Sunday, 16 June 2024
THE STATES TIMES STORY

ฝนหลวงของในหลวง ร.9 หยาดน้ำจากฟ้าที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.78

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

นี่คือพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ในภาคอีสาน เมื่อปีพ.ศ. 2498 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์เข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล นำไปทดลองต่อยอด

จนถึงปี พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการฝนหลวง จึงได้ทดลองจริงเป็นครั้งแรก บริเวณเหนือวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และได้ทดลองต่อมาอีกหลายครั้งจนประสบความสําเร็จ

'129 ปี วิกฤตการณ์ ร.ศ.112' ร.5 ทรงไถ่บ้านเมืองจากนักล่าอาณานิคม | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.77

เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ตรงกับปีพ.ศ. 2436 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สร้างรอยร้าวให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม - ฝรั่งเศส มากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง 

นึกภาพตามเหตุการณ์ ณ วันนั้น คนที่อยู่ในเหตุการณ์จะเจ็บปวดเพียงใด โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ที่ถูกฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามยอมยกดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับตนเอง จนเกิดเหตุการณ์ยุทธนาวีที่ปากน้ำเจ้าพระยา และทางฝรั่งเศสก็ใช้เหตุการณ์นี้ บีบให้สยามจ่ายค่าเสียหาย จนต้องนำเงินถุงแดง ซึ่งเป็นเหรียญทองรูปนกอินทรีย์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บไว้ เอามาไถ่บ้านไถ่เมือง ทำให้เราไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคม แม้จะต้องเฉือนดินแดนบางส่วนไปก็ตาม

.

.

รู้จักโรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนพระราชทานแห่งแรกของประเทศไทย | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.76

“สถานที่การศึกษาสร้างให้แล้วนะ อย่าให้ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติมาทำลาย ให้ช่วยกันรักษา” พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ‘โรงเรียนร่มเกล้า’ บ้านหนองแคน ต.หนองแคน อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

โรงเรียนร่มเกล้า คือ โรงเรียนแห่งแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 92,063 บาท ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ด้วยเล็งเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวถูกระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาแผ่อิทธิพลครอบงำชาวบ้าน และชักจูงเยาวชนเข้าร่วมจำนวนมาก

พระองค์ท่าน ทรงตระหนักว่า การขาดการศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประชาชนถูกระบอบคอมมิวนิสต์ครอบงำได้ง่ายขึ้น หนทางแก้ไขคือต้องให้ปัญญาแก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จึงเกิดเป็นโรงเรียนจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และได้มอบการศึกษาให้กับชาวบ้านมาจนถึงทุกวันนี้

.

.

'โอปุสเดอี' คณะนักบวชแห่งกางเขนศักดิ์สิทธิ์ ผู้ดำเนินงานของพระเจ้า | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.75

หากใครที่เคยชมภาพยนตร์ เรื่อง The Da Vinci Code ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของ แดน บราวน์ จะมีการกล่าวถึงองค์กรหนึ่งที่เรียกว่า Opus Dei ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า ‘งานของพระเจ้า’ หรือ ‘คณะสงฆ์แห่งกางเขนศักดิ์สิทธิ์’ เป็นองค์กรคาทอลิก ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือ อุดหนุน สนับสนุน ส่งเสริม คณะผู้เผยแผ่คำสอนของพระเยซูเจ้าของคริสตจักรและโบสถ์ 

ก่อนหน้านี้ Opus Dei ไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก จนกระทั่งแดน บราวน์ ได้นำมาเดินเรื่องในหนังสือ The Da Vinci Code ที่กล่าวถึงนักบวชบำเพ็ญทุกกริยา ซึ่งความจริงแล้วองค์กรนี้ไม่มีการประกอบพิธีกรรมหรือคลั่งศาสนาแต่อย่างใด เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ขององค์กร เป็นสามัญชนที่ชื่อในพระคริสต์และพร้อมที่จะเผยแผ่ความรักของพระองค์ออกไปในวงกว้างเท่านั้น

.

.

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผู้เชื่อม 'สยาม-ล้านนา' ให้เป็นหนึ่งเดียว | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.74

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นเจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ ประสูติขึ้นมาบนโลกใบนี้

พระนางเป็นพระธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ เจ้าทิพเกสร มีพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรหนึ่งพระองค์คือเจ้าจันทรโสภา

พระนางมีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยได้ถวายตัว รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้ทั้งสองอาณาจักรมีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวตราบเท่าทุกวันนี้

รับฟังเรื่องราวสนุกเรื่องอื่นๆ ได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/podcast

ในหลวงรัชกาลที่ 9 "ความทรงจำเมื่อพระองค์จากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์" | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.73

“ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้”

ความรู้สึกในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเปรียบดังพันธสัญญาที่พระองค์ทรงให้ไว้กับราษฎร ที่ถ่ายทอดผ่านข้อความในพระราชนิพนธ์ “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์” ของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรูปแบบบันทึกประจำวันตั้งแต่เสด็จจากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ก่อนเสด็จออกเดินทาง 3 วัน จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489

ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ยามจากเมืองไทยด้วยความรักและห่วงใยพสกนิกร และยังได้ทรงบรรยายถึงการเดินทาง โดยจบลงด้วยหน้าที่ที่จะต้องทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองต่อไป

และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งประชาชนของพระองค์เลย ตลอดรัชสมัย 70 ปีแห่งการครองราชย์ 

.

