Friday, 26 April 2024
วิโรจน์

ค้านตั้ง ศบค.ส่วนหน้า 'วิโรจน์' ชี้ โควิดชายแดนใต้ จะคลี่คลายได้ต้องอาศัยความไว้วางใจ ไม่ใช่ความมั่นคง 

ต่อกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  มีคำสั่งจัดตั้ง ศบค.ส่วนหน้า เพื่อเข้าไปจัดการสถานการณ์โควิด-19 ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุว่า จากการหารือกับคณะทำงานของพรรคก้าวไกลในพื้นที่ ทำให้รับทราบว่าอุปสรรคสำคัญในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ขณะนี้ หลักๆ มีอยู่ 2 ปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรก คือ การที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ยินยอมฉีดวัคซีน ซึ่งในประเด็นนี้ รัฐบาลไม่ควรมองปัญหาอย่างผิวเผิน และด่วนสรุปว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ หากรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ กล้าที่จะถามตัวเองว่า “เหตุใดประชาชนถึงไม่ให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีน” ก็จะหาคำตอบได้ไม่ยาก นั่นก็คือ “ประชาชนไม่มีความไว้วางใจในรัฐบาล จากกรณีข่าวการซ้อมทรมาน และการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชน ที่ปรากฎตามหน้าสื่ออยู่เป็นระยะๆ” พอประชาชนไม่ไว้วางใจรัฐบาล ก็เป็นการยากมากๆ ที่ประชาชนจะเต็มใจปฏิบัติตามคำแนะนำจากรัฐบาลในการควบคุมการระบาดของโรค ยิ่งการฉีดวัคซีน เป็นการนำเอาสารชีววัตถุที่เป็นของใหม่ ที่การเข้าถึงข้อมูลยังคงอยู่ในระดับที่จำกัด ยิ่งทำให้ประชาชนที่ไม่ไว้วางใจรัฐบาลอยู่เป็นทุนเดิม มีความระแวงที่จะฉีด ปัญหานี้จะแก้ด้วยการใช้อำนาจบังคับแบบตรงๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยความเข้าใจผ่านผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และบุคคลที่ประชาชนในพื้นที่ให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นกลไกในการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่มาเข้ารับการฉีดวัคซีน

"การจัดตั้ง ศบค.ส่วนหน้า แล้วใช้อำนาจบังคับแบบทันทีทันใด เป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น สมมติหากมีการใช้อำนาจบังคับ หรือกึ่งบังคับ ให้ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีน จริงอยู่ที่ในระยะสั้นอาจจะบังคับเกณฑ์ประชาชนมาฉีดวัคซีนได้เป็นจำนวนมากได้ แต่ต้องยอมรับว่าการฉีดวัคซีนนั้น แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่ไม่มากนัก แต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับประโยชน์ในการปกป้องชีวิตของทั้งตัวเอง และคนในครอบครัวจากโรคระบาด ก็ยังถือว่าการฉีดวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น และมีความคุ้มค่าที่จะฉีด ถ้าหากประชาชนที่ถูกเกณฑ์มาฉีดไม่เข้าใจในประเด็นนี้ และเมื่อมีประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับผลข้างเคียง หรือมีอาการไม่พึงประสงค์หลังจากที่ฉีดวัคซีน ความไม่เข้าใจที่ถูกรัฐบังคับ ก็จะกลายเป็นความโกรธแค้น และจะทำให้ความขัดแย้ง และความไม่ไว้วางใจในรัฐบาลชองประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้น"

วิโรจน์ ระบุต่อไปว่า แทนที่รัฐบาลจะจัดตั้ง ศบค.ส่วนหน้า ขึ้นมาใช้อำนาจซ้ำซ้อน รัฐบาลควรใช้กลไกของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่า โดยมีการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ และกำลังคนให้แก่ ศอ.บต. อย่างเต็มที่

ปัจจัยที่สอง ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแตนภาคใต้ ก็คือ ความพร้อมทางด้านทรัพยากรบุคคล ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและกักกันโรคประจำชุมชน (Community Isolation Center)

