Thursday, 25 April 2024
ธนาคาร

ปปง. ออกกฎ 'ต้องยืนยันตัวตน' ก่อนใช้ตู้ CDM ป้องกันการฟอกเงินจากการค้ายา - การพนันผิดกฎหมาย

เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกรุงไทยได้เผยแพร่เอกสาร ระบุว่าต้องเปลี่ยนแนวทางการให้บริการตู้ฝากเงินสด (CDM) โดยมีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงิน ตามกฎเกณฑ์ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ CDM AMLO 

ผู้ฝากเงินสามารถใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนของธนาคารใดก็ได้ 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (ยกเว้นบัตร KTC ตามข้อมูลปัจจุบัน) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยผู้ฝากจะไม่เสียค่าบริการยืนยันตัวตน ส่วนค่าธรรมเนียมในการฝากเงินไปยังบัญชีปลายทางต่างธนาคารขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร

ปิดฉาก SVB!! สหรัฐฯ สั่งปิดธนาคารปล่อยกู้แก่ธุรกิจสตาร์ตอัป เหตุการณ์แบงก์มะกันล้มครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤตปี 2008

นับเป็นการล้มของแบงก์สหรัฐฯ ที่ขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤต 2008 เลยก็ว่าได้ สำหรับ Silicon Valley Bank (SVB) ธนาคารปล่อยกู้แก่ธุรกิจสตาร์ตอัพในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งหากย้อนไปในปี 2008 ปัญหาที่หมักหมมในสหรัฐฯ เริ่มส่งกลิ่นไม่ดีเป็นเวลาหลายปีก่อนที่ฟองสบู่จะแตกตัวในปี 2008 

โดยก่อนหน้านั้นเกิดกระแสการจำนองโดยที่ผู้กู้นำหลักทรัพย์ด้อยคุณภาพมาค้ำประกัน เพราะดอกเบี้ยในตลาดช่วงนั้นต่ำมาก ประกอบกับธนาคารมีเงื่อนไขการปล่อยกู้ที่ผ่อนปรนกว่าแต่ก่อน ซึ่งเปิดทางให้ประชาชนสามารถซื้อบ้านได้ทั้งที่ยังไม่มีความสามารถในการจ่าย 

ผลกระทบที่ธนาคารและสถาบันทางการเงินสหรัฐฯ ได้รับในเวลานั้นก็คือ การขาดทุนอย่างย่อยยับ และ 'เลห์แมน บราเธอร์ส' ก็ได้ประกาศล้มละลาย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป เพราะมีภาระหนี้สินถึง 6.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่แฮงก์ พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ในเวลานั้นได้ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่อัดฉีดเงินเข้าไปช่วยโอบอุ้มธนาคาร ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดเกิดความตื่นตระหนก โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ร่วงลงกว่า 350 จุดจากข่าวดังกล่าว นอกจากนี้ยังส่งแรงกระเพื่อมสะเทือนไปทั้งตลาดเงินทั่วโลก

กลับมาที่เหตุการณ์ล่าสุด กระทรวงปกป้องการเงินและนวัตกรรมแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียประกาศปิดกิจการของ Silicon Valley Bank (SVB) ในวันนี้ (11 มี.ค.66) พร้อมกับมอบหมายให้บรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC: Federal Deposit Insurance Corporation) เป็นผู้ดูแลเงินฝากของ SVB

ทั้งนี้ FDIC ได้จัดตั้ง Deposit Insurance National Bank of Santa Clara (DINB) และได้โอนเงินฝากทั้งหมดจาก SVB ที่ได้รับการค้ำประกันเข้าสู่ DINB เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ฝากเงิน

FDIC เปิดเผยว่า เจ้าของเงินฝากจะสามารถเข้าถึงเงินฝากของตนเองได้ภายในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. ซึ่งสาขาต่างๆ ของ SVB จะเปิดทำการ แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของ FDIC

อย่างไรก็ดี กฎระเบียบของ FDIC ให้การคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์ต่อผู้ฝาก 1 ราย ต่อ 1 ธนาคาร

ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ธ.ค.2565 ระบุว่า SVB มีสินทรัพย์ทั้งหมดราว 2.09 แสนล้านดอลลาร์ และมีเงินฝาก 1.754 แสนล้านดอลลาร์

เฉไฉไปเรื่อย!! ‘ศุภชัย’ ฉะ ‘ชูวิทย์’ ลั่น!! ทำตัวเหมือน ‘เด็กเลี้ยงแกะ’ หลังไร้เอกสารโอน 3 หมื่นล้าน ไปสิงคโปร์ ปมรถไฟฟ้าสีส้ม

‘ศุภชัย’ ซัด ‘ชูวิทย์’ อย่าทำตัวเป็น ‘เด็กเลี้ยงแกะ’ หลังผ่านมาจะ 2 สัปดาห์ ยังไม่ปรากฏเอกสารโอนเงินไปธนาคาร สิงคโปร์ กรณีรถไฟฟ้าสีส้ม

(11 มี.ค.66)  นายศุภชัย ใจสมุทร  ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย กล่าวทวงถามนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่บอกว่ามีเอกสารการโอนเงิน หรือบอกว่ามีเงินทอน 3 หมื่นล้าน โอนจากประเทศไทยไปสิงคโปร์ ธนาคาร HSBC ว่าสิ่งที่นายชูวิทย์ ออกมาพูดไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่า ขณะนี้เป็นเวลานานแล้ว หากมีเอกสารจริง ควรจะได้นำออกมาให้สาธารณชนได้รับทราบ แต่พอกระทรวงคมนาคมถามไปว่าใครเป็นคนโอน ใครเป็นคนรับโอน ก็เฉไฉไปเรื่อย ๆ และไม่ยอมตอบ

สหรัฐฯ หวั่น!! ธนาคารหลายแห่งกำลังเจอวิกฤต คาด!! อาจรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ครั้งวิกฤตการเงินโลก

(11 มี.ค. 66) World Maker ได้รายงานเรื่องของ Bank Run ในธนาคารบางแห่ง ซึ่งก็คือ SVB Financial Group, First Republic และ PacWest Bancorp ที่ราคาหุ้นร่วงหนักกว่า -50% ภายในวันเดียว ขณะที่ลูกค้าของ SVB แห่ถอนเงินออกไปเป็นจำนวนมากเกือบ -1.5 ล้านล้านบาทเมื่อวาน จนทำให้ต้องโดนสั่งปิดธนาคารไปแล้วชั่วคราว

เรื่องนี้เปรียบเทียบง่าย ๆ ว่าจำนวนเงินดังกล่าวมีมูลค่าเกือบเท่ากับ AOT + PTT ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดของไทย 2 แห่งรวมกัน !!! แล้วคิดดูว่าจำนวนเงินดังกล่าวกำลังโดนสั่งถอนภายในวันเดียว มันคือวิกฤตที่รุนแรงแค่ไหน ?

คำตอบก็คือ มันคือวิกฤตที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในปี 2008 หรือที่เรารู้จักกันในชื่ออื่นๆ ว่า Hamburger Crisis ที่ทำให้ธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Lehman Brothers ล้มละลาย

ทั้งนี้ ธนาคาร SVB นั้น ไม่ใช่ธนาคารหน้าใหม่ที่มีขนาดเล็กแต่อย่างใด เพราะก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1983 และมีอิทธิพลสำคัญต่อบริษัท Startup หลายแห่ง ! สาเหตุที่ทำให้หุ้นของธนาคารเหล่านี้ร่วงลงนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาสะสมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ! โดยเฉพาะเมื่อโลกเกิด COVID และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในขณะที่ภาคการเงินตึงตัวจากการขึ้นดอกเบี้ยของ FED จึงอธิบายได้เป็นลำดับดังนี้

1.) โดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มธนาคารจะมีการถือครองพันธบัตรเอาไว้เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งเมื่อ FED ขึ้นดอกเบี้ย หมายความว่าราคาพันธบัตรเก่า ๆ จะลดลง เนื่องจากพันธบัตรใหม่ที่ออกมาจะให้ Bond Yield สูงกว่า จึงทำให้มูลค่าและการประเมินราคาของพันธบัตรเก่า ๆ ที่สามารถนำไปขายใน Secondary Market จะลดลงนั่นเอง

