Friday, 29 March 2024
สุริยะ_จึงรุ่งเรืองกิจ

‘สุริยะ’ ลุ้นเปิดประเทศ หนุนดัชนี MPI ขยายตัว แต่ต้องจับตาราคาน้ำมัน - ค่าเงินบาทผันผวน

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ดัชนีผลผลิตอุตฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ภาพรวม 9 เดือน ขยายตัวร้อยละ 6.10 ส่งออกโตต่อเนื่อง ร้อยละ 17.90

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยสะท้อนได้จากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม และดัชนีการส่งสินค้าในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญที่ดัชนีแรงงานขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ เป็นต้น ส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจได้มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐยังได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน 

ขณะเดียวกันนโยบายการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่จะทำให้ดัชนี MPI ขยายตัวต่อไปได้ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. จะมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขดัชนี MPI ปี 2564 ใหม่อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่มีความผันผวนด้วยเช่นกัน

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 93.72 หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 1.28 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 7.49 โดย 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 6.10 โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมหลักของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับไตรมาส 3/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.43 จากสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรมเดือนกันยายนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีแรงงานในอุตสาหกรรมสำคัญหลายกลุ่มยังคงขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 10.85 แปรรูปผักผลไม้ขยายตัวร้อยละ 5.86 เครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 9.76 และยางล้อขยายตัวร้อยละ 3.42  

แต่อย่างไรก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังส่งผลต่อการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์บางรายการ แต่ในเดือนกันยายนสถานการณ์เริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น โดยโรงงานผลิตรถยนต์ได้รับส่งมอบชิปและชิ้นส่วนรถยนต์ได้มากขึ้น ด้านสถาบันการเงินเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการอนุมัติ ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศน่าจะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 750,000 คัน ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตขยายตัวต่อเนื่องตามกัน ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ ไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งนี้อาจส่งผลกระทบบ้างในด้านโลจิสติกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบทางการเกษตรอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในระยะถัดไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.75 มูลค่า 18,424.90 ล้านเหรียญ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ 17.90 มูลค่า 18,093.70 ล้านเหรียญ โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 16.06 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ รวมถึงการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.56 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 

‘สมอ.’ ลงพื้นที่หน้าด่าน สุ่มตรวจสินค้านำเข้า สกัดสินค้าไม่ได้มาตรฐานเข้าไทย 

สมอ. ยกระดับมาตรการคุมเข้ม ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าควบคุมที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของประชาชน เตรียมลงพื้นที่หน้าด่าน สุ่มตรวจสินค้านำเข้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้กำชับให้ สมอ. ยกระดับความเข้มข้นของมาตรการเชิงรุกในการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศและการตรวจควบคุมการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดและทางออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่อยู่ในการควบคุมของ สมอ. ทั้ง 126 รายการ ที่มีการโฆษณาผ่านทางทีวีดิจิทัลและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งหากไม่ได้มาตรฐานจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยให้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กรมศุลกากร, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อร่วมกันทำงานเชิงรุกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในท้องตลาดอย่างเข้มงวด 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) อย่างเคร่งครัด เดินหน้ามาตรการคุมเข้มป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาในราชอาณาจักร โดยเฉพาะสินค้าที่ สมอ. ควบคุมทั้ง 126 รายการ เช่น ปลั๊กพ่วง, เตาปิ้งย่าง, กระทะไฟฟ้า, หม้ออบลมร้อน, ไดร์เป่าผม, ที่หนีบผม, พัดลม, หม้อหุงข้าว, หลอดไฟ, สปอตไลต์, หลอดไฟแอลอีดี, ภาชนะจานชามเมลามีน, ของเด็กเล่น, พาวเวอร์แบงก์ และ อะแด็ปเตอร์ เป็นต้น 

‘สุริยะ’ สั่ง กรอ. ช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน ตั้งเป้าปี 65 ดันใช้เครื่องจักรกู้แบงก์ 2 แสนลบ.

