Friday, 5 July 2024
คณะแพทย์

ขอนแก่น - 'คณะแพทย์ มข.' เจ๋ง!รักษาโรคหนังแข็ง สำเร็จ เป็นรายแรกของภาคอีสาน

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แถลงความสำเร็จในการรักษาโรคหนังแข็ง ด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด รายแรกของภาคอีสาน ที่ได้รับการผ่าตัด อาการดีขึ้น 70% และค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนให้ชีวิตใหม่ กับ ผู้ป่วย

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ ชั้น 6 ห้องประชุมหนองแวง อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานแถลงข่าว ความสำเร็จในการรักษาโรคหนังแข็ง ด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด รายแรกของภาคอีสาน  โดยรศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงความก้าวหน้าของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในการนี้ ศ.พญ.ชิงชิง ฟูเจริญ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม สาขาวิชาอายุรศาสตร์การ แพทย์เจ้าของไข้ พร้อมด้วยนางสาวธนวรรณ โตภูเขียว ผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กล่าวถึงอาการของโรคหนังแข็ง และการรักษาผู้ป่วย  ต่อด้วยผศ.นพ.ชินดล วานิชพงษ์พันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา สาขาวิชาอายุรศาสตร์ กล่าวถึงการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด และการพูดถึงสิทธิการรักษาและการช่วยเหลือจากกองทุนวันศรีนครินทร์ โดย ศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงความก้าวหน้าของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ว่า ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วย ซึ่งการรักษาผู้ป่วยโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด นับเป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในปัจจุบันและอนาคต 

ด้าน ศ.พญ.ชิงชิง ฟูเจริญ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม แพทย์เจ้าของไข้ เปิดเผยถึงโรคหนังแข็ง ว่าโรคหนังแข็ง (Scleroderma ) เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ กระตุ้นให้เซลล์ร่างกายผลิตเส้นใย คอลลาเจนออกมาอย่างต่อเนื่องและกระตุ้นการสร้างพังผืด ส่งผลให้พังผืดไปเกาะตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดผิวหนังตึงแข็ง บริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า แขนขา หน้าอก หน้าท้อง ซึ่งหนังแข็งไม่ได้เกิดขึ้นกับอวัยวะภายนอกเท่านั้น แต่ยังลามไปถึงอวัยวะภายในด้วย เช่น ภาวะปอดเป็นพังผืด และกล้ามเนื้อหัวใจเป็นพังผืด ซึ่งอันตรายอาจพิการและเสียชีวิต 

โรคหนังแข็งส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน-วัยสูงอายุ (ราว 40-50 ปี) และพบในคนอายุน้อยได้น้อยมาก โดยทั่วประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหนังแข็ง คิดเป็นอัตรา 24:1 แสนคน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบผู้ป่วยโรคหนังแข็ง คิดเป็นอัตรา 40/1 แสนคน จากการเก็บข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยโรคหนังแข็งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมากกว่าในภาคอื่นๆ

ในรายของ นางสาวธนวรรณ โตภูเขียว  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ป่วยหญิง วัย 18 ปี เข้ารักษาเมื่อเตือนมกราคม 2565 ได้ถูกส่งตัวมาเพื่อรักษาต่อกับอายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสชั่ม อาการในขณะที่มาพบอายุรแพทย์ พบว่ามีภาวะฟังผืดลามไปที่ปอดผิวหนังแข็งตึง จึงได้วางแผนรักษาด้วยการทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของตนเอง หลักจากการรักษา 14 วัน พบว่า ผู้ป่วยมีผิวนุ่มขึ้น และในเดือนที่ 3 พบว่าข้อต่อดีขึ้น สามารถเหยียดนิ้วมือ ข้อศอกได้สะดวก และสีผิวกลับเป็นปกติอย่างเห็นได้ชัด การทำงานของอวัยวะภายในคงที่ อาการของผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ สามารถช่วยเหลือตนเองได้และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ โรคหนังแข็งเป็นโรคที่พบได้น้อยผู้ป่วยหลายคนยังไม่ทราบแหล่งที่จะหาข้อมูลเรื่องโรคและการปฏิบัติตัว หากท่านมีอาการผิดปกติที่ผิวหนังหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคหนังแข็ง แนะนำให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกย่อมเป็นผลดีต่อการรักษา

ต่อด้วย ผศ.นพ.ชินดล วานิชพงษ์พันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา กล่าวถึงขั้นตอนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ปัจจุบันมีนวัตกรรมการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดโดยใช้เซลล์ของตนเอง เป็นหนึ่งทางเลือกรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้โรคสงบหรือหายขาด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติ โดยแพทย์จะทำการกระตุ้นเก็บเซลล์ตันกำเนิดเม็ดเลือดของผู้ป่วยไว้ หลังจากนั้นจะให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง เพื่อกำจัดเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ และรีเซ็ตระบบภูมิคุ้มกัน แล้วนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดกลับมาให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว โดยมีขั้นตอนหลักดังนี้1.ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความแข็งแรงของร่างกาย 2.แพทย์จะทำการกระตุ้นเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจากผู้ป่วย 3.ผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูงเพื่อกำจัดเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติและรีเช็ตระบบภูมิคุ้มกัน 4.นำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดกลับมาฉีดให้แก่ผู้ป่วยให้ร่างกายพื้นตัว

