Friday, 19 April 2024
ฝรั่งเศส

“รองโฆษกรัฐบาล” เผย ไทยเตรียมลงนามความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส ดัน หนุนเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภายในปี 66

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า เตรียมลงนามร่วมกับประเทศฝรั่งเศสในการจัดทำแผนการ สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023)  ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN-G7 Foreign Ministers’ Meeting) วันที่ 11-12 ธ.ค. 64 ที่เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร  เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  หลังจากไทยและฝรั่งเศส  ได้เคยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plan of Action) สองฉบับด้วยกัน ฉบับที่ 1 ปี 2547-2551 และฉบับที่2 ปี 2553-2557 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะกำหนดแนวทางการกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมและมีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น จึงได้จัดทำโรดแม็ป ประกอบด้วยความร่วมมือ 4 ด้าน คือ 1.สันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง 2.หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน และ 4.ความร่วมมือในประเด็นระดับโลก โดยจำแนกเป็นประเด็นย่อย อาทิ การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงในการต่อต้านภัยคุกคามระดับภูมิภาคและภัยข้ามชาติ

เช่นอาชญากรรมทางไซเบอร์ การก่อการร้าย การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาวัคซีน การอำนวยความสะดวกการจัดตั้งสตาร์ทอัพ การผลักดันให้เกิดการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆทั่วประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในทั้งสองประเทศ การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน การผลักดันความร่วมมือด้านอาหารปลอดภัยและการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

ฝรั่งเศสเมินกระแสแบนโอลิมปิกจีนตามสหรัฐฯ ขอเอาเวลาไปแก้ปัญหาอย่างอื่นดีกว่า

หลังจากที่​ โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแบนงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ด้วยการไม่ส่งคณะฑูต และตัวแทนรัฐบาลไปร่วมในงานพิธีเปิดตามธรรมเนียมงานกีฬาระดับโลก เป็นการประท้วงจีน ในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ และการกวาดล้างกลุ่มผู้ประท้วงในฮ่องกง จนมีชาติพันธมิตรยักษ์ใหญ่อีกหลายชาติ ทั้ง อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย ตัดสินใจร่วมแบนเจ้าภาพจีนตามสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกันนั้น

ทว่า ฟากฝั่ง​ เอมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศสกลับออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเสียงดังฟังชัดว่า ฝรั่งเศสจะไม่ตามกระแส แบนโอลิมปิกฤดูหนาวของจีนตามสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลว่า การแบนด้วยการไม่ส่งตัวแทนรัฐบาลไปร่วมพิธีเปิด ไม่ได้สร้างนัยสำคัญอะไรเลย เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่มันสร้างสรรค์และตรงจุดกว่านี้น่าจะดีกว่า

มาครงเน้นย้ำว่า "งานโอลิมปิก เป็นงานกีฬา ไม่ควรเอาเรื่องการเมืองมายุ่ง ถ้าจะต้องการชูประเด็นทางการเมือง ผมจะไปหาทำเรื่องอื่นที่มันสร้างกระแสที่ชัดเจนกว่านี้"

ซึ่งมาครงยังกล่าวถึงกลยุทธ์การแบนโอลิมปิกของสหรัฐอเมริกาว่า "ผมขอพูดตรง ๆ​ นะ ถ้าคุณจะแบนเจ้าภาพงานโอลิมปิก ด้วยการแค่ไม่ส่งคนของรัฐบาลไปร่วมในพิธีเปิด แต่ยังส่งนักกีฬาไปแข่ง เป็นแค่การแบนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ มันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย ถ้าจะแบนทั้งที ก็ไม่ควรทั้งไปร่วมงาน หรือแม้แต่ส่งนักกีฬาไปแข่ง ถึงจะเป็นการแสดงออกที่มีความหมาย และเป็นที่จดจำอย่างแท้จริง"

และก็ไม่ใช่ว่าทางฝรั่งเศสไม่สนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพียงแต่เลือกที่ผลักดันในวิธีการที่แตกต่าง และตรงจุดกว่า อย่างเช่นประเด็นของ เผิง ฉ่วย นักเทนนิสสาวชาวจีน ที่มีประเด็นอื้อฉาวว่าเธอเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีของจีน ซึ่งฝรั่งเศสได้ทำงานผ่านทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลอย่างเต็มที่เพื่อคุ้มครองนักกีฬา

“ประวิตร” ต้อนรับ "เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศส" เสนอความร่วมมือเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ปี 66 เป็นปีแห่งนวัตกรรม ไทย - ฝรั่งเศส พร้อมขอบคุณฝรั่งเศษ ที่มอบวัคซีนให้ไทย 4 แสนโดส 

ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ กระทรวงกลาโหม ในฐานะโฆษกประจำรองนายกฯ เปิดเผยว่า  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับการเยี่ยมคาราวะของ นายตีแยรี มาตู ( Mr. Thierry Mathou ) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศส พร้อมคณะในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยทั้งสองฝ่ายได้ กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสองประเทศที่มีมายาวนาน และหารือร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต 

ทั้งนี้นายตีแยรี มาตู ได้กล่าวย้ำ ไทยเป็นมิตรภาพเก่าแก่สุดของฝรั่งเศสในภูมิภาค และขอขอบคุณไทยที่สนับสนุนให้ชุมชนฝรั่งเศสจำนวนมากในไทยได้รับการฉีดวัคซีนที่ผ่านมา พร้อมกล่าวถึง ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิกของฝรั่งเศส ที่เปิดกว้างขยายความร่วมมือมากขึ้นในภูมิภาค โดยฝรั่งเศส พร้อมให้ความร่วมมือด้านความมั่นคง การทหาร การปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กิจการอวกาศ รวมทั้งความปลอดภัยการจราจร  พร้อมเสนอให้ ปี 66 เป็นปีที่ทั้งสองประเทศ ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ เป็นปีแห่งนวัตกรรมและความร่วมมือทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  ไทย - ฝรั่งเศส หรือ ที่มีความสนใจร่วมกัน

ผู้นำฝรั่งเศส ขู่จำกัดสิทธิคนไม่ฉีดวัคซีน หลังยอดติดโควิดพุ่ง 3.3 แสนคนใน 1 วัน

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในฝรั่งเศสพุ่งทุบสถิติกว่า 332,000 คนในรอบ 24 ชั่วโมงเมื่อวันพุธ (5 ม.ค.) ขณะที่ประธานาธิบดี เอมมานูแอล มาครง ถูกฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์ยับ หลังหลุดปากพูดว่าจะทำให้คนที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนต้อง “ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก”

ผู้ติดเชื้อรายวันในฝรั่งเศสพุ่งทะลุหลัก 300,000 คนเป็นครั้งแรก หลังจากที่เพิ่งทำสถิติสูงสุด 271,686 คนไปหมาดๆ เมื่อวันอังคาร (4 ม.ค.) ขณะที่ยอดผู้ป่วยแอดมิดเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 2,483 คน และมีอยู่ 396 คนที่อาการหนักจนต้องใช้เตียงไอซียู

โอลิวิเยร์ เวราน รัฐมนตรีสาธารณสุขฝรั่งเศส ได้แจ้งต่อรัฐสภาว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ “เท่าที่จำได้” อยู่ที่ราวๆ 335,000 คน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง หน่วยงานสาธารณสุขฝรั่งเศสได้ออกมาให้ตัวเลขยืนยันที่ 332,252 คน

รัฐบาลฝรั่งเศสมีแผนที่จะปรับใช้มาตรการใหม่ โดยจะมอบ “บัตรผ่านวัคซีน” (vaccine pass) ให้เฉพาะผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วเท่านั้น จากปัจจุบันที่อนุญาตให้ประชาชนแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน ผลตรวจที่เป็นลบ หรือหลักฐานที่ยืนยันว่าเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ก่อนเข้าใช้บริการในร้านอาหาร คาเฟ่ และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ

เวราน เผยด้วยว่า เมื่อวันพุธ (5 ม.ค.) มีชาวฝรั่งเศสเดินทางไปรับ “วัคซีนเข็มแรก” มากถึง 66,000 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขรายวันสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว และเขาเชื่อว่าหากสามารถคงตัวเลขนี้ไว้ได้ “อีก 70-75 วัน” ประชากรฝรั่งเศสก็จะไม่ป่วยหนักจากโควิด-19

ผู้ท้าชิง ปธน.ฝรั่งเศส 'สายต้านนาโต-โอ๋รัสเซีย' ถูกสอบใช้เงินหลายแสนยูโรในทางที่ผิด

อัยการฝรั่งเศส เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ (17 เม.ย.) ว่า กำลังตรวจสอบรายงานฉบับหนึ่งของหน่วยงานต้านการฉ้อโกงของสหภาพยุโรป กล่าวหา มารีน เลอ แปน ผู้สมัครชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีหัวขวาจัด และสมาชิกในพรรคของเธอใช้เงินทุนอียูหลายแสนยูโรในทางที่ผิด

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นไม่นานหลังจาก เลอ แปน ซึ่งผ่านเข้าไปชิงดำกับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส รอบ 2 ในวันที่ 24 เมษายน ออกมาเตือนยุโรป “หยุดส่งอาวุธ” ให้แก่รัฐบาลยูเครน พร้อมทั้งเรียกร้องให้องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) กับรัสเซียกลับมาเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง หลังจากที่สงครามในยูเครนสงบลง

