Friday, 29 March 2024
ราชบุรี

จังหวัดราชบุรี แถลงสถานการณ์โควิด-19 หลังพบผู้ป่วยเพิ่มจากคลัสเตอร์ตลาดบางแค

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2564 ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมแพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ แพทย์ประจำสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และนายแพทย์ชวนนท์ อิ่มอาบ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ร่วมกันแถลงรายงานสถานการณ์ โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาดของจังหวัดราชบุรี

โดยสถานการณ์ โควิด-19 จังหวัดราชบุรีช่วงวันที่ 11 - 17 มีนาคม 2564 จังหวัดราชบุรีพบผู้ป่วยยืนยัน รายใหม่ 12 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันระลอกใหม่ปัจจุบัน จำนวน 46 ราย ขณะนี้รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 13 ราย รักษาหาย 33 ราย ทั้งนี้ผู้ป่วยรายใหม่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดที่เขตบางแค จากการตรวจเชิงรุกของ กทม. พบเป็นชาวจังหวัดราชบุรี  4 ราย และมีผู้สัมผัสสี่ยงสูงในครอบครัว พบไทม์ไลน์ไปหลายพื้นที่ของจังหวัดราชบุรี จนขยายวงเชื่อมโยงไปถึงบุคคลในโรงเรียนเอกชน สถานที่ราชการ

ประกอบด้วย รายที่ 35 เพศชาย อายุ 28 ปี ตำบลดอนกระเบื้อง อำเภอบ้านโป่ง อาชีพค้าขายที่ตลาดวันเดอร์ บางแค

รายที่ 36,37,38 เพศชาย จำนวน 1 คน  อายุ 49 ปี เพศหญิง จำนวน 2 คนอายุ 47 ปี และ อายุ 41 ปี อาศัยที่ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง อาชีพค้าขายที่ตลาดวันเดอร์ บางแค กทม. รักษาที่ รพ.ราชบุรี 

รายที่ 39,40 เป็นเพศหญิงอายุ 24 ปี และอายุ18 ปี เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของรายที่ 36,37 อาชีพรับราชการ และนักเรียนตามลำดับ รักษาที่ รพ.ราชบุรี

รายที่ 41,42.43 เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรายที่ 37 เพศชาย อายุ 48 ปี เพศหญิง อายุ 39 ปี เด็กหญิง อายุ 7 เดือนอาศัยที่ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง มีอาชีพรับราชการ รักษารพ.ราชบุรี

รายที่ 44 เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงรายที่ 40 เพศหญิง อายุ 18 ปี ตำบลป่าไก่ อำเภอปากท่อ เป็นนักเรียน รักษาที่ รพ.ปากท่อ

รายที่ 45 เป็นผู้สัมผัสเสียงสูงรายที่ 40 เพศหญิง อายุ 18 ปี ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา เป็นนักเรียน รักษาที่ รพ.บ้านคา

รายที่ 46 เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงซึ่งทำงานที่เดียวกันกับรายที่ 42 เพศหญิง อายุ 34 ปี อาชีพรับราชการ รักษา รพ. ราชบุรี

ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยรายใหม่ ทั้งหมดได้รับการตรวจแล้ว อย่างไรก็ดีหากสงสัยว่าสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายใหม่ หรือมีประวัติเดินทาง ไปตลาด ทั้ง 6 แห่ง ย่านบางแค ให้รีบปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อรับการคัดกรอง ประเมินความเสี่ยงและพิจารณาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หลีกเสี่ยงเดินทางไปในชุมชนแออัด


ข่าว/ภาพ : สุพจน์ วรสหวัฒน์ จ.ราชบุรี รายงาน

เครื่องดนตรีจากผลไม้ ศิลปะสุดทึ่งของครูเกษียณ ชาวบ้านโป่ง

สุดว้าว !! "เครื่องดนตรีจากผลไม้" ศิลปะสุดทึ่ง ของอดีตข้าราชการครูเกษียณวิชาดนตรี "อาจารย์วิรัช ขำมาลัย" วัย 67 ปี นักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี

(29 มี.ค.64) เครื่องดนตรีไทยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีเสียงที่ไพเราะและแตกต่างกับเครื่องเล่นจากประเทศอื่น ๆ เครื่องดนตรีแต่ละอย่างจะมีความไพเราะและนุ่มนวลเฉพาะตัวของมัน และแบ่งประเภทออกมาได้ทั้งหมด 4 ประเภทนั่นคือ ดีด สี ตี และเป่า แต่ละประเภทจะมีเสียงที่แตกต่างกัน แต่เมื่อไหร่ที่นำมาเข้าจังหวะด้วยกันจะเกิดทำนองเพลงที่ไพเราะ ซึ่งชาติไหนก็ไม่สามารถเทียบความไพเราะของเครื่องดนตรีไทยได้ เครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีจำพวก จะเข้  เครื่องสีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ซอ เครื่องตีเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ระนาด ฆ้อง กลอง เครื่องเป่าเป็นเครื่องดนตรีจำพวก ขลุ่ย ปี่ เป็นต้น

วัสดุที่สร้างเครื่องดนตรีไทย ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้วค่อย ๆ มาปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรื่อย ต้นไผ่ และกระดูกสัตว์ กะลามะพร้าว แผ่นอลุมิเนียม ไฟเบอร์กลาส หนังสัตว์ และวัสดุที่ให้ความคงทนแข็งแรง ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

แต่ที่บ้านคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลับมีอดีตครูวัยเกษียณ ที่พร่ำสอนดนตรีไทยมายาวนานกว่า 50 ปี แม้จะเกษียณอายุราชการมาแล้ว ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสาสอนวิชาดนตรีให้กับนักเรียน ด้วยแถมยังเป็นที่รู้จักกันว่า ครูนักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์ เครื่องดนตรีพิสดาร ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาศิลปะการแสดงประจำปี พ.ศ.2542 ที่หยิบจับผลไม้ หรือ ภาชนะเหลือใช้เป็นเครื่องดนตรี

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปที่บ้านของครูนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีพิสดารคนดังกล่าว ตั้งอยู่ใน บ้านคุ้งพยอม หมู่ที่ 12 ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นบ้านของ นายวิรัช ขำมาลัย อายุ 67 ปี หรือ ที่รู้จักกันครูวิรัช เป็นอดีตข้าราชการครูวัยเกษียณ แต่ปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็นครูจิตอาสายังคงทำหน้าที่สอนวิชาดนตรีไทยให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ

ครูวิรัช เล่าว่า ตนเองเป็นครูตั้งแต่อายุ 18 ปี และสอนจนเกษียณ รวมแล้วเกือบ 50 ปี เป็นครูสอนดนตรี และ สอนเด็กอนุบาล ส่วนเครื่องดนตรีที่ตนเองได้คิดขึ้นมาเอง และเป็นคนสร้างขึ้นมานั้นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่า อาทิ ทุเรียน แอปเปิล ชมพู่ หรือแม้แต่ แตงร้าน นอกจากผลไม้ก็ยังนำ สาก มาใช้ทำเครื่องดนตรีอีกด้วย งานนี้คำว่า "เงียบเป็นเป่าสาก" ทำให้รู้ว่าน่าจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป รวมไปถึงเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกมายมาย ไม่ว่าจะเป็น ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่ จากไม้ไผ่ และกีตาร์ไฟฟ้า จากไม้ทีของนักศึกษาอาชีวะ

ซึ่งครูวิรัช ขำมาลัย ได้พาผู้สื่อข่าวไปที่ตลาดในเทศบาลเมืองบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง เพื่อเลือกซื้อผลไม้ ที่จะนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี อาทิ ชมพู่ ละมุด กล้วย มะละกอ มะระ แตงกวา มะม่วง เพื่อพิสูจน์ให้ผู้สื่อข่าวดูว่าจะสามารถทำเป็นเครื่องดนตรีได้หรือไม่ โดยหลังจากเลือกเสร็จ ครูวิรัชได้ นำกลับเตรียมให้วัสดุในการประดิษฐ์ก็จะประกอบไปด้วย มีด ดอกสว่าน ไขควง ประแจหกเหลี่ยม ช้อน และที่ขาดไม่ได้คือ กำกวด หรือ ลิ้น เป็นส่วนประกอบของปี่ซึ่งทำให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่ ที่จะทำให้กำเนิดเสียงในผลไม้ ทำจากใบตาลมาประดิษฐ์คู่กับหลอดและใช้เชือกพัน