"วิโรจน์" ซัด "กลาโหม"  งดรับนักท่องเที่ยวคุมโอมิครอน แต่ยังให้ รด. ฝึกภาคสนามที่เขาชนไก่ ถาม กองทัพเตรียมมาตรการป้องกันไว้หรือยัง ฉะ "ประยุทธ์" ถ้าเกิดคลัสเตอร์ใหม่ต้องรับผิดชอบ 

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ว่า ปัจจุบันรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขต่างก็ตระหนักและกังวลถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นอย่างดี เพราะเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวด ทั้งในสหรัฐ อังกฤษ และอีกหลายประเทศใน EU ที่กำลังประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดอย่างหนัก โดยที่อังกฤษ สายพันธุ์โอมิครอนใช้เวลาเพียงแค่ 14-21 วัน หลังจากที่พบการติดเชื้อภายในประเทศ ก็ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในการแพร่ระบาด

นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นรายแรกแล้ว เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนเสริมภูมิเข็มที่ 3 ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสกัดการแพร่ระบาดของโอมิครอนยังฉีดไปได้เพียง 7.98% เท่านั้น (ข้อมูลจากระบบหมอพร้อม เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.64) และเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา ศบค. เพิ่งมีมติให้ระงับการลงทะเบียนขอเข้าประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์และ Test&Go ยกเว้นภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดยเริ่มตั้งแต่ 21 ธ.ค. 64 - 4 ม.ค. 65 สะท้อนว่า รัฐบาลตระหนักดีถึงอัตราการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ที่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมากและไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ตนได้ทราบจากพ่อแม่ผู้ปกครองและนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) ว่ากระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก ยังมีแนวคิดที่จะจัดการฝึกภาคสนามให้แก่นักศึกษาวิชาทหารที่เขาชนไก่ ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจน รด. มีข้อสงสัยว่า กองทัพบกยังคงยืนยันที่จัดการฝึกภาคสนามอยู่หรือไม่ และกรณีที่ทางกองทัพบกยืนยันที่จะจัดการฝึก ก็ต้องตั้งข้อสงสัยต่อว่ากองทัพบกได้เตรียมมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ต่างๆ ไว้อย่างรัดกุมแล้วหรือไม่ เช่น การตรวจคัดกรอง รด. ก่อนเข้ารับการฝึกภาคสนาม การปรับรูปแบบการฝึกให้มีการรักษาระยะห่างระหว่างกัน การเตรียมแพทย์สนามไว้ดูแลนักศึกษาที่เจ็บป่วยและต้องสงสัยว่าอาจเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างการฝึก ตลอดจนการดูแลเรื่องสุขอนามัยต่างๆ ภายในสถานที่ฝึก นอกจากนี้ ต้องตั้งคำถามเพิ่มเติมด้วยว่า หากมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นจากการฝึกภาคสนามที่เขาชนไก่ กองทัพบกได้เตรียมมาตรการในการรับผิดชอบต่อสังคมเอาไว้อย่างไร ซึ่งในวันที่ 22 ธ.ค.นี้ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหารจะมีการจัดประชุมเรื่องการฝึกภาคสนามที่เขาชนไก่ประจำปีการศึกษา 64 ห้วงเดือนม.ค.-มี.ค. 65 เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก และไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่พ่อแม่ผู้ปกครองและรด.เท่านั้น เพราะหากมีการแพร่ระบาดของโอมิครอนในวงกว้าง ก็จะกระทบกับชีวิต และปากท้องของประชาชนทุกคนในประเทศ

“เรื่องนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงกลาโหม จะต้องชี้แจงให้กับสาธารณชนได้รับทราบอย่างชัดเจน เพื่อให้ประชาชนทุกคนมั่นใจว่า การจัดฝึกภาคสนามให้แก่นักศึกษาวิชาทหารที่จะเกิดขึ้น กองทัพบกได้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไว้อย่างรอบคอบแล้ว และหากการฝึกภาคสนามดังกล่าวกลายเป็นคลัสเตอร์แพร่ระบาดโควิด-19 ไปสู่สังคมในวงกว้าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เตรียมแผนในการจำกัดวงในการแพร่ระบาดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน” นายวิโรจน์ กล่าว 

‘กรุงเทพฯ แบบไหนที่​ 'ผม'​ ต้องการ?’ | Click on Clear THE TOPIC EP.135

📌 ‘กรุงเทพฯ’ ในฝันต้องเป็นแบบไหน? หาคำตอบไปกับ ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร' ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝีปากกล้าแห่งพรรคก้าวไกล! 

