Friday, 29 March 2024
ชาวนา

“ โฆษกรัฐบาล” สวน “หญิงหน่อย” ถ้านโยบายดีจริง ชาวนาไม่ต้องทนทุกข์ตั้งแต่รัฐบาลก่อน 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ระบุว่า นโยบายประกันราคาข้าวไม่สามารถแก้ปัญหาข้าวเปลือกตกต่ำ เป็นความทุกข์ซ้ำซากของชาวนา หากพรรคไทยสร้างไทยได้เป็นรัฐบาล จะเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้ชาวนาหายจนหมดหนี้ มีรายได้อย่างมั่นคง ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยืนยันมาตลอดว่าจะดูแลเกษตรกรทั่วประเทศ ขณะนี้เร่งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันวิเคราะห์แนวโน้มราคาพืชผลทางการเกษตร เพื่อหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด รวมถึงเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างเป็นระบบด้วย

นอกจากนี้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการประกันราคาข้าว รวมทั้งยังส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ชุมชน และโรงสีข้าวอินทรีย์ของเครือข่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนราคา ให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นวิธีที่อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายธนกร กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ชี้แจงชัดเจนแล้วว่าราคาข้าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ดังนั้นจะเอาข้าวที่มีความชื้นมาเทียบราคาข้าวแห้งที่ไม่มีความชื้นไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติโครงการประกันรายได้ ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานอื่น วงเงิน 18,000 ล้านบาท ขณะที่เงินประกันรายได้นั้นจะจ่ายให้ 33 งวด งวดที่ 1 และ 2 จ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 9-10 พ.ย.ที่ผ่านมา วงเงิน 13,000 ล้านบาท ส่วนงวดที่เหลือจะจ่ายสัปดาห์ละครั้ง แต่จะจ่ายครั้งละเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับราคาข้าวที่เป็นจริงในขณะนั้นด้วย ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางและยาวนั้น รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ข้าวระยะ 5 ปี จะลดต้นทุนการทำนาของชาวนาจาก 6,000 บาทต่อไร่ เหลือ 3,000 บาทต่อไร่ภายใน 5 ปี รวมถึงภายในปี 2567 จะเร่งพัฒนาส่งเสริมในการใช้พันธุ์ข้าว 12 ชนิด ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต 

'โฆษกรัฐบาล' จวก 'เพื่อไทย' อย่าใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองดิสเครดิตรัฐบาล


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ชาวนาไทยทุกข์ยากลำบาก แต่รัฐบาลไม่เคยใส่ใจ พรรคเพื่อไทยจะฟื้นศักดิ์ศรีให้ชาวนาไทยกลับมายืนตรงมองฟ้าอย่างองอาจอีกครั้ง ว่า ขอให้นพ.ชลน่านยึดข้อเท็จจริง อย่าใช้ชาวนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อดิสเครดิตรัฐบาล ตนยืนยันว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดูแลพี่น้องคนไทยทุกอาชีพ

โดยเฉพาะเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งล่าสุด ธกส. พร้อมโอนเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนา ทั้ง 2 โครงการ ทั้งประกันรายได้ข้าว ปี 64/65 งวดที่ 3-7 เริ่ม 9 ธ.ค. นี้ มูลค่า 6.4 หมื่นล้านบาท และอุดหนุนค่าปรับปรุงพันธุ์ข้าวโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการฯ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายค้านติดตามผลงานรัฐบาลด้วยใจที่ไม่อคติก็จะทราบว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ดูแลแค่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเท่านั้น แต่ยังมีการช่วยเหลือพี่น้องพืชเกษตรชนิดอื่น ๆ รวมทั้งมาตรการประกันรายได้ให้กับเกษตรในพืชอีก 4 ชนิดทั้งปาล์ม มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้  (2562 – 2564) คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบงบประมาณอุดหนุนประกันรายได้ จ่ายส่วนต่างราคาสินค้าพืชเกษตร 5 ชนิด รวมยอดไปแล้วกว่า 276,193 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าโครงการประกันรายได้ไม่ส่งเสริมการลดต้นทุน ไม่ส่งเสริมการผลิต และไม่ส่งเสริมการตลาด เป็นเพียงการชดเชยส่วนต่าง ซึ่งแตกต่างกับโครงการรับจำนำข้าว ที่เป็นการเข้าจัดการกลไกราคาตลาด ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ชาวนาขายข้าวได้มากขึ้นนั้น ทุกมาตรการของรัฐบาลอยู่บนความเป็นไปได้ของงบประมาณ ไม่บิดเบือนกลไกตลาด เป้าหมายสำคัญคือ พัฒนาศักยภาพชาวนา ลดต้นทุนการปลูกข้าว ส่งเสริมความหลากหลายพันธุ์ข้าว สร้างความเข้มแข็งให้ข้าวไทยกลับมามีความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ บูรณาการมาตรการช่วยเหลือชาวนาครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิตข้าวทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทั้งก่อนปลูก ระหว่างปลูก และหลังปลูก รวมทั้งช่วยจัดหาปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกข้าว เช่น การจัดหาพันธุ์ข้าว การจัดหาปุ๋ย การจัดสรรที่ดินทำกิน โครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่ ส่วนหลังการเพาะปลูกยังมีโครงการชะลอการขายข้าว หรือจำนำยุ้งฉาง โครงการการลดดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการอย่างโรงสีเก็บข้าวไว้ในสต็อก รวมไปถึงการส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว การปลูกพืชผสมผสาน หรือความพยายามช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาที่ไม่เหมาะสมให้ไปทำเกษตรอย่างอื่น 

