Saturday, 20 April 2024
ชัชชาติสิทธิพันธุ์

‘ก้าวไกล’ ผนึก กทม. แก้น้ำท่วมบางขุนเทียนเรื้อรัง หลังปชช. ในพื้นที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเอง

ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส. กทม. เขตบางขุนเทียน พรรคก้าวไกล ระบุว่าหลังมีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนจนเวลานี้ส่งผลให้พื้นที่เขตบางขุนเทียน โดยเฉพาะซอยเทียนทะเล 26 มีน้ำท่วมตั้งแต่เมื่อคืนพี่น้องประชาชนไม่สามารถออกไปทำงานได้ รวมถึงบ้านเรือนที่มีผู้ป่วยผู้สูงอายุที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ก็ประสบปัญหาจากฝนตกต่อเนื่องอย่างหนัก

“ปัญหาที่เกิดขึ้นตนได้หารือไปยังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเดิม พื้นที่ซอยเทียนทะเล 26 เป็นพื้นที่เอกชนที่มีข้อพิพาทแต่คดีจบไปแล้ว และศาลมีคำสั่งให้เขตบางขุนเทียนเป็นผู้รับดูแลเป็นพื้นที่นี้ 

ดังนั้นพื้นที่ซอยเทียนทะเล 26 จึงเป็นความรับรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาการแก้ปัญหาเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนในชุมชน”

'กรณ์' หนุน 'ชัชชาติ' ชวนอาสาฯ ร่วมกรอกทรายกันน้ำท่วม ย้ำ!! อย่าไปคิดให้เป็นประเด็นการเมืองว่าผู้ว่าฯ ใครเลือก-ใครไม่เลือก 

นายกรณ์ จาติกวณิช กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนากล้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij' ระบุว่า...

ขนทรายช่วยชาวกรุงเทพฯ ก่อนลงร่วมงาน #เจี๊ยะฉ่ายภูเก็ต 

เมื่อเช้าก่อนขึ้นเครื่อง ผมเห็นผู้ว่า #ชัชชาติ ออกประกาศหาอาสาสมัครไปกรอกทรายทำกระสอบกั้นนํ้าท่วม 2.5 ล้านกระสอบ ผมก็เลยไลน์ชวนเพื่อนที่ #ชาติพัฒนากล้า (ยังเรียกไม่คล่องปากนัก 😅) บอกใครว่างมาช่วยกัน

เราเอาพลั่วติดไม้ติดมือไป แต่จริงๆ กทม. มีเตรียมไว้ให้ ถุงมือเอาไปเอง รองเท้าบูทปกติเอาไว้ยํ่านา #ข้าวอิ่ม ที่สารคาม และคู่เดิมนี้ใส่ตักทรายครั้งล่าสุดก็ช่วงนํ้าท่วมใหญ่ปี ‘54 

เจ้าหน้าที่ฝากบอกว่า ใครว่างมาช่วยด้วยนะครับ กำลังคนเขาไม่พอจริงๆ คนละไม้คนละมือ 

‘ชัชชาติ’ เร่งหาทางแก้ปัญหาราคา รฟฟ. สายสีเขียว หลังประชาชนโอดหนัก ‘ค่าโดยสารแพง’

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) หรือที่พวกเราเรียกสั้น ๆ ว่า รถไฟฟ้า BTS เป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ และ จ.ปทุมธานี โดยเปิดใช้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ในช่วงแรกได้เปิดให้บริการช่วงสถานีอ่อนนุช - สถานีหมอชิต และช่วงสถานีสะพานตากสิน - สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ 

ต่อมารถไฟฟ้า BTS มีการก่อสร้างส่วนต่อขยายออกไปเพิ่มเติมอีก 5 ระยะ แบ่งเป็น
ระยะที่ 1 จากสถานีสะพานตากสิน - สถานีวงเวียนใหญ่
ระยะที่ 2 จากสถานีวงเวียนใหญ่ - สถานีบางหว้า
ระยะที่ 3 จากสถานีแบริ่ง - สถานีเคหะฯ
ระยะที่ 4 จากสถานีหมอชิต - สถานีคูคต
ระยะที่ 5 จากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

โดยการหาเสียงเลือกตั้งของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กทม. รอบที่ผ่านมา ได้มีการหาเสียงในประเด็นเรื่องรถไฟฟ้า BTS โดยมี Key message คือ ‘ไม่ต่อสัญญา BTS เปิดเผยสัญญา เข้า พ.ร.บ ร่วมทุน ค่าโดยสาร 25-30 บาท’ 

นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังให้คำมั่นว่าจะขอใช้เวลา 1 เดือน ตรวจสอบรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะขอดูสัญญาที่เกี่ยวข้องทุกฉบับแล้วจะให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เบื้องต้นมีเรื่องต้องสะสาง 3 ส่วน ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลโอนให้กทม. กระบวนการรับหนี้ถูกต้องหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ เบื้องต้นเห็นว่ารัฐบาลควรต้องรับผิดชอบเพราะได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าทุกสาย

ซึ่งนโยบายของนายชัชชาติกับรถไฟฟ้า BTS มี 5 ข้อ ได้แก่
1. ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 อย่างแน่นอน และไม่ผ่านกระบวนการตาม พ.ร.บ ร่วมทุน ที่มีกระบวนการเรื่องความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล การขอต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 เป็นเรื่องของ ม.44 ที่เห็นว่ากรรมการพิจารณาไม่กี่คน ประชุมกัน 10 ครั้ง สามารถชี้ชีวิตของคนกทม. 1 รุ่นเลย ถ้ามีคนจบใหม่วันนี้ ต้องทนกับค่าโดยสาร BTS ไปจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี เปลี่ยนอะไรไม่ได้ โดยหากจะทำ ต้องทำตาม พรบ. ร่วมทุน

2. กทม. ต้องเจรจากับเรื่องนี้ เพราะมีส่วนขยาย 2 ที่ ทางรฟม. โยนหนี้มาให้ กทม. ราว 60,000 ล้านบาท และมีค่าอื่น ๆ รวมหนี้เป็น 100,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องหนี้ผมคิดว่า เป็นการใช้เงื่อนไขในการขยายสัมปทานให้ โดยอ้างว่า กทม. ไม่มีเงินจ่ายหนี้ ดังนั้นต้องเจรจาเรื่องหนี้ไปก่อนเลย โดยให้รัฐรับผิดชอบในเรื่องการโยธาไป

3. ปัจจุบันเราให้วิ่งส่วนต่อขยายฟรีมาเกือบ 3 ปี ทำให้หนี้มันยิ่งพอกพูนขึ้นมาก มันเหมือนเป็นหนี้ที่รัดเราให้แน่นขึ้น ดังนั้นต้องรีบคุยเรื่องการเก็บค่าโดยสารส่วนนี้ เพราะสุดท้าย ผู้โดยสารส่วนขยาย 2 มันช่วยไปเติมให้ผู้โดยสารส่วนกลาง ซึ่งเป็นรายได้หลักของ BTS อยู่ จึงต้องอาศัยตรงนี้เป็นตัวต่อรอง และคิดราคาที่เหมาะสม แล้วเก็บค่าโดยสารเพิ่ม เพื่อลดหนี้ให้น้อยลง

4. ต้องเปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถจนถึง 2585 ว่าต้นทุนเป็นเท่าไหร่ โดยหลังปี 2572 เป็นต้นไป กทม. จะคิดค่าโดยสารเท่าไหร่ก็ได้ เพราะถ้ายังไม่ต่อสัญญาสัมปทาน รายได้ทั้งหมดเป็นของ กทม. อยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่า ต้นทุนที่ต้องจ่ายให้ BTS เป็นเท่าไหร่ เนื่องจาก กทม. ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนได้ และยังมีเรื่องที่ไปร้องเรียน ป.ป.ช. อยู่ด้วย

5. ต้องหา ‘รายได้อื่น’ มาประกอบ คือระบบการเดินทาง จะมีรายได้ 2 ส่วน คือรายได้จากค่าโดยสารที่ปัจจุบันอยู่ที่ 44+15 = 59 และตัวใหม่จะอยู่ที่ราคา 65 บาท สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการโฆษณา มีพื้นที่ให้เช่าที่เป็นรายได้ทั้งนั้น และหลังปี 2572 ไปแล้ว รายได้ส่วนนี้ทั้งหมด ควรจะเข้ารัฐด้วย ซึ่งหลังปี 2572 รายได้จากค่าโฆษณา ค่าเช่าที่ต่างๆ ควรจะเข้า กทม. เต็มเม็ดเต็มหน่วย หากดูงบประมาณทางเอกชน รายได้ส่วนนี้อยู่ที่ปีละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งนำมาจุนเจือค่าโดยสารได้

