Saturday, 20 April 2024
อิหร่าน

สื่อของรัฐบาลอิหร่าน อวดศักยภาพฐานทัพโดรนใต้ดิน แต่ไม่ยอมเปิดเผยตั้งว่าอยู่แห่งหนใด

สำนักข่าวรอยเตอร์ - กองทัพอิหร่านได้ให้รายละเอียดบางอย่าง (แต่ไม่ใช่ตำแหน่งที่แน่นอน) ของฐานทัพใต้ดินที่เก็บรักษาโดรนทางทหาร สื่อของรัฐรายงานเมื่อวันเสาร์  ท่ามกลางความตึงเครียดที่กำลังคุกรุ่นในอ่าวเปอร์เซีย

สถานีโทรทัศน์ของทางการอิหร่าน ระบุว่า โดรน 100 ลำถูกเก็บไว้ใจกลางเทือกเขาซากรอส (Zagros mountains) รวมถึงโดรนรุ่น Ababil-5 ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธ Qaem-9 ซึ่งเป็นโดรนที่ผลิตในอิหร่านแบบเดียวกับโดรนรุ่น Hellfire ที่โจตีจากอากาศสูพื้นดินของสหรัฐ

“ไม่ต้องสงสัยเลย โดรนของกองกำลังติดอาวุธของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านคือกองกำลังที่มีอำนาจมากที่สุดในภูมิภาค” พล.ต.อับดุลราฮิม มูซาวี ผู้บัญชาการกองทัพ กล่าว “ความสามารถของเราในการอัพเกรดโดรนนั้นไม่สามารถหยุดยั้งได้” เขากล่าวเสริม

ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ของรัฐอิหร่านกล่าวว่าเขาได้บินไปพร้อมกับเฮลิคอปเตอร์เป็นเวลา 45 นาทีในวันพฤหัสบดีจากเมืองเคอร์มันชาห์  (Kermanshah) ทางตะวันตกของอิหร่านไปยังไซต์โดรนลับใต้ดิน เขาได้รับอนุญาตให้ถอดผ้าปิดตาเมื่อมาถึงฐานลับแล้วเท่านั้น 

ภาพโทรทัศน์แสดงให้เห็นแถวของโดรนติดขีปนาวุธในอุโมงค์ ซึ่งพวกเขากล่าวว่าอยู่ลึกในใต้ดินหลายร้อยเมตร

'นักวิทยาศาสตร์-จนท.ระดับสูง' กองทัพอิหร่านทยอยดับ ด้านกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามเผยอยู่เบื้องหลัง

เจ้าหน้าที่กองทัพระดับสูงและนักวิทยาศาสตร์อาวุธอิหร่านหลายคนเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาเมื่อไม่นานมานี้ สร้างความสงสัยไปทั่วท่ามกลางความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่าง 'เตหะราน' และ 'เทลอาวีฟ' ขณะที่หนังสือพิมพ์ชื่อดังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยว่า ข่าวกรองอิสราเอลยอมรับเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของหนึ่งในเคสปริศนา

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 65 บิสซิเนสอินไซเดอร์ ได้รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านอาวุธและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพอิหร่านต่างทยอยเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา

เริ่มจาก พันเอกอาลี อิสมาเอลซาเดฮ์ (Ali Esmaelzadeh) ซึ่งเสียชีวิตลงวันศุกร์ (3 พ.ค.) อย่างเป็นปริศนา โดยหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สของสหรัฐฯ รายงานว่า การเสียชีวิตของเขาอาจมาจากการถูกลอบสังหาร ฆ่าตัวตาย หรือแม้แต่อุบัติเหตุ

โดย อิสมาเอลซาเดฮ์ เสียชีวิตห่างออกไป 1 สัปดาห์หลังจากที่สื่อไทม์ออฟอิสราเอลได้เปิดเผยว่า พันเอก ฮัสซาน เซย์ยาด โคดาอี (Hassan Sayyad Khodaei) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการสังหารและการลักพาตัวในปฏิบัติการนอกประเทศอิหร่านและรวมไปถึงความพยายามมีเป้าหมายไปที่ชาวยิวนั้น ถูกมือปืน 2 คนไม่ทราบชื่อยิงดับ 5 นัด ขณะผู้ตายกำลังอยู่ภายในรถของตัวเองที่ด้านนอกบ้านในกลางกรุงอิหร่าน
 