ชาวนา - ชาวสวนยางได้เฮ!! "จุรินทร์" คิกออฟจ่ายเงินประกันรายได้ "ข้าว-ยาง" พร้อมกันทั่วประเทศวันนี้!!

วันที่ 9 ธันวาคม 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้บริหารกรมข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)แถลงข่าว จ่ายเงินประกันรายได้ ข้าว-ยาง ปี 3 ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร ตึกสำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่สำคัญสำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับผู้ปลูกยางพารา เนื่องจากมีนโยบายสำคัญคือนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยดำเนินการมาแล้ว 2 ปี ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ 3

สำหรับประกันรายได้ข้าวกับยางนั้น รัฐบาลได้ค้างจ่ายเงินส่วนต่างที่จะต้องจ่ายให้กับเกษตรกร เพื่อชดเชยกับราคาตลาดที่ไม่ถึงรายได้ที่ประกัน สำหรับข้าวค้างจ่าย 5 งวด และยางค้างจ่าย 2 งวด แต่หลังจากท่านนายกรัฐมนตรีขยายเพดานตามพระราชบัญญัติวินัยการคลัง เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2564  มีผลให้เพดานเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 35% สามารถนำเงินที่มีอยู่มาจ่ายเงินส่วนต่างให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับยางพาราได้

สำหรับข้าว ปีที่ 3 เงินที่เกษตรกรจะได้รับ มี 3 ก้อน

>> ก้อนที่หนึ่ง เงินส่วนต่าง โดยงวดที่ 1-2 กับงวดที่ 3 บางส่วน ได้จ่ายให้กับเกษตรกรไปแล้ววงเงินประมาณ 13,000 ล้านบาท ส่วนงวดที่ 3 ที่เหลือ จะมาจ่ายให้ครบโดยเริ่มจ่ายวันนี้ (9 ธ.ค. 2564) โดยจ่ายงวดที่ค้างอยู่ 5 งวดพร้อมกัน คือ งวดที่ 3 บางส่วนและงวด 4-7 รวมเป็นเงิน 64,847 ล้านบาท

ส่วนงวดที่ 8 จะจ่ายวันที่ 14 ธ.ค.เป็นเงิน 3,720 ล้านบาท  และงวดที่ 9-33 จะทยอยจ่ายทุก 7 วันจนครบ โดยงวดสุดท้าย วันที่ 27 พ.ค. 2565   

เกษตรกรครัวเรือนที่ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดสำหรับผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ สูงสุด 58,988 บาท  ข้าวหอมนอกพื้นที่สูงสุด 60,086 บาท ข้าวหอมปทุม สูงสุด 36,358 บาท ข้าวเปลือกจ้าว สูงสุด 67,603 บาท ข้าวเหนียว 71,465 บาท สามารถช่วยชาวนาได้ประมาณ 4.7 ล้านครัวเรือน