“สุริยะ” สั่งกรมโรงงาน เดินหน้าจดทะเบียนเครื่องจักร ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ปลื้มปี 64 มีมูลค่าการจดจำนองเครื่องจักรกว่า 1.6 แสนล้านบาท คาดปี 65 โตกว่า 2 แสนล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เร่งดำเนินงานด้านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร และนำเครื่องจักรมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงิน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายของรัฐบาล โดยปีงบประมาณ 2564 มีผู้ประกอบการยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน คิดเป็นวงเงินจดจำนองถึง 1.6 แสนล้านบาท  

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับปีงบประมาณ 2565 กรอ. ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีผู้ประกอบการนำเครื่องจักรเข้ามาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และจดจำนอง 2 แสนล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (COVID-19) เริ่มคลี่คลาย และมาตรการรองรับต่าง ๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนที่ดีขึ้น รวมถึงสถาบันการเงินเริ่มมีการอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับทางสถานประกอบการมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนต่อไปได้ 

‘สุริยะ’ สั่งเร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการใต้ฝั่งอันดามัน ชู 4 ประเด็นเร่งด่วน - ยกระดับ BCG Model

‘สุริยะ’ สั่งการ ‘ดีพร้อม’ ฟื้นฟูผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมชู 4 ประเด็นเร่งด่วนหนุนอุตฯ ศักยภาพ พร้อมรุกนโยบายเสริมแกร่ง ‘BCG Model’

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งติดตามการดำเนินงานผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเข้มแข็ง ทั้งในด้านการยกระดับเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy รวมถึงการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ ผ่าน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 

1.) เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 
2.) การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน 
3.) การดึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นกระตุ้นความต้องการของตลาด 
และ 4.) การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าชุมชน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) ณ จังหวัดกระบี่ และได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนของการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล โดยในการดำเนินงานดังกล่าว ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับและมีบทบาทการยกระดับศักยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม  

ขณะเดียวกัน ยังร่วมรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการ พร้อมนำไปปรับเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งปฏิบัติงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green  Economy : BCG Model รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ และพัฒนานวัตกรรมการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0

ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาดีพร้อม มีแนวทางและแผนการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมถึงได้มีการติดตามการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่กว่า 5 แสนราย ไม่ว่าจะเป็น การประมง การปศุสัตว์ การทำเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าและมีอานิสงส์ต่อการจ้างงานของประชากรในพื้นที่ โดยหลังจากได้รับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดีพร้อมได้เร่งเตรียมฟื้นฟูและยกระดับผู้ประกอบการด้วยแนวทางที่สำคัญหลากหลายรูปแบบ ดังนี้   

‘สุริยะ’ เผยอุตฯ ยานยนต์ไทยเริ่มฟื้น คาดปี’65จะผลิตรถยนต์ได้ 1.7 ล้านคัน

สุริยะ ปลื้มอุตฯ ยานยนต์ไทยมีสัญญาณการเติบโตดี หลังเปิดประเทศ ผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ทุ่มทุนอัปเกรดโรงงาน เตรียมผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ปีหน้า สนองนโยบายส่งเสริมอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ คาดปี’ 65 การผลิตจะอยู่ที่ 1.7 ล้านคัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกทำให้การผลิตชะลอตัว นักลงทุนจึงมีการทบทวนแผนการลงทุน และปรับแผนการผลิตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีค่ายรถยนต์หลายบริษัท หันมาให้ความสนใจเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย และนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) ของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย ยกระดับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่ 

‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ นักบริหารมืออาชีพ ตัวจริงข้างรัฐบาลลุงตู่

นับตั้งแต่การก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐเมื่อปลายปี 2561 จนถึงวันนี้ ตัวละครในพรรคพลังประชารัฐเปลี่ยนโฉมหน้าไปหลายคำรบ ตั้งแต่ผู้บริหารพรรคยันไปจนถึง ส.ส. เหตุเพราะตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐ ต้องเผชิญกับปัญหาภายในพรรคมาอย่างต่อเนื่อง 

แน่นอนว่า หนึ่งในภาพใหญ่ที่คอการเมืองคงจำได้ดี นั่นคือ กลุ่ม ‘4 กุมาร’ ภายใต้การนำของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ กลุ่ม อดีต กปปส. ที่ต้องคำพิพากษา จนต้องตัดสินใจหันหลัง ออกจากพรรคไป ทั้งที่เป็นกลุ่มที่ตั้งพรรคมากับมือ แต่สัมพันธภาพของ 4 กุมาร และ ‘สุริยะ’ ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด ทุกอย่างยังคงเหนียวแน่น เป็นการออกกันไปเองของ 4 กุมาร และตอนนี้ก็มีพรรคสร้างอนาคตไทย เป็นเรื่องเป็นราวแล้ว