'นักวิชาการอิสระ' ชี้ ไม่มีคำสั่งจับตาชาวอิหร่าน ย้ำ!! 'ไทย-อิหร่าน' เป็นมิตรที่ดีต่อกัน

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.โญธิน มานะบุญ นักวิชาการอิสระ ด้านความมั่นคง และประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ ครับ ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า...

กระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า คำสั่งลับ สตช. ให้ตร.เฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของชาวอิหร่านเป็นข่าวปลอม (Fake news)

ตามที่มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งลับ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของบุคคลสัญชาติอิหร่านนั้น 

กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย และขอชี้แจงว่ารายงานข่าวดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติมิได้ให้ข้อมูลข่าวดังกล่าว

กระทรวงการต่างประเทศขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอิหร่านเป็นความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ดียิ่งมาตลอดเวลาช้านาน และเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความเคารพซึ่งอธิปไตยและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน 

รัฐบาลอิหร่านได้ให้คำมั่นกับประเทศไทยว่า จะดูแลอย่างดียิ่งที่จะไม่ให้มีสิ่งใดมาเป็นปัจจัยทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันได้ทั้งสิ้น ข่าวที่มีการนำเสนอโดยมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบ และนำไปสู่ความเสียหายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ที่มา นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (โฆษกกระทรางการต่างประเทศ)

อิหร่านประท้วงหนัก!! หลังตำรวจศีลธรรมทำร้ายหญิงสวมฮิญาบไม่เรียบร้อยถึงตาย | NEWS GEN TIMES EP.70

✨ญี่ปุ่นเรียกร้อง 'ปฏิรูป UN' หลังมองว่าตลอด 77 ปีที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคง 5 ชาติ มีอำนาจ Vote ล้มเสียงของคนทั่วโลกได้ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

✨ 'บังคับผู้หญิงเกณฑ์ทหาร' สวิตเซอร์แลนด์กำลังตัดสินใจครั้งสำคัญ เหตุเพราะขาดแคลนกำลังพลในกองทัพ

✨ อิหร่านประท้วงเดือด!! ลามหนักทั่วประเทศ หลังผู้ชุมนุมไม่พอใจที่มีหญิงสวมผ้าคลุมศีรษะไม่เรียบร้อย โดนตำรวจซ้อม จนเสียชีวิตในภายหลัง

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

‘อิหร่าน’ สวน!! ไม่เคยส่งออกโดรนพลีชีพไปยังรัสเซีย หลังยูเครนอ้าง แต่ไม่เผยหลักฐานที่รัสเซียใช้งาน

เมื่อ (13 ธ.ค. 65) สำนักข่าวแทสนิม (Tasnim) อ้างอิงโมฮัมหมัดเรซา อัชเตียนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอิหร่าน ระบุว่ายูเครนไม่ได้แสดงหลักฐานอันใด สำหรับสนับสนุนข้อกล่าวหาว่ารัสเซียใช้โดรนทางทหารของอิหร่านในสงครามยูเครน

อัชเตียนี ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญจากอิหร่านและยูเครนจัดการประชุม เพื่อหารือถึงข้อกล่าวหาดังกล่าวเมื่อไม่นานนี้ โดยในการประชุมทางเทคนิค ฝ่ายยูเครนไม่ได้เสนอเอกสารใด ๆ ที่เกี่ยวพันกับกรณีดังกล่าว

นอกจากนั้นอัชเตียนี ยังปฏิเสธกรณีชาติตะวันตกกล่าวหาอิหร่านในประเด็นนี้ว่าเป็น “ข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง” พร้อมชี้ว่าความร่วมมือทางทหารของอิหร่านและรัสเซียนั้นดำเนินมาอย่างช้านานและอยู่นอกเหนือวัตถุประสงค์เฉพาะ