2.) เมื่อ FED ได้เร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดเงินเฟ้อ กลุ่มธนาคารที่ถือพันธบัตรอยู่มากมายจึงเริ่มขาดทุนเงินในพอร์ตอย่างมหาศาลมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ที่ปัญหายังไม่เกิด เพราะว่ายังไม่มี Panic Sell จนลูกค้าแห่ถอนเงิน ซึ่งทำให้ก่อนหน้านี้เป็นการขาดทุนเชิงตัวเลขในพอร์ตที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

3.) อย่างไรก็ตาม เมื่อปัญหาสภาพคล่องต่าง ๆ เริ่มลุกลาม กลายเป็นว่าลูกค้าแห่ถอนเงินออก จนทำให้ธนาคารขาดแคลนเงินสด และต้องเทขายพันธบัตรเหล่านี้ออกไปในราคาขาดทุน กลายเป็นว่าธนาคารได้บันทึกผลขาดทุนไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ และนั่นกลายเป็น Reflexivity Effect ตามทฤษฎีของ George Soros หรือจะเรียกว่า Painful Vortex ก็ได้ กล่าวคือลูกค้ายิ่งเห็นการขาดทุนก็ยิ่ง Panic Sell หรือแห่ถอนเงินออกมา ทำให้กลายเป็นโดมิโนต่อไปเรื่อย ๆ

4.) ตอนนี้ SVB สาขาอังกฤษก็จะถูกประกาศล้มละลายแล้ว แม้ว่า SVB ในจีนจะยันว่าสภาพคล่องอยู่ในสถานะดีก็ตาม ขณะที่การร่วงลงของ First Republic และ PacWest Bancorp ก็ได้เกิดขึ้นด้วยปัญหาคล้าย ๆ กัน นั่นทำให้หลายคนกังวลว่า Domino Effect จะไม่จบลงแค่นี้ !

5.) โดยเฉพาะเมื่อ FED ยังยืนยันว่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก !!! นั่นยิ่งทำให้ความตึงเครียดหลาย ๆ อย่างมีอยู่สูงมาก และเราจะต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดเลยว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นกับ SVB และอีกหลายธนาคารในช่วงสัปดาห์นี้ จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจของ FED เรื่องดอกเบี้ยได้หรือไม่ ? เพราะถ้า FED กล่าวว่าไม่สนและจะขึ้นดอกเบี้ยต่อไป เราอาจได้เห็น Recession ของจริง แต่ถ้า FED ยอมผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเข้าอุ้ม เราก็อาจได้เห็นการบรรเทาลงด้วยความเสียหายบางส่วน

ประเด็นสำคัญก็คือหลายคนยังไม่รู้ว่าธนาคารต่าง ๆ ไม่ใช่แค่ 3 แห่งที่กล่าวมา แต่รวมไปถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ใน Wall Street กำลังขาดทุนค้างพอร์ตอยู่ถึง -21.5 ล้านล้านบาทหรือ -6.2 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ามันคือการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เพราะธนาคารยังไม่ได้ขายหลักทรัพย์ที่มูลค่าร่วงออกมา

แต่มันจะกลายเป็นการขาดทุนจริง ๆ ทันทีหากวิกฤตนี้ลุกลามต่อไปเรื่อย ๆ และมีผู้คนแห่ถอนเงินออกจากธนาคารต่าง ๆ เนื่องจากการแห่ถอนเงินนี้ เป็นลักษณะคล้าย ๆ กับตอนเกิดวิกฤตการเงินในทุก ๆ ครั้ง จนทำให้ธนาคารมีเงินสดไม่เพียงพอจะรองรับการถอนของลูกค้า และสุดท้ายก็ต้องจำใจขายหลักทรัพย์ในพอร์ตออกมาแบบขาดทุนจนเกิดเป็น Reflexivity กันไปในเชิงระบบ

และมันอาจไม่ใช่แค่ในตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่ !!! เพราะอย่างที่ World Maker อธิบายไปในบทความเมื่อวานนี้ (ใครยังไม่อ่านลองเลื่อนอ่านดูได้หน้าเพจ) ว่าตลาดการเงินโลกล้วนมีการเชื่อมต่อกันไปเรื่อย ๆ ในหลายสินทรัพย์อย่างแยกกันไม่ออก !

