Thursday, 25 April 2024
ประกันสังคม

‘เลขาธิการ สปส.’ ลุย! ตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการ “Factory Sandbox” จ.สมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ ตรวจเยี่ยมโรงงาน ตามโครงการ “Factory Sandbox” ณ บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีนายพินิจ ผุดไซตู ประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ นายสุรศักดิ์ คุณานันทกุล ผู้อำนวยการบริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) นายฮิโรยูกิ อิโนกูจิ รองผู้อำนวยการ บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) นายแพทย์เขตโสภณ จัตวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิครินทร์ สมุทรปราการ พร้อมเจ้าหน้าที่ และพนักงานบริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) ร่วมให้การต้อนรับ

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ “Factory Sandbox” ภายใต้นโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งกระทรวงแรงงานในการกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกภาคส่วนของประเทศ กระทรวงแรงงาน

โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีแนวคิดในการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” ที่มุ่งเป้าดำเนินการควบคู่กันระหว่าง สาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิต ซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน โดยมีหลักการสำคัญ คือ ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ให้ผู้ประกันตนในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออก

ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ในพื้นที่ 11 จังหวัดนำร่องที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ลพบุรี สระบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 โดยให้มีการจำกัดอยู่ในพื้นที่ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างอันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนสุขภาวะของประชาชนทั่วประเทศ ตามแนวทางโครงการ “Factory Sandbox”

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีความมุ่งมั่น และทุ่มเทการทำงาน พร้อมร่วมช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจไปต่อโดยไม่ต้องหยุดการผลิต และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนในทุกสถานการณ์อย่างทันท่วงที และรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบในทุกด้านเพื่อหาแนวทางกำหนดมาตรการแก้ไขให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

 

'ประกันสังคม' เพิ่มช่องทางรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) กับธนาคาร บีเอ็นพี พารีบาส์ ฟรีค่าธรรมเนียม

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในการเพิ่มช่องทางการให้บริการรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) โดยได้ร่วมกับธนาคาร บีเอ็นพี พารีบาส์ ให้บริการนายจ้างสามารถส่งข้อมูลเงินสมทบผ่าน ระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม และชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของธนาคาร บีเอ็นพี พารีบาส์ ผ่านบริการ e-SSO Payment Services

ซึ่งระบบของธนาคารจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 17.00 น. ของแต่ละวัน ฟรีค่าธรรมเนียม และสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้จากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมหลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว นายจ้างสามารถสมัครใช้บริการของธนาคารหรือสอบถามการใช้บริการได้ที่ ฝ่ายบริการลูกค้าธนาคาร บีเอ็มพี พารีบาส์ เบอร์โทรศัพท์ 02-017-8635 และ Email : [email protected] เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป

 

'ประกันสังคม' ชวนผู้ประกันตนตรวจสุขภาพ ได้ทุก รพ.ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานหรือคนทำงานในสถานประกอบการทุกคน ให้มีสุขภาพที่ดี โดยสนับสนุนให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ กำชับนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ให้บริการดูแลสุขภาพเชิงรุก เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพผู้ประกันตน มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นกำลังผลิตที่สำคัญ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศ มีการขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม ร่วมขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน เพื่อดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนเชิงรุกในทุกมิติ โดยให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพกับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ส่งผลให้ผู้ประกันตนมีทางเลือกและมีความสะดวกในการตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงและป้องกัน และหากพบความผิดปกติ ผู้ประกันตนจะได้รับการบำบัดตั้งแต่ระยะแรก อาทิ การตรวจเต้านมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวจการทำงานของไต การตรวจไขมันในเส้นเลือด เพื่อหาความเสี่ยงโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดอุดตัน ฯลฯ อย่างไรก็ดีเพื่อพัฒนาระบบคุณภาพบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึง สิทธิและบริการด้านสุขภาวะในกลุ่มผู้ใช้แรงงานอีกด้วย

 

‘ทิพานัน’ ชวนผู้ประกันตน ตรวจสุขภาพฟรี พร้อมแจ้งข่าวดีใส่ฟันปลอมก็เบิกได้

‘ทิพานัน’ ชวนผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ พร้อมแจ้งข่าวดีใส่ฟันปลอมก็เบิกได้ ปลื้มรัฐบาลใส่ใจดูแลประชาชน เข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงานและลูกจ้าง

น.ส. ทิพานัน ศิริชนะ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตจอมทอง - ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า สุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างในสถานประกอบการต่าง ๆ ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อมีร่างกายที่แข็งแรง การทำงานก็จะดีไปด้วย ซึ่งพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มเพื่อความสุขของพี่น้องประชาชน 

