Tuesday, 16 April 2024
ฟอกเงิน

ครม.ไฟเขียว ร่างพ.ร.บ.ปราบปรามฟอกเงิน ค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก-หนีภาษี-เก็บดอกเบี้ยโหด 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.อนุมัติร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เสนอ โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยปรับปรุงมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สอดคล้องมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ตามข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (The Financial Action Task Force – FATF) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เกิดความเป็นธรรมและการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ไทยสามารถเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFTX ทันตามรอบการประเมิน ซึ่งจะผลักดันให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก FATF ภายในปี 2566 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม ความผิดมูลฐานให้ครอบคลุมความผิดในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก การหลีกเลี่ยงหรือลักลอบหนีศุลกากร การปลอมเอกสารสิทธิ เอกสารราชการ การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล การสมยอมในการเสนอราคา การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และเพิ่มบทนิยาม “ผู้ประกอบอาชีพ” ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับผู้ประกอบธุรกิจในไทย

และปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับแจ้ง การรวบรวม และจัดส่งข้อมูลของพนักงานศุลกากรให้สำนักงาน ปปง. ครอบคลุมตราสารเปลี่ยนมือข้ามแดน (จากเดิมกำหนดเฉพาะเงินตราหรือเงินตราต่างประเทศ) รวมทั้งกำหนดให้พนักงานศุลกากรมีอำนาจยึดเงินตรา เงินตราต่างประเทศ และตราสารเปลี่ยนมือข้ามแดนดังกล่าวได้ นอกจากนั้น
กำหนดหน้าที่สมาคม มูลนิธิ และองค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน การสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้ายฯ เช่น การจัดทำงบการเงินประจำปี ที่ระบุแหล่งที่มาของรายได้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ และหากมีเหตุอันควรสงสัย สำนักงานปปง.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สั่งระงับการทำธุรกรรมเป็นการชั่วคราวได้

 

“บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล แถลงข่าวอาชญากรรมข้ามชาติ – ค้ามนุษย์ และฟอกเงิน

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศพดส.ตร.แถลงข่าวอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์ ทลายเครือข่ายค้ามนุษย์ , องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และฟอกเงิน ณ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2564 เวลาประมาณ 14.40 น. เจ้าพนักงานตำรวจ สภ.บ้านมาบอำมฤต จังหวัดชุมพร  ได้ร่วมกันจับกุมตัวนายเขมทัต ผาลี อายุ 36 ปี พร้อมด้วยคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) ซึ่งโดยสารมากับรถตู้คันที่นายเขมทัตฯ ขับมา จำนวน 5 คน โดยกล่าวหาว่า ช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุม และต่อมาเวลา 16.30 น. ของวันเดียวกัน เจ้าพนักงานตำรวจ ฯ ได้ร่วมกัน จับกุมตัว นายชัยชาญ ไม่ยาก อายุ 41 ปี  และ นางสาวจุลลา บรรเทา อายุ 26 ปี พร้อมด้วยคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) ซึ่งโดยสารมากับรถตู้ที่นายชัยชาญฯ ขับมา จำนวน 6 คน โดยกล่าวหาว่า ช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวซึ่งหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายพ้นจากการจับกุมและในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 19.30 น. เจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เขานิพันธ์ ได้ร่วมกันจับกุมตัว Mr.Man Jo Min หรือนายฮู เซ็น อายุ 48 ปี สัญชาติ เมียนมา และชู อาลิน อายุ 18 ปี สัญชาติ เมียนมา

โดยกล่าวหา รู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม และได้ทำการตรวจค้นบ้านเลขที่ 59/7 ม.5 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจพบคนต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา (โรฮิงญา) หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จำนวน 3 คน ในบ้านดังกล่าวซึ่งเป็นลักษณะกักขังตัวไว้ ซึ่งทั้ง 3 คดีดังกล่าว ตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ได้ทำการคัดแยกเหยื่อผู้เสียหายจากขบวนการค้ามนุษย์ และมีความเห็นว่าคดีดังกล่าวทั้ง 3 เรื่องนั้น เข้าข่ายกระทำความผิดฐาน ค้ามนุษย์

