Saturday, 20 April 2024
โฆษณา

ส่อง ‘นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป’ โชว์กึ๋นฝ่าวิกฤตโควิด ดัน BLUESKY ชูแกร่งโฆษณา ไม่แพ้ใคร

พลิกเกมธุรกิจสไตล์ ‘นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป’ ย้ำเก่งที่สุดคือ ธุรกิจโฆษณา ดัน BLUESKY เชี่ยวชาญงานโฆษณาแบบ Activation และ Local Media ที่ไม่เหมือนใคร

นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป (Newspective Group) ปรับแผนดัน BLUESKY แม่เหล็กใหม่ในการโฆษณา ลุย Activation และ Local Media ยึดสื่อในตลาดสด-ค้าส่งท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมรุกเปิดตลาดสื่อภาคใต้ 3 จังหวัดชายแดนทำเลทองแห่งใหม่ หลัง 2 ปีโควิด พ่นพิษ จนธุรกิจอีเวนต์ซึม

ธุรกิจอีเวนต์ และโฆษณา ถือเป็นอีกหนึ่งในตลาดที่มีความคึกคักและเติบโตสูง ก่อนช่วงที่โควิด-19 จะระบาดหนักเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งส่งผลให้ทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง 

นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป อีกหนึ่งผู้เล่นในตลาดดังกล่าว ตกอยู่ในภาวะยากลำบากจากมาตรการล็อกดาวน์ ปิดสถานที่ งดจัดกิจกรรม ขณะที่แบรนด์ต่างๆ พับเก็บแคมเปญการตลาดและชะลอการใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญ

นาย ณัฐภูมิ รัฐชยากร กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท นิวสเปคทีฟ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน นิวสเปคทีฟ มี 9 บริษัท ในมือ แต่สิ่งที่ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป เชี่ยวชาญมากที่สุดคือ ธุรกิจโฆษณา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 บริษัทย่อย คือ Brand Square เน้นการสร้าง Branding, Strategy คิดสร้างอัตลักษณ์ให้กับตราสินค้า, NEWAGE ธุรกิจ Event Management & Digital Production House และ BLUESKY ดูแลการโฆษณาแบบ Activation และ Local Media

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจโฆษณาต้องใช้คำว่าเละเทะ เป็นช่วงที่ยากลำบากของทั้งวงการ โดยธุรกิจของเราที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ NEWAGE ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดงานเลี้ยง แต่เมื่อตลาด Event ถูกล็อก งานเล็กงานใหญ่ไม่สามารถจัดได้ เราก็ต้องปรับตัวไปเป็น Digital Production House หรือหันมาทำคลิปวิดีโอ และ Live Streaming เสิร์ฟ Event ออนไลน์แก่ลูกค้าแทน

“อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของธุรกิจอีเวนต์ในปีนี้ น่าจะขยับตัวเติบโตขึ้นได้มากขึ้น แต่จะมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับภาพรวมของประเทศต่างๆ ภาพถึงรวมของเศรษฐกิจโลกกว่า จะเปิดหน้าหรือล่าถอยแค่ไหน ซึ่งหากไม่มีเหตุอันใดสะดุด คาดว่าปลายปีธุรกิจอีเวนต์จะกลับมาคึกคักแน่นอน”

ความน่าสนใจของ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป ที่ถือเป็นกรณีศึกษาของธุรกิจรายย่อยที่ ไม่ปล่อยให้ธุรกิจล้มครืนไปตามคลื่น Crisis คือ แม้ว่าธุรกิจอีเวนต์จะอยู่ในช่วงขาลง แต่ นิวสเปคทีฟ กรุ๊ป พยายามพัฒนายูนิตธุรกิจอื่นๆ ที่มี โดยเลือกความเป็นไปได้ที่สอดรับกับกระแสธารของตลาด เพื่อดันสวนขึ้นมา จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของกรุ๊ป ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

BLUESKY เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ ที่ถูกยกขึ้นมาเติมเต็มในช่วงที่ตลาด Event หดหาย โดย BLUESKY ดำเนินธุรกิจด้านการโฆษณาแบบ Activation และ Local Media มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทำงานแบบ Local Partnership หรือพัฒนาสื่อให้ตอบโจทย์กับเอเจนซี่โฆษณา นักการตลาด และเจ้าของสินค้าต่างๆ

