Friday, 29 March 2024
ย้ายประเทศ

สื่อสหรัฐฯ เผย ชาวมะกัน 62% อยากย้ายประเทศ!! พบอเมริกันชนย้ายไป 'เม็กซิโก' แล้ว 8 แสนคน

สำนักข่าว CNBC ของสหรัฐฯ ได้รายงานเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ชาวแคลิฟอร์เนียหลายแสนคน ย้ายฐิ่นฐานออกจากประเทศสหรัฐฯ ไปยังประเทศเม็กซิโก เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงเกินกว่าจะรับไหว ในขณะที่เม็กซิโกมีค่าครองชีพที่ถูกกว่า และมีลักษณะการใช้ชีวิตที่สุขสบายไม่เคร่งเครียด

แคลิฟอร์เนีย ถือเป็นรัฐที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ รองจากรัฐฮาวาย ซึ่งราคาบ้าน 1 หลังในแคลิฟอร์เนีย มีราคาเฉลี่ยหลังละ 797,470 ดอลลาร์ หรือประมาณ 28 ล้านบาท โดยสำนักข่าว CNBC ระบุว่า มีชาวแคลิฟอร์เนียเพียง 25% เท่านั้น ที่มีเงินมากพอที่จะซื้อบ้านในแคลิฟอร์เนีย โดยพบว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มีประชากรเดินทางออกจากรัฐแคลิฟอร์เนียไม่ต่ำกว่า 3.6 แสนคน ย้ายไปอาศัยอยู่ในรัฐวอชิงตัน รัฐอาริโซนา รัฐเท็กซัส และประเทศเม็กซิโก โดยในปี 2563 พบว่ามีประชากรชาวอเมริกัน 8 แสนคน อาศัยอยู่ในประเทศเม็กซิโก

จากกระแสการย้ายถิ่นฐานออกจากสหรัฐฯ ไปเม็กซิโก ที่เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ สำนักข่าว CNBC ยังได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชาวอเมริกัน พบว่า 62% อยากย้ายไปประเทศอื่น โดยผู้ตอบแบบสอบถามผลสำรวจ ไม่ค่อยมีความกังวลเรื่องการสูญเสียโอกาสการงานหน้าที่ในสหรัฐฯ เพราะสามารถทำงานอยู่ที่บ้านหรือ Work From Home จากต่างประเทศ

นายทราวิส กรอสซี (Travis Grossi) และนายเดวิด ซิมมอนส์ จูเนียร์ (David Simmons Jr.) ชาวแคลิฟอร์เนีย 2 คนที่เคยอาศัยอยู่ในฮอลลีวูด ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยทั้ง 2 เปิดเผยว่า พวกเขาย้ายมาประเทศเม็กซิโก เพราะค่าครองชีพทุกอย่างในเม็กซิโก ถูกกว่ามากถึงครึ่งหนึ่งของค่าครองชีพในแคลิฟอร์เนีย 

แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าจ้างแรงงานในแคลิฟอร์เนียจะมีตัวเลขที่สูงกว่ามาก แต่ระบบสาธารณสุขก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน แต่ช่วงที่นายเดวิด ซิมมอนส์ จูเนียร์ ยังอาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย นายเดวิด ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าฉีดยารักษาโรคภูมิแพ้ แต่เมื่อย้ายมาอยู่เม็กซิโก การรักษาพยายาบาลในเม็กซิโก นอกจากจะถูกกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่าแล้ว นายเดวิดยังได้รับการดูแลเรื่องโรคผิวหนังควบคู่ไปกับการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งถือว่าถูกกว่าและคุ้มค่ากว่ามาก

'อัษฎางค์' ชี้!! 3 ปัจจัยที่ทำให้ฝรั่งดูเจริญกว่าไทย พร้อมเปิดอีกมุม 'ค่าครองชีพ-ค่าแรง-ย้ายประเทศ'

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก 'เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค' โดยระบุว่า...