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ของเหล่าคีย์แมนหลักอย่าง ‘นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รมว.อุตสาหกรรม, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม และ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดูจะไม่ได้กระเทือนอย่างที่ใครคาดคิด เพียงแต่ดุลอำนาจจากกลุ่มสามมิตรที่เสียไป อาจจะสั่นคลอนไปบ้าง สังเกตได้จากกรณี นายอนุชา นาคาศัย ถูก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กระชากเก้าอี้ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ไปแบบต่อหน้าต่อตา 

ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างสามมิตรกับธรรมนัส ที่ยังคงดูจะยังคุกรุ่นต่อเนื่อง จนถึงขั้นมีข่าวลือหนาหูว่าสามมิตร จะหวนกลับไปซบรังเก่า ‘พรรคเพื่อไทย’ พลันให้แกนหลักอย่าง ‘สุริยะ’ ต้องรีบออกมาสยบข่าวลือว่า ‘กลุ่มสามมิตรจะยังอยู่กับ พปชร. ต่อไป ไม่ย้ายซบเพื่อไทยแน่นอน’

แต่ถึงกระนั้น ภายหลังก๊วน ส.ส. กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ถูกขับออกจากพรรคเมื่อ 19 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา กูรูการเมืองต่างก็วิเคราะห์กันว่า ‘กลุ่มสามมิตร’ จะกลับมาพาวเวอร์ฟูล ในพลังประชารัฐอีกครั้ง หากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยืนยันที่จะนำรัฐนาวาแห่งนี้แล่นไปถึงฝั่ง (อยู่ครบเทอม) เพราะ ส.ส.ที่อยู่ในกลุ่มนี้ราว 30 คน ล้วนเป็นฐานเสียงสำคัญที่จะช่วยประคองขาเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ไม่ให้หักก่อนเวลาอันควร

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่การมโน เพราะหากตรวจแนวรบของสามมิตร โดยมี ‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ ค้ำยันเป็นคีย์แมนหลักแล้ว ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า โอกาสที่สถานการณ์ความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐจะหมดสิ้น รวมไปถึงการทำงานกับพรรคร่วมรัฐบาลต่างๆ น่าจะเดินหน้าไปด้วยกันได้ดี

เหตุที่กล่าวเช่นนี้ นั่นเพราะ ในยุทธจักรการเมืองไทย ‘สุริยะ’ ถือเป็น ‘นักการเมืองที่ไม่ค่อยมีภาพความขัดแย้ง’ และที่สำคัญสามารถทำงานได้กับทุกฝ่ายทุกก๊วน 

‘ก.อุตฯ’ ผนึก ‘พลังงาน’ ปั้นขยะเป็นไฟฟ้าใช้ในภาคอุตฯ พร้อมหนุนตั้งโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ลดการฝังกลบ

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กระทรวงพลังงาน ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste-to-Energy) และการส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความยินดีในความร่วมมือในครั้งนี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงานลงนามในบันทึกความเข้าใจการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste-to-Energy) และการส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีระยะเวลาความร่วมมือ 4 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และได้พลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ สร้างมูลค่าจากขยะอุตสาหกรรม สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เน้นในการพัฒนา 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มีความต้องการให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดในทุกกระบวนการ และสอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry) และนโยบายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้งการส่งเสริมการผลิต การใช้พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศ

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้วางแผนการดำเนินงาน (Roadmap) กำหนดเป้าประสงค์ (Achievement Target) และเป้าความสำเร็จย่อยเป็นระยะ ๆ (Milestone) โดยมีคณะกรรมการร่วมฯ ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 โดยได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงวัตถุอันตรายด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ตามกรอบของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินงาน

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า กรอ. จะเร่งดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจ โดยสนับสนุนข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขยะอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น ปริมาณ ประเภท และคุณสมบัติของขยะอุตสาหกรรม รวมทั้งข้อมูลผู้ประกอบกิจการขยะอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ขยะอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้สำรวจปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่มีค่าความร้อนที่เหมาะสมสำหรับนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า เช่น เศษพลาสติก เมื่อทราบปริมาณและพื้นที่เป้าหมายแล้ว จะนำมาวางแนวทางความเป็นไปได้ในการตั้งโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมต่อไป

ย้อนไทม์ไลน์เหมืองทองอัครา กับ คำถามน่าคิด!! หาก ‘คิงส์เกต’ มั่นใจ ชนะคดี รับค่าชดเชย 30,000 ล้านบาท เหตุใดทางบริษัทยังคิดจะมาเจรจากับรัฐบาลไทยต่อ?