โดยล่าสุดพบว่า Circle บริษัทผู้ออกเหรียญ Stablecoin อย่าง USDC มีเงินสำรองฝากอยู่ที่ SVB ราว 1.15 แสนล้านบาท ! จากทั้งหมด 1.4 ล้านล้านบาท ! หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของปริมาณเงินสำรองที่ติดอยู่ใน SVB

ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เป็นสัดส่วนที่สูง แต่เรื่องของ Panic Sell อาจมี Effect มากกว่านั้น เพราะทันทีที่ข่าวออกมา พบว่ามูลค่าของเหรียญ USDC ร่วงยับหลุด Peg กับค่าเงินดอลลาร์ไปแล้ว ! จาก 1:1 ดอลลาร์ตอนนี้ร่วงยับมา 0.89:1 ดอลลาร์ หรือพูดง่าย ๆ ว่าใครถือ USDC จะขาดทุนทันที -11% เมื่อแลกกลับเป็นดอลลาร์ !!!

ปัญหาคือ พวกเราคิดว่าเมื่อเป็นเช่นนี้จะเกิดการ Panic Selling หรือไม่ ? ความหนักหน่วงของมันอยู่ที่ว่า ในเมื่อ Stablecoin คือเหรียญที่สร้างมาเพื่อผูกกับดอลลาร์ในอัตรา 1 ต่อ 1 แต่เมื่อมันรักษามูลค่าไว้ไม่ได้ มันจะออกทรงแบบวิกฤต TerraUSD จนลุกลามไปใหญ่โตเหมือนวิกฤต FTX อีกหรือไม่ ? นั่นคือความเสี่ยงที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ !!!

และเมื่อเรากลับมาพูดถึงการขาดทุนค้างพอร์ตอีก -21.5 ล้านล้านบาท (-6.2 แสนล้านดอลลาร์) นั้น แปลว่าหากมีลูกค้าถอนเงินจนธนาคารขาดสภาพคล่อง แปลว่าจะต้องมีการเทขายหลักทรัพย์ เช่น พันธบัตร หุ้น หรืออื่น ๆ ออกมาอีกในราคาขาดทุน และอาจกระตุ้นให้พันธบัตรหรือราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ร่วงลงได้อีกในระยะสั้น

ทั้งหมดนี้จะเป็นไปตาม Reflexivity Theory ทันทีหากไม่มีใครเข้ามาอุ้มและมีการ Panic Sell ต่อ ๆ ไป จนสุดท้ายอาจลุกลามเป็น Financial Crisis เหมือนในปี 2008 ได้ !!! แม้ว่าปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่งจะมีประสบการณ์แล้วจากช่วงแฮมเบอร์เกอร์ทำให้มีความระมัดระวังและรัดกุมมากกว่าเดิม แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ !

และที่น่ากลัวที่สุดก็คือ ตลาดตราสารหนี้และธนาคารของสหรัฐฯ นั้นมักจะเชื่อมโยงกับภาคการเงินและสถาบันการเงินของหลายประเทศ ดังนั้นถ้ายักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบเป็น Domino Effect ซึ่งจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ต่อโดมิโนตัวหลัง แปลว่าผู้ที่น่าห่วงที่สุดไม่ใช่ต้นสาย แต่เป็นปลายน้ำอย่างเช่นตลาดเกิดใหม่ !

โดยรวมแล้ว World Maker มองว่า วิกฤตในครั้งนี้ถือเป็นจุดที่ธนาคารและสถาบันการเงินจะต้องหยุดชะล่าใจและควรหันมาตรวจสอบความยืดหยุ่นและกลยุทธ์ทางการเงินของบริษัทโดยด่วน เพราะ Stress Test ครั้งใหญ่ดูเหมือนจะมี Timeline ที่รอเกิดขึ้นเรียงๆ กันมา ซึ่งจะเป็นบททดสอบว่าใครบ้างที่จะได้อยู่ต่อในอนาคต ซึ่งเป็นโลกที่อุตสาหกรรมจะถูกยกระดับไปอีกขั้น !