📌ใน Topic : ‘กรุงเทพฯ แบบไหนที่​ 'ผม'​ ต้องการ?’ 

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

‘วิโรจน์’ เชื่อแนวทาง ‘ก้าวไกล’ โดนใจคนกรุง ชูแนวคิด 'เมืองที่คนเท่ากัน' พร้อมเปิด 12 นโยบายหลัก 27 มีนาคมนี้

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคก้าวไกล ร่วมเวทีเสวนาวิชาการ BKK move forward ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 65 โดยวิโรจน์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวภายในงานถึงความพร้อมในการลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และการเปิดตัวนโยบายเพื่อสร้าง "เมืองที่คนเท่ากัน" ในวันที่ 27 มีนาคมที่จะถึงนี้ วิโรจน์ตอบผู้สื่อข่าวภายในงานและย้ำถึงความมั่นใจในศึกเลือกตั้งครั้งนี้

ระหว่างการสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงความมั่นใจภายหลังคะแนนนิยมจากผลโพลเพิ่มขึ้นในรอบเดือนที่ผ่านมา วิโรจน์ ได้ให้ความเห็นว่า ความนิยมของตนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนความต้องการของคนกรุงเทพที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของพรรคก้าวไกล วิโรจน์ยังย้ำว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ไม่ได้มีแค่ตนเพียงคนเดียว แต่ยังมีทีมที่พร้อมซัพพอร์ตอยู่เบื้องหลังอย่างพรรคก้าวไกล พร้อมชูจุดเด่น "สามประสาน" ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากพรรคก้าวไกลเป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวที่ได้ส่งว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พร้อมทั้งผู้สมัครส.ก. ครบทีม และมีส.ส. เขต ทำงานในพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งจะช่วยให้คนกทม. สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะจะมีการทำงานอย่างอย่างไร้รอยต่อ สอดประสานราบรื่นในแง่ของงบประมาณ นโยบาย และความรวดเร็ว

'วิโรจน์' เยือนศาลเจ้าแม่ทับทิม ชี้!! การพัฒนาเมืองต้องคำนึงถึงจิตวิญญาณชุมชน 

วิโรจน์ เยือนศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง พร้อมยกตัวอย่างว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ล้มเหลว หวังกทม. ถอดบทเรียนการพัฒนาพื้นที่ที่ไม่ทิ้งผู้คน

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล พร้อมด้วยกลุ่มนิสิตจุฬาฯ พิทักษ์ศาลเจ้าแม่ทับทิม เดินทางไปยังศาลเจ้าแม่น้ำทับทิม สะพานเหลือง ในเวลา 09.00 น. เพื่อพูดคุยสอบถามและรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีการไล่ที่ประชาชนและพยายามย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมไปไว้ที่สถานที่ใหม่

บริบททางประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง เป็นศาลเจ้าที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยชุมชนชาวจีนอพยพที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่อย่างร่วมสมัยผ่านกาลเวลา เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่เป็นย่านธุรกิจ ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายศาลดั้งเดิม ที่มีคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมและคุณค่าทางจิตใจ โดยในกรณีนี้ วิโรจน์ให้ความเห็นกับผู้สื่อข่าวว่า การพัฒนาเมืองต้องคำนึงถึงหัวใจและจิตวิญญาณของชุมชนด้วย ไม่ใช่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของทุนใหญ่

วิโรจน์ ล้อมวงคุย สวน 100 ปีจุฬา ชี้ มีอีกหลายที่ในกรุงเทพมีศักยภาพพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แต่นายทุนกลับเอาไปปลูกกล้วย ชู ยกเว้นภาษี แลกให้ กทม. พัฒนา

เย็นวันนี้ (10 เมษายน 2565) วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรุณพล เทียนสุวรรณ อดีตผู้สมัคร สส.เขตหลักสี่ พร้อมด้วยณัฏฐ์  อิศรางกูร ณ อยุธยาผู้สมัคร สก.เขตปทุมวัน พรรคก้าวไกลเดินทางไปยังอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาตัวอย่างสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว โดยมีผู้ที่มาพักผ่อนในอุทยานเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิโรจน์ในมุมมองของกรุงเทพเมืองที่คนเท่ากัน 

