Tuesday, 2 July 2024
ชวนนท์_วงศ์ตระกูลจง

นักศึกษาไทยชุบชีวิต 'ชะลอม' ผ่านผลงานโลโก้ APEC กระตุ้นความนิยมงานจักสานสู่สังคมไทยอีกครั้ง

ทราบหรือไม่ว่า โลโก้สามสีของการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ปี 2022 ที่ปรากฏอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็นเมืองเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ในสัปดาห์นี้นั้น เกิดจากฝีมือการออกแบบของนักศึกษาไทย วัย 21 ปี

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คนเก่งที่ว่า โดยเขาได้บอกเล่าถึงกระบวนการออกแบบโลโก้สําหรับการประชุมทางเศรษฐกิจระดับโลกกับสํานักข่าวซินหัวว่า ความท้าทายอยู่ที่จะผสมผสานอัตลักษณ์ ของเอเปคเข้ากับสัญลักษณ์ของไทยได้อย่างไร 

ชวนนท์ เผยว่า ช้าง วัด หรือยักษ์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของไทย แต่เขามองว่ามันธรรมดาเกินไปและอยากคิดนอก กรอบ และไม่อยากใช้สัญลักษณ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ จึงนึกถึง 'ชะลอม' ขึ้นมา 

“เรานึกถึงต้มยํากุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับ คนไทยมานานคืออะไร ผมนึกถึงชะลอม ซึ่งเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือ ที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” ชวนนท์กล่าว 

ชวนนท์ใช้เวลาราว 3 เดือน ปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายเป็นโลโก้รูปแบบสุดท้าย โดยไผ่ที่จักสานเข้าด้วยกัน ก่อตัวเป็นช่องว่าง 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค ส่วนปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าสื่อถึงการเติบโตของเอเปค ส่วนสีต่าง ๆ อาทิ สีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์การอํานวยความสะดวก สีชมพูแห่งการเชื่อมโยง และสีเขียวที่ยั่งยืน ยัง สะท้อนหัวข้อการประชุมฯ ปีนี้ ได้แก่ 'เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' (Open. Connect. Balance.) 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top