ทางรอดใหม่ของประเทศ!! ‘อิหร่าน’ โวพบแหล่งลิเทียม ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก คาดมีมากถึง 8.5 ล้านตัน เป็นรอง ‘ชิลิ’ ที่มีอยู่ 9.2 ล้านตัน

อิหร่านประกาศพบแหล่งลิเทียม (Lithium) ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกในจังหวัดทางตะวันตก ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณลิเทียมสำรองอยู่มากถึง 8.5 ล้านตัน

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิหร่านอ้างคำแถลงของ โมฮัมหมัด ฮาดี อาห์มาดี เจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เหมือง และพาณิชย์เมื่อวันเสาร์ (4 มี.ค.) ที่ผ่านมาว่า “เราพบแหล่งลิเทียมที่จังหวัดฮาเมดัน (Hamedan) ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในอิหร่าน”
 

ลิเทียมซึ่งได้ฉายาว่า “ทองคำสีขาว” (white gold) คือหนึ่งในแร่หายาก หรือ “แรร์เอิร์ธ” ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ไฟฟ้า

 

ทั้งนี้ หากตัวเลข 8.5 ล้านตันของกระทรวงอุตสาหกรรมอิหร่านได้รับการยืนยัน จะทำให้สาธารณรัฐอิสลามแห่งนี้กลายเป็นเจ้าของแหล่งลิเทียมใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจาก “ชิลี” ซึ่งมีปริมาณลิเทียมสำรองอยู่ 9.2 ล้านตัน ตามข้อมูลจากสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (USGS)

ลิเทียมเป็นวัสดุจำเป็นที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในรถยนต์ EV รวมถึงแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนที่สามารถชาร์จซ้ำได้ โดยในปีที่แล้วราคาของโลหะหายากชนิดนี้พุ่งสูงขึ้นมากตามความต้องการชิ้นส่วนรถยนต์ EV ในตลาดที่เพิ่มขึ้น
 

‘กษัตริย์ซาอุฯ’ เชิญ ‘ปธน.อิหร่าน’ เยือนอย่างเป็นทางการ อิหร่าน ลั่น!! พร้อมฟื้นความสัมพันธ์กับทุกประเทศ

อิหร่านระบุว่า ซาอุดีอาระเบียได้เชิญนายอีบรอฮีม เราะอีซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ให้เดินทางเยือนซาอุฯอย่างเป็นทางการ เพียงหนึ่งสัปดาห์กว่าๆ หลังจากที่ทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงที่จะฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในการประชุมที่มีจีนเป็นประเทศผู้ประสานงาน

ทางการอิหร่านเผยว่า กษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอะซิซ แห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงมีพระราชสาส์นแจ้งการเชิญเยือนดังกล่าว แต่สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่ายังไม่ได้รับการยืนยันจากซาอุฯ แต่อย่างใด

นายโมฮัมหมัด จัมชิดี เจ้าหน้าที่อาวุโสของอิหร่าน ทวีตเกี่ยวกับคำเชิญนายเราะอีซีเยือนริยาด โดยระบุว่า นายเราะอีซีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และเน้นย้ำถึงความพร้อมของอิหร่านในการขยายความร่วมมือระหว่างสองประเทศต่อไป

ด้านนายฮุซัยน์ อะมีร อับดุลลอฮิยอน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน กล่าวว่า ทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะจัดประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และมีการเสนอสถานที่ประชุมที่เป็นไปได้ 3 แห่ง แต่เขาไม่ได้ระบุว่าคือที่ใดรวมถึงการประชุมดังกล่าวจะมีขึ้นเมื่อใดด้วย

‘กองทัพมะกัน’ วิตก!! หลังจีน-รัสเซีย-อิหร่าน จับมือใกล้ชิดยิ่งขึ้น เผย เป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ เผชิญหน้ากับมหาอำนาจนิวเคลียร์ 2 ชาติ

