Saturday, 20 April 2024
สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

เน้นประโยชน์คนในชาติ EA ประกาศความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT – EGAT – MEA – PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม

EA ประกาศความความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT - EGAT - MEA - PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบไร้พรมแดน ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม รองรับตลาด EV บูม

เมื่อ 27 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ได้เปิดเผยว่า บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายใต้ชื่อ ‘EAnywhere’ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ‘ความร่วมมือเพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ระหว่าง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ’

โดยประกอบไปด้วย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) - การไฟฟ้านครหลวง (MEA) - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) - บริษัท อรุณ พลัส จำกัด - บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) - บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด - บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด - บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด - บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จํากัด - บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด - บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด - บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 

รถโดยสารไฟฟ้ายกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EA ร่วม ‘ไทยสมายล์บัส’ สร้างเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ เชื่อมต่อทุกการเดินทาง ด้วยรถโดยสารไฟฟ้า

ถือเป็นอีกผลิตผลแห่งเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ จากกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่ปัจจุบันค่อยๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบขนส่งสาธารณะภายในบ้านเรา เพื่อสังคมน่าอยู่ให้กับประเทศ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 

ไม่นานมานี้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ภายใต้แนวคิด ‘We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น’ โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด, นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ อู่บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า ปัจจุบัน EA ได้มีการร่วมมือกับ ไทยสมายล์บัส โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม EA อย่างรถโดยสารไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทยและได้นำเทคโนโลยี Fast Charge ที่เรียกว่า Ultra Fast Charge ซึ่งสามารถชาร์จรถขนาดใหญ่แบบนี้ได้ในเวลาเพียง 15-20 นาทีเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ EA ยังร่วมมือกับบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งเดินเรืออยู่ในคลองแสนแสบ โดยเข้าไปช่วยเปลี่ยนให้เป็นเรือไฟฟ้าทั้งหมด และมีการทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้ เป็นโครงข่ายของคมนาคมที่ทาง EA อยากช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดพลังงานจากรูปแบบเดิมๆ ในทางอ้อมก็ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ลดภาระของประชาชนทั่วไปได้ตามลำดับ”

‘on-ion’ จับมือ ‘เกทเวย์ แอท บางซื่อ’ เปิดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ 66 พร้อมจัดโปรโมชั่นสุดคุ้มส่งท้ายปี 2566 เอาใจผู้เข้าใช้บริการ

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย นางณัฐสุดา สกุลไพสิฐ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์และสนับสนุนองค์กร บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) นางสาวเอกกฤตา แก้วพูลศรี General Manager ศูนย์การค้า เกทเวย์ แอท บางซื่อ และนายนนทวรรษ เรืองจันทร์ Retail Sales and Tenant Services Team Lead ศูนย์การค้า เกทเวย์ แอท บางซื่อ ร่วมเปิดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า on-ion (ออน-ไอออน) เกทเวย์ แอท บางซื่อ ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC Charger) และเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (DC Charger) ขนาดกำลังไฟสูงสุด 40 กิโลวัตต์ รวมทั้งหมด 8 ช่องจอด 

ด้วยประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถเข้าใช้บริการง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมโปรโมชั่นสุดคุ้มส่งท้ายปีให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการภายในศูนย์การค้าครบ 500 บาทต่อวัน รับส่วนลดเครดิตชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าฟรี มูลค่าสูงสุด 50 บาท ตั้งแต่ วันนี้ - 31 มกราคม 2567 หรือจนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ 

นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิพิเศษส่วนลดค่าบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า DC Charger พิเศษเพียง 8.5 บาทต่อหน่วย (จากปกติค่าบริการ 9.5 บาทต่อหน่วย) มาที่นี่ทุกอย่างครบจบไว ได้ทั้งชอปปิ้ง และยังได้ชาร์จไฟรถอีกด้วย โดยกลุ่ม ปตท. ตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ on-ion ให้ทั่วประเทศภายในปี 2567 พร้อมสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและขับเคลื่อนสังคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