เลอ แปน ซึ่งเป็นนักการเมืองหัวชาตินิยมที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียมานาน ยืนยันด้วยว่า หากเธอโค่น มาครง ลงได้ในศึกเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส เธอจะดึงฝรั่งเศสออกจากโครงสร้างการบังคับบัญชาทางทหารของนาโต้ และลดการสนับสนุนความเป็นสหภาพยุโรป (อียู)

นอกจากนี้ เลอ แปน ยังวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ กรณีกดดันให้อียูกำหนดมาตรการคว่ำบาตรห้ามนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน ซึ่งเธอให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่น BFM TV ว่า สหรัฐฯ ควรจ่ายเงินชดเชยแก่ฝรั่งเศสสำหรับความเสียหายต่างๆ หากว่าอียูกำหนดมาตรการแบนนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย

เลอ แปน กำลังท้าทาย มาครง ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี ด้วยผลสำรวจความคิดเห็นของสำนักโพลต่างๆ พบว่า มาครง มีคะแนนนิยมนำหน้าเพียงเล็กน้อยในศึกเลือกตั้งรอบ 2 ในวันอาทิตย์นี้ (24 เม.ย.)

จับตา ‘เลือกตั้งฝรั่งเศส’ เมื่อคนฝรั่งเศสเบื่อทั้งซ้าย-ขวา และมุ่งสู่การเมืองสายกลาง!! | Click on Clear THE TOPIC EP.194

📌จับตาศึกชิงเก้าอี้ผู้นำฝรั่งเศส! ไปกับ '.ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์’ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง!!
📌ใน Topic : จับตา ‘เลือกตั้งฝรั่งเศส’ เมื่อคนฝรั่งเศสเบื่อทั้งซ้าย-ขวา และมุ่งสู่การเมืองสายกลาง (Centrist) !!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

'ผู้สมัครชิงปธน.ฝรั่งเศส' เตือน!! ยุโรป-ฝรั่งเศส ไม่ซื้อ 'น้ำมัน-ก๊าซรัสเซีย' ก็เท่ากับฆ่าตัวตาย

สำนักข่าว TASS ของรัสเซียรายงานว่า ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครณรงค์แห่งชาติ (Rassemblement national) มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) เชื่อว่าการสกัดกั้นการนำเข้าน้ำมันและก๊าซของรัสเซียจะหมายถึงการทำ "ฮาราคีรี" สำหรับยุโรปเอง แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อรัสเซียเอง

“เราไม่สามารถกระทำฮาราคีรีด้วยความหวังที่จะทำร้ายรัสเซีย” เธอกล่าวระหว่างการอภิปรายทางโทรทัศน์กับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศสในเย็นวันพุธ เลอ แปนและมาครงจะชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกันในวันที่ 24 เมษายน

ทั้งนี้ "ฮาราคีรี" (Hara-kiri) ที่ เลอ แปน หมายถึงการฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้องในยุคซามูไรของประเทศญี่ปุ่น เรียกอีกอย่างว่า "เซ็ปปุกุ" (Seppuku) ในที่นี้หมายถึงการฆ่าตัวตาย

'มาครง' ชี้!! อีกหลายสิบปียูเครนถึงจะได้เข้าสหภาพยุโรป แนะตั้ง 'ประชาคมการเมืองยุโรป' รับรองแทนอียู

เมื่อวันจันทร์ (9 พ.ค.) ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ระบุว่า คงต้องใช้เวลา "นานหลายทศวรรษ" สำหรับผู้สมัครหนึ่งๆ อย่างเช่นยูเครน จะได้เข้าร่วมสหภาพยุโรป ดังนั้นแนะนำให้จัดตั้งประชาคมทางการเมืองที่ครอบคลุมและมีขอบเขตนอกเหนือจากกลุ่มอียูขึ้นมา ในนั้นอาจรวมถึงสหราชอาณาจักร

แนวคิดนี้ได้รับการขานรับในแง่บวกทันทีจาก โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งระบุว่ามันเป็น "คำแนะนำที่น่าสนใจ" และบอกว่าเขา "มีความยินดียิ่ง" ที่จะหารือในเรื่องนี้กับผู้นำฝรั่งเศส

ยูเครน ซึ่งกำลังต่อสู้ต้านทานการรุกรานกับรัสเซีย กำลังหาทางเป็นสมาชิกอียู และทางคณะกรรมาธิการยุโรปบอกว่าจะตอบกลับคำร้องขอในเดือนหน้า ก้าวย่างสำคัญก่อนนำประเด็นนี้สู่การพิจารณาของบรรดารัฐสมาชิกต่อไป

