Thursday, 18 April 2024
รถโดยสารไฟฟ้า

รอทำไม? หากหยุดใช้รถน้ำมัน 10,000 คัน แล้วลดก๊าซเรือนกระจกได้ 220,454 ตันต่อปี

คำถามปลายเปิด ที่แทบไม่ต้องรอคำตอบปลายปิด ในยุคที่พลังงานน้ำมันแพง กอปรกับกระแสความแรงของการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก รวมถึงประเทศไทย!!

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาไหลเวียนในพาหนะยุคต่อจากนี้ จะพยายามเร่งสปีดเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคน โดยเฉพาะคนไทยมากยิ่งแค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแง่ของราคาและความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ยังคงอยู่ในระดับของการเฝ้าดูจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียมาก 

กลับกันแนวคิดในการสนับสนุนยานพาหนะในหมวดขนส่งสาธารณะ หรือ ‘รถโดยสาร’ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ดูจะมีความเป็นไปได้และได้รับแรงหนุนกระแสลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานของ Electric Vehicle Outlook ของ Bloomberg ที่คาดว่า ตลาด ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (e-Buses) จะถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั่วโลกภายในปี 2040

เหตุผลหลัก เพราะ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่สามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะที่ดีควบคู่ได้ ก็จะช่วยให้คนลดการใช้รถส่วนตัว (น้ำมัน) ลดปัญหามลพิษ, ลดปัญหาโลกร้อน ตลอดจนลดปัญหาทางด้านการจราจร ก่อนทั้งโลกจะเปลี่ยนผ่านจากเครื่องสันดาปสู่ไฟฟ้าเต็มตัว 

และนี่แหละ คือ เหตุผลว่าทำไม ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (รถบัส) อาจจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งพลังงานและช่วยลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ว่าแต่!! พอหันกลับมาดู ประเทศไทย ซึ่งมีการจดทะเบียนรถโดยสารเพื่อการพาณิชย์ หรือ ‘รถโดยสาร’ ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 คันนั้น

ก็พลันให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราเริ่มเปลี่ยน ‘รถโดยสาร’ ที่มีอยู่ให้กลายเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ได้ จะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้เพียงใด? (ปัจจุบันประเทศไทยมี ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ จาก EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์)

...220,454 ตันต่อปี คือ ผลลัพธ์จากการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) 

...233,333,333.33 ลิตรต่อปี คือ ตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลง ซึ่งเดิมปริมาณตัวเลขนี้ สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 629,701.80 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว (หมายเหตุ: คำนวณจากจำนวนรถ 10,000 คัน ระยะทางการวิ่งรถ 200 กิโลเมตรต่อวัน เป็นระยะเวลา 350 วันเท่ากัน)

แบตเตอรี่ Li-ion ขนาด 1 กิกะวัตต์ ต่อยอดอะไรได้บ้าง?

ความหวังสังคมรถไฟฟ้าเด่นชัดขึ้น เมื่อปัจจุบัน บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) บริษัทย่อยในกลุ่มของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เดินเครื่องผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA เป็นที่เรียบร้อย 

โดยในระยะเริ่มต้นสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถนำมาใช้กับรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ที่ขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปีกันเลยทีเดียว 

‘ไทย สมายล์ บัส’ เข้ากลุ่ม EA ควบรวมรถ – เรือโดยสาร ยกระดับบริการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้า

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม EA สยายปีก ควบรวมรถโดยสารเข้ากับเรือโดยสารยกระดับการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษครบวงจร นำร่องช่วยลดการปล่อย CO2 พร้อมสะสม Carbon credit

