Thursday, 25 April 2024
โคโรนาไวรัส

หน่วยลาดตระเวนแถวหน้าสุดแห่งสมรภูมิโควิด19 ที่พกเพียง 'สเปรย์-เจล-หน้ากาก' และ 'หัวใจ'

ขณะที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับโควิด-19 จนมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือส่วนสำคัญของระบบสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งร่วมรณรงค์ข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งช่วยป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์ไม่ปกติ

หากเปรียบนายกรัฐมนตรี - ผู้นำประเทศ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบพุ่งกับโควิด-19 บรรดาคณะแพทย์รอบโต๊ะศูนย์บริหารราชการฯ (ศบค.) เสมือน เสธ. ระดมสมองวางแผนหาหนทางสู้ หน่วยลาดตระเวนแถวหน้าสุดในสมรภูมิ ที่พกเพียงสเปรย์ และเจลแอลกอฮอล์ มีหน้ากากอนามัย และ Face Shield เป็นเกราะป้องกันตน ท่านเหล่านี้คือ อสม. ผู้ออกตรวจตรา (เคาะประตู) บ้าน ด้วยอาวุธอันจำกัดจำเขี่ย ทั้งรู้ดีแก่ใจว่าพวกตนมีสิทธิ์ติดเชื้อถึงตายตลอดเวลา โดยหากแม้นปราศจากแนวหน้านี้ ศึกคราที่ผ่านมานั้นคงจะพบเพียงความปราชัย

องค์กร อสม. เกิดจาก ‘งานสาธารณสุขมูลฐาน’ คือ ‘ชาวบ้าน’ ที่สนใจในทุกข์สุขของ ‘ชาวบ้าน’ ด้วยกัน ต่างคนต่างเคย ‘ร่วมมือ - ช่วยเหลือ’ งานสาธารณสุข เช่น จัดหาเด็กมาฉีดวัคซีน แนะนำคนไข้ให้มาพบเจ้าหน้าที่ที่สถานีอนามัยเพื่อรักษาพยาบาล จนกระทรวงสาธารณสุขได้นำเอาลักษณะงานดังกล่าว ปรับเป็นกลวิธีหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) โดยสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานครอบคลุมทั้งประเทศ และส่งเสริมชุมชนให้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนเอง

น้ำใจจากชุมชน ความดีงามแห่งสยาม ปันทุกข์เพื่อคนยากช่วยคนอิ่มท้อง จนแม้แต่ WHO ยังชื่นชม

ส่วนหนึ่งจากงานวิจัย ‘ตู้ปันสุข: วิถีปกติใหม่ ยุคโควิด-19’ ของ ‘อุษณีย์ พรหมศรียา’ กับ ‘อัปสร อีซอ’ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระบุว่า “...การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมาตรการปิดเมือง หรือ ล็อคดาวน์ (Lockdown) การหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีคนจำนวนมากต้องขาดรายได้ หรือตกงาน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก”

“...มีรูปแบบการช่วยเหลือซึ่งได้รับความนิยม คือ 'โครงการตู้ปันสุข’ ที่มุ่งช่วยเหลือคนในชุมชน ด้วยการให้คนที่มีกำลังช่วยเหลือ ร่วมแบ่งปันของต่าง ๆ นำมาใส่เอาไว้ให้กับคนที่ต้องการมาเปิดตู้กับข้าวนี้ เพื่อไปหยิบใช้ได้ฟรี โดยมุ่งหวังช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้ผ่านวิกฤตจากโควิด-19 ไปด้วยกัน”

จะมีสักกี่ประเทศบนโลกซึ่งผ่านเผชิญหน้ากับเชื้อมหันตภัยไวรัสเดียวกัน โดยมีสิ่งซึ่งเรียกว่า 'ตู้ปันสุข' เช่นไทยเรา สิ่งนี้คือความดีงามของน้ำใจ แม้ผู้ให้ไม่เคยรู้จักกันกับผู้รับมาก่อน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อันมีมาแต่โบราณ ถูกส่งต่อมายังยุคปัจจุบัน อย่างที่ใครหน้าไหนก็ 'ด้อยค่า' ลงมิได้ นี่คือแนวคิดแบบ "หยิบใส่ตู้อิ่มใจ หยิบออกไปอิ่มท้อง" อย่างไทยแท้ คือเอกลักษณ์ที่องค์กรระดับโลก WHO ยังต้องสรรเสริญสดุดี