โดยวิโรจน์กล่าวว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่จะสามารถทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่คนเท่ากันได้คือการมีพื้นที่สาธารณะให้แก่พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์ได้จริง

แน่นอนว่าอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือตัวอย่างพื้นที่สาธารณะที่วาดฝันอยากให้มีทั่วกรุงเทพฯ

“นี่คือตัวอย่างสวนสาธารณะที่ดีที่เราอยากเห็น สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้งาน มากกว่าเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว” 

เราอยากเห็นพื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะที่ประชาชนใช้งานได้จริง มากกว่าเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อความสวยงามแต่ประชาชนไม่สามารถใช้งานได้

พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครทุกวันนี้จำนวนมากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จริง ต้นไม้ที่อยู่เกาะกลางถนน หรือต้นไม้ที่แปะไว้บนตอม่อบีทีเอสก็ถูกนับรวมเป็นพื้นที่สีเขียว

'ดร.อานนท์' ถาม 'วิโรจน์' ขีดฆ่าชื่อเต็มกรุงเทพฯ สื่อถึงต้องการทำลายกทม.-ประเทศไทย-สถาบันฯ ใช่หรือไม่?

(14 เม.ย. 65) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกล่าวถึงพรรคก้าวไกลจัดทำป้าย/banner หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่มีการขีดฆ่าชื่อเต็มกรุงเทพมหานคร ว่าอย่างนี้เราสมควรเลือกเข้ามาไหมครับ คนกรุงเทพมหานครฯ กรุณาใช้วิจารณญาณ อ่านความคิด ของพวกมนุษย์สเปโต ตกลงการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ของนายวิโรจน์และพรรคก้าวไกล มีแต่ความต้องการทำลายล้างกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่

พรรคก้าวไกล ทำป้าย/banner หาเสียงผู้ว่ากทม. โดยนายวิโรจน์ นำชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร ที่รัชกาลที่ 4 ทรงผูกไว้อย่างงดงาม เอามาขีดฆ่าออก ตั้งแต่หลังคำว่ากรุงเทพมหานคร เป็นต้นไป ลองมาดูคำแปล ชื่อกรุงเทพมหานครกันนะครับ จะได้เข้าใจว่าสิ่งที่พรรคก้าวไกลและนายวิโรจน์ใช้หาเสียง เลวร้ายแค่ไหน

กรุงเทพมหานคร : พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร
อมรรัตนโกสินทร์ : เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต
มหินทรายุธยา : เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะ
มหาดิลกภพ : มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง
นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ : เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง
อุดมราชนิเวศมหาสถาน : มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย
อมรพิมานอวตารสถิต : เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา
สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ : ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
ต้นเรื่อง : นิตยสารสารคดี มกราคม 2540

'วิโรจน์' ร่ายยาว หลังถูกกังขาเหตุขีดฆ่าชื่อกรุงเทพฯ 'ท่านใหม่' โต้กลับ ขอให้ได้ทำตามความฝัน ลมๆ แล้งๆ

(14 เม.ย. 65) จากกรณีนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคก้าวไกล ได้จัดทำป้าย/banner หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่มีการขีดฆ่าชื่อเต็มกรุงเทพมหานคร จากนั้น ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ โพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถามว่า อย่างนี้เราสมควรเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ การหาเสียงดังกล่าวต้องการทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ ทำให้นายวิโรจน์ ไม่พอใจพร้อมตอบโต้กลับไปว่า...

"คุณเป็นอะไรของคุณ"

ตกลงเราควรให้ความสำคัญกับอะไรในเมืองๆ นี้?

คน หรือยศถาบรรดาศักดิ์? 

ชื่อเมือง หรือเลือดเนื้อชีวิตของคนที่อยู่ในเมือง?

กรุงเทพเป็นเมืองที่คนอยู่ หรือเทพอยู่?

ความเจริญงอกงามของเมือง เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของคน และความรู้สึกว่าเราทุกคนเป็นเจ้าของเมืองๆ นี้ ไม่ใช่หรือ?