(24 พ.ย.65) ณ ไทย สมายล์ บัส สาขาตลิ่งชัน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีเปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งในวันดังกล่าว บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (หรือ 'ไทย สมายล์ บัส') ยังได้ประกาศผลสำเร็จในการขยายธุรกิจของบริษัทที่สามารถควบรวมกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารรวมทั้งสิ้น 21 บริษัท ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันภายใต้แนวคิด Thai Smile as One ไทยสมายล์รวมใจเป็นหนึ่ง เป็นผลให้กลุ่มไทย สมายล์ และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (หรือ 'BYD') ได้เข้าไปเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (หรือ “EA”) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสะอาดและด้านยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า EA มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะพัฒนาและส่งเสริมการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ PM2.5 ตลอดจนลดต้นทุนพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเพื่อการพาณิชย์ที่มีการใช้งานสูง เช่น รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก เป็นต้น EA ได้มองเห็นศักยภาพของ BYD ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด อันเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตให้บริการรถโดยสารประจำทางจากกรมการขนส่งทางบกจำนวนรวมสูงถึง 80 เส้นทาง และกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 6 เส้นทาง โดยมุ่งเน้นให้บริการด้วยรถโดยสารไฟฟ้าเป็นหลัก จึงนับว่ามีวิสัยทัศน์และแนวคิดที่สอดประสานกันกับกลุ่ม EA อย่างลงตัว จึงตัดสินใจนำบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน BYD ร้อยละ 23.63 คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997 ล้านบาท และมีการจัดโครงสร้างด้วยการขายกลุ่มธุรกิจให้บริการรถโดยสารในเครือ EA จำนวน 37 เส้นทาง และเรือโดยสาร 3 เส้นทาง ให้แก่ไทย สมายล์ บัส เพื่อให้มีการควบรวมกิจการในคราวเดียวกัน ส่งผลให้กลุ่มไทยสมายล์มีสายการเดินรถในกรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 120 เส้นทาง และเรือโดยสารอีก 3 เส้นทาง นับเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่เสริมศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม EA ให้ครบวงจรอย่างแท้จริง และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าของบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง อีกทั้ง EA ได้ร่วมมือกับ BYD ในโครงการขายคาร์บอนเครดิตกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคตได้ ส่งเสริมให้กลุ่ม EA เป็นผู้นำทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเดินหน้าลงทุนในกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าตามแผนที่วางไว้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก BYD ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรูปเงินให้กู้ยืมถึง 8,550 ล้านบาท และยังได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ทั้งในด้านเทคโนโลยี บุคลากร การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ และการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่สอดประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ไทย สมายล์ บัสเชื่อมั่นว่า จะสามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อตอบโจทย์ให้ทันใจต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ตามแผน ทั้งนี้ ได้ประมาณการไว้ว่าต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นอีกกว่า 18,000 ล้านบาท และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชน มากกว่า 7,500 ตำแหน่ง

“เราจะเป็นผู้นำในการพลิกโฉมการให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะของกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นเครือข่ายของระบบให้บริการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าที่ไร้มลพิษและไร้ PM2.5 มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และครบวงจรเป็นประเทศแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ด้วยการให้บริการเส้นทางเดินรถและเดินเรือจำนวนกว่า 120 เส้นทาง เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางและการเก็บค่าโดยสารทางบกและทางน้ำเป็นโครงข่ายเดียวกัน  (หรือ Single Network) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ยกระดับคุณภาพการให้บริการและจัดระบบการควบคุมได้อย่างรัดกุมแบบรวมศูนย์ หรือ (Single Service) และจะนำระบบการคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย ภายในโครงข่ายของกลุ่มไทยสมายล์ (หรือ Single Price) เพื่อลดภาระของผู้โดยสาร แนวคิด 3-Single นี้  จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคนต่อไป” นางสาวกุลพรภัสร์กล่าว

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมกลุ่ม EA ควบรวมรถ – เรือโดยสาร ยกระดับระบบขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้า

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม EA สยายปีก ควบรวมรถโดยสารเข้ากับเรือโดยสารยกระดับการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษครบวงจร นำร่องช่วยลดการปล่อย CO2 พร้อมสะสม Carbon Credit