.

'ยายแฟง' ผู้สร้างวัดคณิกาผล คังคุไบ เวอร์ชันไทยเดิม | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.72

‘ยายแฟง’ เจ้าสำนักโสเภณี ผู้สร้าง ‘วัดคณิกาผล’ ตำนาน 'คังคุไบ' ฉบับไทยเดิม แม่เล้าผู้โด่งดังในช่วงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

แม้จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบอาชีพที่ผิดศีลธรรม (ในขณะนั้นถูกกฎหมาย) แต่ยายแฟง ก็นับเป็นอุบาสิกาผู้ใจบุญคนหนึ่ง โดยเป็นผู้บริจาคที่ดินและทุนทรัพย์สร้างวัดใหม่ยายแฟง หรือในกาลต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดคณิกาผล’ ซึ่งหมายถึงวัดที่เกิดขึ้นด้วยผลประโยชน์อันได้จากหญิงคณิกา ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย ตรงข้ามกับสน.พลับพลาไชย

ไม่เพียงเท่านั้น ยายแฟง ยังเป็นผู้บุกเบิกสร้าง ‘โรงพยาบาลหญิงหาเงิน’ เพื่อรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรคให้กับหญิงโสเภณีในขณะนั้น แต่มาภายหลังเมื่อมีการรับรักษาคนทั่วไปมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘โรงพยาบาลกลาง’ มาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
.

.

คุณหมอเพียร เวชบุล หมอแม่พระของสตรี เด็ก และโสเภณี | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.71

คุณหมอเพียร เวชบุล แม่พระของสตรี เด็กและโสเภณี

หากเอ่ยถึงชื่อ ‘หมอเพียร เวชบุล’ เชื่อว่าน้อยคนนักในสมัยนี้จะรู้จักผู้หญิงคนนี้ แต่ครั้งหนึ่งเมื่อยุคปี พ.ศ. 2500 กว่า เธอได้ชื่อว่าเป็นแม่พระของเมืองไทย ผู้เป็นแม่บุญธรรมของเด็กกำพร้า ที่ครั้งหนึ่งเคยมีคนใช้นามสกุล เวชบุล มากถึง 4,000 คน ที่สำคัญเป็นผู้หญิงไทยคนแรกๆ ที่ดูแลและต่อสู้เรื่องโสเภณี จนเกิดเป็น ‘บ้านเกร็ดตระการ’

ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ที่หัวใจของเธอยิ่งใหญ่เกินจะบรรยาย ช่วยพลิกฟื้นชีวิตของผู้ด้อยโอกาสนับไม่ถ้วน
.

.

เสี้ยมจนเสื่อม!! กระเทาะแก่นแท้แห่งศาสนาพุทธที่มิมีวันเสื่อม | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.70

...เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย?
...กระแสศาสนาเสื่อม เกิดขึ้นได้อย่างไร?
...ทั้งๆ ที่ในความเป็นพุทธ ก็ยังคงเข้มแข็งในหมู่คนไทย
...ทั้งๆ ที่คำสอนพระพุทธเจ้ายังคงทันสมัย

...ฤๅความเสื่อม จะเกิดจาก ‘ใครเสี้ยม’

ศาสนาพุทธนั้นไม่ได้เสื่อม แต่ความเสื่อมนั้นเกิดขึ้นจากคนเสี้ยม!! 

หากย้อนกลับตั้งแต่ยุคกรุงศรีแตก พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาก็ย้ายตนเองไปเป็นผู้นำเรื่องทางโลก ก่อนจะมาเข้าที่เข้าทางในยุคพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเกิดการปฏิรูปอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ภายใต้การปฏิรูปโดย พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งมีหัวเรือใหญ่อย่าง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่ปฏิรูปให้สงฆ์เข้ามาอยู่กับร่องกับรอย ลดการเสี้ยมเพราะใช้ธรรมวินัย ลดการละโมบในทรัพย์สิน 

แต่ปัจจุบันความเสื่อมก็กลับมาเกิดขึ้น เนื่องจาก ‘คน’ ผ่านหลากหลายกรณีที่จะมาเล่าสู่กันฟังใน EP. นี้!!

.

.

"ครูเสดครั้งที่ 4" สงครามแห่งความอัปยศ...เมื่อคริสต์รบกับคริสต์ | THE STATES TIMES STORY เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร EP.69

ในภาพของสงครามครูเสด ที่คนทั่วไปมักเข้าใจว่า เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม เพื่อแย่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์อย่าง 'นครเยรูซาเลม' ที่ถือเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของ 2 ศาสนาดังกล่าว ซึ่งศาสนาคริสต์ไม่สามารถยึดครองนครเยรูซาเลมได้อีกเลยตั้งแต่แพ้สงครามให้แก่ ซาลาดีน 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดูจะเป็นความปรารถนาของบรรดาพระสันตะปาปาผู้เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ที่ต้องการขยายอำนาจเข้าไปครอบงำคริสจักรออร์ทอดอกซ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์และตอบแทนบรรดาพ่อค้าที่สนับสนุนเงินทุนให้คริสตจักรด้วยการครอบครองเส้นทางพาณิชย์ทางเรือของกรุงคอนสแตนติโนเปิล

.

.


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top