ตำรวจภูธรภาค 8 โดย พล.ต.ท.อำพล  บัวรับพร ผบช.ภ.8 ได้ออกคำสั่ง ภ.8 ที่ 390/2564 ลง 29 ตุลาคม 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนขยายผลความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.วันไชย  เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.๘ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวน และจากการสืบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงทราบว่า ทั้ง 3 คดีมีความเกี่ยวข้องกันมีผู้ร่วมกระทำผิดเป็นกระบวนการมีความสัมพันธ์กันเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และฟอกเงิน มีการกระทำผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำเริ่มจากจัดหาคนจากประเทศเมียนมาร์ ส่งเข้ามาในประเทศไทยช่องทางธรรมชาติที่บริเวณ อ.แม่สอด จว.ตาก แล้วมีกลุ่มคนที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว รับตัวเดินทางมาพักตามจุดต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่กลุ่มผู้กระทำผิดได้เตรียมไว้ เช่น จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส จนถึงประเทศมาเลเซีย มีการกักขังขู่เข็ญ ขูดรีด เพื่อเรียกเงินจากเหยื่อ และญาติการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายจึงได้ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ต้องหาเพิ่มเติมอีก 4 คดี เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564

จากนั้นตำรวจภูธรภาค 8 ได้มีคำสั่ง ภ.8 ที่ 413/2564 ลง 14 พ.ย.64 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (คดี สภ.บ้านมาบอำมฤต ) และ คำสั่ง ภ.8 ที่ 426/2564 ลง 25 พ.ย.64 เรื่องแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน (คดี สภ.เขานิพันธ์) โดยมี พล.ต.ต.วันไชย  เอกพรพิชญ์ รอง ผบช.ภ.๘ เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ซึ่งจากการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน คณะพนักงานสอบสวนได้ทำการขออนุมัติศาลให้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งสิ้นรวม 4 คดี 14 คน 24 หมายจับ ดังนี้  สภ.บ้านมาบอำมฤต 3 คดีข้อหา ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์ฯ จำนวน  2 คดี คือคดีอาญาที่ 415/2564 (4 หมายจับ) ,416/2564 (4 หมายจับ) และ ข้อหา ฟอกเงิน คดีอาญาที่417/2564 (13 หมายจับ) สภ.เขานิพันธ์ 1 คดี ข้อหา ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และค้ามนุษย์คดีอาญาที่  371/2564 จำนวน 3 หมายจับ

ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม 2564 พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผบก.สส.ภ.8 หัวหน้าฝ่ายสืบสวน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศพดส.ตร. และ ศพดส.ภ.๘ ได้ร่วมกันปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายเพื่อจับกุมตัวผู้ต้องหาในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ อ.แม่สอด จว.ตาก, อ.สุไหง-โกลก จว.นราธิวาส, อ.พระแสง จว.สุราษฎร์ธานี,อ.กะทู้ จว.ภูเก็ต และพื้นที่อื่น ๆ จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 7 คน ดังนี้

 

ทลายเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ จับมาเฟียอินเดีย!! หนีข้อหาฉกรรจ์ ปล้นฆ่า ลักพาตัว ทรมานเหยื่อเรียกค่าไถ่ ฟอกเงิน และหนีกบดานไทย

ตามนโยบายของ  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวในประเทศไทย โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ                    

สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.ไกลเขต บุรีรักษ์ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.หฤษฎ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.3 และ พ.ต.อ.จิรพงศ์ รุจิรดำรงค์ชัย ผกก.สส.บก.ตม.3  ร่วมแถลงข่าวการจับกุมคดีที่น่าสนใจดังนี้

1.“จับมาเฟียอินเดีย หนีข้อหาฉกรรจ์ ทั้งปล้นฆ่า ลักพาตัว ทรมานเหยื่อเรียกค่าไถ่ และฟอกเงิน หนีกบดานไทย”

ก่อนการจับกุมครั้งนี้ สตม.ได้รับการประสานงานจากหน่วยงานความมั่นคง ว่ามีบุคคลสัญชาติอินเดีย มีพฤติกรรม เป็นอาชญากรก่อคดีเกี่ยวกับการปล้นฆ่า สังหารบุคคลอื่น ซ้อมทรมาน ยาเสพติด ลักพาตัวเรียกค่าไถ่ ค้ามนุษย์ ตลอดจนความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน โดยทางการอินเดียได้มีการออกหมายจับและยื่นความจำนงต่อตำรวจสากลให้บุคคลดังกล่าวซึ่งก็คือ นายฮาร์มาน (ขอสงวนสกุล) อายุ 29 ปี  สัญชาติอินเดีย เป็นบุคคลที่ตำรวจสากลต้องการตัว หรือมีหมายแดง (Red Notice)

