Saturday, 20 April 2024
โควิด

อย่าชะล่าใจ!! หมอธีระวัฒน์' เตือน!! คนเคยป่วยโควิดอย่าวางใจ ติดเชื้อแล้ว มีโอกาสติดใหม่ได้ ชี้โควิดยุคนี้ คงต้องปรับเปลี่ยนตามข้อเท็จจริงและสถานการณ์อยู่ตลอด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดังนี้...

1 - ติดโควิดไปแล้ว ติดใหม่ยังได้อยู่

ติดไปหยกๆ 3 เดือนที่แล้ว มี
อาการนิดๆ หน่อยๆ ตามกฎ ไม่ต้องตรวจก็ได้
แต่มีที่ตรวจแล้วพบไวรัสมากมาย

‘สธ.’ เผย!! โควิดยืน 1 ทำหญิงตั้งครรภ์ดับหลายประเทศ ด้านไทยน่าห่วง หลังหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนแค่ 25%

ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพและโฆษกกรมอนามัย แถลงข่าวการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย ว่า กลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาเราพบว่าทั่วโลกหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นประมาณ 50-60% จากภาวะปกติ และการเสียชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากโควิด 

โดยหลายประเทศโควิดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศแทบยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยมีการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีตั้งแต่ ต.ค. 2563 - ก.ย. 2564 ในช่วงที่มีการระบาดของโควิดในช่วงการระบาดครั้งที่ 2 และ 3 พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตทั้งหมด 192 ราย เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 78 ราย ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือคิดเป็นสัดส่วนการตายอันดับหนึ่งในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถึง 38% ของหญิงตั้งครรภ์

นพ.เอกชัย กล่าวว่า การติดเชื้อ และการเสียชีวิตบ่อยขึ้นของหญิงตั้งครรภ์ เกิดขึ้นเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา เม.ย. - ก.ย. เราพบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 4,778 ราย มีทารกติดเชื้อ 226 ราย และในจำนวนนี้มารดาเสียชีวิต 95 ราย และทารกเสียชีวิต 46 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ติดเชื้อมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตามนโยบายการฉีดวัคซีนในสตรีมีครรภ์เพิ่งเกิดขึ้นในไทยเมื่อเดือนก.ค. และเริ่มรณรงค์อย่างหนักในเดือนส.ค. พบว่าหญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียง 74,625 คน เข็มสอง 51,989 คน เข็มสาม 526 คน

นพ.เอกชัย กล่าวอีกว่า ช่วงเดือนธ.ค.นี้ จะมีหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ประมาณ 3 แสนคน ซึ่งขณะนี้ฉีดได้เพียง 25% โดยภาคตะวันออกฉีดได้สูง 40% แต่ภาพรวมยังน้อย โดยเฉพาะภาคอีสานฉีดได้เพียง 10-20%

States TOON EP.43

วัคซีนธรรมชาติ!!

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…

สี จิ้นผิง จี้ ฮ่องกง ทุ่มกำลังเร่งคุมโควิด หลังติดเชื้อพุ่ง - คนป่วยล้นโรงพยาบาล

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ออกโรงเตือนผู้นำฮ่องกงให้ทุ่มกำลังทั้งหมดเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในเขตบริหารพิเศษแห่งนี้ หลังผู้ติดเชื้อพุ่งไม่หยุด จนผู้ป่วยต้องนอนนอกโรงพยาบาล

สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันในฮ่องกงพุ่งขึ้นมากกว่า 40 เท่าจากตัวเลขเมื่อช่วงเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยล่าสุดในวันพุธที่ 16 ก.พ. 65 ทางการรายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 4,285 รายในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ไม่รวมผู้ที่มีผลตรวจเบื้องต้นเป็นบวกอีกกว่า 7,000 คน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นางแคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ออกมายอมรับว่า การตอบสนองต่อการระบาดของรัฐบาลของเธอไม่เป็นที่น่าพอใจ และโรงพยาบาลกับเจ้าหน้าที่การแพทย์กำลังรับมือผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นไม่ไหว