ปกติแล้วการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจะทำให้กับผู้ป่วยที่อายุไม่มากเกินไปและการทำงานของอวัยวะต่างๆยังดี โดยเลือกผู้ป่วยอาการของโรครุนแรงและลุกลามอย่างรวดเร็ว ส่วนในผู้ป่วยหนังแข็งที่อายุสูงวัยและอาการไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องปลูกถ่าย 

ทางด้าน ศ.นพ.ทรงศักดิ์  เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอบคุณผู้บริจาคสมทบทุนวันศรีนครินทร์ ทุกๆ ท่าน เพราะเงินจากการบริจาคของท่านทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้นำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีโรคที่ซับซ้อน มีรายได้น้อยที่มีค่าใช้จ่ายเกินสิทธิ์ในการรักษาพยาบาล และพัฒนาเทคโนโลยีในการรักษาผู้ป่วย รายนี้เป็นตัวอย่างที่เราได้นำเงินบริจาคของประชาชนทุกท่านมาช่วยเหลือให้สามารถใช้ชีวิตต่อได้อย่างปกติ "ชีวิตยังมีหวังด้วยพลังแห่งการให้ ร่วมเป็นผู้ให้ได้ที่กองทุนวันศรีนครินทร์"คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นางสาวธนวรรณ โตภูเขียว  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ป่วยหญิง วัย 18 ปี  กล่าวว่าก่อนเข้ารักษา ข้อศอกหรือการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไม่ค่อยดี เพราะโดนผิวหนังยึดไปทั้งหมด โดยยึดตั้งแต่ส่วนแขนไปจนถึงลำตัว เวลาจะยกแขนก็ยกไม่ได้ ส่วนช่วงหน้าหนาวก็จะมีแผลเกิดขึ้นตามข้อศอก ตามนิ้ว เจ็บมาก เพราะเวลาเจาะเลือดก็จะไม่มีเลือดออก เส้นเลือดก็จะเหมือนหนังที่รัดไว้ การใช้ชีวิตประจำวัน เวลาไปเรียนก็มีความยากลำบาก ส่วนหน้าหนาว หรือเป็นแผล จะเจ็บมาก และก็จะทำให้ตัวเองขาดเรียนบ่อย แต่ตอนนี้สภาวะร่างกายเริ่มปรับตัวดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันกับเพื่อนได้ รู้สึกดีขึ้นมาก และรู้สึกดีขึ้นเหมือนได้ชีวิตใหม่กลับมาใช้ชีวิต เหมือนคนปกติเช่นเดิม และในตลอดระยะเวลาในการรักษา มีทีมแพทย์ทีมพยาบาลที่คอยช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา ดูแลตั้งแต่ก่อนรักษาจนรักษาเสร็จ ในระหว่างที่รักษาเสร็จก็จะมีการติดตามการรักษาอยู่ตลอดเวลา หรือผิดปกติอะไรคุณหมอก็จะรีบมาช่วยเหลือทันตลอดเวลา 

ตบท้ายที่ ร.ต.อ.อุทัย โตภูเขียว สว.สอบสวน สภ.ภูผาม่าน บิดา ซึ่งมีนางสุภาวดี โตภูเขียว ภรรยา อาชีพขายของชำ เปิดเผยตัวสื่อมวลชนว่า ลูกสาวได้รักษาตัวมาได้ 7 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ 2560 ตนเองกับครอบครัวต่อสู้กับโรคนี้มา 7 ปี การที่เห็นลูกสาวเจ็บปวด บางทีหัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ มันเหนื่อยมันมันหาอะไรที่ ทุกข์ใจมากกว่านี้ไม่ได้หรอก หลังจากเข้ารับการรักษา เห็นสภาพร่างกายเขาดีขึ้นตามลำดับ ต้องขอขอบคุณทีมแพทย์ทุกท่านที่ให้ความกรุณาครอบครัว ตนเอง ขอขอบคุณมากๆ