ไม่นานมานี้ที่ไทย สมายล์ บัส สาขาตลิ่งชัน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีเปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งในวันดังกล่าว บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (หรือ ‘ไทย สมายล์ บัส’) ยังได้ประกาศผลสำเร็จในการขยายธุรกิจของบริษัทที่สามารถควบรวมกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารรวมทั้งสิ้น 21 บริษัท ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันภายใต้แนวคิด ‘Thai Smile as One’ ไทยสมายล์รวมใจเป็นหนึ่ง เป็นผลให้กลุ่มไทย สมายล์ และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (หรือ BYD) ได้เข้าไปเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (หรือ ‘EA’) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสะอาดและด้านยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า EA มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะพัฒนาและส่งเสริมการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ PM2.5 ตลอดจนลดต้นทุนพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเพื่อการพาณิชย์ที่มีการใช้งานสูง เช่น รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก เป็นต้น 

EA ได้มองเห็นศักยภาพของ BYD ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด อันเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตให้บริการรถโดยสารประจำทางจากกรมการขนส่งทางบกจำนวนรวมสูงถึง 80 เส้นทาง และกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 6 เส้นทาง โดยมุ่งเน้นให้บริการด้วยรถโดยสารไฟฟ้าเป็นหลัก จึงนับว่ามีวิสัยทัศน์และแนวคิดที่สอดประสานกันกับกลุ่ม EA อย่างลงตัว จึงตัดสินใจนำบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน BYD ร้อยละ 23.63 คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997 ล้านบาท และมีการจัดโครงสร้างด้วยการขายกลุ่มธุรกิจให้บริการรถโดยสารในเครือ EA จำนวน 37 เส้นทาง และเรือโดยสาร 3 เส้นทาง ให้แก่ไทย สมายล์ บัส เพื่อให้มีการควบรวมกิจการในคราวเดียวกัน 

ส่งผลให้กลุ่มไทยสมายล์มีสายการเดินรถในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 120 เส้นทาง และเรือโดยสารอีก 3 เส้นทาง นับเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่เสริมศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม EA ให้ครบวงจรอย่างแท้จริง และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าของบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง 

อีกทั้ง EA ได้ร่วมมือกับ BYD ในโครงการขายคาร์บอนเครดิตกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคตได้ ส่งเสริมให้กลุ่ม EA เป็นผู้นำทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเดินหน้าลงทุนในกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าตามแผนที่วางไว้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก BYD ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรูปเงินให้กู้ยืมถึง 8,550 ล้านบาท และยังได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ทั้งในด้านเทคโนโลยี บุคลากร การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ และการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่สอดประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ไทย สมายล์ บัสเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อตอบโจทย์ให้ทันใจต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ตามแผน ทั้งนี้ ได้ประมาณการไว้ว่าต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นอีกกว่า 18,000 ล้านบาท และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชน มากกว่า 7,500 ตำแหน่ง

“เราจะเป็นผู้นำในการพลิกโฉมการให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะของกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นเครือข่ายของระบบให้บริการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าที่ไร้มลพิษและไร้ PM2.5 มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และครบวงจรเป็นประเทศแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ด้วยการให้บริการเส้นทางเดินรถและเดินเรือจำนวนกว่า 120 เส้นทาง เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางและการเก็บค่าโดยสารทางบกและทางน้ำเป็นโครงข่ายเดียวกัน (หรือ Single Network) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยกระดับคุณภาพการให้บริการและจัดระบบการควบคุมได้อย่างรัดกุมแบบรวมศูนย์ หรือ (Single Service) และจะนำระบบการคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย ภายในโครงข่ายของกลุ่มไทยสมายล์ (หรือ Single Price) เพื่อลดภาระของผู้โดยสาร แนวคิด 3-Single นี้ จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคนต่อไป” นางสาวกุลพรภัสร์ กล่าว