>> เงินก้อนที่สอง คือเงินในมาตรการคู่ขนานซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางเป็นเวลา 5 เดือนเพื่อไม่ให้ข้าวออกสู่ตลาดมากจนเกินไป ช่วยตันละ 1,500 บาท หรือสหกรณ์เก็บไว้จะช่วยตันละ 1,500 บาท และช่วยเหลือดอกเบี้ย ถ้าสหกรณ์เก็บข้าว 12 เดือน ช่วยดอกเบี้ย 3% ถ้าโรงสี เก็บข้าว 6 เดือน จะช่วยดอกเบี้ย 3% เพื่อไม่ให้ข้าวออกสู่ตลาดมากเกินไปและไปกดราคาข้าวในตลาด

>> ก้อนที่สาม คือ ช่วยค่าบริหารจัดการหรือปรับปรุงคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท โดยจ่ายวันที่ 13 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป เป็นเงิน 53,871 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.7 ล้านครัวเรือน

ส่วนชาวนาที่น้ำท่วมเสียหายจะได้เงินอีกก้อนหนึ่ง คือ เงินชดเชยความเสียหายจากอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ

โดยชาวนาที่ปลูกข้าวแล้วน้ำท่วม จะยังได้รับเงินส่วนต่างจากโครงการประกันรายได้ผู้ปลูกข้าว เพราะขอให้ปลูกจริง ไปขึ้นทะเบียนแม้พืชผลจะเสียหายเพราะภัยธรรมชาติจะยังได้รับเงินช่วยเหลือส่วนต่างเช่นกัน

สำหรับยางพาราจะเริ่มจ่ายงวดที่ 1-2 ในวันนี้ ( 9 ธ.ค. 2564) เช่นเดียวกัน โดยงวดที่ 1 วงเงินประมาณ 900 ล้านบาท งวดที่ 2 วงเงิน 540 ล้านบาท รวม 1,440 ล้านบาทโดยประมาณ และจะจ่ายงวดที่ 3-6 ทุกเดือนจนถึงเดือน เม.ย. 2565 โดยงวดที่ 3 จะเริ่มจ่ายวันที่ 7 ม.ค. 2565 วงเงิน 8,626 ล้านบาท  สำหรับยางพารามีเงินเตรียมไว้  10,065 ล้านบาท

โดยวงเงินสูงสุดที่ได้รับเฉพาะงวดที่ 1-2 ยางแผ่นดิบสูงสุด 3,835 บาทต่อครัวเรือนน้ำยางข้น 2,975 บาท และยางก้อนถ้วยจะไม่ได้รับเงินส่วนต่าง ที่ผ่านมายางราคาดีกว่าช่วงก่อน สำหรับน้ำยางข้น ประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 57 บาท ตอนนี้ราคาไปกิโลกรัมละ 60 บาทแล้ว ยางก้อนถ้วย ประกันที่กิโลกรัมละ 23 บาท ตอนนี้ 25-26 บาทแล้วภาคอีสานมากกว่าภาคใต้ 1 บาทเพราะอยู่ใกล้แหล่งการส่งออก ซึ่งยางก้อนถ้วยราคาสูงกว่ารายได้ที่ประกันมาเป็นปีแล้ว

 

กัมพูชา - ชาวนากัมพูชาทิ้งไร่นา!! เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำพืชผลเสียหาย

สีหนุวิลล์/กัมพูชา - กลุ่มชาวนาในเขตเปรยนบ ประเทศกัมพูชา ถูกบังคับให้ขายที่ดินของตนเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทำให้พืชผลเสียหาย

พวกเขาเชื่อว่าการจัดตั้งบริษัทเอกชน โดยเฉพาะฟาร์มกุ้ง ใกล้ ๆ กับพวกเขาเป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เนื่องจากน้ำเค็มไหลจากฟาร์มกุ้งไปยังนาข้าว สร้างความเสียหายแก่พืชผล ส่งผลให้ชาวบ้านเพียง 40% ถึง 50% ยังคงปลูกข้าวในพื้นที่ ส่วนที่เหลือขายที่ดินให้บริษัทเอกชน

“หม่อง ริน” ชาวนาบอกว่าเขาปลูกข้าวมาตั้งแต่ปี 2527 และเมื่อน้ำทะเลเริ่มไหลเข้าสู่นาข้าว เขาถูกบังคับให้ขายที่ดินของเขา เขื่อนเก่ารั่วไหลทำให้น้ำทะเลเข้านาข้าว และสร้างความเสียหายให้กับพืชไร่และไร่ผัก ตามคำกล่าวของคุณรัน รองหัวหน้าชุมชนประมง