เมื่อทราบข้อมูลชุดสืบสวนได้ทำการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นก็ทราบว่านายฮาร์มานฯ ได้เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ในราชอาณาจักรด้วยเหตุผลทางธุรกิจ โดยข้อมูลในระบบระบุวันหมดอายุเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 62 และมีข้อมูลว่าพักอาศัยอยู่ในเขตเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งได้สืบสวนต่อจนทราบว่านายฮาร์มานฯ ได้พักอาศัยอยู่ละละแวกพัทยาเหนือจึงได้เฝ้าติดตาม จนกระทั่งได้พบนายฮาร์มานฯ บริเวณหน้าเซเว่นริมถนนพัทยาเหนือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.สส.บก.ตม.3 ได้แสดงตัวและข้อตรวจสอบก็พบว่า อยู่เกินในราชอาณาจักรจริง จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบว่า “ เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (จำนวน 448 วัน) ” นำส่ง พงส.กก.สส.บก.ตม.3 ดำเนินคดีต่อไป

2.“ทลายเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ จับคนขน ขยายผลตัวสั่งการ และเข้าจับให้ที่พักพิง”

เจ้าหน้าที่ ตม.จว.ประจวบคีรีขันธ์ ได้บูรณาการกำลังออกตรวจพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อมาถึงบริเวณแยกสิบศพ ต.เกาหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏว่าพบรถกระบะคันหนึ่ง หยุดอยู่ที่แยกแต่เมื่อพบเห็นเจ้าหน้าที่ก็ได้ขับรถพุ่งออกจากแยกด้วยความเร็วน่าสงสัย ชุดจับกุมจึงได้ติดตามรถคันดังกล่าวไปและแจ้งให้จุดสกัดสามร้อยยอดดำเนินการสกัดจับเอาไว้ ซึ่งได้ตรวจพบว่ารถยนต์กระบะคันดังกล่าว มีนายยียี (สงวนสกุล) สัญชาติเมียนมา อายุ 35 ปี เป็นผู้ขับ มีนายอ่าว (สงวนสกุล) นั่งโดยสารข้าง ๆ และมีผู้โดยสารเป็นคนต่างด้าว สัญชาติเมียนมา อีก 14 คน ซักถามได้ข้อมูลว่าบุคคลต่างด้าว 14 คน หลบหนีเข้าเมืองผ่านช่องทางธรรมชาติมีนายยียี และนายอ่าว ได้ขับรถมารับ ส่วนนายยียีและนายอ่าวรับตรงกันว่าได้รับการติดต่อจากนายเม ให้มารับบุคคลต่างด้าวจำนวน 14 คนดังกล่าว จึงจับกุมตัวนายยียี นายอ่าว และบุคคลต่างด้าวอีก 14 ราย พร้อมกับยึดรถยนต์กระบะและโทรศัพท์ของกลางนำส่งเพื่อดำเนินคดี

ในการนี้ได้แจ้งข้อกล่าวหา นายยียีและนายอ่าวแจ้งว่า “ร่วมกันช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่บุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้พ้นจากการจับกุม”  บุคคลดต่างด้าวอีก 14 คน แจ้งว่า “เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” เหตุเกิดที่ ริมถนนเพชรเกษม หมู่ 5 ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 29 ม.ค.65 เวลาประมาณ 04.30 น.

ของกลาง

1.รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ อีซูสุ สีขาว ทะเบียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 1 คัน

2. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 3 เครื่อง

จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขยายผลสืบสวนทราบภายหลังว่านายเมฯ คือ นาย AUNG (สงวนสกุล) หรือโกเม  อายุ 45 ปี พักอาศัยละแวกอำเภอปราณบุรี จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานและประสานกับร้อยเวรสอบสวน สภ.สามร้อยยอด จนศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกหมายจับที่ 50/65 ลงวันที่ 3 ก.พ.65 และ สภ.สามร้อยยอดได้ดำเนินการจับกุมตัวนาย AUNGฯ ได้ในวันเดียวกัน โดยกล่าวหาว่า “ร่วมกันช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่บุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้พ้นจากการจับกุม”

