Sunday, 16 June 2024
SPECIAL

โครงการรถไฟลาว สำเร็จแล้วถึง 90%

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

.

ติดตามต่อโครงการรถไฟลาว มีรายงานเพิ่มเติม มาว่าสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ งานโครงสร้างรากฐาน..เสร็จแล้ว 90% และดำเนินงานต่อเนื่องด้วยงานโครงเหล็ก และ โครงหลังคา รวมทั้ง งานมุงหลังคา ซึ่งคาดว่าจะให้แล้วเสร็จหน้างาน โครงสร้างรากฐานและงานหลังคา ให้แล้วเสร็จในท้ายเดือนธันวาคม

.

.

โครงการก่อสร้างสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ ครอบคลุมพื้นที่ 150 เฮกตาร์  อาคารสถานี ครอบคลุมพื้นที่ 14,543.45 ตารางเมตร ยาว 220 เมตร กว้าง 90 เมตรสูง 25 เมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2,500 คน และเป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของโครงการรถไฟลาว - ​​จีน

เส้นทางรถไฟลาว - ​​จีนจาก บ่อเตน แขวงหลวงน้ำทาไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ มีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 10 สถานี รวมถึงสถานีนครหลวงเวียงจันทน์และสถานีขนส่งสินค้า 22 สถานี และ แต่ละสถานีกำลังก่อสร้างเช่นกัน สถานีโพนโฮง และ สถานีกาสี งานโครงหลังคาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เส้นทางรถไฟลาว - ​​จีน มีความยาวรวม 422.4 กม.

.

.

สร้างขึ้นตามมาตรฐานการบริหารและเทคนิคของจีน ซึ่งออกแบบให้วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม.ต่อชั่วโมง เป็นรถไฟฟ้าขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2564 ตามแผนแน่นอนที่สุด

.

ที่มา

News&Pictures by: Sonepaserth

CRI-FM93

.

หนุ่มใหญ่จากโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​ หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง

ทางด่วนสายแรก นครหลวงเวียงจันทน์-วังเวียง เตรียมเปิดใช้ เฉลิมฉลองวันชาติลาว 45 ปี (ตอนที่ 2)

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

.

มาต่อกันที่กฎหมายทางบก สปป.ลาว ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องยานพาหนะที่ห้ามสัญจรไปมาและข้อบังคับในการขับขี่บนทางด่วนนครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง 

มีข้อกำหนดดังนี้

- ห้ามรถที่มีขนาดต่ำกว่า 350 ซีซี ใช้สัญจร บนเส้นทางด่วน โดยเด็ดขาด

- ห้ามรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินที่กำหนดไว้ 

- ห้ามยานพาหนะที่มีการดัดแปลงทางเทคนิด ที่ไม่มีการรับประกันความปลอดภัย

- ห้ามยานพาหนะที่ใช้ความเร็วต่ำกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สำหรับการใช้ยานพาหนะบนเส้นทางด่วน มีข้อกำหนดไว้ ดังนี้

- ยานพาหนะต้องมีความแรงตั้งแต่ 350 ซีซี ขึ้นไป

- รถทุกประเภทให้ใช้ความเร็ว 80 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ยกเว้น สภาพเส้นทางมีหมอกและมีฝน

- รถรับส่งผู้โดยสาร และ รถขนส่งสินค้า ให้ใช้ความเร็ว 80 - 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (แต่มีข้อยกเว้นกรณีที่สภาพอากาศมีหมอกจัดหรือมีฝนตกขณะสัญจร)

- รักษาระยะห่างของยานพาหนะ 100 เมตร ขณะใช้เส้นทาง

- ปฎิบัตตามสัญญานไฟ ป้ายการจรจรที่กำหนด อย่างเคร่งครัด

.

ที่มา : ເສດຖະກິດ

.

