Tuesday, 2 July 2024
SPR

'พีระพันธุ์' สร้างระบบน้ำมันสำรอง ช่วย 'ราคาพลังงานไทย' ไม่ผันผวน

(15 เม.ย.67) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 'Kookkai Kookkai' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

สงครามตะวันออกกลาง ประเทศไทยกระทบเต็มๆ

เมื่อวานดูข่าวสถานการณ์ในตะวันออกกลาง จากช่อง อัลจาซีรา ของประเทศกาตาร์ เจอข่าว อิหร่าน ยิงขีปนาวุธ และโดรนติดหัวรบ ใส่อิสราเอล ตอบโต้อิสราเอล

ความก่อนหน้านี้ อิสราเอล ก็เล่นถล่มสถานทูตอิหร่านในอิสราเอล ในประเทศซีเรีย ก่อนนี่นา

แต่ที่วิตกแทน คือ วันนี้เปิดตลาดซื้อขายน้ำมัน นักวิเคราะห์คาดว่า ราคาน้ำมันโลกพุ่งแน่นอน แต่จะไปตกราคาเท่าไรอยู่ที่สถานการณ์

เดาว่าดังนี้...

1.ถ้าอิสราเอล วิเคราะห์ว่าไปถล่มอิหร่านก่อน อิหร่านเอาคืนสมควรแล้ว หยุดตอบโต้ ราคาน้ำมันก็ไม่พุ่ง

2.ถ้าอิสราเอล ตอบโต้อิหร่านคืน รับรองว่าอิหร่าน คงให้กองกำลังใต้ดิน ถล่มอิสราเองยืดเยื้อ ราคาน้ำมันพุ่งกระฉูดแน่นอน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมัน และก๊าซ คงหนีราคาพุ่งไม่ได้ ประชาชนเดือดร้อน ไม่รอดแน่นอน

ย้อนมานึกถึง นโยบาย รมว.พลังงาน และรองนายก คนปัจจุบัน คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เคยบอกว่าจะทำนโยบาย ยุทธศาสตร์สำรองน้ำมัน เออ!! น่าสนใจดี เพราะดูแล้ว มันก็ไม่ยากอะไร แต่ถ้าทำจริงน่าจะยากหน่อย

หลักคิดของ รมว.พลังงาน เท่าที่ทราบ คือ...

1.เราเป็นผู้นำเข้า ยังไงต้องซื้อราคาที่ผู้ผลิตขาย ข้อนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้

2.ทำยังไงราคาอย่าขึ้นลงผันผวนแบบตลาดหุ้น

3.ยามวิกฤติสงคราม คนไทยต้องมีสำรองใช้อย่างน้อย 90 วัน

4.ประเทศต้องไม่ขาดแคลนน้ำมัน ทั้งเอกชน รัฐ ประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สังกัด กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่น

วิธีคิดและทำ ของรมว.พลังงาน น่าติดตามทีเดียว ถ้าทำได้ ประเทศรอดจากวิกฤติแน่นอน

วิธีแก้ไขของท่าน คือ...

1.ประเทศไทย ต้องมีน้ำมัน และก๊าซสำรอง เป็นของรัฐเอง อย่างน้อย 90 วัน

2.ปัจจุบัน มีสำรองแล้วจริง แต่เป็นของเอกชนทั้งหมด ประมาณ 25 วัน แต่รัฐไม่มีกฏหมายบังคับใช้ สรุปคือเป็นของเอกชน

3.ปัจจุบัน เวลาขนน้ำมันมาขาย ต้นทุนคือ 30 วันที่แล้ว แต่เวลาขายจริง เป็นไปตามตลาดสิงคโปร์ หรือ เอกชนอยากขาย ไม่ใช่ราคาที่ซื้อมา 30 วันที่แล้ว  ประชาชนเสียเปรียบ แบบโดนมัดมือชก

