Saturday, 20 April 2024
บอลลูนจีน

ภัยความมั่นคง ‘สหรัฐฯ’ ชิงลงมือ สอย ‘บอลลูนจีน’ ร่วงนอกชายฝั่ง หวั่นซ้ำรอย ‘Fu-Go’ บอลลูนมหาภัย เมื่อ ๗๘ ปีก่อน

เมื่อไม่นานมานี้ข่าวต่างประเทศที่ได้รับความสนใจมากๆ ข่าวหนึ่งก็คือ วัตถุบินปริศนาที่ปรากฏบนน่านฟ้าของสหรัฐฯ ซึ่งบางฝ่ายก็มโนไปว่ามันคือยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาว หรือ UFO (Unidentified Flying Object)

แต่ข้อถกเถียงเรื่อง  UFO ก็ต้องส่างซาลง เมื่อมีข่าวว่า สหรัฐฯ จัดการกับวัตถุปริศนาชิ้นนั้นด้วยการส่งเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 ยิงมันตกที่นอกชายฝั่งของมลรัฐ South Carolina ของสหรัฐฯ

หลังจากนั้น ‘จีน’ ออกมาประท้วง ‘สหรัฐฯ’ ที่ยิงวัตถุปริศนานั้น โดยจีนอ้างว่ามันคือ ‘บอลลูนพลเรือนซึ่งไร้คนบังคับ’ และระบุว่า พวกเขาสงวนสิทธิ์ในการ ‘ตอบโต้เท่าที่จำเป็น’

การที่บอลลูนดังกล่าวเข้ามาในน่านฟ้าของสหรัฐฯ มันยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนยิ่งเลวร้ายลง โดยสหรัฐฯ นั่นคือการส่งอุปกรณ์สอดแนมเข้ามาในดินแดนของตน แต่ทางจีนกลับกล่าวอ้างว่ามันคือ ‘บอลลูน (เรือเหาะ) ที่ใช้ในกิจการพลเรือนและไร้คนขับ’ โดยเป็นบอลลูนวิจัยสภาพอากาศที่หลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหรัฐฯ ‘โดยบังเอิญ’
 

เว็บไซต์ People's Daily Online ได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีเรือเหาะไร้คนขับสัญชาติจีนหลุดเข้าสู่น่านฟ้าสหรัฐฯ และถูกกองทัพสหรัฐฯ ยิงตกเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 โดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสอดแนมของจีน 

ทางฟากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า บอลลูนเป็นเรือเหาะพลเรือนที่ใช้เป็นหลักในการวิจัยอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเกิดเหตุสุดวิสัยเนื่องจากลมแรง และมีความสามารถในการบังคับทิศทางด้วยตนเองที่จำกัด เมื่อสหรัฐฯ พบเห็นเรือเหาะ ฝ่ายจีนได้แจ้งให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบถึงลักษณะของเรือเหาะพลเรือน และจีนได้สื่อสารกับสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน รวมทั้งทำงานร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้อย่างเหมาะสมด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมืออาชีพ และอดกลั้น

เครื่องบินขับไล่แบบ F-22 ขณะยิงขีปนาวุธขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงแบบอากาศสู่อากาศ แบบ AIM-9X

ในส่วนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงหลายลำมีส่วนร่วมในภารกิจเมื่อวันเสาร์ แต่มีเพียงเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 จากฐานทัพอากาศ Langley ในมลรัฐ Virginia เพียงลำเดียวที่ยิงบอลลูนดังกล่าว เมื่อเวลา 14:39 น. (19:39 GMT) โดยใช้เป็นเป้าหมายของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงแบบอากาศสู่อากาศ แบบ AIM-9X ซึ่งค้นหาเป้าหมายด้วยความร้อน เพียงลูกเดียว บอลลูนซึ่งลอยอยู่ที่ความสูงประมาณ 18,300 เมตร (60,000 ฟุต) ถูกยิงตกนอกชายฝั่งมลรัฐ South Carolina ประมาณ 6 ไมล์ทะเล 

Joe Biden ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาได้ออกคำสั่งให้ยิงบอลลูนลง แต่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แนะนำให้รอจนกว่าจะสามารถปฏิบัติการเหนือน่านน้ำเปิด เพื่อปกป้องเศษซากที่ตกลงสู่พื้นโลกไม่ให้เป็นอันตรายต่อประชาชนสหรัฐฯ 

“เรายิงบอลลูนตกได้สำเร็จ และผมขอชมเชยนักบินของเราที่ทำสำเร็จ” ประธานาธิบดี Biden กล่าวที่มลรัฐ Maryland

บอลลูนซึ่งลอยอยู่สูงประมาณ 18,300 เมตร (60,000 ฟุต) ถูกยิงตกนอกชายฝั่งมลรัฐ South Carolina 

ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นานหลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ สั่งระงับเที่ยวบินบริเวณชายฝั่งของมลรัฐ South Carolina เนื่องจากสิ่งที่กล่าวในเวลานั้นคือ ปฏิบัติการด้านความมั่นคงของชาติที่ไม่เปิดเผย 

หลังจากเสร็จภารกิจเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 บินกลับฐานทัพฯ ภาพจากโทรทัศน์แสดงให้เห็นการระเบิดเพียงเล็กน้อย ตามด้วยบอลลูนที่ตกลงสู่ทะเล 

สำนักข่าว Associated Press รายงานว่ามีการดำเนินการในน่านน้ำของสหรัฐในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก และมีการกู้เศษซากของบอลลูนด้วย 

ทางสำนักข่าวรอยเตอร์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า เศษชิ้นส่วนของบอลลูนกระจายออกไปในมหาสมุทรเป็นแนวยาวกว่า เจ็ดไมล์ (11 กิโลเมตร) โดยมีเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ หลายลำอยู่ในบริเวณนั้น


เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทำการเก็บกู้เศษซากบอลลูนของจีนซึ่งถูกยิงตกเพื่อนำไปพิสูจน์ทราบ

เจ้าหน้าที่ FBI ทำการตรวจพิสูจน์เศษซากบอลลูนของจีนซึ่งถูกยิงตก

บอลลูนตรวจสภาพอากาศของแคนาดา

People's Daily บอกว่า เหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรกในโลกที่บอลลูนเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อยู่เหนือการควบคุม ในปี 1998 (พ.ศ.2541) บอลลูนตรวจสภาพอากาศของแคนาดา ซึ่งทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้กับองค์การอวกาศแคนาดา สิ่งแวดล้อมแคนาดา และมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ของสหรัฐฯ เกิดข้อผิดพลาด เนื่องจากการทำงานผิดพลาดทางเทคนิค บอลลูนไม่สามารถลงมาได้ตามแผนและลอยข้ามประเทศแคนาดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก โดยบอลลูนลอยอยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลา ๙ วัน เข้าสู่น่านฟ้าของหลายประเทศ และลงจอดที่เกาะ Mariehamn ของฟินแลนด์ในที่สุด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top