หนุ่มใหญ่จากโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​ หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง

ทางด่วนสายแรก นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง เตรียมเปิดใช้ เฉลิมฉลองวันชาติลาว 45 ปี (ตอนที่ 1)

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

.

ศักยภาพของการคมนาคม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งโลจิสติกส์

เป็นเส้นทางด่วนระยะแรก หนึ่งในโครงการเส้นทางด่วนจีน - ลาว มีจุดเริ่มต้นจากนครหลวงเวียงจันทน์ ถึงเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ใกล้กับชายแดนซึ่งติดกับมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ  คือ นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง,วังเวียง - หลวงพระบาง  หลวงพระบาง - อุดมไชย และ อุดมไช - บ่อเต้น ตลอดเส้นทาง 440 กิโลเมตร 

.

.

สำหรับเส้นทางระยะแรก เป็นการลงทุนในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer)  รัฐให้เอกชนลงทุนก่อสร้างแล้วเปิดให้บริการ เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน โครงการจะถูกโอนกลับมาเป็นของรัฐ  โดยมีอายุสัมปทาน 50 ปี และมีรัฐบาลลาวร่วมถือหุ้นด้วย 5%

เริ่มก่อสร้างในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3.73 หมื่นล้านบาท) ดำเนินงานโดยบริษัท อวิ๋นหนาน คอนสตรักชัน แอนด์ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิง กรุ๊ป จำกัด (YCIH) ของจีน ร่วมกับรัฐบาลลาว

รูปแบบถนนขนาด 4 ช่องจราจร ไป - กลับ ระยะทาง 109.12 กิโลเมตร เขตทางกว้าง 23 เมตร ปูยางแอสฟัลต์คอนกรีตชั้นแรกหนา 50 เซนติเมตร และชั้นที่สองหนา 20 เซนติเมตร พร้อมราวการ์ดเรล (Guardrails) และมีรั้วกั้นไม่ให้คนและสัตว์ข้ามผ่านไปมา

โดยมีจุดเริ่มต้นจากถนนสาย 13 เหนือที่บ้านสีเกิด เมืองนาซายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ 12 กิโลเมตร แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะขนานโครงการทางรถไฟลาว - จีน ผ่านบ้านนาชอน บ้านบัว น้านสะกา เมืองโพนโรง ลอด อุโมงค์พูพะ

.

.

ที่มี อุโมงค์ขาออกยาว 845 เมตร อุโมงค์ขาเข้ายาว 875 เมตร กว้าง 10.50 เมตร สูง 5 เมตร เข้าสู่เมืองหินเหิบ ข้ามแม่น้ำลิก ผ่านบ้านท่าเฮอ ข้ามแม่น้ำสอง สิ้นสุดลงที่เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ มีวงเวียนทางเข้า - ออก 7 จุด คิดค่าผ่านทางตลอดสาย 62,000 กีบ (215 บาท) ใช้เวลาในการเดินทาง 1 - 1.30 ชั่วโมง ด้วยความเร็วที่ออกแบบ 80 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่นเวลาจากเดิม 3 ชั่วโมง บนเส้นทางหมายเลข 13 ที่มี 2 ช่องจราจร ซึ่งส่วนใหญ่คดเลี้ยวไปตามภูเขา

เมืองวังเวียง เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ซึ่งจากรายงานในกองประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6 ในระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้รายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยว ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 1,107,525 คน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 796,231 คน นักท่องเที่ยวภายในประเทศ 312,294 คน

สร้างรายได้มากกว่า 518 พันล้านกีบได้มีการปรับปรุง จัดการการท่องเที่ยวเมืองวังเวียง และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และ ในปีนี้กำลังมุ่งเน้นไปที่การดำเนินโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองวังเวียง ระยะที่ 2 ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 17 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ด้วย เมืองวังเวียง อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีความหลากหลายทั้งมี ภูเขา ป่าไม้ ถ้ำ แม่น้ำ สภาพอากาศและ ตลอดจนภูมิประเทศที่สวยงาม ถือได้ว่าเป็น จุดยุทธศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร

มีศักยภาพพิเศษและเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา โดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ ความทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

.