4. อ้างจากข้อ 3 รมว.พลังงาน จะทำให้ราคาที่ขายให้ประชาชน คือราคาที่ซื้อมาจริง ไม่ขึ้นราคาตามใจชอบ แบบวันต่อวัน แบบตลาดหุ้น

5.แนวคิดท่าน ทำ SPR หรือ Strategic Petroleum Reserve หรือการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ จะมีผลดี คือ ราคาน้ำมันไม่ผันผวน เอกชนเอาเปรียบขึ้นราคาไม่ได้แน่นอน และยามมีภัยสงคราม ประเทศไทยมีน้ำมันสำรองยามฉุกเฉินได้ทันที 3 เดือนเต็ม ซึ่งเป็นระดับเดียวกับมหาอำนาจ อย่าง ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลีใต้, รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เลยทีเดียว

อ้าว!! แบบนี้ น่าเชียร์ การเมืองเอาออกไปก่อน สลิ่ม, แดง, ส้ม, เหลือง ได้ประโยชน์ทุกคน จริงมั้ย?

กองทุนน้ำมันแบกหนี้อ่วม 'ทุกยุค-ทุกรัฐบาล' เพื่อช่วยคนไทย ทางแก้!! ต้องกล้าทำระบบ SPR สำรองเชื้อเพลิงให้ประเทศ

วิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นรอบนี้เกิดขึ้นเพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครนตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022 ต่อเนื่องมายาวนานกว่า 2 ปีแล้ว ประจวบกับการปะทะกันระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ปาเลสไตน์ ซ้ำบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและอิสราเอลเพิ่มขึ้น 

เงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกเมื่อปลายปี 2021 ที่เคยอยู่ที่บาร์เรลละ 75-78 ดอลลาร์ ขยับขึ้นมาเป็นบาร์เรลละ 90-122 ดอลลาร์ในปี 2022 และบาร์เรลละ 75-91 ดอลลาร์ในปี 2023 ส่วนในปัจจุบันราคาน้ำมันดิบของโลกเฉลี่ยอยู่ที่บาร์เรลละ 80-90 ดอลลาร์ 

จากวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานในครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยต้องใช้เงินจาก ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ เพื่ออุดหนุนชดเชยเพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งถือเป็นน้ำมันเศรษฐกิจของประเทศ เพราะรถโดยสารและรถบรรทุกขนส่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทั้งสิ้น

โดย ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ มาจาก 3 ส่วน คือ...
- ส่วนของภาษีสรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
- ส่วนของภาษีศุลกากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ส่วนของผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผู้รับสัมปทานที่ทำธุรกิจก๊าซ ซึ่งต้องนำส่งเงินให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ มีบทบาทและภารกิจที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ในช่วงสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีความผันผวน เกิดสภาวะวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาระดับของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ให้สูงเกินไปจนเกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน และการเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้กรอบการดำเนินงานของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563-2567 

โดย ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ ได้กำหนดแนวทางสำคัญในการใช้เงินกองทุนฯ ไว้ 3 ประการ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังนี้...

1. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศสูงกว่า 30 บาท/ลิตร และราคาขายปลีก LPG เกิน 363 บาท/ถัง (15 กก.)

2. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง (1) ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นมากกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลใน 1 สัปดาห์ และส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกปรับขึ้นมากกว่า 1 บาท/ลิตร (2) ราคา LPG ตลาดโลกเปลี่ยนแปลงใน 2 สัปดาห์ เฉลี่ยมากกว่า 35 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน หรือ ราคา LPG ตลาดโลกเปลี่ยนแปลงใน 2 สัปดาห์ รวมกันมากกว่า 1 บาท/กก.

3. สถานการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

ทั้งนี้ในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ จะมุ่งเน้นการอุดหนุนและชดเชยในระยะสั้นเพียงชั่วคราวโดยยึดถือระเบียบวินัยทางการเงินการคลังเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันการณ์กลับกลายเป็นว่า ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ ติดลบมหาศาลมีภาระดอกเบี้ยจ่ายเดือนละ 200-250 ล้านบาท หมายความว่า ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ มียอดติดลบมากกว่า 100,000 ล้านบาทแล้ว นับแต่วิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงจาดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปี 2022 ไทยได้ใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการอุดหนุนน้ำมันดีเซล และ LPG มาโดยตลอด เพราะเชื้อเพลิงทั้งสองชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และมีผลกระทบโดยตรงต้องพี่น้องประชาชนคนไทยซึ่งต้องบริโภคใช้งานเชื้อเพลิงทั้งสองชนิดนี้ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม 

กรณีการติดลบมหาศาลของ ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ นี้ มีความพยายามที่จะป้ายความผิดให้กับ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่า การเข้ามารับผิดชอบดูแลกระทรวงพลังงานระยะเวลา 9 เดือนทำให้ ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ เกิดปัญหาใหญ่เช่นนี้ขึ้น หากแต่พิจารณาด้วยเหตุและผลอย่างเป็นธรรมและมีตรรกะแล้ว จะพบว่าที่ผ่านมาชั่วนาตาปี รัฐบาลทุกชุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานทุกคนต่างก็ใช้ ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และเป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดเพียงเครื่องมือเดียวที่ภาครัฐมีอยู่ 

เพราะเครื่องมืออื่น ๆ ไม่ว่าจะ บทบาท อำนาจหน้าที่ และกฎหมาย ที่มีอยู่ไม่สามารถใช้งานแก้ไขปัญหาราคาเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพได้ รองฯ ‘พีระพันธุ์’ จึงต้องใช้ ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวที่มีอยู่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจากวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการลดทอนและบรรเทาความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG ของพี่น้องประชาชนคนไทยไปพลาง ๆ ก่อน พร้อมกับออกนโยบาย ‘รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง’ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ทั้งนี้ นโยบาย ‘รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง’ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของ รองฯ ‘พีระพันธุ์’ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว มีทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการ และอยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อดำเนินการ

ดังนั้นในส่วนของ ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ เมื่อวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงได้เบาคลายลงแล้ว สถานการณ์การติดลบก็จะกลับมาดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกลับเข้าสู่สภาวะปกติ แล้วจะค่อย ๆ ลดบทบาทลง โดยจะมี SPR : Strategic Petroleum Reserve หรือ การสำรองเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ ของรองฯ ‘พีระพันธุ์’ เข้ามามีบทบาททำหน้าแทนที่มากขึ้น 

พูดง่าย ๆ ก็คือ ในอนาคตเมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานได้กลายเป็นผู้ถือครองปริมาณน้ำมันมากที่สุดในประเทศเพียงพอสำหรับการใช้งาน 50-90 วันแล้ว รัฐบาลย่อมสามารถนำปริมาณน้ำมันสำรองเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศได้ หลังจากที่ผ่านมาปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากวิกฤตเชื้อเพลิงมีการใช้ ‘เงิน’ จาก ‘กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง’ ในการแก้ไขปัญหา 

ทว่าเมื่อ SPR เกิดขึ้น ‘เงิน’ จากกองทุนน้ำมันก็จะถูกลดทอนบทบาทและต้องมาเป็นคำตอบหลักในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกไป เพราะในบางสถานการณ์ต่อให้มี ‘เงิน’ ก็อาจไม่สามารถหาซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไม่สามารถขนส่งมาประเทศไทยได้ 

ดังนั้น SPR ด้วยการถือครอง ‘น้ำเชื้อเพลิงสำรอง’ โดยรัฐที่มากพอ (สำหรับการใช้งาน 50-90 วัน) จนกระทั่งวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงคลายตัวลง จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในยามนี้

‘พีระพันธุ์’ วางระบบคุมราคาน้ำมันที่เป็นธรรม ‘ผู้ค้าฯ’ ต้องพิสูจน์ต้นทุน ก่อนขอรับเงินชดเชย

เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย. 67) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเพื่อความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ และระบบรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ ครั้งที่ 14/2567 เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ หรือ SPR  (Strategic Petroleum Reserve) ของประเทศไทย

นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ยังได้มอบนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการกำกับราคาน้ำมันให้มีความเป็นธรรมและป้องกันการค้ากำไรเกินควร โดยในแนวทางนี้รัฐจะเป็นผู้กำหนดราคากลาง หรือ Benchmark ในขณะที่ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องนำหลักฐานต่าง ๆ มาพิสูจน์ต้นทุนที่แท้จริง ทั้งหลักฐานที่กรมศุลกากร หลักฐานที่แบงก์ชาติ หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงหลักฐานที่แสดงต่อกรมสรรพากร เพื่อขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในกรณีที่ขาดทุนจากจำหน่ายตามราคาที่รัฐกำหนด

“ทุกวันนี้เราต้องนั่งรอข้อมูลจากผู้ค้าฯ แต่ต่อไปผู้ค้าฯ ต้องมาพิสูจน์ว่าขาดทุนตรงไหน? อย่างไร? พร้อมหลักฐานที่จะต้องตรงกันหมด ทั้งหลักฐานที่กรมศุลกากร หลักฐานที่แบงก์ชาติ หลักฐานที่ธนาคารพาณิชย์ และหลักฐานที่แสดงต่อกรมสรรพากรต้องตรงกันหมด ถ้าไม่ตรงก็ถือว่ามีปัญหา ก็ไม่ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็ใช้ราคาหลวง เช่น เราคํานวณ benchmark ที่ 84 เหรียญ ถ้าจะให้รัฐชดเชย ก็ต้องมาว่าพิสูจน์ว่า ทําไมราคาของคุณถึงสูงกว่าราคาตลาดโลก ถ้าพิสูจน์ได้ ก็ได้รับชดเชยไป แต่ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่พิสูจน์ บอกว่าเป็นความลับ ก็เจ๊ากันไป ไม่ได้รับชดเชย เท่านั้นเอง ผมว่าต้องเป็นระบบแบบนี้” นายพีระพันธุ์กล่าว

สำหรับความคืบหน้าของการจัดตั้งระบบ SPR นั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องผลการศึกษาการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในต่างประเทศและประเทศไทย การศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ของการจัดตั้งระบบ SPR ในประเทศไทย การกำหนดอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ รวมไปถึงรูปแบบการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง กลไกบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง การนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาใช้ โครงสร้างองค์กรใหม่ การจัดตั้งกองทุน การบริหารจัดการ การกำกับติดตามและตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองตามกฎหมาย การดำเนินการในระยะเริ่มต้น การถ่ายโอนภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและร่างกฎหมาย ตลอดจนการจัดหาพื้นที่เก็บสำรองด้วย

📌'รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง' ราคาเชื้อเพลิงพลังงานของไทยต้องเป็นธรรม 'SPR' คือ คำตอบสุดท้ายของ 'พีระพันธุ์' คนไทยจะได้อะไร❓️

ปัญหาเกี่ยวกับราคาพลังงานของบ้านเรานั้นมีมาต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปีมาแล้ว ทั้งอย่างสร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อชาติโดยรวมอย่างกว้างขวางในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง จนกระทั่งเรื่องของความมั่นคง ฯลฯ และปัญหาราคาพลังงานยิ่งส่งผลกระทบมากยิ่งขี้นเมื่อภาครัฐต้องเริ่มวางมือจากรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลดลงทุนสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แล้วให้เอกชนเข้ามาทำหน้าที่แทน เพื่อนำงบประมาณไปใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ แทน 

ทั้งยังมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานซึ่งเป็นองค์กรอิสระมาทำหน้าที่กำกับดูแลแทน และด้วยความฉ้อฉลของฝ่ายการเมืองที่ทำให้ ‘การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย’ รัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซของชาติแปรรูปจนกลายเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ จึงทำให้ต้องสูญเสียจุดยืนในการเป็นหน่วยงานด้านพลังงานของรัฐ 

