง ภายในปีงบประมาณ 2566 นอกจากนี้ยังมีงานเร่งด่วนบรรเทาความแออัด ซึ่งเป็นงานก่อสร้างกลุ่มอาคารทดแทน ได้แก่ อาคารดับเพลิง อาคารคลังสินค้า และลานจอด GSE โดยอยู่ระหว่างเตรียมเข้ากระบวนการจัดหาภายในปีงบประมาณ 2566 นี้เช่นกัน

เชียงใหม่-ทชม. Kick off เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ประเดิมเที่ยวบินแรก 'เชียงใหม่-โอซาก้า'

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ Kick off เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ประเดิมเที่ยวบินแรก 'เชียงใหม่-โอซาก้า' รองรับนักท่องเที่ยวตามนโยบาย Quick-Win กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล โดยการจัดเที่ยวบินหลังเที่ยงคืน จะคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนเป็นหลักสำคัญ        

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน Kick off ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ณ อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยมีนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) นาวาอากาศโท รณกร เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ ผู้บริหารระดับสูงของ ทอท. รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน 

ตลอดจนผู้ประกอบการธุรกิจการบินและการท่องเที่ยว รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง โดยเที่ยวบินแรกที่ทำการบินหลังเวลาเที่ยงคืน เพื่อเป็นการประกาศให้บริการ 24 ชั่วโมงของท่าอากาศยานเชียงใหม่ คือ สายการบินไทยเวียตเจ็ท เที่ยวบินที่ VZ 822 เส้นทาง เชียงใหม่-โอซาก้า กำหนดออกจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ เวลา 00.30 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 (คืนวันที่ 31 ตุลาคม 2566) เดินทางถึงท่าอากาศยานคันไซ (โอซาก้า) เวลา 07.50 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) 

โอกาสนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คณะผู้บริหารของ ทอท.และผู้ร่วมกิจกรรม ได้ร่วมกันแจกของที่ระลึกให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางไปกับเที่ยวบินดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการแสดงฟ้อนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง การประดับตกแต่งบรรยากาศความเป็นล้านนา ภายในอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และยังได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประดับตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้โดยสารที่มาใช้บริการท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top