รู้จัก ‘มูลนิธิพระราหู’ สัญลักษณ์แห่งการ ‘ช่วยเหลือสังคม-ธำรงพระพุทธศาสนา’ แรงขับเคลื่อนจาก ‘ดร.หิมาลัย’ คนจริงที่อยากช่วยสังคมไทยทุกมิติเท่าที่ไหว

ความเลื่อมใส ความศรัทธา ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่เพียงจะเป็นที่พึ่งให้กับชีวิต หรือใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจเท่านั้น แต่เมื่อความเชื่อและความศรัทธายังเป็นส่วนสำคัญ ที่มาสร้างแรงผลักดันให้คน ๆ หนึ่งได้กลายเป็นผู้ให้ จนก่อให้เกิดสาธารณกุศล สำหรับช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือแม้แต่การช่วยเหลือสังคม ยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤตภัยต่างๆ ก่อนจะคลี่คลาย และกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุขอีกครั้ง

ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ตลอดจนมีความศรัทธาต่อองค์พระราหู ซึ่งถือเป็นที่พึ่งและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนทั่วไป จึงก่อให้เกิดการจัดสร้าง ‘มูนิธิพระราหู’ ขึ้นมา

“เราเริ่มจากพื้นที่ 2 ไร่ อยู่ในตำบลบัวลอย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี สำหรับใช้เป็นสถานที่ดำเนินงานของสำนักงานมูลนิธิพระราหูในปัจจุบัน รวมทั้งเรายังได้จัดสร้างสำนักปฏิบัติธรรมภายในพื้นที่ติดกันอีก 50 ไร่ ใช้ชื่อว่า สถานปฏิบัติธรรมหิวัณย์พัฒน์ หลวงพ่อแหลม (จำลอง) และพระราหู เพื่อให้ศาสนิกชน ในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ใช้สำหรับเป็นที่ปฏิบัติธรรม ตลอดจนเพื่อบำเพ็ญตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา”

ปฐมบทมูลนิธิพระราหู
ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของมูลนิธิด้วยว่า ต้องการส่งเสริมสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนเพื่อถวายเป็นกุศลต่อองค์พระราหู และส่งเสริมสนับสนุน ขณะเดียวกัน ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น มูลนิธฯ แห่งนี้ ยังจะมาช่วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้เป็นไปตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือแม้แต่การส่งเสริมและสนับสนุน ช่วยเหลือ การศึกษา การกีฬา แก่นักเรียนยากจน และสาธารณกุศล รามทั้งดำเนินการ

เพื่อสาธารณประโยชน์ และร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับสังคม ที่สำคัญมากกว่านั้น ยังจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาสำคัญ ในจังหวัดสระบุรี
อีกด้วย โดยการดำเนินงานทั้งหมดของมูลนิธิพระราหูนั้น ประธานที่ปรึกษาฯ ได้ย้ำว่า จะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการเมืองแม้แต่น้อย

หัวใจหลักคือ สาธารณกุศลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางมูลนิธิพระราหู ได้ดำเนินงานเพื่อสาธารณกุศล ในหลายโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่มี พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร.) ให้การสนับสนุน “เราได้ทำงานร่วมกับทาง พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ รวมทั้ง เล็ก-ฝันเด่น จรรยาธนากร กลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน ใจถึงใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน ทำกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวกับการกุศลมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นโครงการมอบทุนการศึกษาให้เด็กเรียนดีแต่ยากจน โครงการ ‘ใจถึงใจ ปันน้ำใจ’ มอบทุนการศึกษาพร้อมถุงยังชีพ ให้กับบุตร-ธิดาข้าราชการตำรวจ โครงการสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ โครงการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัย อัคคีภัย อุทกภัยน้ำท่วมทั่วทุกภาค

นอกจากนี้ ยังมีโครงการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โครงการมอบรถชีพกู้ภัยและเครื่องตัดถ่างให้หน่วยกู้ภัยต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในกรณีฉุกเฉินให้ทันท่วงที โครงการรับซื้อข้าวเปลือกนำมาแปรรูปบรรจุถุง เพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในทุกโอกาส โครงการอุปสมบทหมู่ตามรอยพระศาสดา สู่ดินแดนพุทธภูมิ แสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล และ โครงการส่งเสริมคนดี มูลนิธิพระราหู โดยมีพล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจ์น์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร) ให้การสนับสนุนเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