รัน ยังรับรองด้วยว่าฟาร์มกุ้งที่ตั้งขึ้นใกล้กับที่ดินของพวกเขา มีส่วนทำให้เกิดความเสียหา ยเนื่องจากน้ำล้นเข้าไปในนาข้าว ทำลายพืชผล นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการยังระบุด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกปีทำให้น้ำทะเลไหลลงสู่พื้นที่น้ำจืดอย่างต่อเนื่อง

คุณรันกล่าวเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ของเรา เรามีป่าชายเลนที่สามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่พื้นที่ที่อยู่ไกลออกไปเล็กน้อยมักถูกน้ำทะเลท่วม กรมวิชาการเกษตรมาตรวจสอบน้ำท่วม เขื่อน และฝากดินอีกส่วนหนึ่งเพื่อทำให้ถนนสูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลข้ามถนน แต่ถนนสายใหม่ถูกน้ำทะเลกิน”

“กรมวิชาการเกษตรมาตรวจสอบน้ำท่วม เขื่อน และฝากดินอีกส่วนหนึ่งเพื่อทำให้ถนนสูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลข้ามถนน แต่ถนนสายใหม่ถูกน้ำทะเลกิน” เขากล่าว

หลังจากเหตุผลดังกล่าว เกษตรกรจำนวนมากจึงตัดสินใจลาออกจากอาชีพและเริ่มทำงานในสาขาอื่น เช่น การก่อสร้าง โดยอธิบายว่าการทำนาเป็น “งานที่ไร้ประโยชน์” หลังจากเหตุผลดังกล่าว เกษตรกรจำนวนมากจึงตัดสินใจลาออกจากอาชีพและเริ่มทำงานในสาขาอื่น เช่น การก่อสร้าง โดยอธิบายว่าการทำนาเป็น “งานที่ไร้ประโยชน์”

 

กาฬสินธุ์ - ชาวนาพอใจ เงินประกันรายได้ภาพรวมถึงมือแล้ว 3,600 ล้าน

ชาวนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พอใจเงินประกันรายได้ทำนา และเงินค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าว ฤดูกาลผลิต 2564/65 ที่รัฐบาลจัดให้ ช่วยลดต้นทุนการผลิต มีเงินใช้จ่ายในการครองชีพช่วงสถานการณ์โควิด และมีเงินทุนทำนาปรัง อยากให้มีโครงการนี้ตลอดไป ในขณะที่เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เผยภาพรวม รัฐโอนถึงมือชาวนาแล้ว 9 งวดเม็ดเงิน 3,678,654,188 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศการประกอบอาชีพของประชาชนชาว จ.กาฬสินธุ์ ในช่วงฤดูแล้งและสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าในเขตใช้น้ำชลประทานลำปาว เริ่มลงมือเพาะปลูกข้าวนาปรังกันแล้ว หลังทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว หรือเขื่อนลำปาว ได้ระบายน้ำมาตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แม้ราคาขายข้าวเปลือกนาปีที่ผ่านมาจะตกต่ำ โดยเริ่มต้นเพียงกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้ชาวนาหลายคนถอดใจไม่อยากทำนา เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน  แต่วันนี้ชาวนากลับมาทำนาด้วยความหวังใหม่อีกครั้ง  ทั้งนี้เป็นผลพวงจากการได้รับเงินส่วนต่าง หรือเงินประกันรายได้ รวมทั้งยังได้รับเงินค่าเก็บเกี่ยวอีกไร่ละ 1,000 บาท เป็นรายได้ 2 ต่อหลังจากขายข้าวเปลือกขาดทุนอีกด้วย

นายพงษ์ศักดิ์ ชินคีรี เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในส่วนโครงการที่รัฐบาลมอบให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฤดูกาลผลิต 2564/65 มี 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 3 คือโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเงินส่วนต่าง และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเงินค่าเก็บเกี่ยว  ซึ่งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวไว้และผ่านการรับรอง จำนวน 153,884 ครัวเรือน 265,859 แปลง เนื้อที่ 1,558,244.46 ไร่ ผ่านการรับรองและได้รับการช่วยเหลือ ตัดยอดล่าสุด 9 งวด (4 ม.ค.65) จำนวน 153,544 ครัวเรือน 264,997 แปลง เนื้อที่ 1,553,351.34 ไร่