ปัจจุบัน กลุ่มไทยสมายล์เปิดให้บริการรถโดยสารสาธารณะแล้ว กว่า 70 เส้นทาง หรือกว่า 900 คัน โดยแบ่งเป็น รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 35 เส้นทาง หรือจำนวนรถที่บริการ 612 คัน และรถโดยสารสาธารณะเอ็นจีวี 37 เส้นทาง หรือคิดเป็นจำนวนรถที่ให้บริการ 365 คัน สำหรับวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 นี้ เป็นวันที่เปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งคาดว่า จะได้รับการตอบรับและการสนับสนุนจากผู้โดยสารเป็นอย่างดีดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และจากเสียงสะท้อนที่แสดงถึงความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 100% ของเรา กลุ่มไทยสมายล์จึงมีความยินดีที่จะแจ้งว่า เรามีแผนที่จะเปลี่ยนรถโดยสารทั้งหมด เป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป  

‘รถโดยสารไฟฟ้า’ หนึ่งในกุญแจสำคัญพาเมืองไร้มลพิษ ช่วยปลดล็อกปัญหาโลกร้อน - ส่งมอบอากาศใสบริสุทธิ์

ปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ ถือเป็นปัญหาที่ผู้คนทั้งโลกกำลังเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เริ่มตระหนักและมองหาทางออกที่ยั่งยืน เพื่อรักษาอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมของโลกให้คงความเหมาะสมสำหรับอยู่อาศัยกันต่อไป

ทางออกที่มองหาจนเจอก็คือการพาโลกทั้งใบไปสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ โดยมีตัวแปรสำคัญคือ ‘พลังงานสะอาด’ ที่จะมาทำหน้าที่ทดแทนพลังงานรูปแบบเดิม (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน) แต่มีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่ากัน

และหากมองกระแสโลกในปี 2023 ก็พอจะเห็นว่า ‘พลังงานไฟฟ้า’ กำลังได้รับความสนใจจากคนทุกกลุ่ม และหลาย ๆ อุตสาหกรรมพยายามประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากเห็นประโยชน์และศักยภาพที่คุ้มค่า แต่ที่เห็นได้ชัดก็คงเป็นเรื่องของ ‘ยานพาหนะ’ ที่ตอนนี้มีหลายเจ้ายานยนต์ได้เปิดตัวอวดโฉม ‘รถยนต์พลังงานไฟฟ้า’ ในค่ายของตัวเอง แถมมียอดจับจองถล่มทลาย

แต่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง ‘จำนวนผู้โดยสาร’ ที่บรรจุได้เพียงไม่กี่คนต่อหนึ่งเที่ยว (บางครั้งก็แค่ 1 คน 1 คัน) และหากทุกคนหันมาเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลกันหมด เราก็คงจะได้เห็นภาพท้องถนนที่เต็มไปด้วยรถยนต์ที่ขยับทีละ 2 เมตรก็ต้องจอดนิ่งเหมือนเดิมแน่

หนทางเลี่ยงเหตุการณ์น่าสะพรึงแบบนั้นก็คงต้องหันหน้าเข้าหา ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ หรือ e-Buses เพราะนอกจากจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดฝุ่น-มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เป็นยานพาหนะที่เข้าถึงคนได้จำนวนมาก บรรทุกผู้โดยสารต่อรอบได้เยอะกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล และหากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้บริการรถโดยสารสาธารณะกันมากขึ้น ทำให้ปริมาณความหนาแน่นบนท้องถนนลดลงด้วย

ซึ่งแนวโน้มการหันมาใช้รถโดยสารไฟฟ้าก็พอจะเด่นชัดมากขึ้น สอดคล้องกับรายงานที่น่าสนใจของ Bloomberg ที่คาดว่าภายในปี 2040 หรืออีก 17 ปี ข้างหน้า รถโดยสารสาธารณะทั่วโลกจะถูกปรับเปลี่ยนเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั้งหมด