ความรัก คือ พลังศรัทธา
ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งมูลนิธิพระราหู ในช่วงระหว่างปี 2558 และ 2559 นั้น ก็มีการช่วยเหลือด้านสาธารณกุศล มาอย่างต่อเนื่อง

“ด้วยตัวของผมมีความศรัทธาในองค์พระราหู ทั้งในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ผมเคยขอพรจากท่านในเรื่องของการทำงาน เมื่อผมประสบความสำเร็จ ผมก็จะทำบุญถวายท่านมาตลอด จนกระทั่งปี 2558 ผมก็เลยจัดตั้ง และจดทะเบียนมูลนิพระราหูขึ้นมา และดำเนินงานในเรื่องของการทำสาธรณกุศล ในนามมูลนิธิพระราหูต่อเนื่องมาทุกปี”

“ในส่วนของงานด้านการกุศล ผมไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมุ่งเน้นไปในทางใดทางหนึ่ง ผมจะช่วยตามกำลังทรัพย์ที่มี รวมถึงบางครั้งก็มีเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก เข้ามาช่วยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทุนการศึกษากับนักเรียน นักศึกษา หรือการดูแลกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคม และประเทศชาติ อย่างในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ทางมูลนิธิพระราหูก็เข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับคนป่วย ซึ่งทุกครั้ง เมื่อใครรู้ก็จะเข้ามาช่วยเพื่อให้กิจกรรมที่ทำอยู่นั้นลุล่วงไปด้วยดีอยู่ตลอด จนเรียกได้ว่าสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ” ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู กล่าว

นอกจากโครงการต่าง 1 ด้านสาธารณกุศล ที่ทางมูลนิธิฯ เข้าไปให้ความช่วยเหลือแล้ว อีกหนึ่งโครงการหลัก คือ โครงการอุปสมบทหมู่ตามรอยพระศาสดา สู่ดินแดนพุทธภูมิ แสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มูลนิธิพระราหูทำมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

“เรามีการจัดอุปสมบทหมู่เป็นประจำทุกปี โดยจะทำพิธีปลงผมจากประเทศไทย จากนั้นจะนำคณะไปทำพิธีบรรพชาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์และทำพิธีอุปสมบทหมู่ ณ พระอุโบสถ วัดไทยพุทธคยา ในประเทศอินเดีย ซึ่งพระทุกรูปที่อุปสมบท จะต้องปฏิบัติธรรมอยู่ที่ประเทศอินเดียประมาณ 15 วัน รวมถึงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และเข้มข้นในทุกวัน รวมถึงต้องมีความตั้งใจในการปฏิบัติ เพราะเราอยากให้พระทุกรูป ปฏิบัติอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องเดินทางไปให้ครบ 4 สังเวชนียสถาน จนถึงวันนี้ ผมได้ดำเนินโครงการดังกล่าวไปแล้ว 5 รุ่นด้วยกัน และก็ยังจะมีการจัดต่อไป
เรื่อยๆ”

ส่วนการช่วยเหลือทั่วไป ทางประธานที่ปรึกษามูสนิธิพระราหูก็ย้ำด้วยว่า ยังคงให้ความช่วยเหลืออยู่เหมือนเดิม ตามที่มีการแจ้งขอความช่วยเหลือมา ไม่ว่าจะเป็นการขอรถพยาบาล
หรือรถกู้ภัย ในพื้นที่ซึ่งมีความจำเป็น รวมถึงการจัดหาเครื่องช่วยชีวิต อาทิ เครื่องตัดถ่าง สำหรับช่วยเหลือกรณีเกิดอุบัติเหตุ