การตีความให้เมืองๆ นี้ เป็นเมืองศักดินา ของคนที่มียศถาบรรดาศักดิ์ แล้วกดให้ประชาชนเป็นเพียงไพร่ทาส ผู้รับใช้เหล่าขุนหลวงพระยา นับวันมีแต่จะทำให้เมืองๆ นี้ กลายเป็นเมืองที่คนจำอยู่อย่างสิ้นหวัง ยอมจำนนต่อโชคชะตา เมื่อเวลาผ่านไป เมืองๆ นี้ มีแต่จะกลายเป็นเมืองที่ต้องคำสาป หยุดการพัฒนา คนที่มีความฝันต้องผันตัวไปอยู่ต่างประเทศ คนมีเงินก็ขนเงินไปลงทุนที่อื่น สุดท้ายคนที่อยู่อาศัยในเมือง ก็จะทยอยแก่ตัวลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา และจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุที่ขาดเงินออม ในเมืองที่ไร้สวัสดิการ

ผมว่าพฤติกรรมที่ควรหมดไปจากสังคมนี้ได้แล้ว คือการเอาอคติของตน มาอวยยกตัวเองว่าจงรักภักดี แล้วเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ มาใช้เพื่อโจมตีประชาชนที่คิดต่างจากตน

พฤติกรรมที่นำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ มาใช้เพื่อแบ่งแยกประชาชน ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม ไม่ว่าจะมีเจตนา หรือไม่มีเจตนา ควรจะเลิกได้แล้ว

ผู้ว่ากรุงเทพ มีหน้าที่ในการทำให้เมืองๆ นี้ เป็นเมืองที่คนไม่ว่าจะจน หรือรวย อยู่ร่วมกันได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนกัน ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน สวัสดิการที่ดีเสมอภาคกันจะทำให้คนกล้าฝัน กล้าบุกเบิก ทำให้คนมีกำลังซื้อ กล้าซื้อ เมืองก็มีการบริโภค พอเมืองมีการบริโภค เมืองก็จะมีการลงทุน พอมีการลงทุน ก็เกิดการจ้างงานใหม่ๆ เกิด Supply Chain ใหม่ เกิดแหล่งลงทุนใหม่ๆ ทุกๆ คนก็มีโอกาสตั้งตัวได้ หลุดพ้นจากความยากจนได้ เมืองแบบนี้ไม่ใช่หรือ คือเมืองที่มีความหวัง

พอเสียทีเถอะ เมืองที่เอื้อให้กลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มหนึ่งรวยได้ เพราะรู้ข้อมูลวงในก่อนใคร รวยได้เพราะได้อภิสิทธิ์จากกติกาที่ไม่เป็นธรรม รวยได้เพราะเส้นเพราะเครือข่ายอุปถัมภ์

ความร่ำรวยแบบนี้ มันไม่ใช่ความมั่งคั่งที่น่าภูมิใจ แต่เป็น การสูบเลือดสูบเนื้อทำนาบนหลังประชาชน พอกลุ่มทุนเหล่านี้ต้องออกไปแข่งขันในเวทีโลกด้วยกติกาที่เป็นสากล ก็ไม่เคยที่จะประสบความสำเร็จ สุดท้ายต้องบากหน้า กลับมาสูบเลือดสูบเนื้อประชาชนในประเทศเหมือนเดิม

ยืนยันครับว่า กรุงเทพ ที่สามารถเป็นเมืองที่เป็นความหวังของทุกๆ คน ไม่ว่าจะยากดีมีจน จะต้องเริ่มต้นจาก #เมืองที่คนเท่ากัน เท่านั้นครับ

#วิโรจน์ก้าวไก่ #วิโรจน์ก้าวไกล 

หั่นงบโปรโมตรัฐ!! ‘วิโรจน์’ ชี้ รัฐสวัสดิการที่ดีทำได้ เพียงแบ่งเค้กเท่าเทียม แนะ หั่นงบ PR รัฐ เพิ่มขนาดเค้ก กทม.