ส่วนวิธีการทำนั้นไม่อยาก แต่ครูวิรัช บอกว่าต้องใช้ประสบการณ์ การฟังเสียง เมื่อเรานำผลไม้ที่เลือกซื้อมา ใช้มีดตัดหรือหั่นส่วนที่มีขนาดความกว้างที่มากว่า ก็จะอยู่ช่วงป้องก่อนถึงส่วยยอดของผลไม้ อาทิ ลูกชมพู่ จะใช้มีดคว้านช่วงปลายของผล ให้มีลักษณะคล้ายดอกลำโพง จากนั้นใช้ไขควงเจาะให้เป็นรูตรงกลางจนทะลุอีกฝั่ง ส่วนที่ติดกับก้าน และตัดจุกก้านทิ้ง ต่อมาใช้ไขควงเล็ก เจาะรูที่ด้านข้าวของผล โดยการเว้นช่องห่างของนิ้ว จะได้ประมาณ 3 - 4 รู เท่านี้ก็จะได้เครื่องดนตรีจากผลชมพู่ ส่วน ผลไม้อื่น ๆ ก็ทำลักษณะเหมือนกัน แต่จะให้เสียงที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผลไม้ เช่น ชมพู่ จะให้เสียงที่ค่อนข้างกังวานและเสียงแหลม, ละมุด ก้องและออกไปแหลมทุ้ม, จะให้เสียงที่ กล้วย จะให้เสียงที่กังวานและแหลม, มะละกอ จะให้เสียงก้องและออกไปแหลมทุ้ม,  มะระ จะให้เสียงก้องและออกไปทุ้ม,  แตงกวา จะให้เสียงที่ก้องและออกไปแหลมทุ้ม มะม่วง จะให้เสียงแหลมและออกไปแหลมกังวาน

นอกจากนี้ ครูวิรัช ยังได้สาธิตการเป่าสาก ที่ได้ประดิษฐ์เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพราะต้องใช้เครื่องมือไฟฟ้า อย่างเช่นสว่านเพื่อเจาะไม้ของตัวสากให้เป็นรู ซึ่งงานนี้คำว่า "เงียบเป็นเป่าสาก" จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะครูวิรัชสามารถเป่าสากให้มีเสียงได้ พร้อมทั้งยังได้สาธิตการเป่าเครื่องดนตรีที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้อีกหลายชิ้น อาทิ ทรอมโบน จากท่อ PVC และราวตากผ้า, แซกโซโฟน จากขี้เลื่อย, แซกบราโน่จากไม้ไผ่

จากการนำผลไม้ชนิดต่าง ๆ และ เศษวัสดุเหลือใช้ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ครูวิรัช กล่าวว่า เกิดจากการที่เมื่อสมัยเด็กอยากเป็นนักดนตรี แต่ไม่มีทุนในการซื้อจึงได้รองคิดค้นนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี ส่วนผลไม้ ตนได้รองนำผลไม้มาประดิษฐ์ดูจึงพบว่าสามารถนำมาเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่าได้ ประกอบกับการใช้ทักษะในการฟังเสียงและการเข้าใจเสียงที่ได้จากผลไม้ บางชนิดได้เสียงแหลม บางชนิด เสียงทุ้ม ซึ่งตนจะนำมาสอนเด็ก ๆ เวลาสอนจะทำให้เด็กรักสนุกและเข้าใจง่าย แต่ที่สำคัญ ตนมองว่าทำไมเครื่องดนตรีถึงราคาแพง เด็กจะเข้าถึงเครื่องดนตรีได้อย่างไร ตนจึงนำสิ่งของเหล่านี้มาทำเป็นเครื่องดนตรีและสอนเด็ก ๆ ปัจจุบัน ครูวิรัชได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีมาแล้วกว่า 30 ชนิด

สำหรับใครที่อยากจะเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากผลไม้ และ วัสดุเหลือใช่สามารถโทรสอบถามได้ที่หมายเลข 086-766-6985

ภาพ/ข่าว  ตาเป้ (จ.ราชบุรี)

ราชบุรี - เปิดเมนูสุดซิค ธรรมชาติเย็น ท่ามกลางบรรยากาศริมธาร ในอำเภอสวนผึ้ง

เปิดเมนูสุดซิค “ธรรมชาติเย็น” กับ “เลมอนชีท” ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติติดริมธาร จากร้าน ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe ที่อำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี จุดเช็คอินท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง

(7 เม.ย.64) พาไปกันที่ร้าน ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe ตั้งอยู่ริมธารน้ำ ใน ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างตลาดโอ๊ะป่อย กับ เดอะ ซีนเนอรี่ วินเทจ ฟาร์ม รีสอร์ท สวนผึ้ง แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และเป็นจุดแลนมาร์คแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทย

ร้าน ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe เป็นร้านกาแฟที่อยู่กลางธรรมชาติแบบสุด ๆ โดยเจ้าของร้าน “คุณเป้” สาวชาวราชบุรีนักเรียนนอก ที่บินกลับมาอยู่บ้านที่ประเทศไทยเนื่องจากสถานการณ์โควิด “ธรรมชาติ คาเฟ่” เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะให้ลูกค้าได้ดื่มกาแฟรสชาติที่ดีได้สัมผัสบรรยากาศที่ดีอีกมุมของสวนผึ้ง ซึ่งเป็นจุดเด่นของ อ.สวนผึ้ง คือ “ภูเขาและลำธาร”

โดยพื้นที่ของร้านทั้งหมด เป็นที่เซลฟี่ และ นั่งพักผ่อนเพื่อเป็นการผ่อนคลายหลังจากที่ต้องเดินทางมาไกลจากต่างจังหวัด จุดเด่นของที่ร้าน คือ ต้นสน 2 ต้นที่จะมีลำต้นเอนเอียงเพื่อรับแดด จากการที่ต้นสนอยู่รายล้อมไปด้วยต้นใหญ่ที่ขึ้นปกคลุม จึงได้นำมาเป็นโลโก้ ของ ร้านธรรมชาติ คาเฟ่ นอกจากนี้ที่บริเวณริมธาร ได้มีการตกแต่งด้วยไม้ไผ่ และ มีต้นกอไผ่ขึ้นสูงใหญ่ให้นักท่องเที่ยวได้เซลฟี่ และนั่งพักผ่อน ชิมอาหาร เมนูเด็ด พร้อมเครื่องดื่มซิกเนเจอร์ของร้านที่มีให้เลือกกว่า 50 เมนู และมีที่นั่งหลายมุม หรือจะลองถ่อแพบนน้ำใส ๆ ไหลเย็นสบาย ๆ

น.ส.นฤมล ศรีสวัสดิ์ อายุ 20 หรือ น้องเวิร์ค บาริสต้าประจำร้าน ร้านจะมีจุดเด่นอยู่ที่ความเป็นธรรมชาติ เรียบง่าย และได้รับความร่มรื่นจากร่มไม้ กลิ่นอายความบริสุทธิ์ทั้งสายน้ำจากลำธาร และ เสียงไผ่กระทบกันเวลาที่มีลมพัดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย จึงเป็นที่มาของชื่อร้าน “ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe”

เมนูเครื่องดื่มของทางร้านมีให้เลือกหลากหลายเมนูทั้งเมนูร้อน และ เย็น อาทิ Espresso, Americano, Honey Americano, Orange Americano, Cappuccino หรือ Latte ราคาเริ่มต้นที่ 60 – 90 บาท ส่วนเมนู ปั่น 80 – 100 บาท

สำหรับ Special Menu หรือ เมนูซิกเนเจอร์ เป็นเมนูที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า เมนูแรก “ Tham•ma•chart ” เป็นเครื่องดื่มเมนูกาแฟ ที่ใช้เยลลี่สตอเบอร์รี่ วางที่ก้นแก้ว เทด้วยนมสด จากนั้นเท กาแฟที่เชคด้วยความเย็น รสชาติของกาแฟจะกลมกล่อม ราคาแก้วละ 90 บาท

เมนูที่ 2 คือ “ Tham•ma•chart Smoothie ” เป็นเครื่องดื่มเมนู ที่นำ สตอเบอร์รี่ โกโก้ ช็อคชิพ ปั่นรวมกัน แต่งหน้าด้วยวิปครีม แกโนล่า ราคาแก้วละ 120 บาท

ส่วนเมนูที่ 3 คือ Choco Mint เป็นมนูนมชาเขียว ที่ผสมกับโกโก้แท้ 100% รสชาติจะหอมหวานโกโก้ แบบธรรมชาติลงตัว ราคาแก้วละ 80 บาท

นอกจากนี้ยังมี เมนูของหวาน อาธิ ขนม “คานาเล่” เป็นขนมฝรั่งเศสทานคู่กับกาแฟสด จุดเด่นคือสีของขนมจะเข้มทั้งชิ้น ด้านนอกกรอบด้านในนุ่ม ที่สำคัญจะมีส่วนผสมของเหล้าลังเพิ่มความหอมและรสชาติของ คานาเล่ ราคา 60 บาท