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างสถานประกอบการนั้น ได้กำชับให้กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพเชิงรุก เน้นการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงและการป้องกันโรคอย่างมีคุณภาพ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย การเสียชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

น.ส. ทิพานัน กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพ 14 รายการฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อค้นหาโรค และเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงจากโรคเนื่องจากการทำงานและโรคที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ทั้งการตรวจร่างกายตามระบบและการตรวจสารเคมีในเลือด ประกอบด้วย การตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจไขมันในเส้นเลือด ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจการทำงานของไต ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจคัดกรองการได้ยิน การตรวจเต้านม การตรวจตา ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจปัสสาวะ

รัฐชง​ครม. เยียวยาคนกลางคืน​ รายละ 5 พัน 1.2​ แสนคน​ ลุ้น!! เห็นชอบ พร้อมโอน 29 ธ.ค.นี้ 

"คนกลางคืน-อาชีพอิสระ" เฮ! "ประกันสังคม" เตรียมจ่ายเยียวยา "ม.40" รายละ 5 พัน รอบแรก 1.2 แสนคน ชง “ครม.” เห็นชอบ พร้อมโอน 29 ธ.ค.นี้ ฉลองปีใหม่

เมื่อ​ 16 ธ.ค. 64 ที่อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม (สำนักงานใหญ่) จ.นนทบุรี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พร้อมด้วย นางสุดา ชื่นบาน อุปนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย นายฝอยทอง เชิญยิ้ม นายกสมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย นางนัฐชา นาโค เลขาชมรมศิลปินและบันเทิง และผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมงานแถลงข่าวมาตราการเยียวยาประกันสังคมมาตรา 40 (ม.40) อาชีพอิสระ คนกลางคืน

นายบุญสงค์ กล่าวว่า การประชุมหารือในวันนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน ที่เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง ผู้ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับจากมาตรการของรัฐในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

‘ประกันสังคม’ ปฏิรูประบบบำนาญชราภาพ ขยายอายุเกษียณเป็น 60 ปี เริ่มใช้กับรายใหม่

ประกันสังคม ปฏิรูประบบบำนาญชราภาพ ขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี ยกเหตุโครงสร้างผู้สูงอายุ จำนวนผู้รับบำนาญเพิ่มและยาวนานขึ้น หวังควบคุมต้นทุน เริ่มใช้กับผู้ประกันตนรายใหม่

20 ธ.ค. 64  สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจงความคืบหน้าการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพ โดยการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ว่าเนื่องจากโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานลดลง ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุและผู้รับบำนาญเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระบบการแพทย์ที่ดีขึ้นและสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น เนื่องจากบำนาญประกันสังคมเป็นการดูแลตลอดชีวิต 

อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นก็จะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงขึ้นมากจนเกินไป ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องนำส่ง สำนักงานประกันสังคม จึงมีนโยบายการปรับปรุงอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ (หรือที่เรียกกันว่าอายุเกษียณ) เพื่อให้เกิดสมดุลกับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ และควบคุมต้นทุนของระบบบำนาญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นมาตรการปกติที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกดำเนินการ

สำนักงานประกันสังคม ได้มีการจัดทำแนวทางการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ระบบบำนาญชราภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนเมื่อต้องเข้าสู่วัยเกษียณ โดยที่การขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เป็นมาตรการหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการใช้กับผู้ประกันตนใหม่และผู้ประกันตนที่อายุน้อยเท่านั้น ผู้ประกันตนปัจจุบันที่ใกล้เกษียณอายุจะไม่ได้รับผลกระทบ 

ประกันสังคม ปฏิรูประบบบำนาญขยายอายุเกษียณ 55 เป็น 60 ปี เริ่มใช้กับรายใหม่

‘ลุงตู่’ ห่วงใย! ส่ง ‘รมว.เฮ้ง’ ลงพื้นที่ปากช่อง นครราชสีมา ติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตรวจเยี่ยมติดตามคุณภาพชีวิตพร้อมให้กำลังใจผู้ประกันตนผู้ทุพพลภาพ จำนวน 2 ราย ในโครงการ สปส. “มอบสุข” โดยมี นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางศิริหทัย แท่นแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์สารนิเทศ พร้อมด้วยนางนพรัตน์ จันธนะสมบัติ ประกันสังคมจังหวัดนครราชสีมา นางสาวปราณี อินทอง หัวหน้าสาขาปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นางวาสนา รัตนเวชสิทธิ หัวหน้าสาขาโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา นางอาภรณ์ แว่วสอน ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมด้วย พร้อมนักกายภาพบำบัดจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ร่วมคณะลงพื้นที่แนะนำกายภาพบำบัด และการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นให้กับผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ จำนวน 2 ราย ในครั้งนี้ด้วย   