“ค่าครองชีพ ค่าแรง ย้ายประเทศ”

จะเล่าอะไรให้ฟัง จากคนที่มีประสบการณ์อยู่ในออสเตรเลียมากว่า 20 ปี

ผมมาออสเตรเลียครั้งแรกก็ติดใจสิ่งแวดล้อมของประเทศเขา

สิ่งแวดล้อมในที่นี้คือ บ้านเรือน ผู้คน รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา

ผมก็กลับไปหอบครอบครัวมาอยู่ออสเตรเลีย อยากให้ลูกโตมาในสิ่งแวดล้อมแบบนี้ 

แต่ไม่ได้ย้ายประเทศ เพราะเมืองไทยมันห่วย รัฐบาลไทยมันห่วย สถาบันพระมหากษัตริย์เอาเปรียบประชาชน ไม่มีเรื่องพวกนี้ 

ผมรักเมืองไทย รักความเป็นไทย และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

สิ่งที่น่ารังเกียจที่สุดสำหรับผมเกี่ยวกับเมืองไทย คือ การเมือง 

การเมืองไทยที่มีนักการเมือง (บางส่วนหรือส่วนใหญ่) ที่มักอ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชน อ้างว่าเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อชาติและประชาชน ทั้งที่เขาทำทุกอย่างเพื่อตนเองและพวกพ้อง

แต่การย้ายประเทศของผม เกิดจากแรงบันดาลใจจากคนรุ่นก่อนๆ และการอยากผจญภัย ซึ่งมันมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน 

ย้ายมาอยู่เมืองฝรั่ง เพราะอยากรู้ว่า ฝรั่งเจริญกว่าไทยตรงไหน ได้อย่างไร ก็ลองมาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเขาเลย ให้มันรู้กันไป

>> แค่เพียงไม่กี่เดือน ผมก็ได้คำตอบว่า ฝรั่งเจริญก้าวหน้ากว่าไทยเพราะ...

***หนึ่ง ไม่มีคอร์รัปชัน (จริงๆ มีแต่น้อยกว่าไทยหลายเท่า)

คอร์รัปชัน คือ ปัญหาอันดับ 1 ที่กีดกั้นความเจริญก้าวหน้าของชาติ

***สอง การศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษา หาคำตอบหรือทางแก้ไขปัญหา และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่ท่องจำบทเรียน ที่เขียนกันไว้มานานแสนนาน มีแต่การจดจำ คัดลอก เลียนแบบ ซึ่งสร้างปัญหาต่อคนไทยอยู่ทุกวันนี้ เพราะลองถ้าเชื่อใครเข้าแล้ว จะเชื่อเขาแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่รู้ถูกรู้ผิด แยกแยะดีชั่วไม่ได้ 

***สาม การสร้างจิตสำนึกให้พลเมืองของเขาเข้าใจใน ”หน้าที่พลเมือง” ตั้งแต่เป็นเด็กน้อย

>> ผมว่า 3 สิ่งนี้คือหัวใจสำคัญ 

พลเมืองต้องรู้จักหน้าที่ของตน ต้องมีจิตสำนึก ต้องแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อหน้าที่รับผิดชอบของตน

สิ่งเหล่านี้คือ สิ่งที่ผมตามหา และพาครอบครัวโดยเฉพาะลูกน้อยที่จะเป็นอนาคตของประเทศชาติและของสังคมโลก ให้มารับการฝึกฝน อบรม บ่มนิสัย ในสิ่งเหล่านั้น

ผมไม่ได้ย้ายประเทศเพราะ ค่าแรงงานเมืองไทยต่ำ ค่าครองชีพสูง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ต่างๆ นานา

ไม่ได้ย้ายประเทศเพราะ มาอยู่เมืองนอกแล้วจะทำให้กินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อ หรือกินส้มตำได้ 7 จาน ซึ่งผิดกับตอนอยู่เมืองไทยที่กินจิ้มจุ่มได้แค่ 1 หม้อกินส้มตำได้แค่ 1 จาน 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตผมทันทีที่ย้ายประเทศคือ ผมไม่สามารถเดินมาปากซอยหรือซอยถัดๆ ไปแล้วมีร้านอาหารเป็นร้อยให้เลือกกิน ในราคาที่กินได้ จนถึงดึกดื่นเที่ยงคืน

แต่ผมอยู่เมืองนอก 5-6 โมงเย็น ห้างร้านปิดหมด แหล่งที่จะมีร้านอาหารขายถึงมืดนั้นมีอยู่เป็นจุดๆ ในเขตชุมชนที่ห่างไกลออกไปเท่านั้น

อยากกินบะหมี่หมูแดง ส้มตำ ข้าวมันไก่ ต้องขับรถไปหลายกิโลหรือหลายสิบกิโล ถึงจะมี หรือทั้งเมืองอาจมร้านขายส้มตำเพียงร้านเดียว