และอีก 1 เมนู คือ “เลมอนชีสพาย” ที่มีความกรอบของแครกเกอร์ นุ่มจากครีมชีส และเด้งด้วยเจลลีเลมอนด้านบนอีกชั้น แถมลาดด้วยน้ำผึ้ง ราคาชิ้นละ 80 บาท

สำหรับร้าน ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe ตั้งอยู่ริมธารน้ำ ใน ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างตลาดโอ๊ะป่อย กับ เดอะ ซีนเนอรี่ วินเทจ ฟาร์ม รีสอร์ท สวนผึ้ง เปิดทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ ทั้งแตเวลา 08.30 – 17.00 น. โทรสอบถามเส้นทางหรือรายละเอียดได้ที่หมายเลข 061-495-5989 หรือ ติดตามข่าวสารต่าง ๆ  ได้ทาง เฟสบุ๊คแฟนเพจ ชื่อ กาแฟกุมภาพันธ์ ธรรมชาติ คาเฟ่ Tham•ma•chart Cafe


ภาพ/ข่าว  ตาเป้ จ.ราชบุรี

 

ราชบุรี – แห่ชื่นชมครูหนุ่มที่สละเงินเดือนและทำไร่หาเงินซื้อคอมให้นักเรียนมาตลอด 10 ปี

แห่ชื่นชม!! ครูหนุ่ม โรงเรียนวัดเขาวัง ราชบุรี ที่สละเงินเดือนซื้อ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ราคากว่าหมื่นบาท ให้นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ ได้ใช้ประโยชน์ในการเรียน และ หารายได้ระหว่างเรียน มาตลอด 10 ปี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนขอเพียงเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียนและทำประโยชน์มีโอกาสช่วยเหลือน้อง ๆ ที่ด้อยโอกาส

(9 เมษายน 2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโลกโซเชียลในจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวชื่นชม ครูหนุ่มนายหนึ่งของโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) เขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่ยอมสละเงินเดือนของตนเองเพื่อจัดซื้อ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ที่มีราคาชุดละ 15,000 – 19,000 บาท เพื่อให้นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และ เพื่อเป็นอุปกรณ์ใช้ในการหารายได้ระหว่างเรียน

โดยผู้ใช้บริการ Facebook ชื่อ นวพร ช่างพานิช หรือ ด.ญ.นวพร ช่างพานิช ได้ออกมาเผยเรื่องราวความประทับใจของครูหนุ่มนายดังกล่าวที่ให้โอกาสตนเองจนเรียนจบ ซึ่งได้ระบุใจความว่า “หนูขอขอบคุณคุณครูโอ้น สมไชย กระต่ายทอง ที่ได้ไห้ประสบการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยหนูเข้าเรียน ม.1 หนูไม่รู้จักครู ครูไม่รู้จักหนู แต่ครูก็ยังให้คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก เพื่อให้หนูใช้ในการเรียนเป็นแบบจอสัมผัสด้วย หนูได้พัฒนาทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมสร้างเกมอย่างสร้างสรรค์ อีกยังใช้ในการเรียนรู้ได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น คุณครูสมไชย กระต่ายทอง มอบโอกาสกับหนูและเพื่อน ๆ ให้โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองโดยมีครูคอยแนะนำชี้แนะแนวทางต่าง ๆ เป็นผู้เพิ่มเติมในสิ่งที่หนูขาดให้สมบูรณ์และมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ตอนนั้นกลัวมาก ๆ ว่า จะสร้างเกมไม่ได้ ครูก็ให้กำลังใจและแนะนำจุดอ่อนจุดแข็งพัฒนาหนูจนผ่านไปได้ด้วยดี สุดท้ายนี้ หนูอยากจะบอกกับครูว่า ครูเป็นครูที่ดีที่สุดเลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดหนูจะจดจำทุก ๆ อย่างที่นี่ไว้เสมอ ขอบคุณคะครู #บันทึกไว้ในความทรงจำ #ขอบคุณตลอดระยะเวลา 3 ปี

ส่วน ผู้ใช้บริการ Facebook  ชื่อ  Pim Amporn หรือ ด.ญ.อัมพรพิมพ์ จันทร์ประทุม โพสต์ข้อความว่า “หนูขอบคุณสำหรับโอกาสดี ๆ ทุกอย่างที่คุณครูมอบให้ทั้งประสบการณ์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน พอได้มีโอกาสมาเรียนรู้กับคุณครู ได้ลงมือทำอะไรเอง ได้รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และนอกจากครูจะเป็นผู้มอบโอกาสให้หนูแล้วครูยังเป็นผู้ให้ที่ดีเสมอมา “โน้ตบุ๊ก” ที่คุณครูได้ให้มาใช้ในการเรียน ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ตั้งแต่ ม.1 จนได้มีความรู้ ได้รับรางวัลมามากมาย สุดท้ายนี้หนูขอขอบคุณคุณครูที่เป็นผู้ให้ ทั้งความรู้และโอกาสในการพัฒนาตัวเอง รวมไปถึงคำแนะนำต่าง ๆ หนูขอขอบคุณคุณครูสำหรับทุกการสนับสนุนค่ะ สมไชย กระต่ายทอง ต่อไปนี้หนูจะไปศึกษาต่อที่อื่นแล้วแต่ก็จะแวะมาให้กำลังใจครูบ่อย ๆ นะคะ

ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ผ่านโลกโซเชียลในสังคมคนราชบุรี และมีการกล่าวชื่นชม ครูสมไชย กระต่ายทอง กันจำนวนมาก ซึ่งเป็นครูผู้เสียสละโดยการซื้อ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ให้นักเรียนจนได้ใช้จนจบการศึกษา

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปยังโรงเรียนดังกล่าว คือ โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) เขตเทศบาลเมืองราชบุรี ตั้งอยู่ที่เชิงเขาวัง ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี พบกับ เจ้าของโพสต์ดังกล่าว ด.ญ.นวพร ช่างพานิช นักเรียน ม.3/4 ชาว ต.คูบัว อ.เมือง, ด.ญ.อัมพรพิมพ์ จันทร์ประทุม นักเรียน ม.3/3 ชาว ต.หน้าเมือง อ.เมือง, ด.ญ.ภาศิณี หาโอกาส นักเรียน ม.3/2 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง และ นางสาวสุกัญญา ศรีคง ครูฝึกสอน ชาว ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งทั้ง 4 คน เป็นนักเรียนทีได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ที่ นายสมไชย กระต่ายทอง ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช)

โดยทั้ง 4 คนต่างเล่าถึงเรื่องราวที่ตนเองได้รับโอกาสจากครูสมไชย นายนี้ว่า เมื่อครั้งที่ตนเองได้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยที่ครอบครัวมีฐานะปานกลางแต่ยังไม่มีกำลังที่จะซื้อ คอมพิวเตอร์ แต่ปรากฏว่า ได้รับอากาศจากคุณครูสมไชย ที่ทราบว่าพวกตนไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ซึ่งคุณครูก็ได้ซื้อให้ไว้ใช้ โดยบอกกับพวกตนว่า “รักษาไว้ให้ดี ใช้ให้เกิดประโยชน์” ซึ่งหลังจากที่พวกตนได้ คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กมา ก็ได้นำมาใช้ประกอบการเรียน และ นำไปทำงานด้วยการรับจ้างพิมพ์รายงานต่าง ๆ และ ออกแบบเกมส์ประกอบการเรียนการสอน เพื่อหารายได้ระหว่างเรียน และที่สำคัญพวกตนไม่คิดว่าจะได้รับโอกาสแบบนี้ เพราะไม่เห็นมีครูท่านไหนที่ใช้เงินส่วนตัวซื้อให้กับนักเรียนแบบนี้ พวกตนต้องกราบขอบพระคุณคุณครูสมไชย กระต่ายทอง เป็นอย่างมาก คุณครูที่เป็นผู้ให้ ทั้งความรู้และโอกาสในการพัฒนาตัวเอง รวมไปถึงคำแนะนำต่าง ๆ ต่อไปนี้หนูจะไปศึกษาต่อที่อื่นแล้วแต่ก็จะแวะมาให้กำลังใจครูบ่อย ๆ

ผู้สื่อข่าวจึงได้ติดต่อขอสัมภาษณ์กับครูนายดังกล่าว ทราบชื่อคือ นายสมไชย  กระต่ายทอง หรือ ครูโอ้น เป็นคน ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ปัจจุบันเป็นครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) เขตเทศบาลเมืองราชบุรี

