Tuesday, 2 July 2024
climatechange

'พิธา' แนะ!! รับมือโลกร้อนต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ปรับพฤติกรรมอย่างเดียว ไม่พอ!!

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

เศรษฐกิจสีเขียว: การรับมือสภาวะโลกร้อนต้องใช้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเท่านั้น

ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมาที่ผมได้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมได้เห็นกับตาตัวเองถึงผลกระทบของความผันผวนในสภาพภูมิอากาศต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคการเกษตร และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 

ปี 2563 เป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรติดลบ 6% และ GDP ภาคเกษตรติดลบ 1.5% ในปี 2564 ที่จังหวัดชัยภูมิซึ่งผมเดินทางไปเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เพิ่งประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เหตุการณ์น้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาในระดับโลก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายุโรปก็เพิ่งเผชิญกับน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 400 ปี และในเดือนกันยายนที่ผ่านมานครนิวยอร์กก็เพิ่งเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมฉับพลันครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาในช่วงระหว่างที่ผมกำลังเดินทางลงพื้นที่ติดตามปัญหา ที่ดิน การเกษตร และน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมในหัวข้อ Green Economic Recovery หรือการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR - ASEAN Parliamentarians for Human Rights)

ผมได้ย้ำต่อที่ประชุมว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดบนฐานของเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยในปี 2563 GDP ของเราติดลบจากโควิด 6% แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรกับภาวะโลกร้อน วิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมาจะเลวร้ายกว่าในปัจจุบันอีกมาก 

จากการประเมินของบริษัท Swiss Reinsurance Company บริษัทประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก การปล่อยให้โลกร้อนขึ้นบนเส้นทางของการร้อนขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสในปี 2643 GDP ของประเทศไทยจะติดลบสะสม 48% ในปี พ.ศ. 2591 ซึ่งจะเป็นความพังพินาศทางเศรษฐกิจที่มากมายมหาศาลกว่าวิกฤติโควิดมาก แต่ถ้าโลกสามารถจำกัดภาวะโลกร้อนได้ต่ำกว่า 2 องศาตามเป้าหมายของ Paris Agreement แล้ว GDP ของไทยจะติดลบสะสมจากโลกร้อนเพียง 5% ในปี พ.ศ. 2591

แล้วในตอนนี้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางไหนในการรับมือภาวะโลกร้อน? จากการประเมินของ Climate Action Tracker ซึ่งเป็น Consortium ระหว่าง 3 สถาบันวิจัยระดับโลกด้านภูมิอากาศนั้น นโยบายของประเทศไทยในด้านภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพออย่างร้ายแรง” (Critically insufficient) และจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในระดับ 4 องศา 

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือวิกฤติโควิดในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออย่างยิ่งต่อการรับมือกับสภาวะโลกร้อน การล็อกดาวน์จากโควิดนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนอย่างสุดขั้วให้คนเดินทางไปไหนไม่ได้เลยแล้วก็เป็นการลดการบริโภคของประชาชนจน GDP โลกตกอย่างมหาศาล ถึงกระนั้นทั้งโลกก็ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 6% เท่านั้นจากวิกฤติโควิด

การจะทำได้ตามเป้าหมายของ Paris Agreement ที่จำกัดสภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 - 2 องศา นั้น ทั้งโลกต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี 2573 และลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากระบบเศรษฐกิจให้เหลือศูนย์ หรือเป้าหมาย “Net-Zero Emission” ให้ได้ภายในปี 2593 

‘Dogen City’ เมืองลอยน้ำทนทานต่อ Climate Change รองรับคนได้มากถึง 1 หมื่นคน คาด!! เปิดใช้งานปี 2030

‘เมืองลอยน้ำ’ หรือ ‘Dogen City’ ของบริษัทสตาร์ตอัปญี่ปุ่นที่มีคอนเซ็ปต์ ‘Floating sustainable city’ เพื่อรองรับ Climate Change สึนามิ และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งเมืองนี้สามารถรับผู้อยู่อาศัยได้ประมาณ 10,000 คน แถมยังสามารรับนักท่องเที่ยวได้นับหมื่นคนอีกด้วย

‘Dogen City’ หรือ ‘เมืองลอยน้ำ’ เป็นแบบเมืองในอนาคตอันใกล้ที่ออกแบบโดยบริษัทสตาร์ตอัปด้านสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น ชื่อ ‘N-ARK’ ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบให้คำปรึกษาอสังหริมทรัพย์ของญี่ปุ่น ได้เปิดภาพแบบเมืองลอยน้ำ ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันสึนามิและทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รายละเอียดคร่าวๆ ของเมืองลอยน้ำนี้มีขนาดเส้นรอบวง 4 กิโลเมตร รองรับผู้อยู่อาศัยได้ประมาณ 10,000 คน และรับนักท่องเที่ยวได้อีกนับหมื่นคน Dogen City มีรูปร่างทรงกลมออกแบบมาให้ทนทานกับ Climate Change ได้มากขึ้น