.

ซึ่งเป็น เสาหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นสีเขียวและยั่งยืนของเมืองวังเวียง การจัดการพัฒนาส่งเสริมให้สถานประกอบการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถหางานและมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทาความยากจนของเมืองและค่อยๆรวมเข้ากับเครือข่ายการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

อีกไม่นานนัก ชาวลาวคงได้ใช้เส้นทางสายนี้กันแล้ว ดีใจและยินดีด้วย คาดหวังไว้ว่า 16 มกราคม พ.ศ.2564 ก็น่าจะได้ข้ามไปใช้เส้นทางสายนี้ และได้ไปพักผ่อนที่วังเวียง เช่นกัน

.

ขอบคุณเนื้อข่าวจาก

Xinhua News / Lao National Radio

.

หนุ่มใหญ่จากโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​ หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง

ผู้ป่วยหนีออกจากโรงพยาบาลที่รัฐปีนัง​ ล็อคดาวน์ยาวไปโควิดทำมาเลเซียวุ่นไม่พอ!

คอลัมน์​ "สายตรงจากเคแอล"

ผู้ป่วยโควิด-19 หนีออกจากโรงพยาบาลที่กักตัวในรัฐปีนัง โดยผู้ป่วยชายรายนี้แอบตัดสายรัดข้อมือสีชมพู แล้วหนีออกจากโรงพยาบาลซึ่งเขาเดินเท้าไปไกลถึง 25 กิโลเมตร

จนในที่สุดเจ้าหน้าที่สามารถตามตัวพบที่บริเวณหน้าตึกแถวอาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นย่านค้าขายในรัฐปีนัง และในตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าตลอดทางที่เขาหลบหนีมาได้เจอใครหรือสัมผัสอะไรไปบ้าง

สถานการณ์โควิด-19 ในมาเลเซียตอนนี้ยังคงน่าเป็นห่วง ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงอยู่ในหลักพันกว่าติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันแล้ว โดยทางรัฐบาลได้ประกาศล็อคดาวน์รอบสองตามมาตราการควบคุมการเดินทางแบบมีเงื่อนไข (CMCO) ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม พ.ศ.2563 ไปเกือบทั่วประเทศมีเพียง 3 รัฐเท่านั้นที่ไม่ถูกล็อคคดาวน์คือ รัฐเปอร์ริส, กลันตัน และปาหัง

โดยตัวเลขสถานการณ์ล่าสุดวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

.

มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,103 คน

ยอดผู้ติดเชื้อสะสม 48,520 คน

ยอดผู้เสียชีวิต 313 คน

รักษาหายกลับบ้าน 35,606 คน

ยังคงรักษาตัวอยู่ 12,601 คน

.

Cr.Photo & Story https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1745015925676110&id=223545897823128

Cr. Kementerian Kesihatan Malaysia.

.

ผิงกั่ว

สาวเมืองชล ตั้งรกรากชานกรุงกัวลาลัมเปอร์​ ตามสามีคนจีนมาเลย์​ ชีวิตท่ามกลางคนจีน​ แขกมาเลย์​ และแขกอินเดีย​ พหุวัฒนธรรม​ ส่องมุมมองจากประเทศเพื่อนบ้านด้านล่างแผ่นดินแม่​ มาเล่าสู่กันฟัง

พิธีการรับปริญญาใน'บรูไน' ประเทศที่ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

คอลัมน์ "เสียงจากเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ บรูไน"

กษัตริย์บรูไน สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ มอบปริญญาแก่ผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย University of Brunei Darussalam (UBD) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ประเพณีนี้รับสืบต่อมาจากอดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ เหมือน ๆ กับประเทศในเครือจักรภพหลาย ๆ ประเทศ

ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดของบัณฑิตทุก ๆ คนในประเทศบรูไน เช่นเดียวกับในประเทศไทย ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ มอบให้แก่บัณฑิต แม้กระทั่งในมหาวิทยาลัยเอกชน ก็มอบหมายให้องคมนตรีหรือผู้แทนพระองค์

ในประเทศไทยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก มีขึ้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2473 หรือราว 90 ปีที่แล้ว โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือว่านี่คือต้นแบบประเพณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้

มหาวิทยาลัยแห่งชาติบรูไนเป็นมหาวิทยาลัยที่ติด Times Higher Education(THE) World University Ranking ครั้งแรกในปีนี้

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยจาก 3 ชายแดนภาคใต้ทุก ๆ ปี ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ยัน ปริญญาเอก ค่าใช้จ่ายทุกอย่างทางรัฐบาลบรูไนสนับสนุน ใครมีผลการศึกษาดี ทางมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอีกต่างหาก

https://borneobulletin.com.bn/2020/11/his-majesty-to-graduates-maintain-integrity-faith/

.

อะมีนะห์

สาวไทยมุสลิม เกิดใจกลางกรุงเทพ ชีวิตผกผันแต่งงานกับหนุ่มบรูไน ตั้งรกรากปากกัดตีนถีบแต่มีความสุขดี ยังชีพกับการเผยแพร่อาหารไทย มีความรักผูกพันบ้านเกิดทุกลมหายใจ เลี้ยงลูกสองคน วันนึงจะพาลูกมารู้จักแผ่นดินที่เเม่เกิดให้มากขึ้น แนะนำเพื่อนบ้านบรูไนจากกรุงเสรีเบการ์วันให้คนไทยรู้จักมากขึ้น

อัสลามมุอะลัยกุม​ ริมทางถนนคาราโครัมไฮเวย์

GB Election 2020

วันนี้วันสุดท้าย ที่ทุกคนมีโอกาสหาเสียง พรุ่งนี้วันเลือกตั้ง พรรค PPP ขึ้นคะแนนความนิยมมาอันดับ 1

(ผู้นำพรรคคือ บิลลาวาล บรุตโตร ตระกูลนักการเมืองที่แท้จริง)

คุณมาเรียม นาวาส บุตรสาวของคุณนาวาส ชารีฟ ตอนนี้พ่อหนีคดีอยู่ลอนดอน นายกเก่าโดนจับฐานคอรัปชั่น รอบนี้ส่งลูกสาวมา พรรคอื่นจะชอบดิสเครดิตเธอด้วยคำว่า พ่อมันเป็นโจร มันก็เป็นลูกโจร ยังจะเลือกมันมาอีก!!!

การหาเสียงที่นี่​ ดุเดือดเลือดพล่าน​ การเมืองทั่วโลก ก็เป็นแบบนี้แหละ เปิดตา เปิดใจมองนะคะ ส่วนนายกฮิมราน ข่าน อยู่พรรค PTI ปีนี้คะแนนตกฮวบ ๆ เนื่องจากของแพงทุกอย่าง และแก้ไขเรื่อโควิดทางเหนือได้แย่ แต่ที่บ้านเชียร์ท่านนายกนะคะ ท่านสนับสนุนการท่องเที่ยว และของแพงเพราะท่านอยากยกระดับปากีสถาน น้องชายของเรา อิสรา น้องแท้ๆ ลงเลือกตั้งเขตพาสสุ ไคเบอร์ กุลมิต จัลราบัด

สามีเรามีน้องอยู่พรรค​ PPP (พรรคของบิลลาวาล บุตโต )มารอลุ้นพรุ่งนี้ ว่าแกจะได้เป็นผู้แทนหรือไม่ นโยบายขายฝันหรือประชานิยมของที่นี่​ ก็มีมากมาย เช่น แจกแป้งทำโรตีฟรี (ส่วนนายกปัจจุบัน​ไม่แจกฟรี จ่ายกระสอบละพัน)