'ดร.นิว' ชี้!! เผด็จการเท่านั้นที่คิดป่วนเอเปก อัด!! ชัชชาติไม่รู้กาลเทศะเอาใจม็อบ 3 นิ้ว

(12 พ.ย. 65) ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ‘เผด็จการเท่านั้นที่คิดป่วน #APEC2022’ โดยมีเนื้อหาดังนี้

การประชุม APEC 2022 นับได้ว่าเป็นอีกเหตุการณ์สำคัญที่ควรต้องวางความขัดแย้งทางการเมืองลงเสียชั่วคราว แล้วควรหันมาร่วมใจกันสามัคคีในฐานะของเจ้าภาพที่ดี เพราะการประชุม APEC 2022 ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของประชาชนคนไทยทุกคน อีกทั้งเป็นโอกาสและผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ

เนื่องด้วยการประชุม APEC 2022 เป็นการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อีกทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการโปรโมตการท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังวิกฤตโควิดได้เป็นอย่างดี การที่ประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จึงเป็นความหวังของประชาชนทุกหมู่เหล่า

แต่คนส่วนน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีพรรคการเมืองบางพรรคคอยหนุนหลังมาโดยตลอด นับตั้งแต่ลงมือกระทำผิดกฎหมายตลอดจนช่วยเหลือประกันตัว กลับมีการวางแผนก่อการชุมนุมสร้างความปั่นป่วน จ้องบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของประเทศชาติและผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ไม่ต่างจากเผด็จการ แถมยังเป็นเผด็จการยิ่งกว่าเผด็จการเสียด้วยซ้ำ

แม้แต่คุณชัชชาติเองก็ทำตัวน่าผิดหวังอย่างมาก เพราะไม่รู้จักกาละเทศะ จะปล่อยให้มีการชุมนุมที่ลานคนเมืองในห้วงของการประชุม แสดงให้เห็นว่าคุณชัชชาติไม่ได้เข้าใจหลักการของประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยที่จ้องแต่จะสร้างความปั่นป่วนมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ

'ประชาชน' โอด!! เรือโดยสารไฟฟ้าคลองผดุงฯ จอดนิ่งมา 3 เดือน วอนผู้ว่าฯ ตรวจสอบ

ประชาชนโอด เรือโดยสารไฟฟ้า คลองผดุงกรุงเกษม จอดนิ่งไม่ได้ให้บริการมานานกว่า 3 เดือนแล้ว จนทำให้ได้รับผลกระทบการสัญจร วอนผู้ว่าฯ กทม. ตรวจสอบเพื่อความสะดวกสบายของประชาชน

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Suttachitt Narutt’ โพสต์ร้องเรียนหลังเรือโดยสารไฟฟ้า คลองผดุงกรุงเกษม จอดนิ่งไม่ได้ให้บริการมานานกว่า 3 เดือนแล้ว จนทำให้ตนได้รับผลกระทบ วอนหน่วยงานลงพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนที่สัญจรโดยเรือไฟฟ้าดังกล่าว

โดยผู้โพสต์ระบุข้อความว่า "เรือโดยสารไฟฟ้าจอดนิ่งสนิทมาประมาณ 3 เดือนแล้ว เมื่อไหร่จะกลับมาวิ่งให้บริการประชาชนอีก ชช. ช่วยที เพื่อเห็นแก่การเดินทางของประชาชน เส้นทางนี้มีประโยชน์ ช่วยให้การเดินทางสะดวก เพื่อมาต่อรถไฟ รถประจำทาง รถไฟใต้ดิน ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงได้เป็นอย่างดี"

สภาเด็กฯ ยื่นหนังสือให้ กทม. ขอมีส่วนร่วมปรับปรุงงบประมาณ พร้อมปรับแนวประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้เด็กรู้ทั่วถึง

สภาเด็กฯ ยื่นหนังสือปฏิรูปเด็กกทม. เผยอยากมีส่วนร่วมปรับปรุงงบประมาณ และปรับโครงสร้างการประชาสัมพันธ์ใหม่

(4 ม.ค. 66) สิบเอกดุษฎี ถิรธนกุล ประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนจากสภาเด็กเยาวชนระดับเขต ได้เข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนสำนักงานเลขานุการผู้ว่า กรุงเทพมหานคร ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในประเด็นเรื่องการนัดหมายหารือ ยื่นข้อเสนอ และแถลงข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร 