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 65 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ได้ลุกขึ้นชี้แจงกรณีเหมืองทองอัครา จากข้อท้วงถามของ ‘จิราพร สินธุไพร’ ส.ส.เพื่อไทย ที่จี้ถามถึงความเสียหายที่ประเทศต้องจ่าย หากแพ้คดีเหมืองทองอัครา ว่า…

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฝ่ายไทยไม่ได้เป็นผู้เริ่มขอเจรจาเกี่ยวกับคดีเหมืองทองอัครา แต่คณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ให้คำแนะนำให้ไทยเจรจากับบริษัทคิงส์เกต ซึ่งที่ผ่านมามีการเลื่อนการเจรจามาแล้ว 3 ครั้ง เนื่องจาก COVID-19 โดยเป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย แต่การเจรจามีความคืบหน้า และมีทิศทางในทางบวก ซึ่งจะมีประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่าย

“ประเด็นเลื่อนออกคำชี้ขาดที่ถูกกล่าวหาว่า การเลื่อนแต่ละครั้งจะมีการให้สิทธิประโยชน์เหมืองทองอัคราทุกครั้ง ยืนยันว่า เป็นความเท็จ การเลื่อนออกคำชี้ขาดไม่เกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์หรือการอนุญาตใดๆ”

ส่วนกรณีบริษัทคิงส์เกต เปิดเผยข้อมูลได้ แต่ฝ่ายไทยไม่เปิดเผยข้อมูล ขอชี้แจงว่า ตราบใดที่ยังไม่ออกคำชี้ขาด ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการได้ ส่วนข้อมูลที่บริษัทคิงส์เกตนำมาเปิดเผย มาจากข้อมูลการเจรจายุติข้อพิพาทที่ฝ่ายบริษัทคิงส์เกตอยากจะได้ และเรียกร้อง ไม่ใช่การตกลงจากทั้ง 2 ฝ่าย

สำหรับข้อกล่าวหาว่า ฝ่ายไทยจะแพ้และต้องเสียค่าโง่กว่า 30,000 ล้านบาทนั้น จากข้อมูลงบการเงินของบริษัทอัครา ซึ่งได้ประกอบกิจการเหมืองทองในประเทศตั้งแต่ 2543 จนถึง 2558 หรือ 15 ปี พบว่า มีกำไรตกปีละ 800 ล้านบาท เมื่อเทียบกับค่าเสียหายที่ ส.ส.จิราพรอ้างมา บริษัทจะต้องประกอบกิจการถึง 38 ปี

“หากบริษัทมั่นใจว่าจะชนะคดีแน่ๆ และได้รับเงิน 30,000 ล้านบาท บริษัทจะมาเจรจากับรัฐบาลไทยได้อย่างไร”

>> ไล่ไทม์ไลน์อาชญาบัตรสำรวจแร่ 44 แปลง
ส่วนการอนุญาตต่างๆ ทั้งให้สิทธิสำรวจแร่ และให้ขนผงทองคำออกไปขาย เป็นการประนีประนอมเพื่อขอถอนฟ้องคดี โดยกรณีการให้ประทานบัตร 4 แปลงนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เมื่อบริษัทเริ่มเปิดเหมืองและผลิตทองคำเชิงพาณิชย์ ตรงกับสมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการยื่นคำขออาชญาบัตรสำรวจแร่ 44 แปลง

บริษัทได้ทยอยยื่นมาตั้งแต่ 2546-2548 และในปี 2549 คำขออยู่ระหว่างการพิจารณามาตามลำดับ เตรียมเสนอขออนุมัติ แต่เกิดรัฐประหารก่อน จนมาปี 2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มี ครม. ให้ชะลอการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำไว้ก่อน เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายทองคำที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำนโยบายทองคำให้แล้วเสร็จ

จากนั้นผ่านมาหลายรัฐบาลมีการปรับปรุงนโยบายทองคำอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2557 มีการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองว่า ประสบปัญหาสุขภาพจากการทำเหมือง อีกทั้งความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ มีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน 

พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงส่งเจ้าหน้าที่ส่งไปตรวจสอบ และมีข้อเสนอให้ยุติการทำเหมืองไว้ก่อน โดยพล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่ง คสช. ให้ยุติการขออนุญาตอาชญาบัตรพิเศษ และการทำเหมืองชั่วคราว และให้ไปปรับปรุงนโยบายทำเหมืองใหม่ โดยให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เพื่อให้มีมาตรการป้องกันปัญหาสุขภาพในประชาชนที่รัดกุม