แน่นอนกว่า หากมีปัจจัยอื่น ๆ หนุนนำให้สังคมโลกนิยมใช้รถโดยสารไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เช่น ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทันสมัยที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ก็คงได้เห็นรถโดยสารไฟฟ้าวิ่งให้บริการมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ก็เริ่มเดินหน้าจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการประชาชนในประเทศกันแล้ว

เอาล่ะ!! มองกลับมาที่ ‘เมืองไทย’ ของเราก็ไม่น้อยหน้าต่างประเทศเหมือนกัน ทั้งภาครัฐและเอกชนก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจกับรถโดยสารไฟฟ้าแล้ว ซึ่งหากได้ยืนรอรถที่ป้ายรถเมล์สักแห่งในกรุงเทพฯ หรือแม้แต่สัญจรบนท้องถนนทุก ๆ วัน ก็ต้องสะดุดตากับรถโดยสารไฟฟ้าสีน้ำเงินเข้มที่วิ่งมาจอดเทียบป้ายอยู่เรื่อย ๆ แถมยังมีหลากหลายเส้นทางให้บริการด้วย

หากเพ่งมองให้ดีจะพบว่า ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ สีน้ำเงินเข้มนี้เป็นของ ‘ไทย สมายล์ บัส’ ตอนนี้ให้บริการครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑล ภายใต้สโลแกน “เดินทางด้วย รอยยิ้ม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” 

ซึ่งก็เป็นการ ‘ใส่ใจสิ่งแวดล้อม’ ที่เห็นเป็นรูปธรรม เพราะการใช้รถโดยสารไฟฟ้าจะไม่เพิ่มมลพิษทางอากาศ ไม่ปล่อยฝุ่น PM2.5 หรือควันสีดำเหม็น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อระบบทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ รถโดยสารไฟฟ้า 1 คัน สามารถลดก๊าซคาร์บอนฯ ได้มากถึง 72 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนฯ ของต้นไม้ 7,602 ต้นต่อปี (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักเศรษฐกิจป่าไม้ กรมป่าไม้ ระบุว่า ป่าไม้พื้นเมืองดูดซับคาร์บอนฯ 0.95 ตันคาร์บอน / ไร่ / ปี หรือ 100 ตัน / ไร่)

เรียกได้ว่า ยิ่งมีรถโดยสารไฟฟ้ามากแค่ไหน ผู้คนก็ยิ่งได้สูดอากาศบริสุทธิ์เต็มปอดมากเท่านั้น หรือหากต่อยอดให้ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ นอกจากจะได้อากาศที่สดชื่นชุ่มปอดแล้ว ระบบการเดินทางของไทยก็จะเชื่อมต่อหากันแบบไม่สะดุด ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว ส่วนผู้ประกอบการก็คงได้ยิ้มออกกันถ้วนหน้า

สรุปง่าย ๆ ก็คือได้ประโยชน์หลายต่อนั่นเอง!!

ก็มารอดูกันว่าในอีก 17 ปีข้างหน้า ระบบขนส่งบ้านเราจะพลิกโฉมไปใช้ ‘พลังงานไฟฟ้า’ ได้มากน้อยแค่ไหน แต่หากฝันอยากเห็น ‘เมืองไทยไร้คาร์บอน’ แบบครอบคลุมทั่วประเทศ ก็คงต้องเร่งมือพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้โดนใจประชาชน และจัดหา ‘ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า’ มาแล่นให้บริการโดยไว

‘ADB-JICA-EXIM’ ไฟเขียว!! ปล่อยกู้ EA 3.9 พันล้านบาท เดินหน้าโครงการรถโดยสารไฟฟ้า ยกระดับขนส่งไร้มลพิษ

EA ลงนามสินเชื่อเงินกู้มูลค่า 3.9 พันล้านบาท กับ ADB JICA และ EXIM Thailand เดินหน้าโครงการรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) ยกระดับการขนส่งไร้มลพิษอย่างยั่งยืน