คนไทยที่มีรายได้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับฝรั่ง คือคนไทยที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ วันละ 2-3 jobs นอนวันละ 4-5 ชั่วโมง จนไม่มีเวลาจะทำกิจกรรมอื่นๆ เลย 

ไอ้เรื่องที่จะออกไปกินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อ หรือกินส้มตำได้ 7 จาน นานๆ จะเกิดขึ้นเสียที ไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน แต่เพราะไม่มีเวลา

ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ก็ให้นึกถึงภาพแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย คนพวกนั้นหาเงินได้มากกว่าคนไทยอีกจำนวนมาก แล้วดูความเป็นอยู่ของเขาซิ ทำงานอย่างเดียว เก็บเงินส่งกลับบ้าน ส่วนชีวิตตัวเอง อยู่อย่างอัตคัดหรืออย่างประหยัดสุดๆ ค่าแรงในเมืองไทยของแรงงานพม่า ก็ทำให้เขามีเงินกินจิ้มจุ่มได้ 4 หม้อเหมือนกัน แต่นานๆ เขาถึงจะมีโอกาสได้กินเสียที

ถามจริงว่า แบบไหนน่าจะมีความสุขมากกว่ากัน ระหว่างหาเงินได้มาก แต่เวลาทั้งหมดในแต่ละวันของชีวิตหมดไปกับการทำงานหาเงิน กับหาเงินได้น้อยนิด แต่เป็นความน้อยที่มีเวลาและเงินมากพอที่ออกไปกินอะไรที่อยากกินได้ตลอดเวลาทุกวัน

ผมมาอยู่ออสเตรเลียไม่กี่ปี ผมก็มีรายได้เป็นแสน ในขณะที่เพื่อนในเมืองไทยยังมีเงินเดือนหลักหมื่นต้นๆ

ผ่านไป 20 กว่าปี เพื่อนๆ ในเมืองไทยที่เคยกินเงินเดือนหมื่นต้นๆ ตอนนี้ บางคนเป็นเจ้าของกิจการ บางคนเป็นผู้อำนวยการ บางคนเป็นรองประธาน บางคนเป็น CEO ไปแล้ว เงินเดือนเป็นแสนเป็นล้านแล้ว

>> มาอยู่เมืองนอกแล้วจะมีอนาคตดีกว่าคนอยู่เมืองไทยจริงหรือ ?

คำตอบ คือ ไม่เสมอไป มีทั้งดีและไม่ดี ก็เหมือนอยู่เมืองไทย มันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

คนที่อยู่เมืองนอกจะมีสักกี่คนที่ได้เป็นผู้บริหารใหญ่ในบริษัทฝรั่ง ! ส่วนใหญ่ยังคงมีอาชีพเดิม ทำงานแบบเดิมๆ อย่างที่เคยทำ

>> ชีวิตในเมืองนอก ดีกว่า ในเมืองไทยจริงหรือ ?

ค่าแรงแพง มันหมายความว่า ทุกอย่างก็แพงตามกันไปหมด ไม่ใช่ว่าเราได้ค่าแรงแพงแล้วเราจะจ่ายเงินซื้อของได้ทุกอย่าง

ยกตัวอย่างง่ายๆ สักเรื่องสองเรื่อง

ห้างร้านปิดตั้งแต่เย็นเพราะอะไร เคยรู้กันบ้างมั้ย?

ห้างร้านทั้งใหญ่น้อย ปิด 5 หรือ 6 โมงเย็นเพราะถ้าไม่ปิด เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าแรงพนักงานเป็นเท่าตัว พอค่าแรงแพง เจ้าของธุรกิจก็จ่ายไม่ไหว คนจะไปซื้อของก็จ่ายไม่ไหวเหมือนกัน

สมัยแรกๆ ที่มาอยู่ที่นี่ ผมเคยขับรถ(มือสอง)แล้วโดนชน 2 ครั้ง ทั้ง 2 คัน บริษัทประกันไม่จ่ายค่าซ่อมให้ แต่จ่ายเป็นราคาประเมินตามราคาตลาด ให้ไปซื้อคันใหม่ เพราะค่าแรงที่จะซ่อมแพงเหมือนไปซื้อใหม่