จากรวบรวมข้อมูลเครือข่ายพบว่าการจับกุมหลายครั้งมีความเกี่ยวพันกับขบวนการดังกล่าว ในกรณีนี้นายเม จะเป็นผู้ประสานงานให้คนในเครือข่ายจากกรุงเทพฯ, สมุทรสาคร หรือปทุมธานีเดินทางมารับช่วงต่อซึ่งได้ขยายผลจนทราบว่าหลังจากรับคนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แล้วจะส่งต่อไปยังจุดพักคอยซึ่งเป็นบ้านหลังหนึ่งย่านตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

เมื่อทราบแล้วจึงได้เข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ก็พบว่าบ้านดังกล่าวมีลักษณะเป็นทาวน์เฮ้า 2 ชั้น มีรถหลายคันขับเข้ามาสถานที่ดังกล่าวและส่งคนลง 2-5 คนต่อครั้ง ซึ่งเฝ้าสังเกตการณ์พบว่าในเวลาต่อมามีรถตู้สีทองเดินทางเข้ามาสถานที่ดังกล่าวและนำคนขึ้นโดยสารรถหลายคน ซึ่งเชื่อว่าจะมีการขนย้ายเพื่อไปยังสถานที่อื่นจึงได้เข้าไปแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อขอตรวจสอบ ผลการตรวจสอบพบ บุคคลต่างด้าว สัญชาติเมียนมา จำนวน 17 คน และคนไทย 1 คน เป็นผู้ขับรถตู้ ทราบชื่อภายหลังว่าคือนาย สมบัติ (ขอสงวนสกุล) อายุ 44 ปี ซักถามบุคคลต่างด้าวพบว่า นางสาวMI (สงวนสกุล) หนึ่งในคนต่างด้าวเป็นเจ้าของสถานที่พักดังกล่าวและเป็นผู้ติดต่อประสานงานพาบุคคลต่างด้าวทั้งหมดเข้ามาพักยังบ้านหลังดังกล่าวและเป็นผู้ติดต่อประสานงานให้นายสมบัติฯ นำรถมารับ จึงได้จับกุมตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องพร้อมกับยึดของกลางนำส่งร้อยเวรสอบสวน สภ.คลองหลวง เพื่อดำเนินคดีต่อไป แจ้งข้อกล่าวหาว่า

1.คนต่างด้าว 16 ราย “เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต”

2.นายสมบัติฯและนางสาว MI “ร่วมกันช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่บุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้พ้นจากการจับกุม”

ของกลาง 

1.รถตู้โดยสารส่วนบุคคล สีทอง ทะเบียนจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 1 คัน

2. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 5 เครื่อง

สถานที่ วันเวลา จับกุม บ้านทาวน์เฮ้า 2 ชั้น ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2565 เวลาประมาณ 12.28 น.

จากการซักถามผู้ต้องหาให้การสอดคล้องกันว่า หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย ผ่านชายแดนช่องทางธรรมชาติ ปลายทางเพื่อหางานที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนถูกจับกุมได้มาพักคอยที่บริเวณที่เกิดเหตุเพื่อรอติดต่อว่าจะได้ไปทำงานที่ใด ส่วนนางสาว MI ให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับนายหน้าคนอื่น ๆ เพื่อนำคนต่างด้าวส่งไปลักลอบทำงานยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะมีการขยายผลดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

แฉขบวนการ ‘บัญชีม้า’ กลโกงฟอกเงิน สร้างความเสียหายมหาศาล! | Click on Clear THE TOPIC EP.175

📌รู้ทันกลโกง ‘บัญชีม้า’ ก่อนตกเป็นเหยื่อ! ไปกับ ‘อภิวัฒน์ นุ่มบรรเทิง’ Senior Associate Lawyer / Herrera & Partners !

📌 ใน Topic : แฉขบวนการ ‘บัญชีม้า’ กลโกงฟอกเงิน สร้างความเสียหายมหาศาล!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ก.ยุติธรรมสหรัฐฯ จ่อเชือด Binance เอี่ยวฟอกเงิน อาจส่งผลกระทบพันธมิตรในประเทศต่างๆ

สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่ากลุ่มอัยการสหรัฐฯ จะเชือดบริษัทไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งเป็นกระดานแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามปริมาณการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2560 และปัจจุบันได้จดทะเบียนอยู่ที่หมู่เกาะเคย์แมน 