‘ปาฏิหาริย์’...ที่หาคำตอบไม่ได้
“มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมมองว่าเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นเลย เคยมีเจ้าหน้าที่กู้ภัยรายหนึ่งติดต่อมาขอเครื่องตัดถ่างจากทางมูลนิธิฯ ของเรา และไม่น่าเชื่อว่าอุปกรณ์ดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือที่มาช่วยชีวิตเจ้าหน้าที่คนนั้นจากอุบัติเหตุภายหลังเช่นกัน และทำให้เขารอดชีวิตมาได้ในที่สุด ซึ่งผมถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ของการให้จริงๆ”

เรื่องปาฏิหาริย์ อีกเรื่องหนึ่งที่ ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ เล่าให้ฟังก็คือ การรอดพ้นจากภยันตราย ที่อยู่ตรงหน้า “ทุกครั้งในสมัยก่อน เวลาที่ผมเดินทางไปที่ไหนก็ตาม แล้วเจอกับรถเสียผมก็จะลงไปให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ หรือหากครั้งไหนผมขับรถแล้วไปเจอพระภิกษุกำลังเดินทาง ผมก็จะเข้าไปบริจาคปัจจัยตามกำลังที่ผมมี เพื่อให้ท่านได้ใช้ขึ้นรถเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง และนั่นก็เป็นเรื่องแปลกที่ทำให้ผมและครอบครัวไม่ค่อยติดขัดเรื่องการเดินทางเลย แม้จะมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะมีคนเข้าให้ความช่วยเหลือและแก้ไข ให้ผมเดินทางต่อไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งผมเชื่อว่าตรงนี้เป็นผลมาจากบุญกุศลที่ผมทำมาตลอด ขณะที่เราเองก็เป็นคนยึดมั่นในการทำความดีมาตลอด ผมตอบไม่ได้หรอกว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือเปล่า แต่ชีวิตของผมก็เจอกับเรื่องบังเอิญแบบนี้มาหลายครั้งเหมือนกัน”

รอดพ้นจากกยันอันตราย
ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู เล่าด้วยว่า “สมัยก่อน ตอนที่ผมและครอบครัว เดินทางไปเที่ยวแถวจังหวัดสระแก้ว หรือปราจีนบุรี และในขณะที่รถของเรากำลังแล่นไปด้วยความเร็วค่อนข้างมาก สายตาของผมก็เหลือบไปเห็นเต่าตัวหนึ่งที่กำลังคลานต้วมเตี้ยมอยู่ข้างถนน เหมือนกำลังจะข้ามไปที่บึงน้ำอีกฝั่งของถนน ผมก็เลยให้คนขับรถชิดช้ายเพื่อเข้าข้างทาง ซึ่งเวลานั้นก็มีรถอีกคันหนึ่งตีคู่รถเรามา พอเราชิดช้ายรถอีกคันก็แชงหน้าขึ้นไป ผมให้คนขับรถไปอุ้มเต่าตัวดังกล่าว แล้วพาเขาไปไว้ที่บึงน้ำ เพราะหากปล่อยให้เขาคลานข้ามไปเอง เขาก็อาจโดนรถคันอื่น เหยียบได้”

“หลังจากที่เราช่วยเหลือเต่าตัวดังกล่าวแล้วก็กลับมาที่รถ แล้วขับไปต่อ พอขับมาออกมาได้ไม่เท่าไร เราก็เห็นรถคันที่แขงหน้าเราไป เกิดอุบัติเหตุอยู่ข้างหน้า ซึ่งทำให้ผมกลับมาคิดว่า หากตอนนั้น เราไม่ได้ลงไปช่วยเหลือเต่าตัวนั้น รถคันที่เกิดอุบัติเหตุ น่าจะเป็นรถคันของผมแน่ๆ เพราะด้วยอัตราความเร็ว และจังหวะในช่วงนั้น ก็พอๆ กับรถคันที่เกิดอุบัติเหตุเลย” เป็นอีกเรื่องจริงที่ ดร.หิมาลัย เจอมากับตัว “ผมว่านี่อาจเป็นเพราะบุญกุศลที่ผมได้ช่วยเหลือเต่าตัวนั้น”