ครูโอ้น เปิดใจกับผู้สื่อข่าวว่า จากประสบการณ์สอนตนพบว่านักเรียนแต่ละคนต้องการการสนับสนุนด้านศักยภาพส่วนบุคคลที่ไม่เหมือนกัน และมีปัจจัยพื้นฐาน ต้นทุนทางครอบครัวที่ต่างกัน ตนจึงมีแนวคิดที่ว่า ถ้าเราพอมีพอใช้บ้างแล้วและสามารถที่จะร่วมกันช่วยแม้เพียงนิดหน่อย หรือเริ่มจากที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา จะเป็นการส่งเริมและเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ๆ ได้ ด้วยแรงเราอาจจะไม่สามารถช่วยได้ทุกคน แต่ถ้าเราทุกคนร่วมช่วยกันคนละนิด ไม่คิดคาดหวังผลตอบแทน จะเกิดผลที่ดีกับนักเรียนหลายคน จะได้เติมเต็มความฝัน ประสบความสำเร็จ เติบโตขึ้นและมีความสุข จากการมอบให้และได้รับ เกิดการเติมเต็มให้สังคมของเรา

ครูโอ้น  กล่าวต่อว่า ในส่วนของตนเองพอที่จะช่วยได้และไม่ได้ทำให้เดือดร้อนมากก็ได้เริ่มช่วยนักเรียนตามสมควร โดยเริ่มจากเมื่อประมาณ 10 ปี ตอนสมัยอยู่ รร.วัดดอนตลุง อ.เมือง ได้พบนักเรียนที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์มีความรู้ที่ครูได้มอบให้ แต่ขาดอุปกรณ์เพื่อเข้าไปเสริมไปพัฒนาขีดความสามารถและอาจจะต่อยอดเป็นอาชีพ ตอนนั้นตนเองรู้สึกว่าเราพอมีเงินเดือน ถ้าได้แบ่งไปให้นักเรียนคนที่มีขาดแคลนและควรได้ได้รับการสนับสนุน จึงได้เริ่มทำเงียบ ๆ อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) โดยนำเงินเดือนส่วนหนึ่ง และปีไหนเงินไม่พอก็จะกลับไปทำไร่ที่บ้าน แล้วนำเงินที่ได้มารวบรวมซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ให้กับนักเรียน ราคาเรื่องละประมาณ 15,000 บาท บางปีจะสูงถึง 19,000 บาท 1 ปี จะได้ประมาณ 3-4 เครื่อง ซึ่งทำมาตลอด 10 ปี หลังจากที่ซื้อและมอบให้นักเรียนไป พบว่าทุกคนสามารถใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อตัวเองและประสบความสำเร็จทางการศึกษา หลาย ๆ คนสามารถคว้าทุนการศึกษาหรือนำไปรับทำงานพิเศษด้านคอมพิวเตอร์สร้างรายได้เสริมช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

ครูโอ้น กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่ตนเองมอบให้นักเรียนไปตนไม่เคยขอคืน โดยให้ไปเลยฟรี ๆ ตนอยากให้นักเรียนได้รับโอกาสเหมือนเพื่อน บางคนไม่มีเงิน บ้านที่ตนเองไปเยี่ยม ส่วนใหญ่บ้านจะยากจน บางรายพ่อแม่หาเช้ากินค่ำ ไม่เงินให้ลูกซื้อคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ที่ตนได้ใช้เงินส่วนตัวซื้อและมอบให้นักเรียนไป ได้เห็นนักเรียนประสบความสำเร็จ ตนก็ดีใจและภูมิใจที่สุด โดยที่ตนเองไม่หวังสิ่งตอบแทนขอเพียงเป็นเด็กดี ตั้งใจเรียนและทำประโยชน์มีโอกาสช่วยเหลือน้อง ๆ ที่ด้อยโอกาสแบบนี้บ้าง


ภาพ/ข่าว  ตาเป้ จ.ราชบุรี

ราชบุรี - ชิมเมนูเด็ดที่เจษฎาฟาร์ม ชมแสดงช้างแสนรู้แบบถึงโต๊ะ ในห้องอาหารที่เดียวในโลก

สุดปัง!! ชิมอาหารเมนูเด็ด จิบกาแฟคุณภาพเยี่ยม แถมยังฝึกขี่ม้า ดารา และชมฟรีการแสดงของช้างน้อยแสนรู้แบบถึงโต๊ะในห้องอาหารที่เดียวในโลก

(20 เม.ย. 64) พาไปกันที่เจษฎาฟาร์ม ราชบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลพิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกการขี่ม้าของบรรดาดารานักแสดงต่าง ๆ อีกทั้งม้าทุกตัวยังอยู่ในละครและภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง อย่าง ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำ ละคร และ ภาพยนตร์อีกด้วย ปัจจุบัน เจษฎาฟาร์ม ราชบุรี ได้มีการต่อยอดเปิดเป็น เจษฎาฟาร์มคาเฟ่เปิดครัวจำหน่ายอาหารสไตล์พื้นบ้าน และ สเต๊กแบรงกัสนำเข้า เป็นสเต็กเนื้อพรีเมียมนำเข้าจากต่างประเทศ รวมไปถึง เมนูสเต็กแบบไทย ๆ ในราคาเบา ๆ สามารถจับต้องได้ นอกจากนี้ยังมีเมนูเครื่องดื่มหลากหลายชนิด ทั้งกาแฟสด เมนูน้ำผลไม้ และ เมนูน้ำกัญชาเพื่อสุขภาพ ในสไตล์ร้านแบบเวิสเทริ์นคาวบอย

แต่ที่โดนใจและไม่เหมือนใคร คือ การโชว์การแสดงของเจ้าช้างน้อย “ราชาบุรี” ช้างน้อยวัยเพียง 5 ขวบ ที่แสดงลีลาการเต้นตามจังหวะเพลง แถมยังส่ายตูดแบบน่านัก ไม่ว่าจะยืน 2 ขา นั่งชู 2 ขา นอน และ การควงฮูลาฮูป ภายในร้านอาหาร แบบถึงโต๊ะอาหารให้ลูกค้าและนักท่องเที่ยวได้ชมกันอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญชมฟรีแบบไม่คิดเงินเพิ่มจากค่าอาหาร หรือ ค่ากาแฟ

ส่วนเมนูเด็ดของทางร้าน ข้าวผัดกระเพราสูตรเด็ดแบบโบราณที่ขายมานานกว่า 20 ปี เมนู สปาเก็ตตี้ผัดขี้เมารสเด็ด มีทั้งเมนูทะเล เมนูหมูและไก่ และเมนูส้มตำ ราคาเริ่มตัน 50 - 150 บาท ส่วนเมนู สเต๊กแบรงกัสนำเข้า เป็นเสต็กเนื้อนำเข้าราคา 859 บาท สเต็ก หมู-ไก่ เริ่มที่ 259 – 559 บาท สำหรับเมนูเครื่องดื่ม กาแฟสด เริ่มต้นที่ 45 – 60 บาท ส่วนเมนูเครื่องดื่มผสมใบกัญชา ราคาแก้วละ 95 บาท เป็นเครื่องดื่มกัญชาเพื่อสุขภาพ

นอกจากนี้ทางเจษฎาฟาร์ม ราชบุรี ยังมีกิจกรรม นั่งช้างชมธรรมชาติ ไหว้พระถวายสังฆทานในอุโบสถเก่าแก่กว่าสองร้อยปี ที่วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งมีที่เดี่ยวในโลก นอกจากนี้ยังมีบริการขี่ม้า ทั้งม้าใหญ่และม้าแคะ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้ชมธรรมชาติ โดยรอบฟาร์ม หรือจะไปไหว้พระที่วัด ส่วนราคา 300 – 500 บาท ต่อครั้ง สำหรับคนที่ต้องการฝึกขี่ม้าทางเจษฎาฟาร์ม ราชบุรี ก็บริการสอนจนสามารถขี่ม้าเป็นด้วย

นายเจษฎา สิงห์โต อายุ 39 ปี หรือ คุณอาร์ม เจ้าของเจษฎาฟาร์ม ราชบุรี เล่าให้ฟังว่า เดิมตนเองเปิดคอกเลี้ยงวัวเพื่อจำหน่าย พอได้อายุ 20 ปีเริ่มมาเลี้ยงม้าแห่นาค โดยไปบริการ ม้าแห่นาคตามงานบวชต่าง ๆ จากนั้นหันมาเริ่มเลี้ยงมาอย่างจริงจัง จนกลายมาเลี้ยงม้าถ่ายละคร จนเกิดความชำนาญ และเปิดเป็นสถานที่ฝึกสอน ดารานักแสดงในการขี่ม้า นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และ ละคร เรื่องต่าง ๆ ตนจึงได้ต่อยอด มาขายอาหาร ซึ่งคุณแม่ขายอาหารตามสั่งมาก่อน จึงไห้มาทำที่ร้าน ตกแต่งในสไตล์ คาวบอย จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เริ่มต้นราคา 50 - 150 บาท  และ เมนูสเต็กเนื้อนำเข้าราคา 859 บาท