1 ส.ค. 60 ครม. มีมติรับทราบนโยบายทองคำ มีผลให้บริษัทอัคราสามารถยื่นขออาชญาบัตรพิเศษได้ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ไม่ได้มาเดินเรื่องต่อเพราะกลัวจะกระทบต่อรูปคดีนั้น และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ทำให้บริษัทอัคราตัดสินใจมายื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่ ก่อนจะนำไปสู่การอนุมัติตามขั้นตอน

ทั้งนี้ หากบริษัทอัคราสำรวจแร่และสามารถประกอบการทำเหมืองทองคำได้ รัฐจะได้รับประโยชน์จากค่าภาคหลวงแร่ และค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยจากข้อมูลการประกอบการของบริษัทอัครา ในอดีต 2546-2559 รัฐได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีทั้งหมด 5,596 ล้านบาท รวมทั้งมีการจ้างงานในพื้นที่กว่า 2,000 คน

ก.อุตฯ เร่งออกมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า ‘สุริยะ’ สั่งเดินหน้าหนุนนโยบาย EV เต็มสูบ

“สุริยะ” เร่ง สมอ. ออกมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า เดินหน้านโยบาย EV เต็มสูบ ล่าสุดบอร์ด สมอ. ไฟเขียวเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน คาดประกาศใช้ภายในปีนี้ รองรับเทคโนโลยีวีทูจี (Vehicle to Grid - V2G) ให้รถยนต์อีวีเป็นแหล่งไฟฟ้าสำรอง  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ที่มีท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยการจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประกาศใช้แล้วจำนวน 116 มาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบรับรองที่มีความพร้อม เช่น ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้าน EV ให้เกิดการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ให้เป็นไปตามเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV ลดการใช้น้ำมัน ลดการปล่อยไอเสีย รวมทั้งลดฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วย

‘สุริยะ’ ชี้!! อุตสาหกรรมไมซ์ภาคเหนือคึกคัก หลัง ‘ดีพร้อม มอเตอร์ โชว์’ สำเร็จเกินคาด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลสำเร็จการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งเชิงพื้นที่และภูมิภาคให้คึกคักขึ้นกว่าเดิม หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดงาน “ดีพร้อม มอเตอร์ โชว์” (DIPROM MOTOR SHOW 2022) ที่จัดขึ้น ณ จังหวัดลำปาง ส่งผลให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้กว่า 225 ล้านบาท พร้อมเตรียมเดินหน้าผลักดันศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ สอดรับกับนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ที่ต้องการขยายผลด้านธุรกิจและเครือข่ายพันธมิตรไปสู่ระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ท่านนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงไปจัดทําแผนงานต่างๆ เพื่อมอบ ‘ของขวัญปีใหม่ 2565’ ให้กับประชาชน โดยดําเนินการภายใต้นโยบายทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) อำนวยความสะดวกและลดต้นทุนผู้ประกอบการ 2) เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ 3) ยกระดับผู้ประกอบการ และ 4) ดูแลเกษตรกรและประชาชน จึงได้มอบหมาย ดีพร้อม (DIPROM) หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ขานรับนโยบายดังกล่าว ในการจัดมหกรรมแสดงสินค้า DIPROM MOTOR SHOW 2022 จําหน่ายรถยนต์รถจักรยานยนต์ และเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อกระตุ้น ฟื้นฟูเศรษฐกิจและลดภาระให้ผู้บริโภค รองรับการเปิดประเทศหลังปิดประเทศเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และเป็นของขวัญให้กับประชาชน

ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดีพร้อม จึงได้พัฒนาศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือของดีพร้อม ที่เรียกว่า DIPROM Meeting Industrial Conference and Exhibition Center หรือ DIPROM MICE CENTER ณ จังหวัดลำปาง ให้รองรับการจัดประชุมนิทรรศการ หรือ อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้เป็นพื้นที่ในการจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรม ตลอดจนสินค้าชุมชน และสินค้าของเอสเอ็มอี รวมถึง DIPROM MICE CENTER นี้ จะเป็นพื้นที่ในการจัดประชุมสัมมนา หรือเจรจาธุรกิจในภาคเหนือ สำหรับผู้ประกอบการจากทั่วประเทศไทย จึงจะมีบทบาทช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค ทั้งธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจบริการต่างๆ ให้มียอดการเข้าพักและใช้บริการเพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการยกระดับการเติบโตของอุตสาหกรรม ทั้งในระดับพื้นที่จังหวัดลำปาง ระดับภูมิภาคในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ และในระดับประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top