เป้าหมายที่แน่วแน่นไร้แอบแฟง
ว่าถึงเรื่องหลักการ และหลักเกณฑ์การช่วยเหลือของทางมูลนิธิพระราหู ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ ยอมรับว่า ทางมูลนิธิอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือคนได้ทั้งหมด “ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯ จะมีการพิจารณาในแต่ละราย หรือแต่ละกรณีว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และเราสามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนอะไรได้บ้าง อาทิ โครงการส่วนตัวของท่าน พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ที่ท่านมีแนวคิดเรื่องของการไปเยี่ยมเยียนบ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นฮีโร่ ที่ต้องได้รับบาดเจ็บจากการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งบางท่านอาจถูกลืมไปแล้ว ตรงนี้เราก็จะทำงานร่วมกับท่าน ด้วยการไปเยี่ยมเจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านั้น พร้อมกับมอบสิ่งของที่จำเป็น เป็นการให้กำลังใจกับเหล่าฮีโร่ ตลอดจนเข้าไปช่วยเหลือ ดูแลครอบครัว และประสานงาน เพื่อให้ตำรวจเหล่านั้นให้ได้รับความช่วยเหลือในทุกๆ ด้านอย่างเต็มที่”

ไม่ใช่แค่โครงการดังกล่าวเท่านั้น ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู ยังมีโครงการอีกหนึ่งโครงการ ภายใต้ชื่อ โครงการพาวีรบุรุษกลับบ้าน “ตอนนี้ เรากำลังทำงานร่วมกับทาง องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชปถัมภ์ รวมถึงได้ปรึกษากับทาง พล.อ.เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ ด้วย ซึ่งโครงการนี้ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากในสมัยอดีต ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเราเกิดสงคราม ทำให้เราต้องส่งกองกำลังของเราเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อปฏิบัติภารกิจ ผลักดัน และปกป้องอธิปไตยของประเทศไทย และนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของเราได้รับบาดเจ็บ ขณะที่บงส่วนก็เสียชีวิต และไม่สามารถนำร่างเจ้าหน้าที่กลับมาแผ่นดินเกิดได้ และคาดว่าน่าจะมีมากว่า 400-500 นาย”

สู่ความตั้งใจที่กำลังเป็นจริง
ในส่วนนี้ ทางประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู มองว่า “เป็นการให้เกียรติกับผู้เสียชีวิต ที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย และเราก็เห็นว่า การได้พาดวงวิญญาณของผู้สละชีพเหล่านั้นกลับบ้าน ก็เป็นหน้าที่สำคัญที่ยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน ในฐานะที่ผมเป็นลูกหลานคนไทยและเป็นนักเรียนนายร้อย จปร. ผมก็อยากจะช่วยนำพาท่านเหล่านั้นกลับคืนสู่ญาติพี่น้องที่รอคอย และทำพิธีทางศาสนาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ดวงวิญญาณของท่านผู้ปกป้องผืนแผ่นดินไทย ได้ไปสู่
ภพภูมิที่ดี ถือเป็นอีกโครงการที่เราตั้งใจอยากทำ และมองว่าภายในปีนี้ เราจะได้ดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เพราะที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่การพูดคุยกันเท่านั้น”

“ผมไม่รู้ว่า สิ่งที่คิดนี้จะสำเร็จหรือไม่ แต่ผมมีความตั้งใจที่จะต้องทำให้ได้ เพื่อให้ผู้พลีชีพเหล่านั้นได้กลับมาแผ่นดินเกิด และเราก็โชคดีที่ทาง พล.อ.เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ ที่เข้าใจ และให้การสนับสนุนกับโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้ รวมถึง เรายังได้รับการสนับสนุนจาก พล.ต.เจริญ เตชะวณิช นายกสมาคมนักรบนิรนาม ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้นในการทำงาน เพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริง เราอาจจะไมใช่มูลนิธิที่ร่ำรวยหรือมีเงินมากมาย แต่เมื่อเรามีความตั้งใจจริง ผมก็เชื่อว่าจะมีปาฏิหาริย์เกิดขึ้น และมีคนเข้ามาให้การช่วยเหลือ ให้เราประสบความสำเร็จกับสิ่งที่ตั้งใจทำได้ในที่สุด”