ส่วนตนเองก็เป็นนักแสดง ได้รับบทเป็นสมเด็จพระนเรศวร จึงได้ซึมซับ ในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้ไปซื้อช้างและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยถ่ายทอดความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมภายในฟาร์มด้วย

สำหรับนักเที่ยวที่ต้องเดินทางมาเที่ยวที่เจษฎาฟาร์ม ราชบุรี ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิกุลทอง (อนามัยพิกุลทอง) ต.พิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร 081-2906-753 หรือ แฟนเพจ เจษฏา ฟาร์ม ราชบุรี


ภาพ/ข่าว  ตาเป้ จ.ราชบุรี

สมุทรสาคร - ผู้ว่าฯ ปู กลับมาแล้ว...นำทีมสู้โควิดระลอกใหม่ ประเดิมสนามแรกหารือร่วม รพ.เอกชน ดูแลผู้ติดเชื้อ

เมื่อเวลา 14.30 น. ของวันที่ 19 เมษายน 2564 นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย นางชุติพร วิจิตร์แสงศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร ได้เดินทางกลับมาบริหารงานที่จังหวัดสมุทรสาคร อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลศิริราชแล้วได้กลับพักฟื้นรักษาสุขภาพที่บ้านพักในจังหวัดอ่างทอง นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา

โดยการเดินทางกลับมาในวันนี้ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครนั้น ก็เดินทางกลับมาแบบเป็นการส่วนตัว ไม่ได้มีพิธีการต้อนรับแต่อย่างใดทั้งสิ้น  เมื่อมาถึงที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ก็ได้แวะทักทายกับเจ้าหน้าที่ อส.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัด จากนั้นก็เข้าไปตรวจงานในห้องทำงานของผู้ว่าฯ ก่อนที่จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้พูดคุยสัมภาษณ์ในบางเรื่องบางประเด็น เช่น ความตั้งใจแรกที่อยากจะทำเมื่อกลับมาในครั้งนี้,การนำทีมสู้โควิด – 19 ในสถานการณ์ปัจจุบัน,โควิดวันนั้น(ก่อนเข้าโรงพยาบาล) กับ โควิดวันนี้(หลังออกจากโรงพยาบาล) ต่างกันอย่างไร,ความสำคัญของโรงพยาบาลสนาม, และอะไรคือสิ่งที่อยากจะบอกกับพี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสู้โควิดไปด้วยกัน เป็นต้น

ส่วนการประเดิมภารกิจแรกแบบเบา ๆ เมื่อกลับมาทำงานในฐานะผู้บริหารระดับสูงสุดของจังหวัดสมุทรสาคร และเป็นหัวเรือใหญ่หรือแม่ทัพในการสู้กับสถานการณ์โควิดระลอกใหม่อีกครั้ง ก็คือ การประชุมร่วมกับ นายแพทย์นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร และผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 8 แห่ง คือ โรงพยาบาลมหาชัย 1 , รพ.มหาชัย 2 , รพ.มหาชัย 3 , รพ.เอกชัย , รพ.วิชัยเวชสมุทรสาคร, รพ.วิชัยอ้อมน้อย,รพ.วิภาราม และ รพ.เจษฎาเวชการ เพื่อรับทราบถึงการให้บริการตรวจรักษาและรับผู้ติดเชื้อโควิด เข้าสู่กระบวนการดูแลของโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้มาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ตนเองก็ได้ปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่องแต่เป็นในรูปแบบของ Work From Home และก็ได้ติดตามข่าวสารของจังหวัดสมุทรสาครมาตลอด โดยก่อนหน้านี้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ตั้งใจจะกลับมาทำงานที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่หมอทราบข่าวเสียก่อนเลยรีบสั่งห้ามไว้ สำหรับสิ่งที่ต้องการและอยากจะให้เกิดขึ้นที่จังหวัดสมุทรสาครอันดับแรกในขณะนี้ก็คือ คนสมุทรสาครมีความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการปรับพื้นที่จากสีส้มเป็นสีแดง โดยมีคนสมุทรสาครหลายคนยังเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะสถานการณ์โควิดมีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ แต่คนสมุทรสาครหลายคนไม่เข้าใจว่า ทำไมสมุทรสาครถูกเปลี่ยนสีจากส้มเป็นแดง และจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง ซึ่งก็อยากจะบอกทุกคนว่า การเปลี่ยนแปลงพื้นที่สีนั้น ก็ด้วยที่สมุทรสาครเป็นเขตปริมณฑล และไม่อยากให้เอาพื้นที่สีมาเป็นเรื่องสำคัญ เพราะตอนนี้ทั้งประเทศก็ล้วนแต่เป็นพื้นที่ๆ เกิดการระบาดของโรคเหมือนกัน และถ้าสังเกตดูจะพบว่า ในหลักการปฏิบัติไม่ว่าจะสีแดงหรือสีส้ม ก็มีข้อบังคับการปฏิบัติที่แทบจะไม่แตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้นถ้าคนสมุทรสาครมีความเข้าใจในส่วนตรงนี้ร่วมกันแล้ว ก็จะเข้าใจว่าสีไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “เราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร” ดังนั้นความตั้งใจสิ่งแรกที่อยากจะทำก็คือ อยากสร้างความเข้าใจให้เกิดกับคนจังหวัดสมุทรสาครทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องดังกล่าวและเดินหน้าสู้โควิดร่วมกัน

นายวีระศักดิ์ฯ เปิดใจอีกว่า ส่วนความพร้อมที่จะกลับมานำทีมบริหารเพื่อสู้กับโควิดอีกครั้งนั้น วันนี้ตนเองก็คิดว่าพร้อมสู้แล้ว แต่ก็ต้องแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะวันนี้เราไม่ได้ทำงานอยู่เพียงลำพัง เรามีทีมงานที่คอยช่วยเหลือกัน ทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่จะต้องคอยประคับประคองช่วยกันให้งานเป็นไปตามที่วางแผนไว้ รวมถึงพี่น้องชาวจังหวัดสมุทรสาครที่ได้ร่วมกันเดินหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ด้านสถานการณ์โควิด-19 ในวันก่อนที่ผู้ว่าจะเข้าโรงพยาบาล กับ สถานการณ์ในวันนี้ ในความรู้สึกของท่านผู้ว่าสมุทรสาครมีความแตกต่างกันมากน้อยอย่างไรนั้น นายวีระศักดิ์ฯ ก็บอกว่า ถ้าถามผมแล้ว สำหรับสมุทรสาครนั้น สถานการณ์โควิดในวันนี้ดีกว่าในวันนั้นมาก เพราะวันก่อนที่จะเข้าโรงพยาบาลมีคนที่ติดเชื้อโควิดในจังหวัดสมุทรสาครแต่ละวันเพิ่มจากหลักสิบ เป็นหลักร้อย จนกระทั่งมียอดรวมเป็นหลักหมื่น  แต่วันนี้ผู้ติดเชื้อรายวันมีแค่หลักสิบและส่วนใหญ่ก็เป็นคนต่างจังหวัด ส่วนคนสมุทรสาครก็จะติดเชื้อมาจากข้างนอก ซึ่งวันนี้สามารถพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า สมุทรสาครเป็นโมเดล ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศเห็นว่า เราสามารถต่อสู้เอาชนะสถานการณ์โควิด ที่เคยมีผู้ติดเชื้อค่อนข้างมาก จนวันนี้เหลือน้อยลง จนกระทั่งเกือบจะไม่มีเลย เพราะฉะนั้นวันนี้สถานการณ์ของสมุทรสาครดีขึ้นมากจริง ๆ

ส่วนเรื่องของความหนักใจเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาซึ่งเกิดกับแรงงานต่างด้าว กับ สถานการณ์โควิดในปัจจุบันที่ติดเชื้อใจกลุ่มคนไทยนั้น หากจะให้บอกว่าไม่หนักใจก็คงจะไม่ใช่ ก็คงต้องหนักใจบ้าง แต่วันนี้คงไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องของความหนักใจกันแล้ว แต่ต้องพูดกันถึงเรื่องของ “ความรับผิดชอบ” ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด รับผิดชอบในฐานะคนไทยคนหนึ่ง และรับผิดชอบในฐานะคนสมุทรสาครคนหนึ่ง  ทุกคนต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน เพราะปัญหานี้คงไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้โดยง่ายและรวดเร็ว ปัญหานี้คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักใหญ่กว่าที่จะผ่านพ้นไปได้