โดยแทนที่จะดำเนินกิจการเพื่อเป็นบริการในลักษณะที่ช่วยเหลือประชาชนได้ แปรเปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชนที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ขององค์กรอันได้แก่ผลกำไรเป็นตัวตั้งแรก ทำให้แนวคิดตลอดจนวิธีในการดำเนินการแปลกแยกไปจากวัตถุประสงค์แรกตั้งไปเป็นอย่างมาก

เรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้รัฐค่อย ๆ หมดอำนาจและบทบาทในการควบคุมราคาพลังงานไปเรื่อย ๆ มิหนำซ้ำรัฐมนตรีที่ดูแลรับผิดชอบด้านพลังงานส่วนใหญ่เป็นอดีตผู้บริหารของบริษัทพลัง ดังนั้นการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเกิดความเป็นธรรมแก่พี่น้องประชาชนคนไทยได้นั้นจึงเป็นความยากยิ่งและถูกปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด 

เมื่อ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ อดีตผู้พิพากษา อดีต สส. 7 สมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ มากำกับดูแลกระทรวงพลังงาน ภารกิจในการ 'รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง' เพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรมจึงได้กำเนิดเกิดขึ้นเป็นนโยบายและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 

ด้วยมาตรการเข้ม 6 เดือนแรกเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย 

1) พลังงานไฟฟ้า ได้ผลักดันให้มีการลดค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชนจนกระทั่งสามารถตรึงราคาค่าไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องไม่ให้สูงขึ้นตามที่มีการคาดการณ์เอาไว้ 

2) น้ำมันเชื้อเพลิง ได้ทำการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้น้ำมันด้วยการใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและกลไกทางภาษีด้วยความร่วมมือจากกระทรวงการคลัง และเร่งรัดในการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเพลิงยุทธศาสตร์ (SPR : Strategic Petroleum Reserve) เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและสร้างเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิง ออกประกาศให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งข้อมูลต้นทุนน้ำมันทุก ๆ เดือนเพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร 

3) ก๊าซ มีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ (Pool gas) เพื่อให้ต้นทุนก๊าซธรรมชาติในภาพรวมลดลง และเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ เร่งรัดติดตามการขุดเจาะและผลิตก๊าซจากอ่าวไทยเพื่อลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบผู้ใช้ NGV โดยเฉพาะกลุ่มรถแท็กซี่ กลุ่มรถโดยสาร และรถบรรทุก

นโยบายด้านพลังงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่ ‘พีระพันธุ์’ นำมาใช้เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยมีความถูกต้องและเป็นธรรมคือ 

(1) การประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2567 ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ต้องรายงานข้อมูลรายละเอียดราคาและต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการนำเข้าและการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานทราบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการบันทึกบัญชีรายวัน ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถรับรู้ต้นทุนที่แท้จริงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งระบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำกับดูแลราคาน้ำเชื้อเพลิงในประเทศ และช่วยให้กรมสรรพกรสามารถคำนวณภาษีจากข้อมูลที่แท้จริงและมีความเป็นปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 

(2) การจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเพลิงยุทธศาสตร์ (SPR : Strategic Petroleum Reserve) นอกจากจะเกิดขึ้นเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและสร้างเสถียรภาพราคาเชื้อเพลิงแล้ว และหาก SPR เกิดขึ้นจริงในไทยเราได้จริง รัฐจะเป็นผู้ถือครองน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองซึ่งมีเพียงพอใช้ในประเทศได้ถึง 90 วันเลยทีเดียว 