    

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ ท่านพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของท่าน พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือมีความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้เป็นผู้ทุพพลภาพ รวมถึงให้ความสำคัญในการดูแลผู้ประกันตนอย่างใกล้ชิดในทุก ๆ ด้าน กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม พร้อมเข้าดูแลผู้ทุพพลภาพให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วนถูกต้อง เข้าถึงความเดือดร้อน อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้มีความรู้สึกอบอุ่น มีความรู้สึกที่ดีต่อระบบประกันสังคม

อีกทั้งรับทราบปัญหาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้ทุพพลภาพ รวมทั้งติดตามอาการเจ็บป่วย เพื่อนำสู่การรักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต และคุณภาพชีวิตให้กับผู้ประกันตนที่ดีที่สุดในโอกาสนี้ ตนและคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ได้มีโอกาสลงพื้นที่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พร้อมนำสิ่งของเครื่องอุปโภคและบริโภค ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ มามอบให้กับผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครราชสีมา ในการนี้ ตนได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการตามนโยบาย ที่พร้อมเข้าดูแล สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง ผู้ประกันตน อย่างใกล้ชิด

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการตามนโยบายของ นายสุชาติ ชมกลิ่ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปยังบ้านพักของผู้ประกันตน จำนวน 2 ราย รายแรก นายพรเทพ รักคง อายุ 48 ปี เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 บ้านพักอยู่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เช่นกัน เป็นผู้ทุพพลภาพจากหลอดเลือดสมองแตก เป็นเหตุให้แขนขาข้างขวาอ่อนแรง เดินต้องใช้ไม้เท้าพยุง ได้รับสิทธิเป็นผู้ทุพพลภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ปัจจุบันได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เดือนละ 2,400 บาทตลอดชีวิต ได้รับค่าพาหนะ รายเดือน 500 บาท และรับเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกผลไปแล้วเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 จำนวนเงิน 86,480 บาท

 

‘คนกลางคืน’ เฮ! เตรียมรับเงินเยียวยา รายละ 5,000 บาท งวดแรก เริ่ม 29 ธ.ค. 64 นี้!

(28 ธ.ค. 64) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีมติเห็นชอบอนุมัติมาตรการช่วยเหลือเยียวยา พี่น้องผู้ประกอบอาชีพอิสระ คนทำงานกลางคืนในกิจการสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ 

โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกอบอาชีพรายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 เดือน ให้กับผู้ประกันตนที่มีสัญชาติไทย ทั้งมาตรา 33 ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 และได้รับการรับรองจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าทำงานในสถานบันเทิงกลางคืนนั้นจริง

เฮ แรงงานประกันสังคมได้รับบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 

น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2564 

ทั้งนี้กำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1-31 ม.ค. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.45ของค่าจ้าง และกำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. -31 มี.ค. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.3 ของค่าจ้าง

‘ประกันสังคม’ เร่งประชุมหารือผ่านระบบ Zoom ร่วมกับสถานพยาบาล รับมือโอมิครอน!! เตรียมพร้อมจัดระบบบริการทางการแพทย์ดูแลผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด อย่างเต็มที่ และทันท่วงที

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบ Zoom ร่วมกับผู้แทนและบุคลากรทางการแพทย์ของสถานพยาบาลประกันสังคมจำนวนกว่า 50 แห่ง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม 

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวกับสื่อมวลชนว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรโน 2019 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้ ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ไอมิครอนแล้วกว่า 2 พันราย ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องลูกจ้าง ผู้ประกันตน จึงกำชับให้สำนักงานประกันสังคม เตรียมแผนรับมือต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในทุกด้านหากสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกันตนที่ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น