“ข้อได้เปรียบของ BLUESKY โดยเฉพาะในด้าน Local Media นั้น มาจากการพัฒนาสื่อท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของพื้นที่ และสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ในเวลาเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าได้คลุกคลีทั้งแบรนด์ใหญ่และคนท้องถิ่นมาตลอด ทำให้เราเข้าใจแบรนด์ หรือสินค้าแบบไหนควรสื่อสารอะไรกับคนในจังหวัดนั้นๆ หรือพื้นที่นั้นๆ อย่างไรได้เป็นอย่างดีซึ่งถ้าเป็นนักการตลาดทั่วไปก็จะเน้นซื้อบิลบอร์ดหรือสื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่การที่จะเข้าใจและเข้าไปอยู่ในใจเขา จำเป็นต้อง Customize คอนเทนต์ให้เข้ากับพื้นที่ พอ BLUESKY มีจุดแข็งแบบนี้เป็นพื้นฐาน เราก็นำธุรกิจนี้วิ่งเข้าหานักการตลาด นักโฆษณา เอเจนซี่ เจ้าของสินค้า ได้ทันที ภายใต้การทำงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งลูกค้าชื่นชอบอย่างมาก” ณัฐภูมิ กล่าว

ด้าน นางสาวหนึ่งฤทัย บางนาชาด ผู้จัดการทั่วไป BLUESKY เผยเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่กิจกรรมทางการตลาดเงียบ ทั้งเอเจนซี่และแบรนด์ต่างๆ ลดงบในการทำโฆษณาลง หรือเทงบไปที่ออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ แต่สื่อ Local Media ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมอยู่ เพราะคนยังต้องใช้ชีวิตกันนอกบ้าน ในท้องถิ่น

“ในช่วงนั้น เรามีการสร้างสรรค์ สื่อ Local Media ขึ้นมาเอง และได้รับการตอบรับที่ดีมากจากลูกค้ามีการซื้อซ้ำจากลูกค้าหลายแคมเปญ นั่นคือ สื่อที่เหยียบเจลแอลกอฮอล์ ใช้จังหวะของโควิดพลิกมาเป็นโอกาสในการสร้างเสริมภาพลักษณ์แก่แบรนด์ โดยการ Tie In สินค้าเข้าไปตรงจุดที่เหยียบเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถติดตั้งได้หลากหลายพื้นที่ ทั้งตลาดสด ร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้ แคมเปญของลูกค้าที่ลงโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายท้องถิ่นได้ในวงกว้าง

“หรือกรณี Activation แคมเปญอย่าง แบรนด์น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ ที่ต้องการโปรโมตเพลงของตนให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในตลาดและออนไลน์ทั่วไป เราก็สามารถสร้างสรรค์แคมเปญขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างรอบด้าน มีการ Integrate ระหว่างสื่อ Online & On Ground โดยใช้ แฮปปี้ มาร์เก็ต ชาแนล สื่อวิทยุกระจายเสียงตามสายในตลาดของเราเองเป็นฐาน ในการโปรโมตเพลง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนเดินตลาดโดยตรง เริ่มจากปล่อยเพลงแม่บุญล้ำของลูกค้าในวิทยุกระจายเสียงตามสายในตลาด เพื่อแทรกซึมให้คนในตลาดได้ยินบ่อยๆ พอคนเริ่มได้ฟังเพลงและเริ่มรู้จัก เราก็จัดกิจกรรมการแข่งขันที่มีส่วนร่วมกับเพลง และเติมเงินรางวัลเป็นตัวกระตุ้น ให้คนอยากร่วมสนุกกับกิจกรรม 

“พร้อมทั้งเปิดกว้างให้คอนซูเมอร์สามารถสร้างคลิป Style ของตัวเอง ได้แบบไม่จำกัดรูปแบบ เลือกใช้ Platform Tiktok ในการสร้างสรรค์คลิปเพราะผู้ร่วมกิจกรรม สามารถเข้าถึงได้ง่าย และ Tiktok เป็น Platform มี Engagement สูง เลือกใช้ Influencer ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้หลากหลาย เช่น แนวตลก วาไรตี้ อย่างคุณพีท พามานา กลุ่มเด็กๆ ที่สร้างสรรค์คลิปเชิงบวกอย่างน้องๆ เด็กเซราะกราว กลุ่มคนทำกับข้าว อย่างพ่อตาพาแซ่บ หรือ Idol วัยรุ่นทั่วไปใน tiktok อย่างอายรดา หรือล็อตเต้ Etc.  