ดุษฎี กล่าวว่า วันนี้เรามายื่นหนังสือเพื่อที่จะเข้าพบกับท่านผู้ว่าฯ เพื่อจะมานั่งพูดคุยหารือแล้วยื่นข้อเสนอ รวมถึงนัดแถลงข่าวร่วมกันในวันที่ 11 ม.ค. ที่จะถึงนี้ เราคาดหวังว่าผู้ว่าฯ จะตอบรับกลับมา ซึ่งเราอยากได้รับคําตอบกลับมาว่าข้อเสนอของเราที่รวบรวมมาทั้งปีจะเป็นอย่างไร ซึ่งพวกเราได้สัมผัสจากประสบการณ์ตรง และพวกเราได้มีการพูดคุยกับเพื่อนเด็กและเยาวชนภายในพื้นที่ จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดช่วงหนึ่งปี เช่น โครงการนิวเจนคลับ, โครงการเวิร์กช็อป และก็ในส่วนที่เป็นสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงนำข้อสรุปมารวมกันปรับปรุงข้อเสนอ รวมทั้งได้ศึกษา งานวิจัยของศูนย์นโยบายด้านเด็กและครอบครัว พวกเราก็รวมตัวกันคิดข้อเสนอนี้ออกมา แบ่งออกไปสามหมวดหมู่ นั่นก็คือเรื่องของกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วม ให้เด็กเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สองก็คือเรื่องของการปฏิรูปงบประมาณ และสามก็คือในส่วนของการปฏิรูปอํานาจและบทบาทในการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 10 กว่าข้อ ก็จะปรับปรุงข้อเสนอไปเรื่อย ๆ 

‘อัษฎางค์’ ข้องใจ ‘ชัชชาติ’ ไม่สานต่อผลงานผู้ว่าฯ คนก่อน เพราะนึกถึงผลประโยชน์ปชช. หรือ ผลทางการเมืองกันแน่

(5 ม.ค. 66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ ถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โดยระบุว่า

“ล้ม เลิก”

เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนหรือผลทางการเมืองของตนเองและพวกพ้อง?

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวถึง “การเดินเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle EV) ในคลองผดุงกรุงเกษม เขตพระนคร” ว่า จะมีการพิจารณาว่าจะทำต่อไหม

1. ถ้าทำต่อจะคุ้มค่าไหม
2. หากจะทำต้องดูเรื่องความคุ้มทุนด้วย
3. เนื่องจากเป็นเงินภาษีของพี่น้องประชาชน

มาดูการขนส่งสาธารณะอื่น ๆ

ข้อมูลเท่าที่ผมมีคือ

ขสมก.เริ่มต้นเดินรถเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 โดยตลอดระยะเวลากว่า 43 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง องค์กรนี้ขาดทุนสะสมทุกปี ยกเว้นปี 2535 ปีเดียวเท่านั้นที่มีกำไร 61 ล้านบาท

ในปี 2563 ขสมก. ขาดทุนเฉลี่ยถึงเดือนละ 360 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือ 233 ล้านบาท หรือ 65% เป็นการจ่ายภาระดอกเบี้ย

ในปี 2563 ขสมก.มีหนี้สิน 127,786 ล้านบาท มีผลขาดทุนสะสมกว่า 9,000 ล้านบาท

ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีการประเมินว่า หนี้สิ้นของ ขสมก.จะเพิ่มเป็น 127,786 ล้านบาท

จึงต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมี 4 พี่น้อง ที่ต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ คือ การบินไทย ขสมก., การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.)

ตรวจสอบได้!! เปิดงบดนตรีในสวนยุค 'ชัชชาติ' 52 ครั้ง เกือบ 9 ล้าน จ้าง 'อินฟลูฯ-ซื้อสื่อ' 8 หมื่น

เผยงบจัดงานดนตรีในสวน กทม.ยุคชัชชาติ 52 ครั้ง 8.9 ล้าน จ้างวงดนตรี 4 วง 1 แสน แสงสีเสียง 4 หมื่น เช่าเครื่องปั่นไฟ 2 เครื่อง 3 หมื่น ซื้อสื่อออนไลน์-จ้างอินฟลูเอนเซอร์ 4 ครั้ง 8 หมื่น จ้างผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน 4.5 หมื่น พบโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 