‘แพทย์จีน’ เตือน!! โควิด-19 มีโอกาสกลับมาระบาดสูง เฝ้าระวัง 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวแพร่กระจายสู่มนุษย์

(26 ก.ย. 66) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสโคโรนา 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน

ดร. ฉี เจิ่งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ออกมาเตือนว่าพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ ‘มีความเสี่ยงสูง’ ที่อาจก้าวข้ามมาระบาดในคน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ ได้รับสมญาว่า ‘หญิงค้างคาว (bat woman)’ และ ‘นักล่าไวรัส (virus hunter)’ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนผู้ที่มีชื่อเสียง ทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่กระโดดข้ามจากสัตว์โดยเฉพาะค้างคาวมาติดต่อในคน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ เป็นผู้อํานวยการศูนย์ติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นและโด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับ SARS-CoV-1

• ในปี 2560 ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยค้นพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS น่าจะมีต้นกําเนิดมาจากค้างคาวเกือกม้า (Horseshoe Bat) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน

• ดร. ฉี เจิ่งลี่ ถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดในช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากห้องปฏิบัติการของเธอที่สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่เธอปฏิเสธว่าไวรัสโคโรนา-2019 มิได้หลุดมาจากห้องปฏิบัติการของเธอ ปัจจุบันรัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ ในการสืบค้นไวรัสในสัตว์ที่อาจแพร่ข้ามมาสู่มนุษย์

• ในผลการวิจัยล่าสุด ดร. ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยได้เตือนว่ามีโอกาส ‘สูงมาก’ ที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาอีกในอนาคต

ไวรัสโคโรนา (CoV) มีสี่สกุล ได้แก่ alpha (α), beta (β), gamma (γ) และ delta (δ) CoV ทั้งหมดที่ทำให้เกิดการระบาดของมนุษย์นั้นมาจาก alpha- หรือ beta-CoV จากการจำแนกประเภทของ ICTV ล่าสุด พบว่ามี CoV สายพันธุ์ 40 ชนิดในสกุล alpha- และ beta-CoV โดย 27/40 ของสายพันธุ์ CoV (67.5%) สามารถพบได้หรือพบเฉพาะในค้างคาว

>>หลักฐานของการระบาดของไวรัสโคโรนาในอนาคต

• ทีมวิจัยได้ระบุว่าพบไวรัสโคโรนาจํานวนกว่า 20 สายพันธุ์ที่มี ‘ความเสี่ยงสูง’ ที่จะแพร่ติดเชื้อในคนได้ โดยให้เหตุผลว่าไวรัสโคโรนาเคยก่อให้เกิดการระบาดจากสัตว์สู่คนมาก่อน (เช่น SARS และ COVID-19) ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่มันจะก่อให้เกิดการระบาดอีกในอนาคต

• ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปรียบเทียบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เสมือนการทำ ‘พจนานุกรมของไวรัสโคโรนา’ ที่จะช่วยในการพยากรณ์และป้องกันการระบาดในอนาคต

>>ผลกระทบงานวิจัยของ ดร. ฉี เจิ่งลี่

• เน้นถึงภัยคุกคามต่อเนื่องจากไวรัสโคโรนาที่มาจากค้างคาว

• ย้ำให้เห็นว่าภาครัฐควรลงทุนด้านการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสืบค้นหาไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาวัคซีน/ยาสำหรับรักษาล่วงหน้าก่อนเกิดการระบาดในอนาคต

• เตือนผู้ดูแลระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้เตรียมรับมือการแพร่ระบาดของโรคจากไวรัสโคโรนาใหม่ ๆ ในอนาคต

• การถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนาทั้งจีโนมที่แยกเชื้อได้จากสัตว์โดย ดร. ฉี เจิ่งลี่  และ ทีมวิจัยสถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น จะมีคุณค่าอย่างยิ่งในการพยากรณ์และป้องกันโรคระบาดในอนาคต