(2 เม.ย. 66) พล.อ.มาร์ค มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมกองทัพสหรัฐฯ บอกกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ว่า จีน รัสเซีย และอิหร่านจะเป็นปัญหาสำหรับอเมริกา ‘ในช่วงหลายปีข้างหน้า’ ในขณะที่ทั้ง 3 ชาติกำลังทำงานร่วมกันใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

ระหว่างให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการด้านการทหารของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ร่วมกับ ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหม ทาง พล.อ.มิลลีย์ เปิดเผยว่า รัสเซียและจีนกำลังร่วมมือใกล้ชิดกันมากยิ่ง

“ผมคงไม่ใช้คำว่า ‘พันธมิตรเต็มรูปแบบอย่างแท้จริง’ ในความหมายที่แท้จริงของคำนั้น แต่เรากำลังเห็นพวกเขาเคลื่อนไหวใกล้ชิดกันมากขึ้น และนั่นเป็นปัญหา และจากนั้น อิหร่านก็เป็นประเทศที่ 3 ดังนั้น ผมคิดว่า 3 ประเทศเหล่านี้รวมกัน จะกลายเป็นปัญหาสำหรับหลายขวบปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและจีน สืบเนื่องจากศักยภาพของพวกเขา” พล.อ.มิลลีย์ กล่าว

ท่ามกลางเสียงเน้นย้ำมานานหลายปีของสหรัฐฯ ว่าทั้ง 3 ประเทศได้มุ่งเน้นด้านการทหารอย่างมาก โดยเฉพาะจีนและรัสเซีย ความตึงเครียดระหว่างอเมริกากับทั้ง 3 ชาติ ได้โหมกระพือขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้

ในขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือยูเครน ในการป้องกันตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย ความตึงเครียดกับจีนได้พุ่งสูงขึ้นเมื่อไม่นานที่ผ่านมา หลังจากพบวัตถุบินต้องสงสัยว่าเป็นบอลลูนสอดแนมของจีน ล่องลอยข้ามน่านฟ้าอเมริกา ก่อนถูกเครื่องบินรบสหรัฐฯ ยิงตกนอกชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐฯ เปิดฉากโจมตีตอบโต้พวกนักรบกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในซีเรีย หลังโดรนต้องสงสัยว่าเป็นของอิหร่าน ทำการโจมตีศูนย์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นฐานของบุคลากรสหรัฐฯ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สัญญาจ้างรายหนึ่งของอเมริกาเสียชีวิต และกำลังพลได้รับบาดเจ็บ 5 นาย

ตามหลังปฏิบัติการโจมตีของสหรัฐฯ พวกนักรบได้ยิงจรวดและส่งโดรนโจมตีเพิ่มเติม เล่นงานเป้าหมายต่าง ๆ ที่เป็นของอเมริกาและบุคลากรของพันธมิตรในซีเรีย

ผู้นำอิหร่าน พบ ผู้นำเวเนฯ ถกความร่วมมือทางการค้าครั้งใหม่ ยกระดับมูลค่าระหว่างประเทศเพิ่มเป็น 2 หมื่นล้านเหรียญ

(14 มิ.ย. 66) ประธานาธิบดีอีบราฮิม ไรซี ผู้นำอิหร่าน พบหารือกับประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา ที่กรุงการากัส เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยไรซีกล่าวในตอนหนึ่งว่า “เวเนซุเอลาและอิหร่านมีผลประโยชน์ร่วมกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีศัตรูร่วมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซุเอลากับอิหร่านไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ทางการทูต แต่เป็นความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ขณะที่มาดูโรแสดงความชื่นชมอิหร่าน ในฐานะหนึ่งในประเทศอำนาจเกิดใหม่ที่สำคัญของโลก และเน้นย้ำว่าการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อความแข็งแกร่ง”