นายวีระศักดิ์ฯ ยังกล่าวถึงโรงพยาบาลสนามด้วยว่า สำหรับโรงพยาบาลสนามนั้น ในวันที่ผมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริราช ส่วนหนึ่งที่เป็นความกังวลใจก็คือ การเกิดขึ้นของโรงพยาบาลสนามหรือศูนย์ห่วงใยคนสาคร ทำอย่างไรจะให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะสิ่งนี้คือ จุดแตกหักที่จะแยกคนที่ติดเชื้อให้ออกมาจากคนปกติ ถ้าไม่มีโรงพยาบาลสนามก็ไม่มีวันนี้ ซึ่งก็เชื่อว่าคนสมุทรสาครคงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โรงพยาบาลสนามเป็นจุดที่ทำให้จังหวัดสมุทรสาครดีขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก จึงเป็นคำตอบโดยปริยายแล้วว่า “โรงพยาบาลสนามเป็นหัวใจหลักในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด” นั่นคือ การแยกคนที่ติดเชื้อออกมา และสิ่งที่ต้องยอมรับกันก็คือ โรงพยาบาลสนามไม่ใช่สถานที่สุขสบาย มีหลายคนกล่าวถึงโรงพยาบาลสนามในด้านลบหลาย ๆ อย่าง จึงอยากให้เข้าใจร่วมกันว่า แม้โรงพยาบาลสนามจะไม่สะดวกสบายแบบอยู่บ้าน แต่ขอให้เข้าใจว่าโรงพยาบาลสนามจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้เราทุกคนสู้กับสถานการณ์โควิดได้อย่างทันท่วงที

นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนขอขอบพระคุณคนไทยทั้งประเทศ ขอบพระคุณคนสมุทรสาคร สำหรับกำลังใจที่ส่งไปให้ขณะที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการสู้กับโรคโควิด 19 นั้นก็คือ “กำลังใจ” ซึ่งที่ผ่านมาตนเองยังไม่อยากจะเชื่อเลยว่า จะสามารถมีชีวิตรอดกลับมาตรงนี้ได้อีกครั้ง แต่เพราะได้สิ่งสำคัญที่สุดมาช่วยพยุงนั่นก็คือ กำลังใจ ที่แม้จะเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้แต่ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล ฉะนั้นกำลังใจที่แต่ละคนมอบให้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบันนี้ เพราะทุกคนต้องการกำลังใจเป็นอย่างสูง เพื่อการยืนหยัดต่อไปให้ได้จนกว่าสถานการณ์โควิดจะผ่อนคลาย หรือผ่านพ้นไปในที่สุด วันนี้กำลังใจที่ทุกคนมีให้แก่กันและกัน จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้สมุทรสาครเดินหน้าต่อไป ทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไป ผมไม่รู้ว่าในอนาคตเราจะประสบปัญหาเพิ่มมากขึ้น หรือน้อยลง  แต่ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า “วันที่เรายังมีลมหายใจ ยังมีกำลังใจที่ดี แม้จะมีอุปสรรคที่ท้าทายให้เราก้าวข้ามไป เมื่อเราผ่านพ้นไปได้ ความสำเร็จจะรอเราอยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน”


ภาพ/ข่าว ชูชาตแดพยนต์ ทีมข่าวสมุทรสาคร

ราชบุรี  - เกือบวุ่น พบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิด EOD ทำลายพบเป็นชุดวัดแรงสั่นสะเทือน

เกือบวุ่นทั้งเมือง!! พบกล่องและวัตถุที่มีการต่อสายไฟต้องสงสัยวางที่พื้นติดฐานโบราณสถานเจดีย์หัก ต.เจดีย์ อ.เมือง จ.ราชบุรี เจ้าหน้าที่ชุด EOD ตรวจสอบใช้วอเตอร์บอมจุดทำลาย ตรวจสอบแล้วเป็นเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือน เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งหน่วยงานใดเป็นเจ้าของให้ไปติดต่อได้ที่ สภ.ราชบุรี

(8 พ.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประชาชนผู้ที่อยู่อาศัยใกล้ โบราณสถานเจดีย์หัก ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี ได้โพสต์ข้อความพร้อมด้วยคลิป รายผ่านสื่อออนไลน์ขอให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย เป็นกล่องและมีกรวยตั้งอยู่จำนวน 1 คู่ และมีสายกั้นขึ้งไว้ ซึ่งเกรงกลัวว่าจะเป็นวัตถุระเบิด เนื่องจากมีผู้ที่เข้ามาออกกำลังกายและพบเห็นตั้งแต่ช่วงเช้าโดยที่ไม่มีหน่วยงานใดประกาศแจ้ง

จนเวลา 21.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจชุด EOD 2 นาย ด.ต.เอก วรัตน์ ประทุมนันท์ และ ด.ต.เอก เปรมจิตร์ ฝ่ายเก็บกู้ วัตถุระเบิด ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี ได้มาทำการเก็บกู้ พร้อมทั้งประสารกำลังเจ้าหน้าที่ มูลนิธิปฐมบรมราชานุสรณ์ราชบุรี นำกำลังมาดูแลและปิดกันการจราจร พร้อมห้ามให้รถสัญจรไปมา

จากนั้น ด.ต.เอก วรัตน์ ประทุมนันท์ เจ้าหน้าที่ EOD ได้เข้าไปตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยดังกล่าว พร้อมทั้งนำเชือกคล้องที่กรวยทางด้านขวามือ และกันให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ออกห่างรัศมี 50 เมตร ก่อนจะให้สัญญาณดึงเชือกจนกรวยดังกล่าวล้มลง ต่อมาเจ้าหน้าที่ EOD ได้เดินเข้าไปตรวจสอบ โดยใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพวัตถุต้องสงสัย และนำมาประเมินสถานการณ์ โดยวัตถุที่พบมี 3 ชิ้น โดยชิ้นแรกมีลักษณะเป็นแท่งทรงกลมสูงประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ชิ้นที่ 2 เป็นห่อสีขาว โดยทั้ง 2 วัตถุมีสายต่อเข้าไปยังกล่องซึ่งมีแบตเตอรี่ เจ้าห้าที่ประเมินสถานการณ์แล้ว แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ก่อนจะประกอบ วอเตอร์บอมส์ เพื่อทำลายวัตถุต้องสงสัยดังกล่าว

จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำวอเตอร์บอมส์ เข้าไปติดตั้งที่วัตถุต้องสงสัย โดยลากสายไฟห่างมาประมาณ 30 เมตร พร้อมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อทำการปิดเส้นทางการจราจร และ กันให้ประชาชน และเจ้าหน้าที่ ออกห่างจากพื้นที่ดังกล่าว ก่อนจะให้สัญญาณและกดสวิทช์ยิงวอเตอร์บอมส์ทำลายวัตถุต้องสงสัย จนแตกกระจายเสียงดังสนั่นไปทั่วบริเวณ เมื่อสิ้นเสียงระเบิดจากวอเตอร์บอมส์ เจ้าหน้าที่ EOD ได้เข้าไปตรวจสอบโดยไม่ให้ประชาชนหรือสื่อมวลชนเข้าใกล้ เพื่อทำการตรวจสอบอย่างระเอียด เมื่อตรวจสอบเสร็จส่งสัญญาณเคลียร์ พร้อมทั้งแจ้ง รตท.เจริญทรัพย์ โพธิ์พระ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองราชบุรี เข้าตรวจสอบและเก็บหลักฐาน เพื่อติดตามหาเจ้าของชุดอุปกรณ์ดังกล่าวว่าเป็นของใคร

จากการตรวจสอบพบว่าวัตถุต้องสงสัยดังกล่าว เป็นชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งจะมีกล่องภายในบรรจุแบตเตอรี่ และเดินสายไปที่กรวย 1 มีชุดแท่งเหล็กทรงกลม และ ถุงทราย และต่อสายมายังชุดตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน โดยที่กรวยที่ 2 ภายในกรวยมีโซ่ 1 เส้นต่อสายไฟเช่นเดียวกัน โดยไม่ใช่วัตถุระเบิด หรือ สร้างเป็นการสถานการณ์แต่อย่างไร

เบื้องต้นเจ้าหน้าตำรวจจะได้เก็บชุดอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ที่ สภ.เมืองราชบุรี และจะทำการตรวจสอบหาหน่วยงาน หรือ บริษัทเจ้าของชุดอุปกรณ์วัดแรงสั่นสะเทือนว่าเป็นของใคร


