Friday, 19 April 2024
รถยนต์ไฟฟ้า

ครม. ไฟเขียวขึ้นภาษีรถใช้น้ำมันยกแผง บีบคนหันใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

ครม. เห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ครั้งใหญ่ บีบขึ้นภาษีรถยนต์น้ำมันยกแผง เพื่อให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยผลการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 65 เห็นชอบปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั้งระบบ โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย ดังนี้

1.) การปรับลดเกณฑ์การปล่อย CO2 เพื่อส่งเสริมให้รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ และรถจักรยานยนต์ มีการลดการปล่อย CO2 และประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น

2.) การกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภท HEV และ PHEV ให้มีความแตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงขึ้นของ PHEV และการพัฒนาไปสู่รถยนต์ BEV ซึ่งมีการพิจารณาถึงสมรรถนะของเทคโนโลยี PHEV ในเรื่องระยะทางการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Range : ER) โดยสามารถวิ่งได้ไม่น้อยกว่า 80 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และขนาดถังบรรจุน้ำมัน (Oil Tank) เพื่อลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน

3.) การทยอยปรับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภท ICE, HEV และ PHEV ให้เหมาะสม โดยกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได 3 ช่วง ได้แก่ ปี พ.ศ. 2569 พ.ศ. 2571 และ พ.ศ. 2573 ตามลำดับ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์/ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ และปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภท BEV จากอัตราร้อยละ 8 เหลืออัตราร้อยละ 2 เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และสร้างแรงจูงใจในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ

4.) การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์กระบะ และอนุพันธ์ของรถยนต์กระบะ (Product Champion) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตต่อไป โดยคำนึงถึงการลดการปล่อย CO2 และสนับสนุนพลังงานเชื้อเพลิงทดแทน Biodiesel และยังส่งเสริมให้เกิดการใช้และผลิตรถยนต์กระบะไฟฟ้า (BEV) ในประเทศโดยกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตร้อยละ 0 เป็นการชั่วคราวจนถึงปี พ.ศ. 2568

5.) การกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทุกประเภท ยังสนับสนุนมาตรฐานด้านความปลอดภัย โดยให้มีการติดตั้งระบบ Advanced Driver - Assistance Systems (ADAS) มาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ต้องมีการติดตั้งระบบ ADAS อย่างน้อย 2 ระบบจาก 6 ระบบ ยกเว้น BEV ต้องมีอย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ และรถยนต์กระบะ ต้องมีการติดตั้งระบบ ADAS อย่างน้อย 1 ระบบจาก 6 ระบบ ยกเว้น BEV ต้องมีอย่างน้อย 2 จาก 6 ระบบ

รัฐเร่งเครื่องยานยนต์ไฟฟ้า ดันมาตรฐานอีวีเพิ่มรองรับ 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุม กมอ. ได้เห็นชอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน เพื่อรองรับนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของรัฐบาล หลังจากได้มีการประกาศใช้แล้วจำนวน 116 มาตรฐาน 

สำหรับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าที่ประกาศเพิ่มอีก 19 มาตรฐาน เช่น มาตรฐานจักรยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า มาตรฐานระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรฐานวิธีทดสอบที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า ในปี 2565 สมอ. มีแผนจัดทำมาตรฐานอีกจำนวน 19 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานเรือไฟฟ้า ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า  ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์  และระบบแบตเตอรี่ของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยจะเร่งดำเนินการออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านอีวีให้เป็นรูปธรรม 

อนาคตสดใส!!  เกาะรั้ว 'มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43'​ กระแสยานยนต์ไฟฟ้าคึกคัก ขานรับนโยบายรัฐดันไทยสู่ฮับผลิต​ EV​ แห่งอาเซียน

'รมว.สุริยะ'​ พอใจภาพรวมงาน 'มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43'​ เผยรัฐบาลเตรียมมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หลังพบยอดการใช้งานสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

(27 มีนาคม 2565​)​ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสากรรม นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้นที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม-3 เมษายน 2565 โดยมีนายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม, ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม​ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นายชาญ ตุลยะเสถียร, นายโสภณ ตันประสิทธิกุล, ดร.สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์, นายชัชวัฏ สุวรรณโณ, นายกฤตณ์พัทธ์ กังสุวรรณ, นายธีระ บัวประดับกุล คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารบริษัทยานยนต์ชั้นนำ เข้าร่วม

งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ก้าวด้วยกัน ไปด้วยใจ ไปได้ไกล” หรือ “KEEP MOVING FORWARD TOGETHER” โดยบริษัทกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานหลัก โดยมี 27 บริษัทรถยนต์ 8 บริษัทรถจักรยานยนต์ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านยานยนต์เข้าร่วมจัดแสดงบนพื้นที่กว่า 170,960 ตารางเมตร 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวชื่นชมคณะผู้จัดงานที่เตรียมพร้อมตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี และดีใจที่ประชาชนให้ความสนใจการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์​ เพราะประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศหลักที่ผลิตรถยนต์ของโลก โดยในประเทศอาเซียน ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ซึ่งในปีนี้มีการประกอบรถยนต์ในประเทศไทยประมาณ 1,800,000 คัน ขณะที่การจัดงานในปีนี้ พบว่า มีบริษัทผู้ประกอบรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยรัฐบาลตั้งเป้าภายใน 5 ปีจากนี้ จะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่น้อยกว่า 360,000 คัน โดยแบ่งเป็นใช้ในประเทศ 260,000 คัน และส่งออก 100,000 คัน 
 

‘สุริยะ’ ปลื้มยอดจอง EV ในมอเตอร์โชว์สูง สั่งหนุนเต็มสูบ ดันไทยเป็นฮับผลิต EV

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มกระแสรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมาแรง ดันยอดจองภายในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 รวมทั้งสิ้น 3,000 คัน สั่งเร่งเครื่องสนับสนุนเต็มสูบ หวังดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวถึงงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 หรือ งานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ที่ปิดฉากลงไปเมื่อ 3 เมษายนที่ผ่านมา มียอดจองรถยนต์ภายในงานรวมทั้งสิ้น 33,936 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 13.6% โดยเป็นยอดจองรถยนต์ไฟฟ้ารวมประมาณ 3,000 คัน คิดเป็น 10% โดยส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของภาครัฐที่ส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบกับรถยนต์และรถยนต์จักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำในช่วงงาน รวมถึงแคมเปญกระตุ้นยอดขายของค่ายรถ ขณะที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อมั่นในมาตรฐานด้านความปลอดภัยของการจัดงานทำให้มีตัวเลขผู้เข้าชมงานสูงถึง 1,578,898 คน

นอกจากนี้ การจัดงานปีนี้มีบริษัทผู้ประกอบกิจการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกกว่า 1.09 ล้านล้านบาท หรือ 6.4% ของ GDP ของประเทศ ในปี 64 ประเทศไทยผลิตรถยนต์รวม 1.7 ล้านคัน และคาดว่าปี 65 ประเทศไทยจะผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นรวม 1.8 ล้านคัน

นายสุริยะ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมยานยนต์ไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกำหนดวิสัยทัศน์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของภูมิภาค โดยกำหนดเป้าหมายในปี 68 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 225,000 คันต่อปี คิดเป็น 10% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด และในปี 73 การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศรวม 725,000 คันต่อปี คิดเป็น 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ภายในปี 73 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท และสร้างความต้องการแรงงานยานยนต์สมัยใหม่ประมาณ 30,000 อัตราต่อปี

BYD ปักธงไทย แห่งแรกในอาเซียน ทุ่ม 1.7 หมื่นล้าน ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ใน EEC

BYD รถยนต์ EV สัญชาติจีน ที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เซ็นสัญญาซื้อที่ดินตั้งโรงงานแรกในพื้นที่ EEC และถือเป็นแห่งแรกในอาเซียน ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท

Reporter Journey เผยว่า BYD รถยนต์ไฟฟ้าจีนพร้อมลงทุนใน EEC โดยวันที่ 8 กันยายน จะเซ็นสัญญาซื้อที่ดิน WHA นิคมฯ ระยอง 36 เพื่อสร้างโรงงานแห่งแรกในอาเซียนมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท

รายงานจากบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 กันยายนนี้ บริษัทเตรียมจัดพิธีเซ็นสัญญาซื้อ-ขายที่ดินระหว่าง WHA Group และ บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด (BYD) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกจีน ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตรถ EV แห่งแรกของ BYD ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิคมอุตสาหกรรมระยอง 36 ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

BYD ซื้อที่ดิน 600 ไร่จาก WHA ตั้งโรงงานผลิต EV เตรียมส่ง ATTO3 รถอีวีรุ่นแรกที่ผลิตและขายในไทย

บีวายดี (BYD) เผย ATTO3 จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผลิตและขายในไทย ตามแผนการลงทุนมูลค่า 17,891 ล้านบาท หลังซื้อที่ดิน 600 ไร่จาก WHA ตั้งโรงงานผลิต EV กำลังผลิต 150,000 คัน ดันไทยเป็นฮับส่งออกของอาเซียน

หลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า บีวายดีได้ตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์และเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาของภูมิภาคอาเซียน โดยมีมูลค่าการลงทุน 17,891 ล้านบาทตามที่นำเสนอผ่านบีโอไอของไทย

สำหรับการลงทุนครั้งนี้ เป็นการลงทุนของบีวายดี 100% ล่าสุดได้มีการลงนามเซ็นสัญญาซื้อที่ดินจำนวน 600 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง36 ของกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ WHAโดยไม่สามารถเปิดเผยมูลค่าได้ ส่วนการก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้และเริ่มผลิตในปี 2567 มีกำลังการผลิตสูงสุด 150,000 คันต่อปี

ไทยเนื้อหอม!! เตรียมเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน หลังค่ายรถรุมขยายโรงงาน เงินสะพัดกว่า 4 หมื่นล้านบาท | Summary Reporter EP.11

ไทยเนื้อหอม!! เตรียมเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน หลังค่ายรถรุมขยายโรงงาน เงินสะพัดกว่า 4 หมื่นล้านบาท

สยายปีกในต่างแดน!! ‘มาเลเซีย’ ยก EA พันธมิตรใหญ่ ช่วยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าเต็มรูปแบบ

ไม่นานมานี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA (Energy Absolute) ได้ส่ง EA Mobility Holding จับมือพันธมิตร Computer Forms (Malaysia) Berhad (CFM) ลงนาม HOA (Head of Agreement) ลุยพัฒนามาเลเซียสู่การเป็นสังคมไร้คาร์บอน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองในมาเลเซีย ปูทางสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในตัวเมืองลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมี Mr.Datuk Wira Justin Lim Hwa Tat กรรมการบริหาร, Computer Forms (Malaysia) Berhad (CFM) และนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนาม

เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ภายหลังที่เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานสะอาดอย่างชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล มุ่งเน้นให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นถึง 37% ตามแผนนโยบายในปี 2022-2040 อีกทั้งการเข้าร่วม COP26 ของทางรัฐบาล เพื่อตอบสนองต่อนโยบายแห่งชาติในเวทีโลก เข้าสู่สังคมไร้มลพิษ 

ดังนั้นภารกิจร่วมมือเพื่อลงทุนพัฒนาระบบการคมนาคมไฟฟ้าแบบครบวงจรจึงถือกำเนิด ภายใต้บริษัท CFM ของมาเลเซีย ที่ได้เล็งเห็นถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรในประเทศไทย ผ่านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุมเกี่ยวกับการคมนาคมแบบไร้มลพิษ ตั้งแต่การพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถโดยสารไฟฟ้า และเรือโดยสารไฟฟ้า และการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งมีเทคโนโลยีระบบ Ultra Fast Charge Technology สามารถอัดประจุไฟฟ้าสู่ยานยนต์ทุกชนิด 80% ในระยะเวลาเพียง 15-20 นาที

ด้านนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับ CFM เพื่อร่วมลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไร้มลพิษ นับเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของ EA ที่ได้รับการยอมรับในการนำนวัตกรรม Ultra Fast Charge Technology ของบริษัทฯ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา และผลิตในประเทศไทย เข้าสู่ตลาดขนส่งมวลชนของประเทศมาเลเซีย ก่อให้เกิดการร่วมลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกันในอนาคต สามารถผลักดันในบริษัทขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และตลาดโลกต่อไปในอนาคต