(7 ม.ค.66) จากกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมซึ่งได้หยุดเดินเรือไปก่อนหน้านี้ ในการแถลงข่าวที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า ที่ผ่านมามีผู้โดยสารน้อยมาก แต่ค่าจ้างเดินเรือยังมีอยู่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 2.4 ล้านบาทต่อเดือน มีผู้ใช้บริการเพียง14,000 คนต่อเดือน ค่าบริการต่อคนค่อนข้างสูงมาก ประมาณ 171 บาทต่อคน จะมีการพิจารณาว่าจะทำต่อไหม ถ้าทำต่อจะคุ้มค่าไหม หรือเอาเงินที่จ่ายไปทำอย่างอื่นที่คุ้มค่ากว่านี้ อาจเป็นรูปแบบใหม่ที่กระตุ้นให้คนใช้บริการมากขึ้น เช่น Shuttle Bus หรือทำเรื่องท่องเที่ยว

เรื่องดังกล่าวเรียกเสียงวิจารณ์จากโลกโซเชียลฯ เหราะเห็นว่าการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อนทำไว้ดีอยู่แล้วกลับยกเลิก ขณะเดียวกัน ยังหยิบยกกรณีที่กรุงเทพมหานครเพิ่มงบโครงการสัมมนาพาคนไปเที่ยวในหลายสำนักงานเขต มีถึง 72 โครงการ ใน 26 เขต รวมวงเงินสูงกว่า 111 ล้านบาท ที่มีผู้ร้องเรียนต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก่อนหน้านี้ ภายหลังนายชัชชาติอ้างว่าทำต่อ แต่ต้องประเมินสถานการณ์ เพราะค่าใช้จ่ายต่อหัวแพงมาก จึงต้องประเมินทางเลือกอื่นที่ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลง

ล่าสุดเฟซบุ๊กเพจ ‘ซึ่งต้องพิสูจน์’ โพสต์ข้อความระบุว่า "เปิดเอกสาร งบจัดงานดนตรีในสวน กทม.ยุคชัชชาติ 52 ครั้ง8.9 ล้าน เป็นค่าออกแแบบ จัดทำเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ เช่น ทีวีออนไลน์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์เว็บ อินฟลูเอนเซอร์ ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง 8 หมื่นบาท นอกจากนี้ ยังมีค่าตอบแทนวงดนตรี 100,000 จำนวน 52 ครั้ง5.2 ล้าน ค่าตอบแทนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน ท่านละ 15,000 บาท 3 ท่าน 45,000 บาท ค่าอุปกรณ์ จัดการแสดงไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง 40,000 บาท จำนวน 52 ครั้ง 2 ล้าน" พร้อมแนบ http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER020/GENERAL/DATA0004/00004427.PDF

เมื่อผู้สื่อข่าวพิจารณาเอกสาร พบว่า ระบุชื่อโครงการ ‘ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมดนตรีในสวนกรุงเทพมหานคร’ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองการสังคีต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ 2566 โดยพบว่าค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาจัดกิจกรรมดนตรีในสวนกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน 8,965,000 บาท จำนวน 52 ครั้ง ประกอบด้วย

1. ค่าออกแบบ จัดทำ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ กิจกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ทีวีออนไลน์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ เว็บไซต์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ เป็นต้น ที่ได้รับความนิยม หรือมีผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 500,000 คนจำนวนไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง (20,000 บาท x 4 ครั้ง) รวม 80,000 บาท

2. ค่าตอบแทนวงดนตรี เช่น วงสตริงคอมโบ้ วงแจ๊ซ วงบราสควินเต็ท วงเครื่องสาย วงออร์เคสตรา วงซิมโฟนิกแบนด์วงวนด์อองซอมเบิล วงสตริงอองซอมเบิล หรือวงดนตรีที่เหมาะสม จำนวนไม่น้อยกว่า 4 วงต่อครั้ง จำนวน 52 ครั้ง(100,000 บาท x 52 ครั้ง) รวม 5,200,000 บาท

3. ค่าตอบแทนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน (15,000 บาท x 3 ท่าน) รวม 45,000 บาท