ผมเคยทำงาน 2 Jobs ได้เงินเดือนเยอะมาก แต่พอสิ้นปี จ่ายภาษีแล้วตกใจ ปีต่อไป ผมเลิกทำงานแบบนั้นเลย เพราะเหมือนว่า เราทำงานเพื่อจ่ายให้รัฐบาล แล้วรัฐบาลเอาเงินของเราที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำนั้น ไปเลี้ยงคนออสซี่ที่ไม่ทำงาน 

เหมือนที่เด็กสามนิ้วเรียกร้องรัฐสวัสดิการนั้นแหละ สวัสดิการ ที่เอาเงินจากคนที่รายได้มาก จากที่เขาทำงานหนัก ไปให้คนมีรายได้น้อย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนไม่ยอมไปทำงาน นี่แหละความเท่าเทียมกันกับรัฐสวัสดิการ

แล้วคนไทยในออสเตรเลียทำอย่างไรรู้มั้ย เขาก็หางานที่รับเป็นเงินสด เพื่อหลบภาษี หลบทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งมันคือการคอรัปชั่น แล้วมันจะหวนไปบั่นทอนประเทศชาติในที่สุด

แจ้งรัฐบาลว่ามีรายได้น้อย เพื่อรับสวัสดิการจากรัฐ แต่แอบทำงานมีรายได้มหาศาล รับทั้งขึ้นทั้งล่องตามวิถีคอรัปชั่นโกงๆ แบบไทย

คนไทยทำกันแบบนี้ไง เหมือนในเมืองไทย พ่อค้าแม่ขายหาเงินกันได้มากๆ ทั้งนั้น แต่แจ้งว่ารายได้ต่ำ เพื่อเลี่ยงภาษี แล้วก็เรียกร้องรัฐสวัสดิการ แต่ไม่มีใครคิด ว่าในเมื่อทุกคนทำแบบนี้ รัฐจะมีรายได้ที่ไหนไปทำรัฐสวัสดิการ

สมัยผมมาแรกๆ ยังเรียนหนังสือ รู้มั้ยมื้อกลางวันผมกิน แมคโดนัลด์ แทบทุกวัน เมืองไทยเป็นของแพงใช่มั้ย เป็นร้านที่คนจนๆ ไม่มีปัญญาเข้าใช่มั้ย

แต่ในเมืองนอก มันคืออาหารราคาถูก อาจจะพูดได้ว่า เหมือนข้าวไข่เจียวหรือข้าวแกงในเมืองไทยดีๆ นั้นเอง

ผมกินแมคโดนัลด์ เพราะมันไม่ถึง 10 เหรียญ ในขณะที่ข้าวผัดกระเพราไข่ดาวกับโค้กสักแก้วต้องมี 20 เหรียญ

20 เหรียญสมัยนั้นคือ 600 กว่าบาท

‘แคนาดา’ อ้าแขน!! เปิดรับต่างชาติ 1.5 ล้านคนเข้าประเทศ ข้อแม้!! ต้องเป็นบุคลากรคุณภาพสูงเท่านั้น | Summary Reporter EP.25

แคนาดาเปิดรับคนเก่งเข้าอยู่อาศัยในประเทศ

.

#THESTATESTIMES
#ReporterJourney
#SummaryReporter
#แคนาดา
#ย้ายประเทศ
#อพยพ

‘วัยรุ่นเกาหลีใต้’ ลั่นเป็นเสียงเดียวกัน “อยากย้ายไปอยู่ประเทศอื่น” ส่วนข้อดีที่ทำให้คนต่างชาติอยากมาอยู่ที่นี่ เพราะ ‘กระแสของเกาหลี’

เมื่อไม่นานนี้ได้มีผู้ใช้ติ๊กต็อกรายหนึ่ง ชื่อ ‘amiskarn’ โพสต์คลิปวิดีโอของช่องยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีใต้ท่านหนึ่ง โดยเนื้อหาในคลิปเป็นการสัมภาษณ์วัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ และเผยให้เห็นถึงมุมมอง รวมถึงทัศนคติที่คนรุ่นใหม่มีต่อประเทศเกาหลีใต้ อันเป็นบ้านเกิดของตน

โดยในคลิป พิธีกรได้ถามกับวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ 2 คนว่า คุณคิดว่าคนวัยรุ่นหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้ชอบการใช้ชีวิตที่เกาหลีกันไหม? 