วิโรจน์ชี้ สร้างรัฐสวัสดิการที่ดีทำได้จริง ไม่ใช่แค่เพิ่มขนาดเค้ก แต่ต้องแบ่งเค้กเท่าเทียม ปกป้องเค้กของประชาชนไม่ให้มือดีแอบกิน พร้อมเสนอ 5 นโยบายทำได้ทันทีเพื่อเพิ่มขนาดเค้ก กทม. รวมถึงการตัดงบ PR ภาครัฐ ซึ่งใช้เงินมหาศาลโดยประชาชนไม่ได้ประโยชน์ 

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สัครผู้ว่าฯ กรุงเทพ เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย ว่าด้วยการจัดทำรัฐสวัสดิการที่ดี ต้องเพิ่มขนาดเค้ก หรือขนาดรายได้ของรัฐก่อน โดยวิโรจน์ยืนยันว่าการเพิ่มขนาดเค้กเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องแบ่งเค้กอย่างเป็นธรรม และปกป้องเค้กของประชาชนไม่ให้ถูกเบียดบัง มิฉะนั้นต่อให้เค้กก้อนใหญ่ขึ้นแค่ไหน ประชาชนก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์ 

“หากเราไม่สนใจที่จะจัดสรรอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าเค้กจะใหญ่ขึ้นสักเท่าใดคนที่ได้รับประโยชน์ก็จะไม่ใช่ประชาชนอยู่ดี และอันที่จริง เค้กของประเทศไทยไม่ใช่ว่าจะไม่ใหญ่ขึ้น แม้ GDP ไทยจะโตช้ากว่าเพื่อนบ้าน แต่ก็โตทุกปี แต่ในขณะที่เค้กใหญ่ขึ้น คนจนกลับจนลง คนรวยกลับยิ่งรวย จนประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เหลื่อมล้ำที่สุดในโลก การจัดสรรอย่างเป็นธรรมจึงต้องทำทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้เค้กใหญ่ขึ้นก่อนแล้วค่อยจัดสรร” วิโรจน์กล่าว

วิโรจน์ยังเสนออีกว่า หากเปรียบงบประมาณทั้งหมดเป็น เค้ก 1 ก้อน เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อสร้างเมืองที่คนเท่ากัน มี 3 สิ่งที่ต้องทำไปพร้อมกัน ได้แก่

1. ปกป้องเค้กของประชาชน มีตัวอย่างมากมายที่เค้กถูกตัดไปใช้ในโครงการที่ประชาชนแทบไม่ได้ประโยชน์ หนักไปกว่านั้นคือมีคนแอบกินเค้ก จากที่เล็กแทบจะไม่พออยู่แล้วก็ยิ่งเหลือน้อยลงไปอีก แต่เราก็ไม่เคยเห็นผู้ว่าฯ คนไหนลุกขึ้นมาปกป้องเค้กของประชาชน

ต่างเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะคนที่จะมาปาดหน้าหรือแอบกินได้ หากไม่ใช่พวกพ้องที่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจแล้ว ก็ต้องเป็นคนใหญ่โต ผู้มีบารมี ไม่ใช่ตาสีตาสา อะไรที่ไม่จำเป็น อะไรที่ฟุ่มเฟือย ผู้ว่าฯ ต้องกล้าหาญพอที่จะตัดทิ้ง รวมถึงการแอบเบียดบังเค้กก็ต้องถูกจัดการให้หมดไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งเค้กของประชาชน

2.แบ่งเค้กอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าเค้กจะก้อนเล็กหรือใหญ่ มันจะต้องถูกจัดสรรอย่างเป็นธรรมและรัฐสวัสดิการคือหนึ่งในสิ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำและทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นในสังคม

3. ทำให้เค้กก้อนใหญ่ขึ้น หากเราทำข้อ 1 และ 2 ได้ดี เค้กก็จะดูใหญ่ขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะการแบ่งที่เท่าเทียม และการป้องกันไม่ให้ใครมาเบียดบังแอบกินเค้ก

อย่างไรก็ตามด้วยงบประมาณที่มี แม้เราจะสามารถสร้างรัฐสวัสดิการได้ แต่ก็ยังไม่ดีพอเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการที่ดีกว่านี้ เราจำเป็นต้องทำให้เค้กใหญ่ขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