สำหรับหนึ่งในเป้าหมายการเยือนเวเนซุเอลาของไรซีในครั้งนี้ คือการขยายโอกาสเพื่อส่งเสริมมูลค่าการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ปีละ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 103,560 ล้านบาท) เป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 690,400 ล้านบาท) โดยผู้นำอิหร่านและผู้นำเวเนซุเอลาร่วมกันเป็นสักขีพยาน การลงนามในข้อตกลง 25 ฉบับ ครอบคลุมการยกระดับความร่วมมือ ตั้งแต่การศึกษา ไปจนถึงการสาธารณสุข และเหมืองแร่

ทั้งนี้ ไรซีนับเป็นผู้นำอิหร่านคนแรกในรอบเกือบ 7 ปี ที่เยือนเวเนซุเอลา ต่อจากประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี เมื่อเดือน กันยายน 2016 และหลังเสร็จสิ้นการเยือนกรุงการากัส ไรซีเตรียมเยือนคิวบา และนิการากัวเป็นจุดหมายต่อไป

ก่อนหน้านี้ ฮอสเซ็น อมิราบโดลลาเฮียน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน เดินทางเยือนเวเนซุเอลา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคง เพื่อต้านทานแรงกดดันจากภายนอก ขณะที่ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 อิหร่านส่งน้ำมันดิบทางเรือ 1.5 ล้านบาร์เรล เพื่อช่วยเหลือเวเนซุเอลา ซึ่งกำลังประสบกับวิกฤติเชื้อเพลิงในเวลานั้น ส่งผลให้สหรัฐฯ ออกมาประณามการกระทำดังกล่าว
 

'ไบเดน' คืนเงินสำรอง 6 พันล้านให้อิหร่านแลก 5 นักโทษมะกันกลับบ้าน ฝ่ายค้าน งง!! มาตรการคว่ำบาตรในประเทศ 2 มาตรฐาน

ในที่สุด สหรัฐอเมริกาก็ยอมบรรลุข้อตกลง ยอมลดเพดานการคว่ำบาตรอิหร่าน ด้วยการอนุมัติการปล่อยเงินสำรองต่างประเทศของอิหร่านที่ถูกอายัดไว้ในเกาหลีใต้กว่า 6 พันล้านเหรียญคืน เพื่อแลกกับการปล่อยนักโทษสหรัฐฯ จำนวน 5 คน ท่ามกลางเสียงคัดค้านของฝ่ายค้าน และความย้อนแย้งสับสนของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เอง ว่าเข้าตำรา 2 มาตรฐานหรือไม่

แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เซ็นยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านเมื่อสัปดาห์ก่อน และได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรซแล้ว โดยรัฐบาลไบเดนจะปลดล็อกคำสั่งอายัดเงินสำรองต่างประเทศของอิหร่าน ที่ฝากไว้ที่เกาหลีใต้กว่า 6 พันล้านเหรียญ โดยมีเงื่อนไขว่า เงินสำรองจำนวนนี้ห้ามโอนไปยังอิหร่านโดยตรง แต่ต้องทยอยโอนไปฝากไว้กับบัญชีธนาคารกลางของประเทศกาตาร์ และต้องใช้เพื่อซื้อสิ่งของเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่านั้น

นั่นหมายความว่า นอกจากอาหาร ยารักษาโรค หรือของใช้ที่จำเป็นกับประชาชนแล้ว ไม่สามารถถอนเป็นเงินสด หรือนำไปซื้ออาวุธ หรือวัตถุดิบในการผลิตอาวุธได้

ส่วนข้อแลกเปลี่ยนคือ อิหร่านต้องปล่อยตัวนักโทษสหรัฐฯ ที่ถูกจับกุมในอิหร่านจำนวน 5 คน แต่ในขณะเดียวกัน ทางสหรัฐฯ ก็ต้องยอมปล่อยตัวนักโทษอิหร่านในสหรัฐจำนวน 5 คนด้วยเช่นกัน

เงินสำรอง 6 พันล้านของอิหร่านนี้ คือรายได้จากการขายน้ำมันให้กับเกาหลีใต้ แต่โดนรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ฉีกข้อตกลงนิวเคลียร์ และกลับมาคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ ทำให้ชาติพันธมิตรสหรัฐอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป ถูกกดดันให้อายัดทรัพย์สิน และ เงินสำรองต่างประเทศของอิหร่าน ที่ฝากไว้ในธนาคารทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 1 แสนล้านเหรียญ  แค่เฉพาะในเกาหลีใต้ มีเงินของอิหร่านว่า 7 พันล้านเหรียญ