“หลังจากนั้นก็มีการลงพื้นที่ทำทรูปในตลาดเพื่อเชิญชวนพ่อค้า แม่ค้าและคนเดินตลาด ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมใน Online ซึ่งผลตอบรับของกิจกรรมนี้ได้ผลตอบรับที่ดีมากๆ มีพ่อค้า แม่ค้าในตลาดและคนใน Online เข้าร่วมกิจกรรมกับเราเป็นจำนวนมากค่ะ

“ไม่เพียงเท่านี้ ในส่วนของ Local Media อีกชิ้นที่เรากำลังทำคือ เคสเครื่องดื่มชูกำลังฉลาม ซึ่งเราลุยในตลาดสดภาคใต้ รวมถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

“‘ตลาดสด’ นอกจากจะเป็นที่สำหรับจับจ่ายใช้สอยของกินของใช้แล้ว ยังเป็นสถานที่ ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมการกินอยู่ ของคนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกว่าเป็นสถานที่แสนจะธรรมดาและเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของความแตกต่างหลากหลายในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ

“เราจึงแนะนำให้ลูกค้าสร้างแลนด์มาร์คที่ตลาดเลยค่ะ โดยการ Dominate พื้นที่ตลาดให้เป็นแบรนด์สินค้า โดดเด่น และดึงดูดสายตา สร้างความจดจำได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีประโยชน์กับทางสถานที่ด้วยค่ะ”

การตลาดแบบ 'คนธรรมดา' กระแสไวรัลที่มาได้จังหวะเวลา เมื่อคนเบื่อกับโฆษณา ที่จริตเยอะเกินจริง | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.51

✨ การตลาดแบบ 'คนธรรมดา' กระแสไวรัลที่มาได้จังหวะเวลา เมื่อคนเบื่อกับโฆษณา ที่จริตเยอะเกินจริง

✨ ‘ไบเดน’ แอนด์ ‘คณะฯ’ โดนฟ้อง!! ข้อหาสมคบคิดบริษัท Tech ยักษ์ใหญ่ เซ็นเซอร์ ‘ข่าวฉาว - ความเห็นต่าง’

✨ ‘ตอลิบาน’ ผิดสัญญา!! บังคับ ‘ผู้หญิง’ คลุม ‘บูร์กา’ และห้ามเรียนหนังสือ-ทำงาน

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

'Salmon House' ออกแถลงขอโทษคนดู หลังเผยแพร่คอนเทนต์กระทบจิตใจ-ชวนหดหู่

จากกรณีเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 ทาง Salmon House ได้ปล่อยคลิปโฆษณา 'ออกกำลังกายกับโบโบ้' ออกมา ซึ่งเมื่อชาวโซเชียลดูจบแล้วกลับรู้สึกหดหู่ เพราะมองว่าเป็นการบั่นทอนความรู้สึก โดยคลิปดังกล่าว คล้ายกับการเลียนแบบคลิปออกกำลังกายของ เบเบ้ ธันย์ชนก โดยมีหญิงสาวคนหนึ่งใช้ชื่อว่า 'โบโบ้' เริ่มจากการสอนออกกำลังกายตามปกติทั่วไป

แต่บางช่วงบางตอนของคลิปได้มีประโยคคำพูดที่ฟังแล้วเป็นการตอกย้ำชีวิตบางมุมของคนดู เช่น ให้นึกถึงความล้มเหลวในชีวิต, พูดถึงเรื่องความรักที่ไม่สมหวัง, เรื่องฐานเงินเดือนน้อย ไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้, มองชีวิตคนรอบตัวแล้วเอามาเปรียบเทียบกับตัวเอง, มองเพื่อนประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นต้น

เมื่อชาวโซเชียลดูจบแล้วก็ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยระบุว่าเป็นแคมเปญที่ไม่สร้างสรรค์ หากคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าดูจบแล้วอาจจะหดหู่ และดิ่งหนักยิ่งกว่าเดิม มันตอกย้ำชีวิตที่ล้มเหลวของคนในทุก ๆ ด้านพร้อมทั้งเรียกร้องให้ออกมารับผิดชอบด้วย

ล่าสุด ทาง Salmon House บริษัทผลิตงานแพร่ภาพและสื่อ ออกแถลงการณ์ขอโทษ กรณีเผยแพร่คลิปวิดีโอ 'ออกกำลังกายกับโบโบ้' ที่สร้างความไม่สบายใจ และกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ชม โดยระบุว่า...