ภาพ/ข่าว  ตาเป้

 

ราชบุรี- ชาวมอญนครชุมน์ ปั้นตุ๊กตาเสียกระบาลลอยน้ำ ปัดรังควานโรคโควิด-19

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จัดพิธีเทาะฮะป่านโหน่ก ทิ้งกระบาลใหญ่ โดยปั้นตุ๊กตาเสียกระบานขับไล่โรคห่า (โควิด) และโรคภัยต่าง ๆ นำไปลอยน้ำและทางสามแพร่ง ตามประเพณีความเชื่อหลงเหลืออยู่

ที่ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารมอญ  ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชาวบ้านผู้สูงอายุ เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่ได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองมาแต่สมัยโบราณของบรรพบุรุษ  ซึ่งนำพิธีกรรมและความเชื่อต่าง ๆ มาใช้ในช่วงที่สำคัญของการเกิดสถานการณ์ที่ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้แก่ชาวบ้านในชุมชนตามประเพณี ทุก ๆ ปีจะมีชาวบ้านมาช่วยกันจัดกิจกรรมในช่วงเดือน 7 ร่วมกันนั่งปั้นหุ่นตุ๊กตาเสียกระบานเป็นรูป ตุ๊กตา คน วัว ควาย สัตว์เลี้ยง   เพื่อนำไปประกอบพิธีกรรม ใส่กระธงทิ้งบริเวณทางสามแพร่ง และสร้างแพลอยน้ำ ตามความเชื่อ เพื่อให้โรคภัยต่าง ๆ โรคเฉพาะโรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดรุ่นแรงอยู่ในขณะนี้  หมดหายไปจากแผ่นดิน ถือเป็นประเพณีที่ชาวมอญนครชุมน์ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

นายคมสรร จับจุ ประธานกลุ่มอนุรักษ์มอญนครชุมน์ และรองประธานสภาวัฒนธรรม ต.นครชุมน์   กล่าวว่า เป็นวิถีทางตามความเชื่อ  1 ปี จัดเพียงครั้งเดียว  ช่วงเดือน 7 ชาวมอญเมืองนครชุมน์  ยังมีความเชื่อแบบดั้งเดิมอยู่ เพราะเชื่อมาแต่ครั้ง ปู่ ย่าตา ยาย แล้วว่า พอถึงเดือน 7 จะต้องมีพิธีกรรมนี้คือ การหนีภัยจากโรคร้าย ทางชาวมอญ จะเรียกว่าทิ้งกระบาลใหญ่ หรือเรียกว่า “ เทาะฮะป่านโหน่ก ”  เทาะฮะป่านก็คือการทิ้งกระบาล ส่วนโหน่ก หมายถึง เป็นพิเศษ ด้วยความกลัวภัยจากโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น จึงมีการปั้นหุ่นตุ๊กตาเสียกระบาลจากแป้งข้าวเจ้า เป็นรูปตัวคน สัตว์เลี้ยง ช้าง ม้า วัว ควาย เพราะเชื่อกันว่า บ้านมีทั้งสัตว์เลี้ยง คน ลูกหลาน  บ้านหลังหนึ่งมีคนกี่คนก็จะปั้นตุ๊กตาตามจำนวน มีสัตว์เลี้ยงกี่ตัวก็จะปั้นเท่านั้น จากการร่วมใจในชุมชนช่วยกันปีละครั้งสร้างแพขึ้นมา 2  ลำ โดยลำหนึ่งจะต้องไปทิ้งตรงทางสามแพร่ง ที่ไปทางทุ่ง ส่วนอีกลำต้องไปลอยทางน้ำ

พิธีจัดขึ้นที่ทางสามแพร่งกลางหมู่บ้าน โดยใช้ผู้ทำพิธีกรรมเป็นคนปัดเป่าภยันตรายต่าง ๆ ทั้งหมดบอกว่า “ พวกเราจะหนีขึ้นแพไปแล้วนะเจ้าโรคร้าย ตามไปกินหุ่นพวกนี้ ตามไปกินคนในแพ  เพราะว่าแพนี้จะไปมหาสมุทร ” เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในขณะที่ทุกคนเดือดร้อน เกิดความทุกข์จากความเศร้าจากโรคต่าง ๆ เพราะว่าสมัยก่อนจะมีโรคห่า หรือ อหิวาตกโรค ทำร้ายผู้คนตายในสมัยอดีตที่ผ่านมา เช่น สมัยเมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน ชาวมอญที่ลำพูนแทบจะร้างเพราะหนีโรคห่าไปเมืองหงสาวดีกันหมด นอกจากนี้ยังมีสมัยพุทธกาลได้เกิดโรคห่าระบาดเหมือนกัน ต้องมีการปัดเป่าปัดรังควานด้วยพุทธมนต์เป็นบทสวดเฉพาะของเรื่องการกำจัดโรคภัยนี้ ในชุมชนที่นี่ก็เหมือนกัน ปีนี้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ไม่ได้มีการรวมคนกันมากนัก เอาที่สะดวกพอทำได้เสร็จพิธีกรรม มีการเว้นระยะห่างพอสมควร เพื่อให้ขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ยังคงอยู่ต่อไปให้ลูกหลานรู้ว่า นี่คือวิธีการเรียกขวัญให้กับคนชุมชน ให้กับลูกหลาน ในขณะที่กำลังมีภัยจากโรคระบาด หรือภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กลับคืนมา

นายคมสรร จับจุ ประธานกลุ่มอนุรักษ์มอญนครชุมน์ และรองประธานสภาวัฒนธรรม ต.นครชุมน์ กล่าวอีกว่า  สำหรับปีนี้สถานการณ์ยิ่งชัดเจน ชาวบ้านได้นำเงินมาร่วม เพราะทุกคนกลัว ได้เงินแต่ละบ้านช่วยกันบ้านละ 10 - 20 บาท ได้เงินกว่า 2,000 บาท ช่วยค่าแป้ง ค่าขนมจีน  ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ช่วยเครื่องคาวต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบพิธี ให้งานสำเร็จลุล่วงไป  และยังมีการทำอาหารไปเลี้ยงพระด้วย เป็นงานบุญที่ชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกัน  เรื่องนี้ถือเป็นวิถีดั้งเดิมของชาวมอญ และเป็นความเชื่อ เช่น หากเกิดทุกข์ภัยเล็ก ๆ  ก็จะบอกว่าผีมาเข้า ผีมาสิง  ก็จะทิ้งกระบาลเล็ก คือการเรียกขวัญให้ขวัญนั้นกลับมาไม่ให้ตกใจ  ยิ่งในตอนเด็กจะเล่นตุ๊กตาแบบนี้ไม่ได้ เขาบอกว่าจะมีสื่อทางวิญญาณ หรือสื่อที่มองไม่เห็นอยู่ในรูปปั้นที่เหมือนคน หรือเหมือนสัตว์ต่าง ๆ เด็กมอญจะไม่มีโอกาสได้ปั้นเล่นแบบนี้  แต่หากเกี่ยวกับความเชื่อจริง ๆ เพื่อหนีโรคร้าย โรคภัยจากโรคระบาด สามารถมาปั้นได้ โดยตั้งแต่เกิดโรคโควิด-19 มานั้น ในชุมชนนครชุมน์ยังไม่มีใครติดโรคโควิด -19  ในหมู่บ้านเลย จากการได้พบเจอ น้อยนักที่จัดทำพิธีกรรมแบบนี้ อาจจะเหลือไม่กี่ที่แล้วในประเทศไทย เพราะชุมชนมอญนครชุมน์ มีรากเหง้ากันมาในสมัยหงสาวดี มีต้นตระกูลหรือบรรพบุรุษได้นำเอาสรรพวิชาความรู้ และภูมิปัญญากลับมาทางนี้หมดแล้ว โดยการย้ายถิ่นขนานแท้ ได้ทั้งเรื่องของความเชื่อ รวมทั้งพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ทั้งการนับถือผี ยังมีการนับถือพุทธ ที่ยังชัดเจนอยู่ และยังยึดมั่นอยู่อย่างมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับการจัดพิธีกรรมปั้นหุ่นตุ๊กตาเสียกระบาล คน สัตว์เลี้ยง ขับไล่โรคภัย ของชาวบ้านนครชุมน์แห่งนี้ สื่อให้เห็นความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ การแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีที่ยังคงมีการสืบทอดต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งการทำอาหาร การละเล่นของชาวมอญ และการจัดพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยความมุ่งหวังเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจของชาวบ้านให้กลับคืนมา และหวังให้โรคร้ายหมดไปจากแผ่นดินโดยเร็ว