วิเคราะห์!! ธนาคารดังยุโรปจะแห่ล้มตาม SVB หรือไม่? ในวันที่หลายแบงก์มะกัน เชื่อ!! ไม่เกิด Bank Run ซ้ำรอย

(14 มี.ค.66) World Maker ได้ตั้งคำถามถึงวิกฤตสภาพคล่องธนาคาร ว่าจบลงหรือยัง? แล้วธนาคารดังในยุโรปจะล้มตาม SVB หรือไม่? ซึ่งถือเป็นคำถามสำคัญที่สุดของภาคการเงิน ณ วินาทีนี้เลยก็ว่าได้ หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีรายงาน ว่าหุ้นกลุ่มธนาคารเกือบทั้ง Sectors ยังคงโดนเทขายร่วงลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Commerzbank AG ของยุโรปที่ร่วงเกือบ -13% ในคืนนี้

ขณะเดียวกัน สิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญและกลายเป็นข่าวใหญ่ก็คือการที่ Credit Default Swap หรือ CDS ของ Credit Suisse ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อบริษัทเสี่ยงที่จะผิดชำระหนี้ ได้พุ่งทำระดับ All Time High ใหม่สูงกว่า 452 หน่วยหลังเปิดตลาด พร้อมกับราคาหุ้นที่ร่วงลงเกือบ -6%

นั่นเป็นการบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังกลัวว่า Credit Suisse จะไม่สามารถชำระหนี้ได้? หรืออาจถึงขั้นล้มละลาย? ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ ว่าความเสี่ยงนั้น 'มีจริง' แต่ต้องเข้าใจด้วยว่านี่ไม่ได้เป็นการการันตีแต่อย่างใดว่าธนาคารจะล้มจริงๆ เพราะในช่วงปลายปี 2022 ก็เคยมีข่าวว่า Credit Suisse จะล้มและ CDS ดีดทำ All Time High เช่นกัน แต่สุดท้ายธนาคารก็รอดวิกฤตครั้งนั้นมาได้โดยไม่ล้มละลาย ดังนั้นครั้งนี้จึงต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะล้มหรือไม่?

ทั้งนี้ Credit Suisse ยังถือว่ามีเรื่องฉาวในภาคการเงินมานานหลายปี และอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่หลังจากราคาหุ้นร่วงยับ ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนจะกังวลเกี่ยวกับบริษัทนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตสภาพคล่องของ SVB เข้าไปเสริม จึงไปกระตุ้นให้นักลงทุน Bet ว่าบริษัทจะไม่สามารถชำระหนี้ได้และทำให้ CDS พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงเผชิญการเทขายจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง (สอดคล้องกับราคาหุ้นที่ร่วงลงในระยะสั้น) แม้รัฐบาลสหรัฐฯ และ FED จะก้าวเข้ามาอุ้มเงินฝากภายใน SVB แล้วก็ตาม แต่อย่างที่ World Maker บอกไปว่าเรื่องนี้ต้องพิจารณาแยกกับอารมณ์ (Sentiment) ของตลาดและราคาหุ้น ซึ่งเคลื่อนไหวเป็นอิสระและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอุ้มของหน่วยงานกำกับดูแล

โดยเฉพาะ First Republic ซึ่งร่วงมากกว่า -70% ในช่วง Premarket วันนี้ รวมไปถึง Charles Schwab ที่ร่วงเกือบ -20% หรือแม้แต่ธนาคารยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ใน Wall Street ของสหรัฐฯ เช่น JPMorgan, Goldman Sachs, Citigroup, Well Fargo, Bank of America, Morgan Stanley ล้วนร่วงกันหมดยกแผงคืนนี้ แม้จะไม่หนักเท่ากับธนาคารเล็กๆ ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม First Republic ยังให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยกล่าวว่าได้รับสภาพคล่องเพิ่มเติมจาก JPMorgan และ Federal Home Loan Bank มาอย่างน้อย 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้ไม่น่าจะเกิด Bank Run ซ้ำรอย SVB แต่ทั้งนี้ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป

ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าภาคการเงินของสหรัฐฯ-ยุโรป มีความเชื่อมโยงถึงกัน และกำลังช่วยกันดูแลสภาพคล่องในตลาด รวมไปถึงการได้รับแรงหนุนจากภาครัฐและธนาคารกลางที่ดูเหมือนจะไม่อยากให้เกิด Domino Bank Run เหมือนในช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตสภาพคล่องจะจบที่ SVB แล้ว เพราะยังไม่มีอะไรการันตีเลยว่าจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่นักลงทุนยังคงเทขายหุ้นธนาคารหรือเข้าสู่โหมด Risk-Off อย่างที่เราเห็นว่า Bond Yield ปรับตัวร่วงลงพร้อมกับราคาพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงทองคำที่พุ่งทะลุ 1900 $/Oz ไปในวันนี้

อนึ่ง นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า Bank ใหญ่ๆ ระดับ Top ของสหรัฐฯ ไม่น่าจะเกิดวิกฤต Bank Run อย่าง SVB หรือธนาคารเล็กๆ อื่นๆ เนื่องจากยังมีงบดุลค่อนข้างแข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปี 2008 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างหลาย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ผลกระทบของ Bank Run ครั้งนี้จะเป็นลูกโซ่แค่ในวงจำกัด?

และถึงแม้ว่าธนาคารต่างๆ จะยังมีการขาดทุนค้างพอร์ตจากหลักทรัพย์ต่าง ๆ รวมถึงพันธบัตรอยู่สูงถึง -21.5 ล้านล้านบาทหรือ -6.2 แสนล้านดอลลาร์ แต่สามารถกล่าวได้ว่า การขาดทุนเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นจริง ตราบใดที่รัฐบาลและ FED เสริมสภาพคล่องให้ธนาคารมากเพียงพอที่พวกเขาจะ Run ระบบต่อไปได้โดยไม่ต้องขายหลักทรัพย์ที่ถืออยู่ก่อนครบกำหนด

อย่างไรก็ตามการล้มของ SVB ก็ได้ทำให้ตลาดมีแรงสะเทือนไปบ้างแล้วในหลายจุด โดยเฉพาะการคาดการณ์เรื่องดอกเบี้ยของ FED ที่ถูกปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แม้ว่า FED เองจะยังไม่ได้ออกมาพูดชัดเจนว่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่ตลาดก็คาดการณ์ไปแล้ว ดังนั้นจึงมีกรณีที่ต้องระวังอยู่บ้าง เพราะถ้าอยู่ๆ ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ FED ยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก ตลาดก็อาจมีการ Risk-Off มากกว่าเดิมได้

ที่น่าจับตามองต่อไปจากวิกฤต Bank Run ก็คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากวิกฤตของ SVB นั้นมีสาเหตุหลักอย่างหนึ่งมาจากผลกระทบด้านดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ธนาคารที่เข้าไปถือพันธบัตรอยู่สูงมากต้องยอมเทขายหลักทรัพย์ออกมาในราคาขาดทุน เมื่อลูกค้าแห่ถอนเงินจนมีเงินสดไม่เพียงพอจะไปชำระคืน

ดังนั้น ภาคอสังหาฯ ที่มีการลงทุนในพันธบัตรอย่างเช่น Mortgage Backed-Secuirty หรือ MBS ซึ่งได้รับผลกระทบไม่ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น จึงถือว่ามีความเสี่ยงโดยตรง ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ก็เริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัวไปแล้ว หลังราคาบ้านพุ่งสูงลิ่วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนไปถึงระดับที่หลายคนเอื้อมไม่ถึง

และเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น จึงทำให้ภาระของผู้ผ่อนบ้านหนักหนาสาหัสเข้าไปอีก ดังนั้นหากเกิดวิกฤตสภาพคล่องในตลาดอสังหาฯ ก็อาจคล้ายคลึงกับลักษณะของ Bank Run ที่จะต้องมีการเทขายหลักทรัพย์ออกมา ซึ่งก็รวมถึงตัว MBS หรือตัวบ้าน อพาร์ตเมนต์ คอนโด หรืออื่นๆ

โดยเฉพาะพวกกองทุนอสังหาฯ อย่าง REIT ซึ่งมีการกู้ยืมเงินและระดมทุนจากนักลงทุนไปพัฒนาโครงการอสังหาฯ หรือแม้แต่การนำไปเก็งกำไรราคาที่อยู่อาศัย ซึ่งแม้ว่าการใช้ระดับ Leverage จะไม่สูงและแพร่หลายเท่ากับในช่วงวิกฤตการเงินโลก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการใช้ Leverage เลย ดังนั้นมันจึงถือเป็นความเสี่ยงที่ปฏิเสธไม่ได้

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ สั่งขยายผล แก็งค์คนจีนปลอมพาสปอร์ตหลอกธนาคาร รอถอนเงินกว่า 176 ล้านบาท

จากกรณีเมื่อวันที่ 24 มี.ค.66 สน.ทองหล่อได้รับแจ้งจากธนาคารกสิกรไทย สาขาเอ็มควอเทียร์ ว่ามีบุคคลต่างด้าวใช้เอกสารเดินทางปลอมมาใช้ในการขอทำสมุดบัญชีใหม่ จึงได้ไปตรวจสอบและพบว่า มีการใช้เอกสารเดินทางปลอมเป็นเจ้าของบัญชี ซึ่งในบัญชีดังกล่าวมีเงินมากถึง 176 ล้านบาท
 กรณีดังกล่าว พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.พันษา อมราพิทักษ์ ผกก.สน.ทองหล่อ ดำเนินการสืบสวนเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อขยายผลจับกุมโดยเร่งด่วน รวมทั้งตรวจสอบที่มาของเงินในบัญชีดังกล่าวว่า เงินจำนวนมากซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติ เช้ามาอยู่ในราชอาณาจักรได้อย่างไร

พฤติกาณ์กล่าวคือ ตามวันเวลาเกิดเหตุ ได้มีกลุ่มคนไทยจำนวน 4 คน พร้อมด้วยชาวกัมพูชา 1 คนซึ่งอ้างตัวว่าเป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าว ได้นำเอาเอกสารเดินทางสัญชาติกัมพูชา เข้ามาติดต่อกับธนาคารเพื่อที่จะขอทำสมุดบัญชีเล่มใหม่ เพื่อจะใช้ในการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวได้ในอนาคต แต่ปรากฎว่าใบหน้าของชาวกัมพูชาดังกล่าวไม่ตรงกับใบหน้าของบุคคลเจ้าของบัญชี ธนาคารจึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบเพื่อมาตรวจสอบ

3 แบงก์ใหญ่ เงินไหลออก กว่า 2 ล้านล้านบาท  สวนทาง Apple เสนอเงินฝากดอกเบี้ย 4.15%

ถึงยุคที่ธนาคารทั่วโลกกำลังจะถูก Disrupt แล้วหรือไม่ ?!? เพราะหลังจากเกิดวิกฤต Bank Run ขึ้นมา Apple บริษัท Smartphone ยักษ์ใหญ่ของโลกก็ได้ประกาศเสนอบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงถึง 4.15% ซึ่งผู้บริโภคสามารถฝากเงินผ่าน Saving Account ของบริษัทได้ทันทีเพียงแค่เป็นลูกค้าของ Apple เท่านั้น !!! (ตอนนี้ยังเปิดใช้แค่ลูกค้าที่มีบัตร Apple Card ในสหรัฐฯ)

(18 เม.ย.66) World Maker เผยว่า บัญชีดังกล่าวเป็นการร่วมมือกับ Big Bank แห่ง Wall Street อย่าง Goldman Sachs โดยไม่มีการกำหนดเงินฝากขั้นต่ำ แต่มีการกำหนดเงินฝากสูงสุดที่ 250,000 ดอลลาร์ซึ่งหมายความว่าจะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่จาก Federal Deposit Insurance Corp. อีกด้วย !!