อย่างไรก็ตาม มาครง กลบฝังความหวังของยูเครนในการรับเป็นสมาชิกอียูอย่างรวดเร็ว และแนะนำว่าการพิจารณาสร้างชมรมทางการเมืองนอกเหนืออียูอาจมีประสิทธิผลมากกว่า

"ผมขอพูดเรื่องนี้ด้วยความจริงใจ ด้วยความสัตย์จริงที่เรามีต่อชาวยูเครน" มาครงกล่าว "เราสามารถมีกระบวนการที่รวดเร็ว ในการตอบรับสถานะรัฐผู้สมัครของยูเครน แต่เรารู้ว่าด้วยมาตรฐานและบรรทัดฐานของเรา บางทีมันอาจใช้เวลาหลายทศวรรษสำหรับยูเครน ในการได้เข้าร่วมสหภาพยุโรปจริงๆ"

อย่างไรก็ตาม มาครง เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ยุโรปต้องความสำคัญกับยูเครนและผู้หวังเป็นสมาชิกอียูรายอื่นๆ อย่างเช่นมอลโดวาและจอร์เจีย โดยเขาเรียกร้องให้จัดตั้ง "ประชาคมการเมืองยุโรป" ขึ้นมา

มาครงกล่าวระหว่างต้อนรับการมาเยือนของโชลซ์ ว่าสหราชอาณาจักรก็อาจเข้าร่วมในประชาคมนี้เช่นกัน "สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป แต่พวกเขาอาจมีที่ว่างในประชาคมทางการเมืองนี้"

'ฝรั่งเศส' ชี้!! ยูเครนสมัครเข้าอียู ต้องใช้เวลา 15-20 ปี หากใครบอกทำได้เร็วกว่านี้ ถือว่า 'พูดไม่จริง'

เคลมองต์ โบน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปของฝรั่งเศส เตือนว่า กระบวนการพิจารณารับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกอียู อาจใช้เวลา 15-20 ปี โดยเรื่องนี้ต้องพูดกันอย่างจริงใจ แต่ถ้าใครบอกว่าใช้เวลา 6 เดือน หนึ่งปี หรือ สองปี ถือว่ากำลังพูดไม่จริง 

พร้อมทั้งกล่าวถึงข้อเสนอของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงของฝรั่งเศส เพื่อตั้งประชาคมการเมืองขึ้นมา และจะสามารถรวมเอายูเครนเข้าร่วมกลุ่มได้เร็วกว่า ที่พูดเช่นนี้ เพราะไม่ต้องการเสนออะไรที่เป็นภาพมายา หรือคำโกหกกับยูเครน ข้อเสนอของผู้นำฝรั่งเศสไม่ใช่ทางเลือก และยูเครนยังสามารถยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกอียูภายหลังได้อีก

ความเห็นของโบน ถือเป็นการทำลายความหวังของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี เพื่อเร่งเข้าเป็นสมาชิกอียู ในช่วงที่มีปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน 

‘ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนี-อิตาลี’ ดอดพบเซเลนสกี้ กล่อม ‘ยูเครน’ ให้อ่อนข้อต่อ ‘รัสเชีย’ จริงหรือ?

เฟซบุ๊กเพจ ‘Pat Sangtum’ โพสต์ข้อความในหัวข้อ ‘OVERNIGHT TRAIN TO KIEV’ ระบุว่า…

เมื่อผู้นำอิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส นั่งรถไฟจากโปแลนด์ขบวนข้ามคืนเข้ายูเครน เพื่อไปเยี่ยม เซเลนสกี้ ที่กรุงคีฟ

เดากันว่า ผู้นำ 3 ท่านนี้ ไปเกลี้ยกล่อมให้เซเลนสกี้ เจรจากับปูติน 

อย่าเชื่อมาก!! 

เพราะข่าวต่าง ๆ จากการประชุม อ้างถึงคำพูดโอ้อวดและป้ายความเลวให้รัสเชียทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฆ่าหมูชาวยูเครน หรือยุทธการของรัสเชียที่อ่อนแอ หรือกองทัพรัสเชียสูญเสียทหารและอาวุธจำนวนมาก

แต่บทสรุปจะออกมาเป็นเช่นไร ก็ยังไม่ทราบได้ หากอ้างถึงคำถามจาก ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ผู้นำเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ผู้นำอิตาลี ว่า “ชัยขนะของยูเครน” มีนิยามว่าอย่างไร ชัยชนะทางทหารที่เซเลนสกี้ต้องการ คือ ชนะระดับไหน

อย่างไรเสีย ชาวยุโรปในประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเฟ้อ และความขาดแคลนทั้งน้ำมัน และสินค้าอุปโภคบริโภค เริ่มออกมาบอก EU และผู้นำยูเครนว่า รัสเชียต้องการอะไร ให้สนองตอบให้เร็วที่สุด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top