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวอีกว่า ผลการโอนเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2,272,155,530 บาท ขณะที่ผลการโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 1,406,498,618 บาท รวมจำนวน 3,678,654,188 ล้านบาท โดยยังเหลือที่จะโอนให้อีก 2 งวด รวมที่รัฐบาลจะจัดโอนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้ง 2 โครงการทั้งหมด 11 งวด ทั้งนี้ เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการลดต้นทุนการผลิต มีเงินใช้จ่ายในการอุปโภค บริโภคในครัวเรือน ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับความพึงพอใจ 100%

ด้านนายประเสริฐ ภูสิงหา อายุ 55 ปี ชาวนาบ้านหนองบัวหน่วย อยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ 16 ต.คลองขาม อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์กล่าวว่า ตนที่พื้นที่ทำนา 19 ไร่ ขายผลผลิตข้าวนาปีได้กิโลกรัมละ 6 บาท ซึ่งขาดทุน เนื่องจากค่าปุ๋ยเคมี ค่าเก็บเกี่ยวสูงมาก จนคิดว่าในฤดูแล้งนี้ไม่อยากจะทำนาปรัง เพราะทำไปก็ขาดทุนซ้ำซาก แต่พอทางรัฐบาลจัดเงินส่วนต่างและค่าเก็บเกี่ยวให้ โดยโอนผ่าน ธ.ก.ส.ครอบครัวตนได้เกือบ  30,000 บาท ทำให้พอมีเงินใช้หนี้ปุ๋ยเคมี และชดเชยค่ารถเกี่ยวข้าว ทั้งมีเหลือพอใช้จ่ายในครัวเรือนบ้างจึงมีกำลังใจที่จะทำนาต่อไป ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลมีโครงการดี ๆ นี้ต่อเนื่องตลอดไป

 

'เฉลิมชัย' เดินหน้าพัฒนาเกษตรอีสาน มอบ 'อลงกรณ์' คิกออฟงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

'เฉลิมชัย' เดินหน้าพัฒนาเกษตรอีสานมอบ 'อลงกรณ์' คิกออฟงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติโชว์เทคโนโลยีอัจฉริยะและนวัตกรรมลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพชาวนาวิถีใหม่พร้อมมอบที่ทำกิน สปก.กว่า 200 ครัวเรือน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิดงาน “๙๐ พรรษา ชาวนาวิถีใหม่ ๙ ไกลด้วยพระบารมี” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2565 โดยมีนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว นายทินกร อ่อนประทุม นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วม ณ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว จัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านข้าวแก่ชาวนาและผู้สนใจทั่วไป นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตข้าว รวมถึงผลงานของกรมการข้าวด้านอื่น ๆ ที่ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญด้านการวางแผนการผลิต ระบบการผลิต และการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงแก่ชาวนา รวมทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวนา ในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักให้กับประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางให้ชาวนาได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์กับหน่วยงานราชการ เอกชน และชาวนาด้วยกัน

“การจัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวฯ ถือเป็นการแสดงวัฒนธรรมด้านข้าว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตข้าวให้เหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของชาวนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามหลักการพึ่งพาตนเอง และทำให้อาชีพการทำนามีความยั่งยืน ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่เกษตรกรต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี Kick off โอนเงินมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 65/66 งวดแรก 14,531 ล้านบาท

ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดเพชรบูรณ์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานส่งมอบเงินตามมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 เป็นวันแรก โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ผู้บริหารและผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ พร้อมด้วยเกษตรกร  เข้าร่วมกิจกรรม

สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้ รัฐบาลได้โอนเงินงวดแรกตามมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไปยังชาวนาทั่วประเทศ จำนวน 14,531 ล้านบาท จากเป้าหมายรวม 81,265 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลได้อนุมัติวงเงินเพื่อ ให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการช่วยเหลือและยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่าน 4 โครงการ ในการเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่าย และพัฒนาศักยภาพในการผลิต เพื่อให้มีโอกาสขายข้าวเปลือกในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 4.68 ครัวเรือน ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 กันยายน 2566 ประกอบด้วย มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่ โครงการแรกสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 โดยสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีการผลิต 2565/66 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 55,083 ล้านบาท  โดยในส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเกษตรกรได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 77,452 ราย  เป็นจำนวนเงินกว่า 932 ล้านบาท

บทเรียนสอนใจ 'แรมโบ้' ยก ‘ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์’ กรณีศึกษาสอน 'เศรษฐา' ย้อนถาม!! กินข้าวกับชาวนาเพื่อรับฟัง หรือเห็นประโยชน์