ผู้สนับสนุนการท่องเที่ยวมีแค่นายก กับบิลลาวาล นอกนั้นอาจจะไม่สนใจหรือไม่แคร์เลย

พวกเราคนทางเหนือยังชีพได้ด้วยการท่องเที่ยว​ เราจึงสนับสนุนคนที่ช่วยเหลือและนำพานักท่องมา​ GB มากที่สุด การเลือกตั้ง​ของที่นี่จะต่างกับหลายประเทศ​ อาจจะเพราะเหตุผลประเทศกว้างใหญ่​ และการสัญจรลำบาก​ เวลาเลือกตั้งแต่ละรอบเลยไม่ตรงกัน​ แต่ รอบนี้เป็นของโซน​ GB​หรือทางเหนือของประเทศ

รายงานจากเมือง​พาสสุ​ เมืองเล็กๆทางตอนเหนือของประเทศใกล้กับพรมแดนจีน​ -​ ปากีสถาน​ เมืองนี้อยู่ในรัฐกิลกิตบาติสถาน ​(Gilgitbaltistan)

ยืนยันว่าหนูเป็นคนไทยคนเดียวบนถนนคาราโครัมไฮเวย์​ในเวลานี้ ถนนนี้ในอดีตคือเส้นทางสายไหม​ และเป็นถนนที่สูงที่สุดในโลก หนูนอนหนาวท่ามกลางอุณหภูมิ​ติดลบทุกคืน​ โอ๊ย​หนาวจัด

.

.

.

.

.

.

.

.

.

กุลไลล่า

ไกด์สาวชาวไทย​ สะใภ้​ปากี​สถาน จากหัวหิน​พบรักหนุ่มปากีเชื้อสายวาคี อาศัยอยู่เมืองพาสสุ​ ดินแดนเหนือสุดของประเทศปากีสถาน ปัจจุบันเปิดร้านอาหารริมถนนคาราโครัมไฮเวย์​ ถนนที่ได้รับการขนานนามว่าสูงที่สุดในโลก​ หรือเส้นทางสายแพรไหมในอดีต​

คอยต้อนรับแขกที่ผ่านทางมา​ แวะกินอาหารไทย​และชิมชา​ เบเกอรี่ชื่อดัง​ ทางเหนือของปากีสถานได้​ พร้อมให้บริการท่องเที่ยวปากีสถาน​หลังโควิด​-19 ผ่านไป

"นิวนอร์มอล" รับปริญญา ในรัฐปะหัง ประเทศมาเลเชีย มาแล้ว

คอลัมน์ "สายตรงจากเคแอล" 

รับปริญญาแบบ new normal - มหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย University College of Yayasan Pahang (UCYP) ในรัฐปะหัง นำร่องจัดพิธีรับปริญญาบัตรแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตัดต่อเสมือนจริง

ผู้สำเร็จการศึกษาเหมือนได้ร่วมรับพระราชทานปริญญาบัตรกับสมเด็จพระราชินี รายา ประไหมสุหรี (Her Majesty Raja Permaisuri Agong Tunku Hajah Azizah Aminah Maimunah Iskandariah binti Almarhum Al-Mutawakkil Alallah Sultan Iskandar Al-Haj.) พระองค์จริง

เนื่องจากมาเลเซียยังอยู่ในช่วงล็อคดาวน์ประเทศจากการระบาดของโรคโควิด 19 ดังนั้นพิธีการต่างๆจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อสอดคล้องตามมาตรฐาน (SOP) ของรัฐบาลมาเลเซีย

ซึ่งการรับปริญญารูปแบบใหม่นี้ ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งคือ ตั้งแต่วัน 9 - 11 ตุลาคม , 16 - 18 ตุลาคม และ 23 - 25 ตุลาคม ทั้ง 3 ครั้งจัดขึ้นในปีนี้ (ค.ศ.2020) ที่ผ่านมา ซึ่งการจัดงานดำเนินไปด้วยดีมีผู้สำเร็จการศึกษา 376 คน

Cr: houseofpahang

.

