Thursday, 4 July 2024
MRT

เหตุผลที่ MRT สายสีชมพู ใช้คำว่า ‘Kor Mor’ แทน Km 6 เพราะต่างชาติเรียกแท็กซี่จะได้ไม่ต้องพูดว่า “คิล้อมิเถอะซิกส์”

(1 มี.ค. 66) หลังจาก เพจ ‘ฉันเป็นนักเสียดสี’ ได้โพสต์แซะป้ายสถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ‘สถานีรามอินทรา กม.6’ ระบุว่า “บ้านนอก ใช้คำว่า ‘Kor Mor’ ชี้ คนคิดน่าจะใกล้ปลดเกษียณภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะแตก” จนถูกชาวเน็ตถล่มยับเละคาบ้านไปก่อนหน้านั้น

ด้านผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Pat Sangtum’ ก็ได้ออกมาช่วยโพสต์ไขความกระจ่างให้อีกคำรบ ว่าเหตุใดจึงมีการเลือกใช้คำเขียนดังกล่าว ไว้ว่า...

‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ เตรียมเปิดให้บริการ 32 สถานี ปลายปีนี้ ขึ้นแท่นโมโนเรลที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก!!

(16 ก.ค. 66) รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู เป็นรถไฟ Monorail อีกสายหนึ่งที่กำลังจะเปิดให้บริการในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งความรู้สึกในการโดยสารก็คงไม่ต่างจาก รถไฟเหาะสายสีเหลืองมากนัก แต่ด้วยความที่สายสีชมพูมีเส้นทางที่ยาวมาก ตลอดสายมีสถานีทั้งหมด 30 สถานี มีเส้นทางแยกเข้าเมืองทองธานีอีก 2 สถานี รวมเป็น 32 สถานี ระยะทางรวมทั้งสายประมาณ 34.5 กิโลเมตร ซึ่งหากเปิดให้บริการเมื่อไหร่ สายสีชมพูจะครองตำแหน่ง ‘รถไฟรางเดี่ยว (Monorail) ที่มีระยะทางยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก’ ทันที เป็นรองแค่ Chongqing Monorail Line 3 ที่มีระยะทาง 66 กิโลเมตรเท่านั้น พี่จะเป็นโมโนเรลที่ ‘ยาว ไป ไหน’

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

หมายเหตุ : ข้อมูลนี้เป็นของรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วเท่านั้น สำหรับรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ต้องรอดูความคืบหน้าในการเลือกสังกัดหน่วยงานรับผิดชอบอีกครั้ง

15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รถไฟฟ้า MRT ขบวนแรกมาถึงไทย ด้วยเครื่องบินขนส่ง ‘Antonov’

วันนี้เมื่อ 20 ปีก่อน รถไฟฟ้า MRT ขบวนแรก เดินทางถึงประเทศไทย ก่อนจะนำมาให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นวันที่รถไฟฟ้า MRT ขบวนแรก ซึ่งเป็นรุ่น ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากยุโรปมาถึงประเทศไทย โดยถูกบรรทุกมาด้วยเครื่องบินขนส่ง Antonov ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

โดยรถไฟฟ้ารุ่นซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ได้เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ในเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือสายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกในประเทศไทย มีระยะทาง 20 กิโลเมตร จากสถานีหัวลำโพง - สถานีบางซื่อ รวม 18 สถานี

เป็นเวลากว่า 19 ปีแล้ว ที่รถไฟฟ้ารุ่นนี้ยังคงวิ่งให้บริการอยู่ ทั้งหมด 19 ขบวน ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ จนได้มีการเปิดให้บริการเพิ่มเติมครบลูปสายสีน้ำเงิน ไม่ว่าจะเป็นช่วงหัวลำโพง-บางแค หรือบางซื่อ-ท่าพระ โดยได้รับการดูแล บำรุงรักษาตามมาตรฐานอย่างดีเพื่อให้มีความปลอดภัย และพร้อมให้บริการอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีรถไฟฟ้าให้บริการทั้งหมด 54 ขบวน 

ผู้โดยสารสุดกลั้น อุจจาระในรถไฟฟ้า MRT ชาวเน็ต ยืนยัน ห้องน้ำมีทุกสถานี ไม่ควรทำแบบนี้

(6 เม.ย. 67) ผู้ใช้ TikTok @pee_chean420 โพสต์คลิปชวนอ้วก หลังพบผู้โดยสารรายหนึ่งทิ้งอุจจาระไว้บนรถไฟฟ้า MRT ทำส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ไปทั่วทั้งขบวน โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า

“ข่าวด่วน ผู้โดยสารปล่อยวัตถุต้องสงสัย สงสัยจะไม่ไหวแล้ว 25 ปี มีครั้ง ขอสักหน่อย”