โดยในวันนี้ สำนักงานประกันสังคม ได้จัดให้มีการประชุมผ่านระบบ vdo Conference โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 หารือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่ในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ได้รับการดูแล และรักษาได้ทันที โดยมีประเด็นการประชุมฯ พร้อมแผนมาตรการรองรับร่วมกับสถานพยาบาล ในด้านการใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนกรณีการติดโควิด-19 ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาล และสถานพยาบาลใกล้ที่พักอาศัยทุกแห่ง กรณีที่สถานพยาบาลตามสิทธิฯ และสถานพยาบาลที่รับรักษา ไม่สามารถให้การรักษาได้หรือเกินศักยภาพในการรักษา จะทำการส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษากับโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิได้ เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัด หรือต่างพื้นที่ สามารถเข้ารักษาได้ในสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ ผู้ประกันตนจะได้รับการดูแลรักษา ในสถานพยาบาล, โรงพยาบาลสนาม, Hospitel, Community Isolation, Home Isolation ตามแนวทางและระบบบริการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้านการเตรียมความพร้อมให้สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม มีแผนรองรับการรักษาผู้ประกันตน โดยจัดหาเตียงให้เพียงพอต่อสถานการณ์การเพิ่มจำนวนของผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อาจจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยให้สถานพยาบาลจัดเตรียมสถานที่รองรับผู้ป่วยที่อาการแสดงน้อย หรือไม่แสดงอาการ (สีเขียว) เข้ารับการรักษา ในระบบ Hospitel และ Home Isolation ซึ่งในปัจจุบันมี สถานพยาบาลในระบบประกันสังคม มี Hospitel จำนวนทั้งสิ้น 12,856 เตียง และจำนวนเตียงว่างคงเหลือ 3,230 เตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มกราคม 2565) อีกทั้งสำนักงานประกันสังคม ได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกับ สปสช. ในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีแสดงอาการเล็กน้อย (สีเขียว) และประสงค์เข้ารักษาในระบบ Home Isolation โดยผู้ประกันตนสามารถลงทะเบียนในเว็บไซต์ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

นอกจากนี้ยังมี โครงการ Factory Sandbox ในการตรวจ รักษา ควบคุม ดูแลในสถานประกอบการเพื่อการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นไปที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ คือ ตรวจ : ดำเนินการตรวจคัดกรองด้วย RT – PCR 100% เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจSelf – ATK ทุกสัปดาห์ รักษา : ให้โรงงานจัดให้มีสถานรักษาพยาบาลขึ้นสถานแยกกัก (Factory Isolation : FAI, และ Hospitel สำหรับผู้ป่วยสีเขียว โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยสีเหลืองและห้องผู้ป่วยวิกฤต สำหรับผู้ป่วยสีแดง ดูแล : ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แรงงานโดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้องออกใบรับรอง “โรงงานสีฟ้า” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน ควบคุม : ให้นายจ้างและแรงงานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจคัดกรองโรค COVID-19 กรณีตรวจคัดกรองใน รพ. /ตรวจคัดกรองนอก รพ.โดยหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. โดยผู้ประกันตนคนไทยเบิกเงินจาก สปสช. ผู้ประกันตนคนต่างชาติ เบิกเงินจาก สำนักงานประกันสังคม กรณีตรวจคัดกรองเชิงรุกในสถานประกอบการ ตามโครงการของสำนักงานประกันสังคมโครงการ Factory Sandbox เพื่อค้นหาผู้ประกันตนกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาดและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อ เบิกเงินจากสำนักงานประกันสังคม สำหรับค่าใช้จ่าย ในการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐบาล มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 3,000 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาทต่อวัน มีอาการรุนแรง (สีแดง) ค่าห้องรวมค่าอาหารจ่ายตามจริงไม่เกิน 7,500 บาทต่อวัน ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จ่ายตามจริงไม่เกิน 740 บาทต่อวัน

กรณีมีอาการเล็กน้อย(สีเขียว) ดูแลรักษาโรงพยาบาลสนาม Hospitel Hotel Isolation ตั้งแต่ 1 ม.ค.65 จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาท ต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน และค่าอุปกรณ์ในการดูแลติดตามสัญญาณชีพ 500 บาทต่อวัน ค่าชุด PPE จ่ายตามจริงไม่เกิน 150 บาทต่อราย ดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation ค่าดูแลให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน จ่ายแบบเหมาจ่ายไม่รวมค่าอาหาร 3 มื้อในอัตรา 600 บาทต่อวัน /รวมค่าอาหาร 3 มื้อ ในอัตรา 1,000 บาท ต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน กรณีรักษาในสถานพยาบาลเอกชนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 ตามราคากลางประกาศกระทรวงสาธารณสุข สำหรับค่ารถรับส่งผู้ป่วย กรณีจำเป็นต้องส่งต่อภายในจังหวัดเดียวกัน จ่ายตามจริง ไม่เกิน 500 บาท กรณีต่างท้องที่จังหวัดอื่น จ่ายเบื้องต้น 500 บาท และจ่ายเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ ไม่เกิน 1,400 บาทต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรค โควิด-19 เหมาจ่าย 2,600 บาทต่อราย

 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top