>>เหตุใดงานวิจัยของดร. ฉี เจิ่งลี่ จึงมีความสำคัญ

• เน้นย้ำถึงภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะจากค้างคาว
• เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์และเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดในอนาคต
• ระบุไวรัสโคโรนาสายพันธุ์จากค้างคาวที่คล้ายกับ SARS-CoV-1, MERS-CoV, และ SARS-CoV-2
• ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีนและยารักษาก่อนที่จะเกิดการระบาด
• ติดตามเก็บตัวอย่างจากประชากรค้างคาวทำให้สามารถตรวจพบไวรัสใหม่ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
• ถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้งจีโนมเพื่อติดตามบริเวณที่กลายพันธุ์ซึ่งจำเป็นสำหรับการติดเชื้อในมนุษย์

สรุปได้ว่างานบุกเบิกของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาจากค้างคาวได้วางรากฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อคาดการณ์ ป้องกัน และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น การค้นพบของเธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมในระบบสาธารณสุขทั่วโลก ‘พจนานุกรมไวรัสโคโรนา’ ของ ดร. ฉี เจิ่งลี่ น่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งในการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดจากไวรัสโคโรนาจากสัตว์สู่คนในศตวรรษที่ 21

>>วิธีที่ ดร. ฉี เจิ่งลี่  และทีมวิจัยใช้ตรวจจับและระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูง 20 สายพันธุ์จากค้างคาวคือ:

• เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากประชากรค้างคาวทั่วประเทศจีนทั้งจากอุจจาระและการสวอปในช่องปากของค้างคาว
• ทำการทดสอบด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในตัวอย่าง
• ตัวอย่างที่ PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสโคโรนา จะถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม
• นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมการสร้างส่วนหนามมาวิเคราะห์เปรียบความเหมือนความต่างกับส่วนหนามของโควิด-19 ที่ระบาดในคนอยู่ในขณะนี้
• ประเมินความสามารถของไวรัสในการเข้าจับกับตัวรับ ‘ACE2’ บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โปรตีนส่วนหนามหรือสไปค์ (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์ปอด ส่งผลให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์และเริ่มการติดเชื้อ

>>ปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของไวรัสโคโรนาที่แยกได้จากค้างคาว

• ตรวจสอบความคล้ายคลึงของรหัสพันธุกรรมกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรค (SARS-CoV-1, MERS-CoV, SARS-CoV-2)
• การมีอยู่ของการกลายพันธุ์ตำแหน่งสำคัญบริเวณส่วนหนามที่จำเป็นสำหรับการจับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์มนุษย์
• หลักฐานของการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วและการปรับรูปร่างของตัวรับเข้าจับ ACE-2
• การแพร่พันธุ์ของค้างคาวสายพันธุ์ที่ทราบกันว่าเป็นแหล่งรังโลกของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม
• การไหลเวียนของประชากรค้างคาวที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

>>ตัวอย่างชนิดพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะข้ามมาสู่คน

• Bat-SL-CoV-RaTG13 - 96% เหมือนกับ SARS-CoV-2
• Bat-SL-CoV-RmYN02 – จับกับตัวรับ ACE2 เช่นเดียวกับ SARS-CoV-2
• Bat-SL-CoV-SC2013 - คล้ายกับ MERS-CoV มาก

>>ผลที่อาจติดตามมาหากเราไม่เตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหม่ในอนาคต:

ผลที่ตามมาด้านสุขภาพ

• อัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจะเพิ่มขึ้นหากการตอบสนองจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการระบาดล่าช้า
• ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศจะล้มเหลวไม่มีเตียงและอุปกรณ์พอเพียงในการรักษา
• ความยากลำบากในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น
• เกิดการระบาดใหญ่เป็นเวลานานและมีการติดเชื้อซ้ำอีก
• การเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่องที่สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจนไม่สามารถควบคุมได้

ผลที่ตามมาทางเศรษฐกิจ

• ธุรกิจต่าง ๆ ถูกบังคับให้ปิดกิจการจากข้อจำกัดด้านสาธารณสุข
• การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น
• ความผันผวนของตลาดหุ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือภาวะถดถอย
• ค่ารักษาพยาบาลที่สูงสำหรับการรักษาและการรักษาในโรงพยาบาล