(4 ธ.ค.66) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด ได้ร่วมลงนามสินเชื่อเงินกู้ มูลค่า 3.9 พันล้านบาท (เทียบเท่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) กับ 3 สถาบันการเงิน นำโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) เพื่อลงทุนเช่าซื้อรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ (EV Bus) จำนวนไม่เกิน 1,200 คัน ซึ่งรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะเหล่านี้ จะเข้ามาแทนที่รถโดยสารเครื่องยนต์สันดาป และช่วยเสริมบริการขนส่งสาธารณะของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และบริษัทในเครือ ครอบคลุม 123 เส้นทาง ภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รองรับการใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่สะอาดในประเทศไทย

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เปิดเผยว่า “การร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อ มูลค่า 3.9 พันล้านบาท (เทียบเท่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อนำเงินไปบริหารจัดการธุรกิจเช่าซื้อรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ (EV Bus) โดยระยะแรกเป็นการให้เช่าซื้อแก่ผู้ประกอบการที่ให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยกระดับการเดินทาง ลดปัญหามลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้จากผลตอบแทนจากการเดินรถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตรถโดยสารไฟฟ้าเป็นโครงการแรกของเอเชีย”

“EA มุ่งเน้นในการขยายสู่ธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดการดำเนินงานธุรกิจปัจจุบันของกลุ่มบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง โดยการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Thailand) ในครั้งนี้ เพื่อผลักดันนโยบายของบริษัทฯ ที่มุ่งสู่การเป็นบริษัทผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดของประเทศ ในการดำเนินธุรกิจที่มีความครอบคลุมทุกการบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า สร้างนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EA’s EV Ecosystem) อย่างครบวงจร โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างโอกาสการลงทุนร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญทำให้ EA เติบโตไปพร้อมกับการสร้างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สู่สังคมไร้มลพิษอย่างยั่งยืน” นายอมรกล่าว

‘ไทย สมายล์ กรุ๊ป’ เดินแผนปลดระวางรถเมล์ NGV 350 คัน แล้วเสร็จ ผันตัวเป็น ‘ขนส่งไร้มลพิษ’ ให้บริการ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เต็มรูปแบบ 

(29 ม.ค. 67) นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ปัญหาฝุ่นควันพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตของผู้คนซึ่งบริษัทได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ทำให้ก่อนหน้านี้ได้ทำการประกาศนโยบายพัฒนาระบบขนส่งของไทยให้ก้าวสู่ยุคพลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยการปลดประจำการรถเมล์ NGV ทั้งหมด 350 คัน จะต้องถูกยกเลิกการใช้งานทั้งหมดภายในเดือน ม.ค.นี้

โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้ยกเลิกการใช้งานรถ NGV คันสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นส่วนสำคัญในภาคการขนส่งที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ ทั้งยังเตรียมตัวสู่ยุค Net Zero Carbon ที่สอดคล้องกับแนวคิดขององค์กร “เดินทางด้วยรอยยิ้ม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

ขณะเดียวกัน TSB ได้ประกาศเป็นนโยบายให้รถทุกคันเปิดรับชำระค่าโดยสารทั้ง 2 ระบบ ผู้เดินทางสามารถใช้ ‘เงินสด’  จ่ายผ่านบัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีทางเลือกที่มากขึ้น ด้วยอัตราค่าโดยสารเริ่มเพียง 15-20-25 บาท ตามระยะทาง

นอกจากนี้ ยังมีบริการรองรับสำหรับคนใช้งานประจำ ในการใช้บัตร HOP Card เพื่อรับสิทธิประโยชน์ ‘เดลิ แมกซ์ แฟร์’ Daily Max Fare เดินทางกี่ต่อ กี่สาย กี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัดจำนวนภายในหนึ่งวัน ด้วยการชำระค่าโดยสารสูงสุดเพียง 40 บาทต่อวันเท่านั้น หรือจะนั่งรถต่อเรือ เรือต่อรถ ชำระค่าโดยสารสูงสุดเพียง 50 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถหาซื้อบัตรได้ง่าย ๆ ผ่านทางแอปพลิเคชัน Shopee


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top