ล่าสุดหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายฉบับในจีนรายงานตรงกันว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้แสดงความกังวลถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และแสดงความห่วงใยชาวฮ่องกงผ่านนาย ฮั่น เจิ้ง รองนายกรัฐมนตรี เขายังสั่งการให้รัฐบาลของนางหล่ำทุ่มกำลังและทรัพยากรทั้งหมด เพื่อใช้มาตรการทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อรับรองความปลอดภัยและสุขภาพของชาวฮ่องกง และรับประกันเสถียรภาพในสังคม

Meet THE STATES TIMES 'เดอะ ดีเบต' | EP.5

📌ร่วมถกประเด็นร้อนในรอบสัปดาห์ ผ่านมุมมองสร้างสรรค์ และคมคิดที่น่าสนใจ ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’

🔥 ในประเด็นร้อน 🔥

1.) ทิศทางโควิดสู่โรคประจำถิ่น 

2.) ของแพงทั่วไทย...ทำไงดี? 

3.) แรงดีด!! แซงชั่น รัสเซีย 

4.) มอง ‘สิทธิสตรี’ ในยุคความแห่งหลากหลายทางเพศ

🔥ไปกับ ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ดำเนินรายการโดย ‘หยก THE STATES TIMES’

ในรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ร่วมถกประเด็นสุด​ Exclusive​ ระหว่าง​ THE​ STATES​ TIMES​ และ​ 'โบว์​ ณัฏฐา'​

Liveสดทุกวันเสาร์ 20.00 น.

.

.

'ดร.พิสิทธิ์' ชี้ โควิดทำให้คนจนเพิ่มมากขึ้น หากไม่มีมาตรการรัฐคอยช่วย คนจนอาจเพิ่มสูงถึง 11 ล้านคน

“โควิดทำให้คนจนเพิ่มขึ้น ก่อนโควิดมีคนจน 4.3 ล้านคน และเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ล้านคน ถ้าไม่มีมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่างเช่น เราไม่ทิ้งกัน เราชนะ คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อาจมีคนจนเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคน จะเห็นว่านโยบายรัฐก็ช่วยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น” 
.
ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในเวทีเสวนา "ทางรอดปากท้อง ทางออกเศรษฐกิจฝ่าคลื่นโควิด : โอกาสหรือความเสี่ยง?” ณ ห้อง Convention Hall อาคารศูนย์การเรียนรู้อาคาร D สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส


ที่มา : https://www.facebook.com/480564141971928/posts/5664950366866587/

'ไทย' เตรียมแผนปรับโควิดสู่โรคประจำถิ่น เชื่อ มุ่งฟื้นเศรษฐกิจ แม้ยังกังวลผู้ติดเชื้อ

23 มี.ค. 65 สำนักข่าว Voice of America สหรัฐอเมริกา เสนอรายงานพิเศษ Thailand Aiming for Endemic Status as More Travel Restrictions Lifted ว่าด้วยความพยายามของทางการไทย ในการเปลี่ยนสถานะของไวรัสโควิด-19 จากโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ลดความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคลงเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ท่ามกลางความกังวลของผู้คนอีกไม่น้อย

ในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2565 กระทรวงสาธารณสุขของไทย ประกาศตั้งเป้าให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นภายในเดือน ก.ค. 2565 ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ข้อกำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะเดินทางไปประเทศไทยต้องมีผลตรวจคัดกรองไม่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก็ถูกประกาศยกเลิก อย่างไรก็ตาม อนันต์ จงแก้ววัฒนา (Anan Jongkaewwattana) นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้เตือนว่า ยังคงต้องระมัดระวังต่อไป

“เราต้องพูดกันให้ชัดว่าโรคประจำถิ่นไม่ได้หมายความว่ามันจะรุนแรงน้อยกว่าสิ่งที่พบระหว่างที่เป็นโรคระบาดใหญ่ สำหรับผม โรคประจำถิ่นหมายความว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่งที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ” อนันต์ กล่าว