ภาพ/ข่าว  ตาเป้ จ.ราชบุรี

ราชบุรี - ฮือฮา !! เจ้าของร้านถ่ายรูปโชว์ ‘มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์’ ราคานับล้าน

เจ้าของร้านสตูดิโอถ่ายภาพชาวอำเภอปากท่อ โชว์ "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์" ฉายาราชินีแห่งไม้ใบ ต้นไม้ฟอกอากาศที่กำลังเป็นกระแสและมีคนนิยมหันมาให้ความสนใจซื้อไปปลูกกันเป็นจำนวนมาก หลังมีการซื้อขายสูงถึง 1.4 ล้าน ล่าสุดมีคนมาเสนอราคามากกว่าครึ่งล้าน

(7 มิ.ย. 2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกโซเชียลกำลังฮือฮา กรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชนัญญา า. ร้านสวนปลูกรัก ภายในตลาดต้นไม้อินโดจีน การ์เด้น ต.สมอแข อ.เมืองพิษณุโลก ของ นางวรรณา นางบวช และ น.ส.ชนัญญา มีสุวรรณ หรือ น้องนุ่น อายุ 19 ปี สองแม่ลูก เจ้าของร้าน ที่ได้โพสต์ขายต้นไม้มอนสเตอร่า พันธุ์ด่างมิ้นต์ โดยระบุข้อความว่า "มาส่งน้องวันนี้ 1.4 M มารับเงินเต็ม ส่งถึงมือ ขอบคุณคุณพี่ค้าบบบ monstera deliciosa mint" พร้อมแนบสลิปโอนเงินจำนวน 1.32 ล้านบาท หลังจากโพสต์ขายเพียงวันเดียว แต่กลับมีคนสนใจติดต่อขอซื้อไปในราคา 1 ล้าน 4 แสนบาท และโอนเงินมัดจำเอาไว้ 8 หมื่นบาท ก่อนจะขับรถเดินทางไปส่งให้ถึงมือลูกค้าที่ กทม. พร้อมรับเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารอีกจำนวนที่เหลือทั้งหมด จนกลายเป็นที่ฮือฮา

ล่าสุดพบการเลี้ยง "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์” อีกที่ 1 กำลังเป็นที่สนใจในสื่อต่าง ๆ หลังมีการออกมานำเสนอ เจ้าของร้านถ่ายภาพ และผู้สื่อข่าวท้องถิ่นหัวเขียว ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ที่นำ "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์” ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นภายในสวนเกษตรของตนเอง แต่กลายเป็นกระแสจึงนำมาเลี้ยงดูภายในบ้าน เนื่องจากหวั่นถูกขโมย เพราะต้นไม้กำลังได้รับความนิยมและมีราคาแพง

ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางได้ที่ร้านถ่ายรูปดังกล่าว ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมสายเก่า สมุทรสงคราม – ปากท่อ ตรงข้ามหน้าที่ว่าการอำเภอปากท่อ เลขที่ 191 หมู่ 8 ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จังหวัดราชบุรี พบกับนายสมศักดิ์ สุกเกลี้ยง อายุ 69 ปี เจ้าของสตูดิโอถ่ายภาพเมืองทอง และยังเป็นผู้สื่อข่าวฉบับหัวเขียว

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนได้ทดลองเลี้ยงต้น "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์” โดยดูแลมาเพียง 6 เดือน แรกเริ่มเดิมทีตนเป็นคนทำสวน ทำไร่ ชอบปลูกต้นไม้อยู่แล้ว ประกอบกับอายุที่มากขึ้น และลูกโตแล้วพอที่จะดูแลกิจการและทำข่าวแทนได้ จึงได้หันมาเป็นชาวสวนชาวไร่ เพื่อเป็นการพักผ่อน จนกระทั่งเห็นกระแสนิยมของต้น "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์ ราชินีแห่งไม้ใบ มีการซื้อขายกันนับล้านบาท และมีคนนิยมเลี้ยงกันเยอะมาก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถฟอกอากาศได้ด้วย ตนจึงมีความสนใจอยากจะลองปลูกและเลี้ยงดู ไม่ได้หวังจะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าอะไร เห็นว่าใบมีความสวยงาม และก่อนหน้านี้เลี้ยงอยู่ในกระถางวางไว้ที่สวน ดูแลรดน้ำตามปกติ พอมีกระแสข่าว กลัวว่าจะมีผู้ไม่หวังดีมายืมแบบไม่บอกกล่าวเอาไป (ขโมย) จึงได้นำกลับมาเลี้ยงที่ร้าน ตั้งอยู่ตรงโต๊ะทำงานในร้านคนผ่านไปผ่านมาก็จะเห็นอย่างเด่นชัด

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การเลี้ยงต้นไม้ชนิดนี้จะมีความสนุกอย่างหนึ่ง คือเราจะได้ลุ้นทุกครั้งที่ใบของมันจะคลายออกจากม้วนว่าจะมีลวดลายด่างสวยงามขนาดไหน ถึงขนาดมีบางคนเคยพูดไว้ว่า ปลูกต้นไม้ชนิดนี้ต้องมีดวงและวาสนาด้วยถึงจะได้เห็นใบด่างของมัน ตนได้ซื้อต้นนี้มาเมื่อ 6 เดือนก่อน มีแต่หน่อและใบม้วนขนาดเล็กเท่านั้น แต่เมื่อตนเลี้ยงดูแลเขามาเรื่อยๆ จนใบเริ่มคลายม้วนและมีลายด่างให้เห็น จนออกมา 5 ใบ ตนก็เฉยๆไม่ได้คาดหวังหรือคิดอะไรดูแลไปเรื่อยๆ จนกระทั่งออกใบที่ 6 และเริ่มคลายม้วนออกมามีลายด่างมิ้นสวยงามเต็มใบ มีลำต้นและใบสีสันเขียวสดใส ลวดลายของใบเป็นด่างมิ้นสลับขาว มีใบทั้งหมด 6 ใบ ใบใหญ่สุดยาวขนาดประมาณ 60 ซม. กว้าง 40 ซม.

หลังจากมีคนทราบข่าวจากสื่อต่าง ๆ ว่าตนปลูก "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์” แวะเวียนเข้ามาขอชม เพราะให้เหตุผลว่า สวยสะดุดตามาก ล่าสุดมีคนเสนอราคาให้กับตนจำนวน 5 แสนบาท และอีกรายล่าสุดมาเสนอให้เกือบ 1 ล้านบาท ซึ่งตนเองก็ขอดูไว้ก่อน เพราะแต่ตอนนี้ "มอนสเตอร่าด่างมิ้นต์”กำลังออกด่างอย่างสวยงาม หากเจริญเต็มที่ก็จะกางใบหงายขึ้นสวยงามอีก ซึ่งราคาต้องไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านแน่นอน จึงขอตัดสินใจอยู่ว่า จะขายหรือเก็บไว้เพื่อดูแลต่อไปดี เพราะใจหนึ่งตนก็อยากขายแต่อีกใจก็เสียดาย เพราะถือว่าหายากมาก

สำหรับใครสนใจที่จะศึกษา หรือ มาชมความงามก็สามารถเดินทางมาได้ที่ร้านถ่ายรูปพิมพ์ทอง ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมสายเก่า สมุทรสงคราม – ปากท่อ ตรงข้ามหน้าที่ว่าการอำเภอปากท่อ เลขที่ 191 หมู่ 8 ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จังหวัดราชบุรี โทร 081-4257166


ภาพ/ข่าว  ตาเป้ จ.ราชบุรี

‘สภากาชาดไทย’ ลงพื้นที่เตรียมความพร้อม! จัดตั้งหน่วยบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ผู้ลี้ภัยและผู้อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอล สภากาชาดไทย พร้อมด้วย Mr.Peter Simpson iResponse,ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), แพทย์หญิงกานดา ลิมิตเลาหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ และคณะ, นางกุลชลีย์ สุคันวรานิล ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล (ฝ่ายบริหาร), นางอรวรรณ ขำเพชร หัวหน้าสถานีกาชาดที่ 8 จังหวัดเพชรบุรี, นางสาวสุดใจ เครือวณิชธรรม หัวหน้าสถานีกาชาดหัวหิน เฉลิมพระเกียรติ ร่วมประชุมหารือกับนายอดุลย์ ถาวรกุล นายอำเภอสวนผึ้ง, นายศุภสิทธิ์ ถีราวุฒิ ปลัดอำเภอสวนผึ้ง, นายแพทย์นภัส มณีศรีขำ นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนผึ้ง, Dr.Myo Htet,Senior Clinical Manager, คุณธิดารัตน์ แดหวา Field Coordinator  IRC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top