ในขณะที่ปัจจุบันทุกวันนี้เอกชนผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้ถือครองน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองในปริมาณที่สามารถรองรับการใช้งานได้เพียง 25-36 วันเท่านั้นเอง ซ้ำร้ายหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ภาครัฐต้องการเข้าควบคุมเพื่อจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองจะทำไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจเว้นแต่จะใช้กฎหมายพิเศษบังคับ อาทิ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือกฎอัยการศึก 

น้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใน SPR นั้นไม่ใช่การถือครองโดยภาครัฐล้าเก็บสำรองเอาไว้อย่างเดียว เพราะจะต้องมีการหมุนเวียน เข้าและออก มีการจำหน่ายถ่ายโอนให้โรงกลั่นและบริษัทที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดเวลาอีกด้วย 

ดังนั้น SPR ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองในการดูแลของรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจะทำให้ภาครัฐมีอำนาจในการต่อรองและเพิ่มการถ่วงดุลให้กับระบบการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศอีกด้วย อันจะทำให้ภาครัฐสามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในประเทศได้ตลอดเวลา จึงสามารถกำกับดูแลราคาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่สะท้อนต้นทุน ณ เวลาที่ซื้อมาหรือจำหน่ายออกไปได้อย่างแท้จริง และจะเป็นประโยชน์อย่างมากมายต่อพี่น้องประชาชนคนไทยเป็นที่สุด

เชื้อไฟสงครามปะทุ!! เตรียมดันราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น หลังภัย 'ตะวันออกกลาง' และ 'รัสเซีย' ยังคุกรุ่น

(25 มิ.ย.67) หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานสถานการณ์ตลาดน้ำมันโลก ประจำสัปดาห์วันที่ 17-21 มิ.ย. 67 และแนวโน้มในสัปดาห์วันที่ 24-28 มิ.ย. 67 โดยระบุว่า ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์สงครามคุกรุ่นในตะวันออกกลางและรัสเซีย

- นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล นาย Benjamin Netanyahu ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 67 ว่า การโจมตีกลุ่มฮามาส (ในฉนวนกาซา) กำลังจะสิ้นสุดลง และเป้าหมายของกองทัพอิสราเอลจะเปลี่ยนไปเป็นที่ชายแดนทางตอนเหนือของอิสราเอลติดกับเลบานอน ทั้งนี้กองทัพอิสราเอลประกาศจะปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ต่อฐานที่มั่นของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งอาจส่งผลให้ความขัดแย้งลุกลามกลายเป็นสงครามในภูมิภาค

- วันที่ 21 มิ.ย. 67 ทหารยูเครนใช้โดรน (Unmanned Aerial Vehicles) โจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย 4 แห่ง กำลังการกลั่นรวมกว่า 400,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 6% ของกำลังการกลั่นรวม) ทำให้เกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ อนึ่งรัสเซียใช้โรงกลั่นดังกล่าวผลิตเชื้อเพลิงให้เรือรบที่ปฏิบัติการในทะเลดำ

- Energy Information Administration (EIA) รายงานว่าอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 มิ.ย. 67 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 21.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากประชาชนจำนวนมากออกมาใช้รถยนต์ช่วงฤดูขับขี่ท่องเที่ยว (วันที่ 27 พ.ค.-2 ก.ย. 67)

- Petroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานว่าปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ค. 67 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.7% อยู่ที่ 5.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เร่งผลักดันเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบ 

หมายเหตุ >> SPR : Strategic Petroleum Reserve หรือ การสำรองเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทางยุทธศาสตร์ ภายใต้การเร่งผลักดันให้เกิดโดย ‘นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค’ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะเข้ามามีบทบาททำหน้าแทนที่กองทุนน้ำมันได้มากขึ้น โดยในอนาคตเมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานเป็นผู้ถือครองปริมาณน้ำมันมากที่สุดในประเทศจนเพียงพอสำหรับการใช้งานในประเทศได้ถึง 90 วันแล้ว รัฐบาลย่อมสามารถนำปริมาณสำรองเข้าไปมีส่วนในการบริหารจัดการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นธรรมในประเทศได้ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top