'สุชาติ' เผย เตรียมชงของขวัญปีใหม่เข้าครม. สัปดาห์หน้า พร้อมเตือน! คนไทย ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางาน ก่อนตัดสินใจเดินทางทำงานต่างประเทศ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงของขวัญปีใหม่ว่า ขณะนี้กำลังให้กรมต่างๆ ไปพิจารณาและหาข้อสรุปว่าจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานประกันสังคม อาจจะออกมาตราการลดเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 44  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อาจจะให้เปิดฝึกอาชีพทุกอย่างฟรีหมด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอาจจะออกมาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาในครม.ในสัปดาห์หน้า วันที่ 21 ธันวาคม สำหรับมาตรการการเยียวยาคนกลางคืนขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองในกระทรวงการคลัง 

นอกจากนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย มีความห่วงใย แรงงานชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และเลือกเดินทางด้วยวิธีผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกหลอกให้เสียทรัพย์ ถูกลอยแพในต่างประเทศ หรือถูกหลอกลวงจากโฆษณาจัดหางานเกินจริง จากกรณีล่าสุด จึงได้สั่งการให้ด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางานเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยกรมการจัดหางานได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติคนงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระหว่างเดือนตุลาคม 63 – เดือนกันยายน 64) พบเจ้าหน้าที่ได้ระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศและให้การยอมรับว่าจะไปทำงานต่างประเทศได้ รวม 707 คน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม 64 – เดือนพฤศจิกายน 64) จำนวน 130 คน โดยระงับการเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด รองลงมาเป็นบาห์เรน โอมาน แอฟริกาใต้ และมัลดีฟส์ตามลำดับ 

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยพี่น้องแรงงานไทยที่ถูกหลอกโดยสาย นายหน้าเถื่อน กำชับให้กระทรวงแรงงานตรวจสอบ ติดตามผู้มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน เพื่อป้องกันมิให้มีเหยื่อจากกรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางานก่อนว่ามีงานจริงหรือไม่ โดยขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/ipd  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทฯ ที่ได้รับอนุญาต จำนวน 124 บริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 85 บริษัท และอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ 39 บริษัท ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว 

นอกจากนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย มีความห่วงใย แรงงานชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และเลือกเดินทางด้วยวิธีผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกหลอกให้เสียทรัพย์ ถูกลอยแพในต่างประเทศ หรือถูกหลอกลวงจากโฆษณาจัดหางานเกินจริง จากกรณีล่าสุด จึงได้สั่งการให้ด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางานเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยกรมการจัดหางานได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติคนงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระหว่างเดือนตุลาคม 63 – เดือนกันยายน 64) พบเจ้าหน้าที่ได้ระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศและให้การยอมรับว่าจะไปทำงานต่างประเทศได้ รวม 707 คน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม 64 – เดือนพฤศจิกายน 64) จำนวน 130 คน โดยระงับการเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด รองลงมาเป็นบาห์เรน โอมาน แอฟริกาใต้ และมัลดีฟส์ตามลำดับ 

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยพี่น้องแรงงานไทยที่ถูกหลอกโดยสาย นายหน้าเถื่อน กำชับให้กระทรวงแรงงานตรวจสอบ ติดตามผู้มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน เพื่อป้องกันมิให้มีเหยื่อจากกรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางานก่อนว่ามีงานจริงหรือไม่ โดยขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/ipd  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทฯ ที่ได้รับอนุญาต จำนวน 124 บริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 85 บริษัท และอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ 39 บริษัท ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว 

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า จากกรณีหนุ่มวัย 34 ปี ชาวอุดรธานี สมัครไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีใต้ กับนายหน้า โดยเสียค่าใช้จ่ายจำนวน 30,000 บาท เมื่อเดินทางถึงสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ปรากฎว่าไม่ผ่านการตรวจคนเข้าเมือง จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย และพบว่าคิดสั้นฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา กรมการจัดหางานตรวจสอบแล้วพบว่าผู้เสียชีวิต นายสมคิด แจ่มใสดี อายุ 34 ปี ไม่มีประวัติเดินทางไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีโดยถูกกฎหมาย และจากข้อมูลย้อนหลัง 4 ปี ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดอุดรธานี ไม่พบว่ามีการร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือกรณีถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ จากนายสมคิดฯ แต่อย่างใด โดยนายสมคิดเคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลอย่างถูกกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ. 2554 ด้วยการจัดส่งของบริษัทจัดหางาน โพธินันท์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนพาวเวอร์ จำกัด ต่อมาปี พ.ศ. 2559 ได้เดินทางลักลอบทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลาประมาณ 11 เดือน เมื่อกลับมาพบว่ามีอาการซึมเศร้า โดยระบายกับญาติพี่น้องว่า ผิดหวังในการเดินทางไปทำงาน และต่อมา ได้สมัครไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีใต้ผ่านสายนายหน้าเถื่อนและถูกหลอกลวง จนตัดสินใจจบชีวิต

นายไพโรจน์ กล่าวต่อไปว่า กรมการจัดหางานมีการตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ที่มีพฤติกรรมโฆษณาชักชวนคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ขอให้ทราบว่า การโฆษณาการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน จะมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุก 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 25 พฤศจิกายน 2564) มีการดำเนินคดีสาย/นายหน้าเถื่อนแล้ว 4 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย จำนวน 467,000 บาท