เมืองลอยน้ำแห่งนี้เต็มไปด้วยมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีทั้งพื้นที่ผลิตอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา สำนักงาน สวนสาธารณะ และโรงแรม ฯลฯ

เท่านั้นยังไม่พอบริษัท N-ARK ยังวางแผนออกแบบให้เมืองลอยน้ำ Dogen City เป็นสถานที่ปล่อยและจอดจรวด และการบริการด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์

นอกจากนี้ เมืองลอยน้ำยังเป็นมิตรกับโลกด้วยการใช้ food waste หรือขยะอาหารประมาณ 7,000 ตัน นำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ Dogen City ผู้ออกแบบได้ทำการคำนวณน้ำที่จะใช้ประมาณ 2 ล้านลิตร/ปี และการกำจัดขยะ 3,288 ตัน/ปี

ส่วนการก่อสร้างเมืองลอยน้ำนี้จะเริ่มดำเนินการเมื่อไร ยังไม่มีรายละเอียดเปิดเผยมากนัก แต่มีการคาดการณ์ตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะเปิดใช้งาน
 

ไทยเล็งเก็บ ‘Carbon Tax’ เป็นชาติที่ 2 ในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ กำหนดราคากลางที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนฯ คาด!! ดีเดย์ปลายปี 68

(28 มิ.ย. 67) Business Tomorrow รายงานว่า กรมสรรพสามิตไทย ได้เปิดเผยถึงการเตรียมใช้ภาษีคาร์บอนเป็นกลไกภาคบังคับเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หวังให้ผู้ส่งออกใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม CBAM

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราภาษีคาร์บอนในรูปแบบภาคบังคับจะสามารถนำไปนำไปใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ที่อียูจะเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าไปยังอียูในปี 2569 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกในระยะแรก

คาดว่าภาษีคาร์บอนของไทยสามารถบังคับใช้อย่างเร็วสุดภายในปีงบประมาณ 2568 (เดือนตุลาคม 2567) เพื่อให้ทันการเก็บค่าธรรมเนียม CBAM ในปี 2569 ขณะที่ พ.ร.บ. Climate Change ที่จะเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับในรูปแบบ ระบบ Emission Trading Scheme (ETS) น่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2572

>> ค่าธรรมเนียม Carbon Tax ของไทยจะอยู่ที่เท่าไหร่ ?

ดังนั้น ในระยะแรกจึงเป็นเรื่องที่ดี หากมีการปรับใช้ภาษีคาร์บอนโดยใช้หลักการแปลงภาษีสรรพสามิตที่เดิมมีการผูกกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ให้อยู่ในรูปของภาษีคาร์บอน เพื่อไม่สร้างภาระทางภาษีเพิ่มแก่ประชาชน และสามารถให้ผู้ส่งออกใช้ประโยชน์ในระหว่างรอกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับจาก พ.ร.บ. Climate Change ในภายหลัง 

ทั้งนี้ประเทศไทยอาจกำหนดราคากลางที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งน้อยกว่าราคาคาร์บอนของอียู (EU ETS) หรือ Carbon Tax ของสิงคโปร์ที่อยู่ที่ประมาณ 2,700 และ 700 ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การมีกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในรูปแบบภาคบังคับจะช่วยผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกไปยัง EU หรือประเทศที่มีการใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายให้แก่ประเทศที่บังคับใช้ได้

ทั้งนี้ ผลกระทบอาจแบ่งเป็น 2 ระยะ

- ระยะแรก ผู้ส่งออกใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม CBAM โดยไม่มีภาระภาษีภายในประเทศเพิ่ม เนื่องจากใช้ภาษีสรรพสามิตแปลงมาเป็นภาษีคาร์บอน ในช่วงก่อนมี พ.ร.บ. Climate Change ทั้งนี้ภาครัฐควรจัดหากลไกกองทุนเพื่อนำรายได้ดังกล่าวสนับสนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดด้วย

- ระยะหลังจากที่ พ.ร.บ. Climate Change บังคับใช้ จะมีกลไก Emission Trading Scheme และการกำหนดพิกัดอัตราภาษีคาร์บอนที่ยังไม่เก็บอยู่เดิม จะส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นไปตามบริบทของการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโลก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top