'รางรถไฟ' ขนส่งหลักของไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มรดกความเจริญจาก 'รัชกาลที่ 5' ส่งไทยเป็นไทยได้เท่าทุกวันนี้!!

(9 มิ.ย.67) นายยุทธยงศ์ ลิ้มเลิศวาที สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์ข้อควาผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

เส้นทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ทรัฐปีนังของประเทศมาเลเซีย ต้องผ่านหน้าบ้านผมคืออำเภอนาบอน 

สะพานเหล็กที่เห็นอายุมากแล้ว ก่อนที่ประเทศไทยจะมีถนนเพชรเกษมสะดวกสบายทุกวันนี้ รางรถไฟเป็นโลจิสติกส์ขนส่งหลักของประเทศตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเชื่อมร้อยรัฐสยามให้เป็นหนึ่งเดียว 

ผู้คนคงตั้งคำถามว่า เหล็กรางรถไฟ สะพานเหล็ก ยุคนั้นรัฐสยามเอามาจากไหน? เราผลิตเองไม่ได้?

รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งซื้อทั้งหมดมาจากอังกฤษ ล่องเรือขนมาที่ท่าเรือสิงคโปร์ และเข้ามาทางท่าเรือกันตัง จ.ตรัง ปูนซีเมนต์เหล็กรางรถไฟ สะพานเหล็กที่เห็น ต้องใช้ช้าง เรือ ขนผ่านป่าดงพงไพร เพื่อมาให้กุลีชาวจีน และวิศวกรยุโรป นำมาวางสร้างเป็นทางรถไฟตราบเท่าทุกวันนี้ 

การใช้ช้าง ใช้ม้า ใช้เรือขนเหล็กวัสดุสร้างระบบรถไฟขึ้นในรัฐสยามนั้น คิดย้อนไปมันไม่ง่ายเลยกว่าเราจะมีประเทศไทยเท่าทุกวันนี้!!!