แต่ในสมัยของอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มุน แจ-อิน ได้เริ่มทยอยคืนเงินสำรองให้กับรัฐบาลอิหร่านไปแล้วบางส่วน ซึ่งมุน แจ-อิน ได้ส่งนายกรัฐมนตรี จุง เซ-คยุง ไปเยือนกรุงเตหะรานเป็นครั้งแรกในรอบ 44 ปี ให้รู้ว่าเกาหลีใต้ยังต้องการรักษาระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านอยู่

แต่พอเกาหลีใต้เปลี่ยนผู้นำมาเป็น ยุน ซ็อก-ย็อล ที่ได้ชื่อว่าเป็นสายเหยี่ยว เรื่องการคืนเงินสำรองให้อิหร่านเลยเงียบไปด้วย จนกระทั่งวันนี้ รัฐบาลไบเดนออกมาไฟเขียว ให้ปล่อยเงินคืนอิหร่านได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ก็สร้างความประหลาดใจไม่น้อย และมาพร้อมกับเสียงคัดค้านจากฝ่ายรีพับลิกัน ที่มองว่า ทำไมข้อตกลงนี้ สหรัฐฯ ดูเสียเปรียบ อิหร่านได้เงินคืน พร้อมนักโทษของตัวเอง แล้วสหรัฐฯ ได้อะไรที่สมน้ำ สมเนื้อกว่านี้บ้าง?

เนื่องจากในอิหร่าน ไม่ได้มีพลเมืองอเมริกันที่ถูกจับตัวในอิหร่านแค่ 5 คน แต่เมื่อดีลมาได้แค่ 5 คน ทำให้ญาติของนักโทษในอิหร่านที่เหลือรู้สึกว่าพวกเขาถูกทอดทิ้ง

อย่างกรณีของ Jamshid Sharmahd วิศวกรชาวเยอรมัน เชื้อสายอิหร่าน แต่ไปตั้งรกรากที่แคลิฟอร์เนีย ถูกจับกุมโดยสายลับอิหร่านขณะที่เขาไปเยือนดูไบ ล่าสุดโดนศาลอิหร่านตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาคอร์รัปชัน ก็ไม่ได้รวมอยู่ในรายชื่อนักโทษอเมริกัน 5 คน ที่ได้รับการปล่อยตัว

อีกทั้งยังมีคำถามมากมายจากกลุ่มการเมืองในสหรัฐ ที่มองว่าทำไมรัฐบาลไบเดน ถึงยอมผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านในตอนนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าอิหร่านยกเลิกโครงการนิวเคลียร์แล้ว แถมเพิ่งจะขายโดรนพิฆาตให้รัสเซียไปถล่มยูเครนอีกต่างหาก

แต่ในขณะเดียวกัน กับ คิม จอง-อุน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่กำลังมุ่งหน้าไปเยือนรัสเซีย ซึ่งเชื่อว่าไปเพื่อทำข้อตกลงขายอาวุธให้กับปูติน สหรัฐก็ออกมาแยกเขี้ยวขู่แล้วว่าจะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร กดดันเกาหลีเหนือยิ่งขึ้นอีก นี่ขนาดยังไม่ทันขายเลย แต่อิหร่านนั้นขายให้แล้วเห็นๆ กลับยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรให้เฉย ไม่ลักลั่นย้อนแย้งไปหน่อยหรือ???

แต่ว่า นี่เป็นรัฐบาลของปู่โจ ความพอใจของปู่โจ แกจะทำอะไรก็ได้ ซึ่งมาตรการของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวอยู่แล้ว ลื่นไหลไปตามสถานการณ์ รัฐบาลนี้คืน เดี๋ยวรัฐบาลหน้าก็อาจจะยึดใหม่ก็ได้นาจ๊า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top