ระดับดอกเบี้ยที่ 4.15% นั้นถือว่าสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารขนาดเล็ก-กลางหลายแห่งในตอนนี้เลยทีเดียว ! ซึ่งแน่นอนว่าหากธนาคารใหญ่เริ่มจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากขึ้นเช่นนี้ จะถือเป็นการ Disrupt โดยตรงต่อธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถเสนอดอกเบี้ยได้สูงในระดับนี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการบริหารงบไม่ดี

มีรายงานว่าแม้แต่ธนาคารขนาดใหญ่ 3 แห่งคือ Charles Schwab, State Street และ M&T ก็ได้เผชิญเงินไหลออกสูงถึง -6 หมื่นล้านดอลลาร์หรือกว่า -2 ล้านล้านบาทในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ และแนวโน้มดังกล่าวอาจดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ สำหรับธนาคารหลายแห่ง หากพวกเขายังไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากให้กับผู้บริโภค

นอกจากบัญชีดอกเบี้ย 4.15% แล้ว นักลงทุนและผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังถอนเงินออกจากธนาคารหลายแห่งเพื่อไปพักเงินใน Money Market Funds แทน เนื่องจากกองทุนเหล่านี้ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ประมาณ 4.65% ซึ่งใกล้เคียงกับระดับดอกเบี้ยของ FED ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าแรงกดดันต่อธนาคารที่เสนอดอกเบี้ยต่ำจะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่ดอกเบี้ยหลัก ๆ ในตลาดการเงินยังคงสูงเช่นนี้

มีเพียงธนาคารยักษ์ใหญ่ไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งนอกจาก Goldman Sachs แล้วก็จะมี Big Bank อย่างเช่น JPMorgan, Wells Fargo, Morgan Stanley, Citigroup และ Bank of America ที่ถือเป็นเสาหลักอยู่ในตอนนี้ แต่ทั้ง 6 ยักษ์ใหญ่ต่างก็ต้องแข่งขันกันเองด้วย ดังนั้นจะเสนอดอกเบี้ยต่ำกว่ากันมากนักไม่ได้

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของ Apple ถือเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์แปลง iPhone ให้กลายเป็น “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าทุกคนสามารถเชื่อมโยงการเงินของตัวเองและวิถีชีวิตประจำต่าง ๆ ได้ด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว (ซึ่งในอนาคตอาจไม่ใช่แค่ iphone แต่ยังรวมถึง Product ใหม่ ๆ ด้วย)

แม้ว่าจะไม่สามารถใช้เงินในบัญชีออมทรัพย์ได้โดยตรง แต่ลูกค้า Apple Card จะสามารถโอนเงินจากบัญชีดังกล่าวมายังบัญชีกระแสเงินสด Apple Cash ก่อนจะใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งก็แทบไม่ต่างกัน !

ที่น่าสนใจมาก ๆ คือความเคลื่อนไหวครั้งนี้อาจไม่ใช่แค่เท่าที่เราเห็น แต่อาจเป็นการเตรียมยกระดับระบบต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัลมากขึ้นเพื่อก้าวสู่โลกอนาคต เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ทาง Apple ยังได้ร่วมมือกับบางรัฐในสหรัฐฯ เพื่อให้บริการออกใบขับขี่เวอร์ชั่นดิจิทัล ขณะเดียวกันก็มีการเจรจากับ Alphabet เพื่อที่จะใช้ Google เป็น Browser เริ่มต้นของ Safari ใน iPhone

อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า Apple จะไม่มีคู่แข่ง เพราะปัจจุบันธนาคารบางแห่งก็เสนอดอกเบี้ยเงินฝากออนไลน์มากถึง 5% แต่ถึงกระนั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภาคธนาคารกำลังถูก Disrupt ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่บริหารงบไม่ดี ไม่มีความสามารถในการทำกำไร และไม่สามารถเสนอดอกเบี้ยที่สูงตามอัตราหลักของตลาดได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top