'แรมโบ้' ตอกกลับ 'เศรษฐา' ไปกินข้าว รับฟังความเห็นชาวนา จริงใจหรือประโยชน์การเมืองกันแน่ ย้ำนโยบายช่วยชาวนาของรัฐบาล มุ่งสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มผลผลิตสร้างรายได้เพิ่ม ตามโครงการข้าวรักษ์โลก BCG ให้กับชาวนา ไม่เหมือนนโยบายโกงจำนำข้าวที่ทำชาวนาจนผูกคอตายไปหลายราย เตือนนักธุรกิจที่เคยค้าความร่ำรวยจากประชาชน เข้ามาบริหารประเทศ ให้ดูชะตากรรมนายทักษิณ ยิ่งลักษณ์เป็นบทเรียนสอนใจ

(11 มี.ค. 66) - นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลงพื้นที่พระนครศรีอยุธยาฟังปัญหาชาวนาวิจารณ์ 8 ปีอยู่ในหลุมดำรายได้ต่ำ ราคาข้าวไม่ดี มีแต่น้ำท่วม-แล้ง โดยนายเสกสกลยืนยันว่าที่ผ่านมารัฐบาล นายกฯประยุทธ์ ให้ความสำคัญกับเกษตรกร และชาวนามาโดยตลอด และมีหลายนโยบายออกมาให้ความช่วยเหลือ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพียงพอและอยู่ดีมีสุข และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งทำควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศอยู่แล้ว

ขณะเดียวกันการส่งออกข้าวกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการชี้แจงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอดปี 2565 การส่งออกทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน มีผู้ส่งออกขอใบอนุญาตส่งออกแล้ว 8.58 ล้านตัน และคาดการณ์ปี 66 ปริมาณการส่งออกจะสูงกว่าปี 65 แน่นอน

“นโยบายการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ นายเศรษฐา อาจจะมองว่าไม่หวือหวาหรือช่วยชาวนาให้อยู่ดีกินดีได้ทันที แต่เป็นนโยบายที่สร้างความมั่นคงให้กับชาวนาได้ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าการผลิต โครงการข้าวรักษ์โลก BCG ที่เดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องเป็นที่ถูกใจของชาวนามาก ไม่เหมือนกับนโยบายโกงจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในอดีต ที่สร้างปัญหาส่งผลให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ต้องเข้ามาแก้ไขตามใช้หนี้จนทุกวันนี้ยังไม่หมด อีกทั้งนโยบายโกงจำนำข้าวของเพื่อไทยนี้ยังสร้างความเจ็บปวดให้กับชาวนาเป็นอย่างมาก ผูกคอตายไปหลายคน ครอบครัวเดือดร้อนสิ้นเนื้อประดา นี่คือผลงานของเพื่อไทยมิใช่หรือ

ประชาธิปัตย์ปลื้มนโยบายประกันรายได้โดนใจชาวนา

'อลงกรณ์' ขอบคุณผู้นำสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเชียร์ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือนกาเบอร์ 26 พรรคประชาธิปัตย์ เผยทีมเศรษฐกิจปชป.เตรียมเปิดตัวนโยบายเกษตรทันสมัย 26-26 แก้หนี้ แก้จนแบบเต็มคาราเบล  27 เม.ย.นี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าววันนี้(26 เม.ย)ว่า ขอขอบคุณ นายเดชา นุตาลัย อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยที่ออกมาประกาศสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์โดยขอให้ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือน กาเบอร์ 26 พรรคประชาธิปัตย์ เพราะชาวนาได้รับการดูแลช่วยเหลือและได้ประโยชน์จากผลงานและนโยบายประกันรายได้ของพรรคประชาธิปัตย์

‘จุรินทร์’ แจ้งข่าวดีชาวนา เตรียมรับเงินประกันรายได้ข้าว งวด 29 พร้อมโอนเข้ากระเป๋า 3 พ.ค.นี้ เพื่อชดเชยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ

(30 เม.ย. 66) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลาง อ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระบุว่า สำหรับการจ่ายเงินส่วนต่างตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรปี 4 นั้น ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 งวดที่ 29 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน 66 ดังนี้

1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ สิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว

2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ เกณฑ์กลางตันละ 13, 622.75 บาท ชดเชยตันละ 377.25 บาท

3) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี เกณฑ์กลางตันละ 11,132.26 บาท ไม่ต้องชดเชยเนื่องจากราคาเกณฑ์กลางสูงกว่าเป้าหมาย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top