เด็กวัยรุ่นทั้ง 2 คนตอบว่า “ไม่ค่ะ ฉันคิดว่าไม่ชอบนะคะ”

เมื่อพิธีกรถามว่า ทำไม? พวกเธอตอบว่า “อย่างแรกคือ การศึกษาที่บังคับให้เด็กเกาหลีใต้ทุกคนเรียนหนักมาก การสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั้งการทำงานก็มีความยากลำบาก และคิดว่าเป็นเพราะระบบมีความไม่ถูกต้อง”

เมื่อถามว่า ในอนาคตยังอยากอาศัยอยู่ที่เกาหลีใต้หรือไม่ หรืออยากย้ายไปอยู่ที่ต่างประเทศ และเพราะอะไร?

พวกเธอต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากย้ายไปอยู่ที่ประเทศอื่น เพราะไม่เห็นด้วยที่มีเพียงแค่คนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยดังๆ เท่านั้น ถึงจะสามารถได้ทุกอย่างในเกาหลี หรือมีสิทธิมากกว่าคนอื่น”

เมื่อถามว่า พวกเธอต้องการย้ายไปที่ประเทศไหน? พวกเธอตอบว่า “ประเทศไหนก็ได้”

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของเพื่อนคนอื่นๆ ที่โรงเรียน ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อเรื่องนี้

พวกเธอตอบว่า “มีเพื่อนๆ หลายคนเลย ที่บอกว่าอยากแต่งงานกับชาวต่างชาติ เพราะว่าสามารถขอสัญชาติตามสามีได้ และจะได้ย้ายไปอยู่ที่นั่นได้”

เมื่อถามว่า คุณคิดเห็นอย่างไร ถึงกรณีที่มีผู้คนมากมายอยากมีอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ และคุณคิดว่าข้อดีของประเทศเกาหลีใต้คืออะไร? พวกเธอดูมีความไม่มั่นใจเล็กน้อย ก่อนจะตอบว่า “คิดว่าอาจเป็นเพียงเพราะกระแสของเกาหลี”

ส่อง 'คนรวย' ใน 8 ประเทศ เริ่มเฟดตัวไปโกยทรัพย์ใน 'ต่างแดน'

รายงานจาก Ranking Royals เผยว่า ในปี 2023 จีนเป็นประเทศที่มีการย้ายออกสุทธิ (ส่วนต่างของการย้ายออกและย้ายเข้า) ของเศรษฐีระดับ HNWI (High Net Worth Individual) หรือบุคคลมั่งคั่งสูงที่มีการลงทุนมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวน 13,500 ราย ตามมาด้วยอินเดียที่มีการย้ายออกสุทธิ 6,500 ราย และสหราชอาณาจักร มีการย้ายออกสุทธิ 3,200 ราย

สำหรับเหตุผลดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ จีน จะพบว่า...

การใช้นโยบาย 'เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน' (common prosperity) ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน กำลังบั่นทอนความมั่งคั่งของเหล่าเศรษฐีลง เป็นปัจจัยขับดันให้ผู้ลงทุนในจีนแห่ออกไปประเทศที่เป็นมิตรต่อการลงทุนมากกว่า เช่น สิงคโปร์ หรือมีการวางแผนสำรองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อจำกัดเรื่องโควิด-19 ที่ยืดเยื้อก็เป็นเหตุผลเพิ่มเติมที่คนเหล่าคนร่ำรวยจะเลือกออกไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ 

ส่วน อินเดีย แม้ว่าการย้ายออกสุทธิปี 2023 จะอยู่อันดับที่ 2 แต่ถือว่าจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีการย้ายออกสุทธิ 7,500 ราย โดยเหตุผลของการย้ายออกจากอินเดียมาจาก 'กฎหมายภาษีต้องห้าม' ประกอบกับกฎที่ซับซ้อนและซับซ้อนเกี่ยวกับการโอนเงินขาออกที่เปิดให้ตีความผิดและใช้ในทางที่ผิด เป็นเพียงประเด็นเล็กน้อยที่กระตุ้นให้เกิดกระแสการโยกย้ายการลงทุนจากอินเดียด้าน การอพยพย้ายถิ่นฐานของเหล่า HNWI ในสหราชอาณาจักร เหตุผลสำคัญ คือ Brexit และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อยกเลิกสถานะผู้เสียภาษีที่ไม่มีภูมิลำเนาในสหราชอาณาจักร โดยสถิติชี้ชัดว่าการลงทุนขาเข้าในสหราชอาณาจักรลดลงนับตั้งแต่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสได้รับประโยชน์ไปแทน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top