จากกรณีคลิป “ออกกำลังกายกับโบโบ้” ของ Salmon House ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งตัวคลิปมีเนื้อหาที่สร้างความไม่สบายใจ และกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ชม

เราต้องยอมรับว่าคราวนี้เราผิดพลาด ละเลย รวมถึงมองข้ามความรู้สึกของคนบางส่วนไป ที่อาจได้รับผลกระทบจากเนื้อหาที่มีความอ่อนไหวลักษณะนี้ รวมทั้งจำเป็นต้องมีการแจ้งเตือนก่อนการรับชม (Trigger Warning) ด้วย เพราะผู้ชมทุกคนควรมีสิทธิที่จะรับรู้ล่วงหน้าว่า ตัวเองกำลังจะรับชมเนื้อหาแบบไหน ต้องเตรียมความรู้สึกลักษณะไหน

MI ชี้!! ปี 67 ‘อินฟลูเอนเซอร์’ แบกอุตฯ โฆษณา เข้าถึง ‘กลุ่มย่อย-ทรงประสิทธิภาพ’ มากกว่าสื่ออื่น

(18 ธ.ค. 66) นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานและกรรมการบริหาร บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป จำกัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป เผยผลการประเมินของทีม MI Learn Lab ของบริษัท โดยคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาในปี 2567 จะมีมูลค่าประมาณ 87,960 ล้านบาท หรือเท่ากับการเติบโต 4% จากปี 2566 นี้ ซึ่งจากข้อมูลช่วง 11 เดือน เชื่อว่าสิ้นปี 2566 มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาจะอยู่ที่ 84,500 ล้านบาท และเติบโต 4.4% จากปีก่อนหน้า โดยตัวเลขนี้น้อยกว่าการเติบโตในปี 2565 ที่เม็ดเงินเพิ่มขึ้น 6.3% 

นายภวัต กล่าวอีกว่า เม็ดเงินที่เติบโต 4% นี้ จะกระจุกอยู่ในกลุ่มสื่อออนไลน์ และสื่อนอกบ้าน ขณะที่สื่ออื่น ๆ ทั้งทีวี สิ่งพิมพ์ ยังหดตัวต่อเนื่องโดยเป็นผลจากฟังก์ชั่ันใหม่อย่าง Affiliate หรือการแบ่งรายได้จากการขายสินค้า-บริการให้กับ KOL (Key Opinion Leader) หรืออินฟลูเอนเซอร์ เมื่อผู้บริโภคซื้อผ่านลิงก์ในโพสต์หรือวิดีโอ ร่วมกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคที่ย้ายไปออนไลน์อย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าในปี 2567 สื่อทีวีจะมีเม็ดเงินโฆษณาลดจาก 36,199 ล้านบาทในปี 2566 เป็น 35,475 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินในสื่อออนไลน์ จะเพิ่มจาก 28,999 ล้านบาทเป็น 31,899 ล้านบาท เช่นเดียวกับสื่อนอกบ้านที่จะได้เม็ดเงินเพิ่มจาก 12,101 ล้านบาทเป็น 13,311 ล้านบาท ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ส่วนแบ่งของสื่อออนไลน์กับทีวีขยับเข้าใกล้กันเป็น 36.3% และ 40.3% ตามลำดับ 

นายภวัต กล่าวต่อไปอีกด้วยว่า KOL (Key Opinion Leader) หรือ อินฟลูเอนเซอร์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตฯ โฆษณาในปี 2567 และมีบทบาทในการทำการตลาดและสร้างยอดขายให้กับแบรนด์มากขึ้น โดยเฉพาะ KOL ระดับไมโครและนาโน ที่แม้มีฐานแฟนน้อยแต่เฉพาะกลุ่มนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ท้าทายของตลาด ทั้งการโฟกัสกับการสร้างยอดขายของบรรดาธุรกิจเพื่อรับมือปัญหาสภาพเศรษฐกิจ และการเข้าถึงผู้บริโภคที่แตกเป็นกลุ่มย่อยลงไปเรื่อย ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสื่ออื่น