คปภ. เร่งแก้ปัญหาเบี้ยประกันภัยรถ EV แพง ผุด 3 ทางออกเร่งด่วน สร้างความมั่นใจแก่ผู้ซื้อ

เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 65 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย ซึ่งประชาชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการจูงใจทางภาษี ซึ่งปัจจุบันนี้ มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 2.84 แสนคัน แบ่งเป็น รถยนต์ไฮบริด 2.28 แสนคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 3.7 หมื่นคัน และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1.8 หมื่นคัน 

และมีการประเมินจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า สิ้นปี 2565 ยอดขายรวม 6.3 หมื่นคัน แบ่งเป็นรถยนต์ไฮบริด 4.2 หมื่นคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 1.1 หมื่นคัน และ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1 หมื่นคัน

น.ส.รัชดา กล่าวว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลังเลในการตัดสินใจซื้อรถ EV คือ เบี้ยประกัน ที่พบว่า เบี้ยประกันภัยของรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่าเบี้ยประกันภัยของรถยนต์ทั่วไปอย่างมาก ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย พัฒนา ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ได้เชิญบริษัทประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลายบริษัท และผู้แทนจากคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทยหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นหลักๆ คือ 

1.) บริษัทประกันกำหนดเบี้ยประกันภัยรถ EV แต่ละสัญชาติไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบริษัทที่รับประกันภัยรถยนต์กลุ่มนี้ 
2.) การรับประกันภัยรถ EV มีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถสันดาป ในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 800:1 ต้นทุนในการเกิดเหตุของรถ EV สูงกว่ารถสันดาปค่อนข้างมาก

ส่องสถานการณ์เปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมียนมา เมื่อบิ๊กจีนเทียบท่าใต้พลังงานไฟฟ้าที่ทรงๆ ทรุดๆ

เมื่อไม่กี่วันก่อนมีรายงานข่าวที่น่าสนใจว่าบริษัท Hozon Auto บริษัทรถยนต์สัญชาติจีนที่จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ NETA ได้ทำ MOU กับบริษัท Grand Sirius Co., Ltd. ในการที่จะเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในเมียนมา

เรื่องนี้มีประเด็นให้เล่าพอควร แต่ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องของรถไฟฟ้า เรามารู้จักบริษัททั้งสองบริษัทนี้กันก่อน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร?

เริ่มที่บริษัท Grand Sirius จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเมียนมาที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทสสิงคโปร์ โดยกลุ่มบริษัทนี้มี 4 ธุรกิจใหญ่ในเมียนมาได้แก่ บริษัท Ceramic Pro Myanmar เป็นบริษัทสีเซรามิกเคลือบสำหรับรถยนต์ การบินและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสีเคลือบแก้ว   

บริษัทต่อมาคือ V-Kool Myanmar เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายฟิล์มยี่ห้อ V-Kool ในเมียนมานั่นเอง

ถัดมาคือ บริษัท Moe Zac Auto ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้ารถมือสอง  

และสุดท้ายเป็นดีลเลอร์ของ Hyundai ในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์  

ส่วน Hozon Auto ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ในจังหวัดเจ้อเจียง ก่อตั้งโดย Beijing Sinohytec และ Zhejiang Yangtze Delta Region Institute of Tsinghua University และตั้งอยู่ในเมืองเจียซิง โดย Hozon Auto มุ่งเน้นในการคิดค้นและวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากบริษัทอื่น ๆ ที่มีการคิดค้นพัฒนายานยนต์ที่ใช้น้ำมันและพลังงานทางเลือกควบคู่กันไป  

แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หาก Hozon Auto นั้นเลือกที่จะเข้ามาเปิดตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย เพราะต้องยอมรับว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าสูง อีกทั้งการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่าง Hozon กับ ปตท. ที่เป็นบริษัทพลังงานเต็มรูปแบบ ก็ทำให้ Hozon มีแต้มต่อเมื่อเข้ามาเจาะตลาดในไทย ยิ่งราคาเปิดตัวในไทยอยู่ที่ประมาณครึ่งล้าน ถูกกว่ารถใช้น้ำมันบางรุ่น ก็ยิ่งทำให้ NETA เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่น่าจับตามองสำหรับชนชั้นกลางที่มีชีวิตในเมือง 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top