(เอาแค่สถานที่จดทะเบียนก็ชวนสงสัยแล้วว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือเปล่า เพราะคนทั้งโลกรู้ว่าหมู่เกาะเคย์แมน คือ สถานที่สำหรับไว้จดทะเบียนธุรกิจที่ต้องการฟอกเงินโดยเฉพาะ)

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หรือ ก.ล.ต. เตรียมการสอบสวน Binance.US ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของ Binance ฐานละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ดิจิทัลของอเมริกา

DSI จับมือ ปปง. ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน 'เน้นยึดทรัพย์อาชญากรข้ามชาติ'

ตามที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการตัดวงจรการกระทำผิดโดยมุ่งเน้นให้ดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มเครือข่ายผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และอาชญากรรมที่เป็นภัยร้ายแรง มิให้มีศักยภาพในการกระทำผิดอีก ตามความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการแพร่กระจายยาเสพติด อันเป็นหลักประกันให้กับประชาคมโลก และสร้างความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมทุกด้านอย่างยั่งยืน นั้น

วานนี้ (วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565) ที่สำนักงาน ปปง. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะ เข้าพบ นายเทพสุ บวรโชติดารา รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และคณะ เพื่อหารือในความร่วมมือการปฏิบัติการเชิงบูรณาในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านปราบปราม และด้านการพัฒนา ภายใต้ภารกิจหลัก ดังนี้ 

1. ภารกิจด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์เส้นทางการเงิน สำนักงาน ปปง. จะสนับสนุนข้อมูล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวน หรือสืบสวนขยายผลเครือข่ายการกระทำผิดตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 โดยจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเฉพาะสำหรับการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทั้งสองด้วย
2. ภารกิจด้านการสอบสวน ด้านสำนักงาน ปปง. จะดำเนินการนำข้อมูลสำนวนคดีที่มีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป และ ที่ส่งเรื่องให้อัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หรือชดใช้คืนแก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และที่ปรากฎพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ที่มีลักษณะตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) (ก)-(จ) แห่ง พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 โดยทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะส่งมอบสำนวนคดีพิเศษ ทรัพย์สิน (หากมี) ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้สำนักงาน ปปง. ดำเนินการตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 
3. ภารกิจด้านการสืบสวนหาข้อมูล และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะให้การสนับสนุนด้านการสืบสวนหาข้อมูล ข่าวสาร และของบุคคลหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงิน ตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ปปง.

‘ศาลอาญา’ สั่งจำคุก ‘เสี่ยโป้’ 50 ปี 48 เดือน คดีชวนเล่นพนันออนไลน์ - ฟอกเงิน 1.7 พันล้าน

(14 ธ.ค. 65) ที่ห้องพิจารณา 901 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษา คดีชักชวนเล่นพนันออนไลน์ หมายเลขดำอ.981/2564 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนายเสี่ยโป้ โป้อานนท์ อดีตผู้กว้างขวางย่านฝั่งธนบุรี น.ส.จุฑามาศ จันที แฟนสาว กับพวก เป็นจำเลยที่ 1-21 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478, พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2504, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ฯลฯ

อัยการโจทก์ระบุฟ้องความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 10 ส.ค.61- 20 ธ.ค.63 จำเลยทั้ง 21 คนกับพวกที่หลบหนี อาทิ น.ส.บานเย็น ชาญนรา มารดานายเสี่ยโป้ บังอาจร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกันโดยจัดและโฆษณาชักชวน จูงใจ หรือไลฟ์สด ในฐานะเจ้ามือรับกินรับใช้ โดยจัดให้มีการเล่นพนันออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โปรแกรม แอปพลิเคชันต่าง ๆ ทุกประเภทการพนัน ลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มบริหารสั่งการ มีนายเสี่ยโป้ จำเลยที่ 1, น.ส.จุฑามาศ แฟนสาวนายเสี่ยโป้ จำเลยที่ 2, นายพุทธรักษ์ ชัชอานนท์ ญาตินายเสี่ยโป้ จำเลยที่ 3, น.ส.พลอยพิชชา ปะดุลัง จำเลย ที่ 4 และน.ส.บานเย็น มารดา ที่หลบหนี

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มครอบครองและใช้บัญชีเงินฝาก 

กลุ่มที่ 3 เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดให้มีการเล่นพนันออนไลน์ พบว่า มีการรับโอน-รับแทงจำนวน 575,323 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,760,970,545 บาท รวมทั้งการโอนเงิน อันเป็นการฟอกเงินรวม 2,713 รายการ รวมยอดเงิน 841,678,523 บาท