ความดีที่ไม่ต้องการผลตอบแทน
เรียกว่าเป็นคำถามยอดฮิตในประเด็นที่ว่า ทำสาธารณกุศลแล้วได้อะไร ซึ่งทาง ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ยังคงเน้นย้ำว่า ชีวิตของคนเราทุกคน ไม่มีทางรู้เลยว่า เราจะจากโลกนี้ไปในวันไหน บางคนเห็นหน้ากัน คุยกันในตอนเช้า พอตกเย็นก็จากกันไปโดยที่ไม่ได้ร่ำลาเลยก็มี “ผมเอง ด้วยอาชีพที่เคยปฏิบัติในการปกป้องแผ่นดินไทย เราเองก็เคยเผชิญหน้ากับความเป็นความตายมาแล้ว ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ถามว่าในการมาทำสาธารณกุศลแล้วได้อะไร ผมก็อยากบอกว่า เป็นความสุขทางใจของผมมากกว่า ในวันที่เราเองต้องจากโลกนี้ไป ผมก็อยากให้ช่วงนั้นผมได้นึกถึงเรื่องของบุญกุศลที่ผมเคยทำมาบ้างก็เท่านั้น”

“ผมมองว่า การทำบุญก็เป็นเหมือนการแบ่งปันความดี และเราก็สามารถแบ่งให้ทุกคนได้ หลายคนอาจคิดว่าทำบุญแล้วได้อะไร สำหรับผมแล้ว ความสุขและความสบายใจ คือคำตอบที่ดีที่สุด และผมเอง ก็ไม่เคยตั้งเป้าอะไรกับการจัดตั้งมูลนิธิพระราหูเลย ผมมองว่าในเมื่อเรายังมีแรงอยู่ เราก็อยากตั้งใจทำสิ่งดีๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิพระราหู หรือแม้แต่สถานปฏิบัติธรรมหิรัณย์พัฒน์ ที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ส่วนนี้เราก็ตั้งใจสร้างขึ้นมา โดยใช้ชื่อคุณพ่อหิรัณย์ และชื่อคุณแม่พัฒน์ โดยที่ไม่ได้คิดว่าต่อไปข้างหน้า ทั้งมูลนิธิฯ และสถานปฏิบัติธรรมจะมีใครมาสานต่อหรือไม่ เราทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น”

อานิสงส์แห่งบุญกุศล
ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ยังบอกด้วยว่า “เราเป็นพุทธศาสนิกชน บุญแรกเลยที่เราจะได้รับคือ การทำให้สังคมเป็นปกติสุข และทำให้เรามีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ขณะเดียวกันตัวของเราเอง ยังเหมือนได้ฝึกฝนตัวของเราให้เป็นคนที่รู้จักการให้อภัยคนอื่นได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเจอกับอะไรก็ตาม รวมไปถึงยังช่วยปรับทัศนคติและอารมณ์ของตัวเอง จากที่เคยเป็นคนที่โมโหหรือโกรธง่าย ให้ใจเย็นลงและมีสติมากขึ้นด้วย บางครั้งเมื่อเราต้องเจอกับอะไรร้ายๆ หรือไม่ดี ก็จะเหมือนมีเทวดามาคอยบอก คอยเตือนเรา ทำให้เรารอดพ้นจากเคราะห์กรรม หรือภยันอันตรายต่างๆ ไปได้”

“...ผมว่า การทำบุญ หรือสร้างสาธารณกุศล เราไม่จำเป็นต้องใช้เงินทองอะไรเลยก็ได้ เราแค่มีใช้แรงกายหรือบางครั้งใช้ใจ รวมถึงให้กำลังใจกับคนที่กำลังเดือนร้อน หรือมีความทุกข์ เราก็ได้บุญเหมือนกัน และการสร้างบุญทำกุศล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ทำให้ผมกลายเป็นคนที่ใจเย็น ไม่โกรธ หรือโมโหใครง่าย เหมือนแต่ก่อนอีกเลย” ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระราหู พูดทิ้งท้าย พร้อมกับรอยยิ้มที่เปื้อนอยู่บนใบหน้า แสดงให้เห็นถึงความสุข และความสบายใจ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในทุกวันนี้... ดร.หิมาลัย กล่าวทิ้งท้ายด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม… ที่อิ่มบุญ