Friday, 19 April 2024
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ใจที่ไม่ยอมแพ้!! ‘หมอลูกหมู’ แชร์เรื่องราวต่อสู้ ‘มะเร็งต่อมน้ำเหลือง’ หลังรักษานาน 6 เดือน จนหายกลับมาเป็นปกติ

หมอลูกหมู-แพทย์หญิงณัฐรดา คชนันทน์ ผู้ป่วยมะเร็ง วัย 28 ปี ได้เปิดเพจเฟซบุ๊ก ‘พักก้อน’ เล่าเรื่องราวชีวิตที่อยู่ ๆ ก็กลายมาเป็นคนไข้ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งที่ดุและโตเร็วและสู้กันมา 6 เดือนจนโรคสงบลง 

โดยคุณหมอ ระบุผ่านเพจ 'พักก้อน' ว่า วันนี้อยากมาเล่าเรื่องในมุมของหมอที่จับพลัดจับผลูเป็นคนไข้แบบงงๆให้ได้อ่านกันค่า

เดิมทีแล้วสำหรับเรามะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือ Lymphoma ก็เป็นแค่บทนึงในตำราเรียนที่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นคำวินิจฉัยนึงของคนไข้ที่อยู่ในความดูแล(ซึ่งแผนการรักษาก็มาจากHematologistหรืออายุรแพทย์โรคเลือดซะส่วนใหญ่)

การเขียนออเดอร์ neutropenic diet, งดผลไม้เปลือกบางก็เป็นแค่ความเคยชินที่ทำให้สำหรับผู้ป่วยที่มารับเคมีบำบัด

จนวันนึงคุณมะเร็งก็เข้ามาอยู่ในชีวิตเรา อยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน กินด้วยกัน นอนด้วยกัน หายใจไปพร้อมกัน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าในฐานะหมอ พอเราป่วยซะเองจะมีความคิดความรู้สึกต่างจากคนไข้ทั่วไปยังไงกันนะ?

สำหรับตัวเราเอง ไม่ต่างเลยค่ะ555 ออกจะกังวลมากกว่าคนไข้ทั่วไปด้วยซ้ำ

ตลอดเวลา 6 เดือนที่ป่วยและรับยาเคมีบำบัดเต็มไปด้วยความกังวล เพราะเราเห็นมาตลอดว่าถ้าคนไข้มะเร็งได้ยาเคมีบำบัดแล้วมีการติดเชื้อแทรกซ้อน อาการจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นเวลาจะกินอะไร หรือจะทำกิจกรรมอะไร เรามักจะคิดภาพตัวเองนอนซมให้ยาฆ่าเชื้อในICUอยู่บ่อยๆ

ตอนยังทำงานอยู่เราก็ไม่ต่างกับหมอหลายคนที่อยู่เวรห้องฉุกเฉิน แล้วเจอคนไข้ที่มาด้วยภาวะที่ไม่ได้ฉุกเฉินจริง

ในช่วง 6 เดือนนั้น คนไข้ที่มีคำนำหน้าว่าแพทย์หญิงคนนี้ได้เข้าห้องฉุกเฉิน 2 ครั้ง และไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งสองครั้ง ครั้งแรกที่บ้านพาไปส่งเพราะเพลียมาก หน้ามืด วัดความดันได้ 60/30 (พอไปวัดที่ER ปกติซะเฉยๆ) ส่วนอีกครั้งคือท้องเสีย ปวดท้อง pain score 10/10 พอไปตรวจจริงก็ปกติดี เป็นแค่อาการลำไส้แปรปรวน และทั้งสองครั้งที่ไปห้องฉุกเฉินนั้นไม่มีเจตนาอื่นใด นอกจากกลัวตายเท่านั้นแหละ

การเป็นคนไข้ซะเองทำให้เราเข้าใจคนไข้มากขึ้น

- เข้าใจคนไข้ที่มาห้องฉุกเฉินตอนตีสาม เพราะท้องเสีย ปวดท้อง แค่โรคลำไส้อักเสบธรรมดาที่ไม่ฆ่าใคร แต่มันสามารถปวด pain score 10/10 ได้จริงๆ ไม่มีใครอยากเข้าห้องฉุกเฉินหรอกถ้าไม่กลัวตาย (ยกเว้นมาขอยาเดิมหรือขอใบรับรองแพทย์ตอนดึกๆ อันนั้นก็ยังไม่เข้าใจเหมือนเดิม)

- เข้าใจว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกคนต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งและต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างขนาดไหน การต่อสู้กับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด การต้องระวังตัวเองตลอดเวลาไม่ให้ป่วย แต่ละวันมันไม่เคยง่ายเลย

- เข้าใจว่าทุกคำสั่งการรักษาที่เขียนไปมันส่งผลกระทบกับชีวิตคนไข้จริงๆ หลายๆอย่างมันง่ายกับคนเขียน แต่ลำบากคนทำ เคยไม่เข้าใจว่าทำไมคนไข้เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ถึงไม่ยอมฉีดยาอินซูลิน จนถึงวันที่ตัวเองโดนฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว(เข้าใต้ผิวหนังคล้ายอินซูลิน) ยังรู้สึกว่ามันเจ็บ และมันลำบากจริงๆแหละ

แม้ว่าตอนนี้โรคจะสงบ กลับมาทำงานเป็นหมอเหมือนเดิมแล้ว สถานะคนไข้ก็ยังต้องติดตัวไปอีกหลายปี เพราะยังต้องเข้ารับการตรวจติดตามเป็นระยะ (แน่นอนว่าก็ยังกังวลเหมือนเดิมทุกครั้งแหละ555)

‘แซม นีล’ นักแสดงจูราสสิค พาร์ค เผยเป็น ‘มะเร็งต่อมน้ำเหลือง’ ได้เข้ารับการรักษาแล้ว แต่ต้องรับเคมีบำบัดตลอดชีวิต

แซม นีล นักแสดงดังชาวนิวซีแลนด์ วัย 75 ปี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการรับบทเป็นดอกเตอร์ อลัน แกรนท์ ในภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่อง “Jurassic Park” หรือ จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ในปี 1993 ออกมาเปิดเผยว่า เขากำลังรักษาตัวจากการป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งในระบบน้ำเหลืองในระยะ  3

นีลเปิดเผยเรื่องราวสุดช็อกในชีวิตครั้งนี้ ในหนังสือบันทึกความจรงจำ ” Did I Ever Tell You This?” ของเขาที่จะวางจำหน่ายในสัปดาห์หน้าว่า “ผมอาจกำลังจะตาย” จากการป่วยด้วยโรคนี้ที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเขาอาจจะต้องเร่งทำอะไรให้เร็วขึ้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top