โจทก์จึงขอให้ศาล พิพากษาลงโทษพวกจำเลยตามความผิดด้วย จำเลยให้การปฏิเสธ โดยนายเสี่ยโป้ กับพวกรวม 19 คน ไม่ได้รับการประกันตัว ถูกคุมขังในเรือนจำ

ส่วนนายพุทธรักษ์ จำเลยที่ 3 และน.ส.พลอยพิชชา จำเลยที่ 4 ได้รับการประกันตัว แต่หลบหนีระหว่างพิจารณา ศาลสั่งออกหมายจับ โดยวันนี้ศาลเบิกตัวจำเลยที่ถูกคุมขังในเรือนจำมาศาล ส่วนจำเลยที่ 3-4 (พี่ชาย-พี่สะใภ้) ซึ่งได้ประกันหลบหนี

ศาลพิจารณาเเล้วเห็นว่า นายเสี่ยโป้ โป้อานนท์ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นพนันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 1 กระทง จำคุก 3 เดือน, ฐานเป็นเจ้ามือ จำนวน 3 กระทง จำคุก 3 เดือน, ฐานช่วยประกาศโฆษณาชักชวน ให้เข้าเล่นพนัน จำนวน 14 กระทง จำคุกกระทงละ 3 เดือน รวมจำคุก 48 เดือน และฐานฟอกเงิน จำนวน 25 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 50 ปี รวม 4 ฐานความผิด เป็นจำคุก 50 ปี 48 เดือน แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงความผิดแล้ว คงลงโทษได้ไม่เกินเพดานโทษจำคุก 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) 

น.ส.จุฑามาศ จันที ภริยาเสี่ยโป้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานช่วยประกาศโฆษณาชักชวนให้เข้าเล่นพนัน จำนวน 2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 เดือน รวมจำคุก 6 เดือน 

นายพุทธรักษ์ ชัชอานนท์ พี่ชายเสี่ยโป้ จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานช่วยประกาศโฆษณาชักชวนให้เข้าเล่นพนัน จำนวน 1 กระทง จำคุก 3 เดือน 

น.ส.พลอยพิชชา ปะตุลัง จำเลยที่ 4 มีความผิดฐานฟอกเงิน จำนวน 7 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 14 ปี 

‘อดีตบิ๊ก ศรภ.’ เผยต่างชาติสนใจไทยจัดการ ‘คดีตู้ห้าว’ พร้อมเตือนสติคนไทย อย่ามัวหลงทางเรื่องค่าแรง 600

‘พล.ท.นันทเดช’ เผยทั่วโลกกำลังจับตาดูไทยในการใช้กฎหมายจัดการทุนจีนสีเทา เตือนอย่าไปหลงทางกับเรื่องเล็ก ๆ อย่างค่าแรง 600 บาท

(15 ธ.ค. 65) พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก ในหัวข้อ ‘ตู้ห้าว’ กำลังเป็น ‘ตู้ว่างเปล่า’ มีเนื้อหาว่า ปรากฏการณ์ของ ‘มาเฟียทุนจีนสีเทา’ กำลังส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างรุนแรงตลอดระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ขอย้ำว่าเวลาผ่านมาแล้วถึง 2 เดือน แต่คดีคืบหน้าไปอย่างแผ่ว ๆ ถ้าไม่มีคุณชูวิทย์ ป่านนี้คงจะเงียบไปแล้ว

น่าเศร้าที่สังคมไทยกำลังตกเป็นเหยื่อของคนต่างชาติกลุ่มหนึ่ง องค์กรที่ดูแลสังคม รวมทั้งพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็พลอยเงียบไปด้วย ที่มันแปลก คือ เงียบไปทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล

ยังไม่พร้อม!! ‘เมฆ รามา’ สามี ‘หยาดทิพย์’ เลื่อนให้ปากคำ ‘ดีเอสไอ’ ในฐานะพยาน ปมซื้อเพนท์เฮ้าส์หรู เพื่อฟอกเงิน

‘เมฆ รามา’ สามี หยาดทิพย์ ขอเลื่อนให้การกับ ดีเอสไอ ในฐานะพยาน ปมซื้อเพนท์เฮ้าส์หรูย่านสุขุมวิทของ ‘อภิรักษ์’ ซีอีโอ ฟอเร็กซ์3ดี