โดยภายในคลิปวิดีโอจะเห็นว่าแม่บ้านเข้ามาเก็บกวาดทำความสะอาดจุดเกิดเหตุอยู่ อย่างไรก็ตาม หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปก็ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตเป็นอย่างมาก มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 5 แสนครั้ง นอกจากนี้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่มองว่า

“คือสถานีรถไฟฟ้า ควรมีห้องน้ำทุกสถานี” 

ผู้โพสต์ก็ได้เข้ามาตอบว่า 

“มีห้องน้ำครับ แต่ไม่มีสายชำระ ทิชชู่ต้องซื้อเอง หรือเตรียมมา ผมเคยสละถุงเท้ามาแล้ว”

ทั้งนี้ ชาวเน็ตส่วนใหญ่ยืนยันว่าสถานีรถไฟฟ้า มีห้องน้ำทุกสถานี สามารถใช้บริการได้

เคาะแล้ว!! รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ปรับขึ้นราคาอีก 2 บาท เริ่ม 17 บาท สูงสุด 45 บาท จาก 43 ดีเดย์ 3 ก.ค. 67

(11 มิ.ย. 67) นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบ ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

ทั้งนี้ เนื่องจากสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกำหนดให้มีการปรับอัตราค่าโดยสารทุก ๆ ระยะเวลา 24 เดือน หรือ ทุก ๆ 2 ปี โดยอัตราค่าโดยสารปัจจุบันจะครบกำหนด 24 เดือน ในวันที่ 2 กรกฎาคมนี้ ทำให้การคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) จะมีอัตราเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 45 บาท และจะมีผลบังคับใช้ 24 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน​แห่งประเทศไทย​ เปิดเผยว่า รฟม.ได้เสนอการขึ้นราคาค่าโดยสารให้ ครม.พิจารณา การขึ้นค่าโดยสารเป็นไปตามดัชนีผู้บริโภค ทำให้การขึ้นค่าโดยสารจะมีผลทันทีในวันที่ 3 กรกฎาคม​นี้ โดยอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 17 - 45 บาท จากปัจจุบัน​อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 17 - 43 บาท

‘สุริยะ’ อัปเดตความคืบหน้า ‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ ปักธง!! เข็น ‘ทุกสี-ทุกสาย’ เข้าร่วมภายในเดือน ก.ย.68

(28 มิ.ย. 67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยืนยันว่านโยบายนี้จะแล้วเสร็จ รถไฟฟ้าทุกสีทุกสายจะมีค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย. 2568

ทั้งนี้ในปัจจุบันกระทรวงฯ อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนคู่สัญญา และผลักดันพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อให้มีผลในการปรับโครงสร้างและบูรณาการรถไฟฟ้าทุกโครงการ

"การปรับลดราคาค่าโดยสารนั้น รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อสัญญาสัมปทาน เพราะรัฐบาลจะจัดหาวงเงินชดเชยรายได้ที่หายไป" นายสุริยะ กล่าว

ขณะเดียวกันในปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางจัดหาเงินชดเชย คาดว่าจะจัดตั้งเป็นกองทุนตั๋วร่วมที่นำเงินมาจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะจัดใช้วงเงินชดเชยประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี โดยหากปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ปริมาณจ่ายเงินชดเชยก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง 

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2568

จากข้อมูลการศึกษาล่าสุด มั่นใจว่าในช่วงกลางปี 2568 จะสามารถนำรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 3 สายในปัจจุบัน เข้าร่วมนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง
เนื่องจากทั้ง 3 โครงการดังกล่าว อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถเจรจากับเอกชนคู่สัญญาและปรับลดราคาค่าโดยสารได้ ซึ่งทางภาครัฐจะจัดหาเงินชดเชยรายได้ที่หายไป โดยไม่ให้กระทบต่อสัญญาสัมปทาน

“ขณะนี้รถไฟฟ้าที่พร้อมจะปรับราคาตามนโยบาย 20 บาทตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับของ รฟม. ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นที่มีสัญญาสัมปทาน เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็คงต้องรอให้ พรบ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ จะมีผลในการปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสาร ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลภายในปี 2568” นายสุริยะ กล่าว

สำหรับปัจจุบันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยจากข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2567 หรือประมาณ 7 เดือนครึ่ง พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรวม 2 สาย 20.86 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17.94%

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 66 (16 ต.ค.2565-31 พ.ค.2566) ซึ่งผู้โดยสารอยู่ที่ 17.68 ล้านคน โดยสายสีแดง ผู้โดยสาร 6.21 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27.61%

นอกจากนี้สายสีม่วง ผู้โดยสาร 14.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.53% ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการ ส่งผลให้การสูญเสียรายได้ของทั้ง 2 สายลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top