ประเทศไทยยังคงต่อสู้กับสถานการณ์ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จากเชื้อกลายพันธุ์สายโอมิครอน เช่น ในวันที่ 18 มี.ค. 2565 ที่พบผู้ติดเชื้อ 27,071 คน ทำสถิติติดเชื้อรายงานสูงที่สุด แต่อีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 ค่อนข้างสูง นับตั้งแต่เริ่มการฉีดวัคซีนในปี 2564 ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 127 ล้านเข็ม ซึ่งนับตั้งแต่เข็มที่ 1 เข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3 หรือ 4)

แกรี โบเวอร์แมน (Gary Bowerman) นักวิเคราะห์การท่องเที่ยวของทวีปเอเชีย ที่อาศัยอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย กล่าวว่า ประเทศไทยต้องระมัดระวังในการตั้งเป้าหมายในอนาคต เนื่องจากโควิด-19 นั้นคาดเดาไม่ได้ แม้เดือน ก.ค. 2565 คือการกำหนดเป้าหมาย แต่ก็ทราบกันดีตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ว่าการกำหนดเส้นตายที่ยากและรวดเร็วนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยง

“สถานะโรคประจำถิ่น เป็นเรื่องเล็กน้อยในการสื่อสารกับสาธารณชนเพื่อพยายามเปลี่ยนวิธีคิดภายในประเทศ เป็นการปลุกเร้าอารมณ์ครั้งสำคัญ สถานการณ์ที่ประเทศประสบอยู่คือการปิดตัวอย่างสมบูรณ์ยาวนานถึง 2 ปี และตอนนี้ได้เปิดแล้ว เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดครั้งใหญ่ แม้มันไม่ได้อยู่ที่แต่ละประเทศจะบอกว่าเป็นโรคประจำถิ่น แต่เป็นองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ผมก็เข้าใจได้ว่าทำไมรัฐบาลถึงทำแบบนั้น” โบเวอร์แมน กล่าว

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยพยายามหาทางเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 เป็นต้นมา ด้วยโครงการ Test&Go ที่ตัดขั้นตอนการกักตัวออกไป แต่โครงการต้องถูกหยุดไว้ชั่วคราวในเดือน ธ.ค. 2564 จากการเริ่มตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายโอมิครอน อันเป็นเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ในเวลานั้น ก่อนที่ต้นปี 2565 จะกลับมาดำเนินโครงการต่ออีกครั้ง และได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้วหลายแสนคน ถึงกระนั้นก็ยังต้องเผชิญความท้าทายอีกเรื่องหนึ่ง คือสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ชาวรัสเซียที่เป็นอีกกลุ่มซึ่งนิยมไปเที่ยวประเทศไทยลดจำนวนลง

WHO เตือนโอไมครอนลูกผสม “XE” แพร่เชื้อง่ายและรวดเร็ว เหนือกว่า BA.2 ถึง 10%

WHO เตือนโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าทุกสายพันธุ์ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ถอดรหัสพันธุกรรมพบแล้ว 1 ราย รอยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง

เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics โพสต์วันที่ 2 เม.ย. 65 รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับโอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” ที่แพร่เชื้อติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เราเคยประสบมา

“XE” เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.1 X BA.2” ไม่ใช่ “เดลตาครอน” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “เดลตา X โอไมครอน” WHO ยังไม่ตั้งชื่อให้อย่างเป็นทางการจนกว่า “XE” จะแสดงอาการทางคลินิกที่รุนแรงแตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” หรือ “XD” WHO แจ้งว่าไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว (transmissibility) และอาการที่รุนแรง (severity) แต่ประการใด

ล่าสุดศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม “XE” จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และจากการตรวจกรองด้วยเทคโนโลยี “Massarray Genotyping” พบสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน (เดลตา X โอมิครอน)” อีก 1 ราย ซึ่งต้องยืนยันด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอีกครั้งหนึ่ง

โอไมครอนสายพันธุ์ลูกผสม “XE” พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 โดยมีการถอดรหัสพันุกรรมทั้งจีโนมและอัปโหลดขึ้นไปแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิด-19 โลกแล้วมากกว่า 600 ตัวอย่าง

‘อนุทิน’ คาด!! โควิดพุ่งแน่หลังสงกรานต์ แต่ยังเดินหน้าโรคประจำถิ่น ตามแพทย์ชง!! 