(9 มี.ค.66) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายหลังจากมีกระแสข่าวว่า นายรามา รัศมีรามา หรือ เมฆ สามีของนางเอกสาว หยาดทิพย์ ราชปาล จะเดินทางเข้าให้การกับดีเอสไอในฐานะพยาน จากมูลฐานคดีฟอกเงิน เพื่อชี้แจงปมรับซื้อเพนท์เฮ้าส์หรูย่านสุขุมวิท ซึ่งอดีตเป็นทรัพย์สินของ นายอภิรักษ์ โกฎธิ ซีอีโอ ฟอเร็กซ์ 3 ดี

ล่าสุดรายงานข่าวแจ้งว่า นายรามาได้ส่งทนายความส่วนตัว ออกหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ ขอเลื่อนเข้าให้ปากคำในฐานะพยานไปก่อน โดยไม่ได้ระบุวันเวลาในการเข้าให้ปากคำว่าจะเข้าให้ปากคำในช่วงเวลาใด

จะเริ่มได้ยัง!! ‘โรม’ บี้ถาม ‘ผบ.ตร.ปราบยา’ เมื่อไรแจ้งข้อหา ‘ส.ว.อุปกิต’ ลั่น!! ไม่อยากเห็นคนผิดลอยนวล ฝาก ‘ผบ.ตร.’ ดูความคืบหน้า

‘โรม’ ถามดัง ๆ ผบ.ตำรวจปราบยา หายหน้าไปไหน เมื่อไรจะนำตัว ‘ส.ว.ทรงเอ’ มาแจ้งข้อหา ฝาก ผบ.ตร. ติดตามการทำงานผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

(10 มี.ค. 66) รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามตัว อุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา มาดำเนินคดีกรณีมีข้อครหาเกี่ยวข้องพัวพันกับการฟอกเงินขบวนการค้ายาเสพติดของ ‘ทุนมินลัต’ ว่า หลังจากตนยื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อแจ้งเบาะแสสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผ่านมาแล้ว 10 วัน ยังไม่เห็นความคืบหน้าอะไรทั้งนั้น ง่ายที่สุดคือการเอาตัว ส.ว.อุปกิต มาแจ้งข้อหาเพื่อที่จะฟ้องคดีต่อไป ซึ่งตั้งแต่ 1 มีนาคมเป็นต้นมา หมดสมัยประชุมรัฐสภาแล้ว ส.ว. ไม่มีความคุ้มกันใด ๆ ที่จะไม่ถูกหมายเรียกหรือหมายจับได้อีก

รังสิมันต์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2565 ในตอนนั้นตำรวจสืบนครบาล (บก.สส. บช.น.) ที่จับทุนมินลัตและขยายผลมาถึง ส.ว.อุปกิต ได้เคยขอหมายจับต่อศาลแล้ว ซึ่งศาลอนุมัติหมายจับให้ แต่กลับมาถอนการอนุมัติในบ่ายวันเดียวกัน แล้วให้ตำรวจไปออกหมายเรียกก่อน อ้างว่าเพราะเป็นบุคคลสำคัญ ทั้งนี้ การออกหมายเรียกนั้น ตำรวจทำเองได้ แต่ในกรณีนี้ หน่วยงานที่มีอำนาจออกหมายเรียกนั้นไม่ใช่ตำรวจสืบนครบาล แต่เป็นอำนาจของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม 2565 เป็นช่วงที่ปิดสมัยประชุมสภาอยู่ ถ้า บช.ปส. มีการออกหมายเรียก ส.ว.อุปกิต มารับทราบข้อกล่าวหาให้ทันก่อนสภาเปิด ก็อาจยังเดินหน้าคดีต่อไปได้ หรือถ้าออกหมายเรียกแล้วไม่มาใน 15 วัน ก็ยังไปขอหมายจับกับศาลอีกรอบได้ แต่การขอหมายเรียกจาก บช.ปส. ก็ไม่เคยเกิดขึ้น ทั้งในช่วงนั้นและดูเหมือนในช่วงนี้ด้วย ในขณะที่คดีทุนมินลัตอยู่ในชั้นศาล แต่ ส.ว.อุปกิต กลับยังไม่ถูกแจ้งข้อหาเสียที ทำให้เดินหน้าคดีต่อไม่ได้ 
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top