วิโรจน์เสนอว่า สำหรับ กทม. สิ่งที่ผู้ว่าฯ สามารถทำได้ทันทีเพื่อให้ได้เค้กก้อนที่ใหญ่ขึ้น ได้แก่การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีป้ายให้ครบถ้วน เพราะทุกวันนี้ กทม. ปล่อยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ เจ้าของห้างสรรพสินค้า นายทุนพลังงาน นายทุนทหาร เอาที่ไปล้อมรั้วปลูกกล้วย แยบยลกว่านั้นคือการซอยที่ให้เป็นที่เส้นก๋วยเตี๋ยวหรือที่ตาบอดเพื่อเลี่ยงภาษี ส่วนภาษีป้ายโฆษณา ปัจจุบัน กทม. จัดเก็บเข้าระบบได้เพียง 30-40% เท่านั้น ที่เหลือเป็นป้ายเถื่อนที่ใช้ระบบมาเฟียเส้นสาย ทำกำไรมหาศาลโดยไม่เข้ารัฐ

อีกช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้กทม. คือการกำหนดค่าธรรมเนียมขยะใหม่ กทม. มีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะปีละ 7,000 ล้าน (หรือ 12,000 ล้าน หากรวมค่าจ้าง ค่าเสื่อมราคา ค่าซ่อมแซมรถขนส่งขยะ)  ต่เก็บค่าธรรมเนียมจัดการขยะได้เพียง 500-600 ล้านบาทต่อปี วิโรจน์ยืนยันว่ารัฐสามารถขาดทุนเพื่อให้บริการสาธารณะได้ แต่รัฐไม่ควรขาดทุนเพื่อโอบอุ้บนายทุน เพราะเมื่อลงไปดูรายละเอียดเราจะพบว่าเหล่าห้างสรรพสินค้าทั้งหลายที่ผลิตขยะเป็นจำนวนมหาศาลกลับจ่ายค่ากำจัดขยะเพียงเดือนละไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น

ปริญญ์เอฟเฟค! ‘ซูเปอร์โพล’ เผย ‘ปริญญ์เอฟเฟค’ เขย่าศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ส่งผลเพิ่มคะแนนนิยม ‘สกลธี-วิโรจน์’ ขณะ ‘ชัชชาติ’ ยังนำ

(17 เม.ย. 65) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ปริญญ์ เอฟเฟค เลือกตั้ง กทม. กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 1,548 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 – 16 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 48.5 ติดตามข่าว เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.3 ติดตามปานกลาง และร้อยละ 19.2 ติดตาม น้อยถึงไม่ติดตามเลย

เมื่อถามถึง การรับรู้ข่าว นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ของคน กทม. พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 46.3 รับรู้มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 31.3 รับรู้ปานกลาง และร้อยละ 22.4 รับรู้น้อย ถึงไม่รู้เลย

ที่น่าพิจารณาคือ ผลกระทบของข่าว นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่า กทม. หลังจากทดสอบค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แม้มีค่าติดลบ คือ -.029 ก็ตาม นอกจากนี้ ไม่มีนัยสำคัญต่อผู้สมัครคนอื่นด้วย เช่น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้ติดค่าลบจากข่าวนายปริญญ์ฯ เช่นกัน คือ -.054 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีค่าเป็นบวก คือ +.054 แต่ไม่มีนัยสำคัญ

ที่น่าสนใจคือ มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. สองคนที่ผลการทดสอบ ปริญญ์เอฟเฟค พบว่า มีค่าผลกระทบเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติคือนายสกลธี ภัททิยกุล ได้ +.161 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่าร้อยละ 99 รวมถึงนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ที่ได้รับผลกระทบในทางบวกคือได้ +.091 และมีนัยสำคัญทางสถิติกว่าร้อยละ 90 ตามลำดับ ส่วนผู้สมัครท่านอื่น ทดสอบผลกระทบของ ปริญญ์ เอฟเฟค แล้ว ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความหมายคือ ไม่มีผลกระทบอะไรต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ของคน กทม.

เมื่อถามถึง การตัดสินใจเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ของ คน กทม. เปรียบเทียบระหว่าง ครั้งแรก และ ครั้งที่สอง หลังมีการลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว พบว่าแนวโน้มคนจะเลือก เพิ่มขึ้นทุกคน แต่อันดับสลับกันอยู่บ้าง กล่าวคือ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังคงนำเพิ่มจาก ร้อยละ 20.3 ในครั้งที่ 1 มาเป็นร้อยละ 24.5 ในครั้งที่ 2 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในครั้งที่ 1 มาเป็น ร้อยละ 13.9 ในครั้งที่ 2


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top