4 เม.ย. 65 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการห้ามเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ช่วงนี้ผ่อนคลายมาตรการออกมาเยอะ แต่ธรรมชาติของการติดเชื้อโควิด-19 คือการสัมผัส การรวมกลุ่มใกล้ชิด และการใช้ภาชนะร่วมกัน ทั้งนี้ การสาดน้ำแบบสมัยก่อนจะมีการนำมือลงไปกวนแป้งดินสอพอง ใช้มือประแป้ง และใช้ขันน้ำร่วมกัน แต่จะไปบอกว่าให้ใส่ถุงมือเล่นน้ำสงกรานต์เป็นไม่ได้อยู่แล้ว จึงขอความร่วมมือให้ทำตามประเพณี และวัฒนธรรมที่ดี จึงสามารถรดน้ำโดยไม่ต้องสาดก็ได้

นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กต่ำกว่า 5 ปี จึงจะเร่งเข้าไปฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีเชิงรุก ไม่ต้องรอให้มาหาที่สถานบริการพยาบาล และขณะนี้ฉีดวัคซีนไปเยอะจนมั่นใจว่าไม่ได้ทำอันตรายต่อร่างกาย จึงไม่ต้องมานั่งสังเกตอาการ แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือ เด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ขณะนี้พบว่าติดเชื้อจำนวนมาก จึงอยากฝากให้พ่อแม่และผู้ปกครอง งดพาเด็กเล็กไปโรงพยาบาล เพราะเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคหลายอย่าง ส่วนคนทั่วไปยังต้องเฝ้าระวังตัวเองให้ดี จึงขอย้ำให้ฉีดวัคซีนเพราะจะป้องกันการเจ็บป่วยร้ายแรง

'กอบศักดิ์' เผยข่าวดี 'ติด-ตาย' โควิด Wave 4 ทั่วโลกลด!! ส่งสัญญาณบวก 'ท่องเที่ยวไทย' หลังซบนานกว่า 2 ปี

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ความหวังของภาคท่องเที่ยวไทย !!! 

เริ่มต้นสัปดาห์ ด้วยข่าวที่ดี 🙂

หลังจากไม่ได้ดูข้อมูลผู้ป่วยรายใหม่จากโควิด-19 มาเป็นเดือน

เมื่อเช้า เลยไปลองเปิดดู 

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ Covid Wave ที่ 4 ของโลก ดูเหมือนจะเริ่มผ่านไปแล้ว 

ในภาพจะเห็นว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ จากที่เคยไปสูงถึงเกือบ 4 ล้านคนต่อวัน

ล่าสุด ลดลงมาอยู่ประมาณ 6 แสนกว่าคนต่อวัน หรือเพียง 15% ของยอดสูงสุด

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิต ก็ลดลงมาเช่นเดียวกัน จาก 12,000 คนต่อวัน ล่าสุดเหลือประมาณ 2,400 คน หรือประมาณ 20% ของยอดสูงสุดในรอบนี้

นับว่าเป็นข่าวดี ที่ชี้ว่ามรสุมโควิดรอบที่ 4 ได้ผ่านไปมากแล้ว

กระทั่งฮ่องกง ที่เคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงต้นมีนาคม ติดเชื้อรายใหม่วันละ 80,000 คน (จากประชากรไม่กี่ล้านคน) ล่าสุดเหลือเพียงวันละ 1,400 คน

จะเหลือที่เป็นประเด็นอยู่ ก็เพียงแต่ในจีนที่กำลังต่อสู้กันกับโควิดในขณะนี้ 

โดยทุกสายตาของโลก กำลังจับจ้องดูว่าจะกระจายไปมากแค่ไหน และด้วยมาตรการที่เข้มงวด จีนจะเอาอยู่หรือไม่ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top