4. ค่าจัดหาระบบแสงพร้อมอุปกรณ์ไฟแอลอีดี ไฟซูเปอร์สแกน ไฟส่องสว่าง โครงสร้างสำหรับติดตั้งไฟ สายเมนไฟเครื่องควบคุมและเครื่องสำรองไฟฉุกเฉินให้เพียงพอกับการใช้งานในสถานที่แสดงและบรรยากาศโดยรอบ จำนวน52 ครั้ง โดยจะต้องติดตั้งและทดสอบให้เสร็จก่อนการจัดแสดงไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง (40,000 บาท x 52 ครั้ง) รวม2,080,000 บาท

5. ค่าจัดหาเครื่องปั่นไฟ ขนาด 100 เควีเอ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง พร้อมน้ำมันให้เพียงพอสำหรับการจัดการแสดง และการซ้อมก่อนการแสดง จำนวน 52 ครั้ง (30,000 บาท x 52 ครั้ง) รวม 1,560,000 บาท

สำหรับหลักการและเหตุผล ระบุว่า นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) 9 มิติ ที่ต้องการให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน มุ่งเน้นให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตที่มีความปลอดภัย เป็นสุข สุขภาพกายใจดี ได้แก่ ปลอดภัยดี เดินทางดี สุขภาพดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี โครงสร้างดี บริหารจัดการดี เรียนดี และเศรษฐกิจดี และโดยเฉพาะด้านสร้างสรรค์ดี มีนโยบายในการเปิดพื้นที่ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร สร้างความสุขให้กับประชาชนได้รับความสุนทรีย์จากการชมการแสดงดนตรี

กองการสังคีต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว พิจารณาเห็นว่าการนำกิจกรรมดนตรีในสวนมาเป็นสื่อสร้างความสุขในวันหยุดของคนเมือง พร้อมเปิดให้ชมฟรี ร่วมสร้างบรรยากาศและเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวซึ่งกิจกรรมดนตรีในสวนเป็นหนึ่งในนโยบาย 214 ข้อด้านสร้างสรรค์ดี คือ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง เป็นส่วนหนึ่งของการบริการสังคมของกรุงเทพมหานคร ที่ประชาชนจะได้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายในสวนอันร่มรื่น ได้ชมดนตรีในบรรยากาศที่อบอุ่นในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยไม่ต้องเดินทางไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัดปลูกฝังให้เด็กมีจิตใจร่าเริงและชื่นชอบในดนตรี เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น

วิบากกรรมกรุงเทพฯ โครงการดีๆ ที่เริ่มถูกลบด้วยเท้า จากคนเคยกล่าว “ถ้าทำไม่ได้ ก็อย่าอาสามาเป็นผู้ว่าฯ”

ไหวมั้ย...ท่านผู้ว่าฯ แต่ชาวประชา ดูท่าจะเริ่มทนไม่ไหว

ในฐานะเป็นคนกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง วาดหวังมาตั้งแต่เด็กว่าอยากให้ กทม. มีป่าใจกลางเมือง รวมถึงสวนสาธารณะหลายแห่งกระจายทั่วพื้นที่ เพื่อให้คน กทม. มีพื้นที่สีเขียวไว้ฟอกปอด และพักผ่อนหย่อนใจแทนการอบแอร์ในห้างสรรพสินค้า

เมื่อรัฐบาลนี้ปรับปรุงพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม แปลงโฉมให้กลายเป็นสวนเบญจกิติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จึงดีใจที่สุดว่าจะได้พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ เพราะนี่ไม่ใช่สมบัติของคน กทม.เท่านั้น หากคือ สมบัติของคนไทยทั้งชาติ

ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนป่าเบญจกิติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งนับว่าสวนป่าเบญจกิติเป็นสวนสาธารณะที่เป็นสวนป่าแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร 

ช่วงแรกกองทัพเข้ามาริเริ่มงาน จากนั้นก็ส่งไม้ต่อให้กรมธนารักษ์ ซึ่งกรมธนารักษ์มอบให้ทางกทม. ดูแล จำได้ว่าตอนที่เปิดสวนเบญจกิติใหม่ ๆ ทุกคนมีความสุขในการได้เข้าไปใช้พื้นที่ แต่ดูเหมือนว่าความสุขนั้นจะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ชื่อ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ได้รับการอวยยศว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลก

จากสวนอันแสนสวยงามที่ใคร ๆ กล่าวขวัญถึง กลายเป็นบึงสยองขวัญภายในไม่ทันถึงปี สภาพสวนและบึงน้ำรกเรื้อ ปราศจากการดูแลเอาใจใส่ น้ำแห้งขอดทุกคูรายรอบ ทั้งหญ้าและบัวแห้งตาย กลายเป็นสีน้ำตาลแห้งกรอบ ทำให้ผู้รักสวนสวยถึงกับหัวใจสลาย ด้วยนึกไม่ถึงว่าสภาพจะเลวร้ายขนาดนี้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากออกมาเรียกร้องให้ผู้ว่าช่วยมาดูแลปรับปรุงด้วย แต่สิ่งที่ได้รับคือท่านผู้ว่าชัชชาติตอบกลับมาว่า ที่นี่ไม่ใช่สนามกอล์ฟ จะได้เขียวสดตลอดปี ดังปรากฏในมติชนออนไลน์  

ประชาชนผู้ทนไม่ไหวถึงแจ้งต่อเพจสวนเบญจกิติ แต่ปรากฏว่าแอดมินผู้ดูแลเพจกลับชี้แจงไปในทำนองเดียวกับท่านผู้ว่าโดยโทษดินฟ้าอากาศ 

กรุงเทพธนาคม เตรียมทดสอบเดินเรือไฟฟ้าคลองผดุงฯ คาด!! พร้อมเปิดให้บริการภายในเดือน มี.ค.66

กรุงเทพ​ธนาคมเตรียมทดสอบเดินเรือไฟฟ้าคลองผดุงกรุงเกษมแบบงดรับผู้โดยสาร 21 ก.พ. ก่อนเปิด​ให้บริการในเดือน มี.ค.นี้ หลังหยุดเดินเรือก่อนหน้านี้ 

(18 ก.พ.66) รายงานข่าวจากบริษัท​ กรุงเทพ​ธนาคม​ จำกัด ผู้บริหาร​จัดการ​สา​ธา​รณูป​โภค​และ​บริการ​สาธารณะ​ของ​กรุงเทพ​มหานคร ระบุว่า ในวันที่ 21 ก.พ. ทางบริษัท​ฯ จะเริ่มดำเนินการนำเรือไฟฟ้าแล่นทดสอบในคลองผดุงกรุงเกษม แบบงดรับผู้โดยสาร ในโครงการพัฒนาระบบการเดินเรือในคลองผดุงกรุงเกษมระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อเตรียมพร้อมเปิด​ให้บริการในเดือน มี.ค. 2566 

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการพัฒนาการเดินทางทางเรือเพื่อการท่องเที่ยวในคลองบางลำพูในอนาคต โดยความคืบหน้าจะประกาศ​แจ้งให้ทราบรายละเอียด​ต่อไป และขออภัยในความไม่สะดวก

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ม.ค.66 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งได้หยุดเดินเรือไปเมื่อเดือน ก.ย. 2565 ว่า ที่ผ่านมามีผู้โดยสารน้อยมาก แต่ค่าจ้างเดินเรือยังมีอยู่ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 2.4 ล้านบาทต่อเดือน มีผู้ใช้บริการเพียง 14,000 คนต่อเดือน ค่าบริการต่อคนค่อนข้างสูงมาก ประมาณ 171 บาทต่อคน จะมีการพิจารณาว่าจะทำต่อไหม ถ้าทำต่อจะคุ้มค่าไหม หรือเอาเงินที่จ่ายไปทำอย่างอื่นที่คุ้มค่ากว่านี้ อาจเป็นรูปแบบใหม่ที่กระตุ้นให้คนใช้บริการมากขึ้น เช่น Shuttle Bus หรือทำเรื่องท่องเที่ยว เรื่องดังกล่าวเรียกเสียงวิจารณ์จากโลกโซเชียลฯ เพราะเห็นว่าการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อนทำไว้ดีอยู่แล้วกลับยกเลิก

ขณะเดียวกัน ยังหยิบยกกรณีที่กรุงเทพมหานครเพิ่มงบโครงการสัมมนาพาคนไปเที่ยวในหลายสำนักงานเขต มีถึง 72 โครงการ ใน 26 เขต รวมวงเงินสูงกว่า 111 ล้านบาท ที่มีผู้ร้องเรียนต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก่อนหน้านี้ ภายหลังนายชัชชาติอ้างว่าจะทำต่อ แต่ต้องประเมินสถานการณ์ เพราะค่าใช้จ่ายต่อหัวแพงมาก จึงต้องประเมินทางเลือกอื่นที่ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลง 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top