ผิงกั่ว 

สาวเมืองชล ตั้งรกรากชานกรุงกัวลาลัมเปอร์​ ตามสามีคนจีนมาเลย์​  ชีวิตท่ามกลางคนจีน​ แขกมาเลย์​ และแขกอินเดีย​ พหุวัฒนธรรม​ ส่องมุมมองจากประเทศเพื่อนบ้านด้านล่างแผ่นดินแม่​ มาเล่าสู่กันฟัง

กระตุ้นเศรษฐกิจแบบอินเดีย

คอลัมน์ "หลังม่านส่าหรี"

วัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายของผู้ดีอังกฤษ ถ่ายทอดมาให้ชาวอินเดียในยุคล่าอาณานิคมที่อังกฤษเข้ายึดครองดินแดนเอเชียใต้ พร้อมเอาชามาปลูก แล้วถ่ายทอดการจิบชาสู่คนพื้นเมือง

ชาหอม ๆ ใส ๆ จิบกันเช้าสายบ่ายเย็น และก่อนนอนกันทีเดียว แต่เรื่องเล่าชาวอินเดียบอกว่าการจิบชาของชาวอินเดียมีมาก่อนเจ้าอาณานิคมอังกฤษเข้ามายึดครอง แต่ไม่มีชื่อเสียง และได้รับการส่งเสริมการปลูกชาอย่างจริงจัง จนมีชื่อเสียง เช่น ชาอัสสัม ชาสิกขิม ชาอู่หลง และอื่น ๆ ในเวลาต่อมา จนสร้างเศรษฐกิจให้อินเดียจากการขายชาส่งออก

.

ชาอินเดียจริง ๆ ที่มีชื่อเสียงมากคือ "ชามาซาร่า" ที่วางขายข้างทางริมถนนทั่วไปราคาแก้วละ 10 รูปี หรือ 5 บาทไทย รสชาติหวานหอมผสมเครื่องเทศ กลิ่นเตะจมูก จะออกแนวรักสุขภาพ

ร้านชาที่มีชื่อเสียงมาในอินเดียและสาขาค่อนข้างเยอะคือ"ร้าน Chaayos" เป็นร้านชาในดวงใจเลยทีเดียว มีเมนูให้เลือกมากมาย รวมทั้งเมนูของว่างด้วย

.

จุดที่น่าสนใจคือเศรษฐกิจจาก "ถ้วยชาดินเผา" นี่แหละ

เนื่องจากคนอินเดีย มีคนจนมากมาย การสร้างงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าเลยต้องมีคนขายชาเลยนิยามว่า "ชาถ้วยเก่ารสชาติจะไม่อร่อยเท่ากับชาถ้วยใหม่ กินแล้วอย่าใช้ซ้ำให้ทิ้งไปเลย" และคนขายจะให้ถ้วยดินเผาแก่ลูกค้าโดยไม่ขี้เหนียวเลย

"นี่น่าจะเป็นวิธิกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าที่แหลมคมมาก"

.

“จิญา”

พยาบาลสาวไทยจากนครปฐม ผู้พบรักกับหนุ่มฮินดูชาวอินเดีย ตอนนี้มีพยานรักตัวน้อย 1คนใช้ชีวิตในดินแดนฮินดู เมืองคุรุคาม (Gurugram) รัฐหรยาณา ทางใต้นครหลวงเมืองนิวเดลี ราว ๆ 30 กิโลเมตร สรรหาเรื่องเล่า ที่พบเจอระหว่างอยู่ที่นั่นมาเล่าให้ฟัง เรื่องแปลก คนแปลก และวิถีชีวิตที่คนไทย ไม่คุ้นเคย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top