ต่อข้อถามที่ว่าแล้วทราบได้อย่างไรว่าทางคณะแพทย์ มข. รักษาโรคนี้ได้ และ คิดยังไงถึงมารักษาที่นี่ เริ่มต้นก็เนื่องจากน้องเขา ตอนเริ่มเป็นใหม่ๆตอนนั้นอายุ 14 เขา เขาใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงจากสิทธิ์ของพ่อ ก็เลยได้รับคำแนะนำว่าให้ให้มาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เนื่องจากที่นี่มีแพทย์ ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคนี้ ซึ่งตนเองก็รอ 6 ปีถึงมีเคส ซึ่งทางโรงพยาบาลฯถึงเสนอว่ามีวิธีการรักษาแบบนี้ หากสนใจที่จะเข้ารับการรักษา ดังนั้นจึงแสดงความจำนงค์มาทางโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าทำการรักษาให้ ซึ่งตนเองต้องขอบคุณมาก เพราะว่าตนเองรอมาหลายปีต้องขอบคุณจริงๆ

เชียงใหม่-รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์ มช.เดินหน้าสร้าง“อาคารสุจิณฺโณ ปลอดฝุ่น PM2.5” นำร่องแห่งแรกในภาคเหนือ

ฝุ่น PM2.5 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนเป็นประจำทุกปี คณะแพทยศาสตร์ มช. เล็งเห็นความสำคัญ และหาแนวทางแก้ไขปัญหา นำร่องสร้างอาคารสุจิณฺโณ ปลอดฝุ่น PM 2.5 ยกระดับสุขภาวะของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา และบุคลากรทางการแพทย์ภายในอาคารสุจิณฺโณ

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า สถานการณ์วิกฤตหมอกควันมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน(PM10) และฝุ่นที่มีอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นกับจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือมาอย่างยาวนาน โดยขณะนี้เกินค่ามาตรฐานอย่างหนักในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สถิติวันที่ 1 ม.ค.-15 มี.ค. 2567) ด้วยผลกระทบจาก PM2.5 แล้วทั้งสิ้น จำนวน 30,339 ราย มากกว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงเดียวกันของปีก่อน1 เท่าตัว (สถิติวันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 2566 จำนวนผู้ป่วย 12,671 คน) ส่วนใหญ่พบมีอาการของโรคภูมิแพ้กำเริบ เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เยื่อบุตาอักเสบ โรคหืด เลือดกำเดาไหล โรคถุงลมโป่งพอง ตามลำดับ

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยต่อว่า “อาคารสุจิณฺโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีหอพักผู้ป่วยแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ ซึ่งหอพักผู้ป่วยแบบไม่ปรับอากาศ ปัจจุบันมีการเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ดังนั้นหากฝุ่น PM2.5 เข้ามายังอาคารหอผู้ป่วยสุจิณฺโณ จะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเดินหายใจของผู้ป่วยได้ จึงได้มีแนวคิดในการป้องกันปัญหา PM 2.5 ของอาคารสุจิณฺโณ 

โดยการสร้างความดันภายในอาคาร ให้สูงกว่าภายนอกบริเวณอาคาร เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเล็ดลอดเข้ามาในอาคารสุจิณฺโณ ลดพื้นที่ช่องเปิดให้เหลือน้อยที่สุด และทำการเติมอากาศสะอาดเข้ามาภายในบริเวณโถงทางเดิน ซึ่งอากาศที่เติมเข้ามา จะถูกกรองด้วยระบบกรองอากาศ โดยใช้ Filter 3 ชั้น ได้แก่ แผ่นกรองอากาศชนิดชั้นต้น (Pre – Filter), แผ่นกรองอากาศชั้นกลาง (Secondary -filter) และแผ่นกรองอากาศขั้นสูง (HEPA -filter) ที่มีความสามารถในการกรองฝุ่นได้ถึงระดับ PM2.5
 
นอกจากนี้ พื้นที่ช่องเปิดและหน้าต่างสำหรับระบายอากาศที่เหลือ ได้ทำการติดตั้งม่านกันฝุ่น PM2.5 โดยใช้ม่านกันฝุ่นชนิดนาโนไฟเบอร์ในห้องผู้ป่วยที่ไม่มีการปรับอากาศ ทั้งนี้ในอาคารสุจิณฺโณ ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์ วัดปริมาณฝุ่น PM2.5 เพื่อติดตามปริมาณฝุ่น ภายในอาคาร และสามารถรายงานผลได้ทุกช่วงเวลา แบบ Real time”

คณะแพทยศาสตร์ มช. จึงได้จัดแถลงข่าว“อาคารสุจิณฺโณปลอดฝุ่น ลดผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM 2.5”ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 12.15 น. โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานและร่วมแถลงในประเด็น สถานการณ์และมาตรการการแก้ปัญหา PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช.แถลงประเด็น นโยบายคณะแพทยศาสตร์ มช. ในการสร้างอาคารสุจิณฺโณ ให้เป็นอาคารนำร่อง ปลอดฝุ่นPM 2.5 และการป้องกันดูแลสุขภาพของประชาชน และรศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ แถลงถึงความคืบหน้าอาคารสุจิณฺโณ ปลอดฝุ่น PM 2.5 ณ ชั้น 1 Grand Hall ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

นภาพร/เชียงใหม่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top