เนื่องจาก KOL ทยอยหันไปสร้างรายได้ผ่าน Affiliate กันมากขึ้น ทำให้แบรนด์สามารถใช้งาน KOL โดยหวังผลได้แบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ อย่างสร้างการรับรู้ ไปจนถึงปิดการขายและสร้างฐานแฟนคลับให้กับแบรนด์ซึ่งนำไปสู่การซื้อซ้ำ ซึ่งเป็นปลายน้ำในช่องทางเดียว ขณะเดียวกันความสามารถเข้าถึงผู้บริโภคแต่ละกลุ่มย่อย ได้ช่วยให้แบรนด์รับมือกับตลาดที่แยกย่อยเป็นหลายกลุ่มหลายเซ็กเมนต์ได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการใช้-ทำงานกับ KOL จะเปลี่ยนแปลงไปหลายด้าน ทั้งการคัดเลือกและสร้างคอนเทนต์กับ KOL ให้ตรงกับโจทย์ของธุรกิจและฐานแฟนของ KOL ซึ่งต้องละเอียดมากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ KOL จะเพิ่มขึ้นตามไป

‘โลเคชันไทย’ สุดฮอต!! ตปท.ยกกองมาถ่ายหนัง-โฆษณา-รายการเพียบ ปี 66 ถ่ายไป 466 เรื่องจาก 40 ประเทศทั่วโลก โกยรายได้ 6.6 พันล้าน!!

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 67 น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมกับข้อความ #NewRecord โดยแชร์ข้อมูลเรื่องสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566 มีคณะถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศเดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย จำนวน 466 เรื่อง จาก 40 ประเทศทั่วโลก คาดการณ์รายได้จำนวนกว่า 6,600 ล้านบาท ถือเป็นสถิติจำนวนรายได้สูงสุดนับแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยข้อมูลดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

จากสถิติปี พ.ศ. 2566 คณะถ่ายทำภาพยนตร์จาก ‘สหรัฐอเมริกา’ เข้ามาลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมากที่สุด มีเงินลงทุนกว่า 3,184 ล้านบาท จากจำนวนภาพยนตร์ 34 เรื่อง ตามมาด้วยคณะถ่ายทำจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเงินลงทุนกว่า 707 ล้านบาท ตามด้วยประเทศนจีน, เยอรมนี และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

1.) กองถ่ายโฆษณาถ่ายทำมากที่สุด จำนวน 203 เรื่อง รายได้จำนวน 955.03 ล้านบาท

2.) สารคดี จำนวน จำนวน 81 เรื่อง รายได้จำนวน 56.90 ล้านบาท

3.) รายการโทรทัศน์ จำนวน 58 เรื่อง รายได้จำนวน 172.46 ล้านบาท

4.) ภาพยนตร์เรื่องยาว จำนวน 35 เรื่อง รายได้จำนวน 1,256.74 ล้านบาท

5.) มิวสิควิดีโอ จำนวน 34 เรื่อง รายได้จำนวน 105.99 ล้านบาท

6.) รายการเรียลลิตี้ จำนวน 30 เรื่อง รายได้จำนวน 668.76 ล้านบาท

7.) ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (ซีรีส์) จำนวน 17 เรื่อง รายได้จำนวน 3,365.00 ล้านบาท

8.) ละครโทรทัศน์/รายการละเอียดอ่อน/อื่น ๆ จำนวน 8 เรื่อง รายได้จำนวน 21.90 ล้านบาท

58 จังหวัด ที่มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้าไปถ่ายทำ โดย 10 อันดับจังหวัดที่มีคณะถ่ายทำเดินทางเข้าไปถ่ายทำในพื้นที่มากที่สุด ได้แก่

1.) กรุงเทพมหานคร จำนวน 282 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สถานีรถไฟหัวลำโพง ตึกคิง พาวเวอร์ มหานคร เป็นต้น

2.) จังหวัดชลบุรี จำนวน 77 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ถนนเลียบชายหาดพัทยา เกาะล้าน เกาะสีชัง เป็นต้น

3.) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ เมืองโบราณ The Studio Park ท่าเรือศุภนาวา เป็นต้น

4.) จังหวัดปทุมธานี จำนวน 52 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ACTS Studio มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น

5.) จังหวัดภูเก็ต จำนวน 47 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพาราไดซ์ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นต้น

6.) จังหวัดนนทบุรี จำนวน 41 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ อิมแพคอารีน่า ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี เป็นต้น

7.) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หมู่บ้านแม่กำปอง ปางช้างแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นต้น

8.) จังหวัดนครปฐม จำนวน 27 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดอนหวาย มูวีโอ้ ทาวน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นต้น

9.) จังหวัดกระบี่ จำนวน 26 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ หาดพระนาง หาดต้นไทร อ่าวไร่เล เป็นต้น

10.) จังหวัดราชบุรี จำนวน 25 เรื่อง โดยมีสถานที่ถ่ายทำ อาทิ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก อุทยานเขาหินงู วัดเขาช่องพราน เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top