ผลที่ตามมาทางสังคม

• การหยุดเรียน หยุดเดินทาง หยุดกิจกรรมทางสังคม และหยุดบริการทางศาสนา
• ผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า การใช้สารเสพติด
• ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการพังทลายของความไว้วางใจของประชาชนต่อสถาบันหรือรัฐบาล
• ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การตรวจทดสอบคัดกรอง และการรับวัคซีน
• การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและทฤษฎีสมคบคิด

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม

• สต๊อกวัคซีน ยารักษาโรค อุปกรณ์ PPE
• ปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังทั่วประเทศเพื่อการตรวจจับการระบาดของไวรัสแต่เนิ่นๆ
• พัฒนาแผนเพื่อเพิ่มการคัดกรองและการติดตามผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว
• เตรียมแผนการสื่อสารกับประชาชนและแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจ
• เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลทั้งจากภาครัฐและเอกชนด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย
• ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการประสานงานการรับมือโรคระบาด

สรุปว่าหากไม่เตรียมพร้อม หรือขาดการวางแผนเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นระบบและครบวงจรอาจทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อ คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก และทำให้สังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 อยู่แล้วสั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก รัฐต้องลงทุนกับการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดระลอกใหม่ของโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในทุกมิติโดยการถอดบทเรียนของการระบาดของโควิด-19 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

'นักวิจัยจีน' พบไวรัสโคโรนาตัวใหม่ 'GX-P2V'  ชี้!! เชื้อรุนแรง อัตราการตาย 100% หลังทดลองกับหนู

(18 ม.ค.67) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าทีมนักวิจัยชาวจีน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำในกรุงปักกิ่ง ได้ค้นพบไวรัสที่มีความสามารถในการกลายพันธุ์สูง มีชื่อรหัสว่า GX-P2V (จีเอ็กซ์ พี 2 วี) ซึ่งเป็นไวรัสคล้ายกับโคโรนาไวรัส ซึ่งได้ทดลองกับ 'หนู' จากการทดลองพบว่าไวรัสมีความรุนแรง รวดเร็วและน่าตกใจมาก สามารถทำให้สัตว์ทดลองตายภายใน 8 วัน มีอัตราการตาย 100 % และพบว่าเชื้อไวรัสนั้นสามารถทำลายสมองโดยตรง 

ทีมนักวิจัยยังค้นพบอีกว่า มีปริมาณเชื้อจำนวนมากในสมองและดวงตาของหนูที่ถูกทดลอง แม้ว่าเชื้อ GX-P2V จะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับเชื้อโคโรนาไวรัส แต่ก็มีความแตกต่างในด้านการแบ่งตัวและการแพร่กระจายในร่างกายการทดลองนี้มีความสำคัญเนื่องจากหนูมีการผลิตโปรตีนที่คล้ายมนุษย์ ทำให้ผลที่ได้จากการทดลองในหนูอาจสะท้อนถึงผลที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตามรายงานการทดลองนี้ยังไม่ได้เปิดเผยแก่สาธารณะ

ไวรัส GX-P2V ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2017 จากตัวนิ่มในมาเลเซีย เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวนิ่มนั้นเป็นแหล่งรวมของเชื้อไวรัสโคโรนาหลายชนิด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นตัวกลางที่แพร่เชื้อไวรัสไปสู่ค้างคาวและต่อยอดไปถึงมนุษย์

ทีมนักวิจัยจีนได้ทำการเพาะเชื้อ GX-P2V และเก็บรักษาเป็นอย่างดีไว้ในห้องแล็บที่กรุงปักกิ่ง พบว่า เชื้อนี้มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นก่อนที่จะถูกนำมาทดลองในหนูแต่ไม่มีการระบุชัดเจนว่าการทดลองเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ 

ศาสตราจารย์ ฟรองซัวส์ บัลลูซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ แสดงความคิดเห็นผ่านทาง X (ทวิตเตอร์) ว่าเขาเห็นถึงความไม่เป็นประโยชน์ต่อการทดลองครั้งนี้และแสดงความคิดเห็นในเชิงกังวลว่าการทดลองนี้จะนำไปสู่ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยการทดลองนี้ “เป็นการศึกษาที่แย่มาก ไร้จุดหมายทางวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิง”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top