‘OR’ เตรียมตั้ง ‘PTT Station’ แบบไร้หัวจ่ายน้ำมัน มีแต่ที่ชาร์จ EV 100% ตั้งเป้า 600 แห่ง ปี 67 และ 7,000 แห่งภายในปี 73 ทั่วประเทศ

เมื่อไม่นานนี้ นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนเปิดสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซปต์แห่งอนาคต ด้วยการไม่มีหัวจ่ายน้ำมันให้บริการ จะมีเพียงแต่สถานีชาร์จไฟฟ้า (Charging Stations) และ ร้านค้าในกลุ่มธุรกิจ Non-Oil เพียงอย่างเดียว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาและวางแผนก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2567

สำหรับ ปัจจุบันแผนการขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (Charging Stations) ในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 500-600 แห่ง ทั่วประเทศ โดยในส่วนของ OR มุ่งเน้นการขยายสถานีชาร์จใน พีทีที สเตชั่น เป็นหลัก และในปี 2573 จะมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 7,000 หัวชาร์จ ตามแผนที่วางไว้ 

ทั้งนี้บริษัทได้ใช้เงินลงทุนราว 600 ล้านบาท ในการก่อสร้างสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 (PTT Station Flagship วิภาวดี 62) ซึ่งเป็นต้นแบบสถานีบริการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่พร้อมสร้างโอกาสให้ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด SDG ในแบบของ OR ในทุกมิติ 

นายดิษทัต กล่าวว่า พีทีที สเตชั่น แฟลกชิป วิภาวดี 62 มีพื้นที่กว่า 5,000 ตารางเมตร และเป็นสถานีบริการที่เป็นต้นแบบ หรือ ‘แฟลกชิป’ (Flagship) ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของ OR โดยมีสัดส่วนของ ธุรกิจ Non-Oil สูงได้ 80% ของสถานี และอีก 20% เป็นธุจกิจ Mobility และยังถือเป็นสถานีบริการต้นแบบสำหรับการออกแบบสู่การขยาย พีทีที สเตชั่น ในอนาคตอีกด้วย

บริษัทยังมีแผนการขยายธุรกิจสู่กลุ่ม Health&Beauty ซึ่งมีแผนที่จะขยายธุรกิจเข้าสู่สินค้าเครื่องสำอางค์และความงาม โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรทางธุรกิจสัญชาติเกาหลี โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 1/2567 รวมถึง ธุรกิจโรงแรม ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วง 5-6 เดือนจากนี้

‘Huawei’ โชว์เหนือ ผุดแท่นชาร์จ EV 1 วินาทีต่อ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาพอๆ กับเติมน้ำมัน-เร็วกว่าแท่นชาร์จ Tesla ถึง 2 เท่า

(15 ก.พ. 67) รายงานข่าวระบุว่า Huawei Technologies ได้เปิดตัวสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งเป็นผลงานของ Huawei Digital Power มีความสามารถในการอัดประจุไฟฟ้าได้มากถึง 600 kW และโฆษณาว่า “ทุกการชาร์จ 1 วินาที จะได้ระยะเพิ่มขึ้น 1 กม.” นั่นหมายความว่า ชาร์จเพียง10 นาทีจะวิ่งได้ระยะทางไกล 600 กม. ซึ่งใช้ระยะเวลาใกล้เคียงกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและเร็วกว่าสถานี Supercharger ของ Tesla ถึง 2 เท่า

ทั้งนี้ Huawei วางแผนขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูงดังกล่าวด้วยจำนวนกว่า 1 แสนแห่งในประเทศจีนภายในปีนี้ โดยผ่านการร่วมมือกับเจ้าของพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ศูนย์การค้า รวมถึงบริเวณใกล้เคียงมอเตอร์เวย์ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งสถานีชาร์จความเร็วสูงของ Huawei นั้นสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกรุ่นทุกแบรนด์

ปัจจุบัน ประเทศจีนมีสถานีชาร์จราว 2.7 ล้านแห่ง ตามข้อมูลของพันธมิตรส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของจีน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 40% ภายในปีนี้ แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นหัวชาร์จเร็ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top