Thursday, 25 April 2024
ชวนหลีกภัย

ปชป.น้อมรับข้อเสนอ ‘ชวน’ นั่งหัวหน้าพรรค หวังเรียกคืนศรัทธาจากปมรองหัวหน้าพรรคหื่น

‘สาธิต ปิตุเตชะ’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมรับฟังทุกความเห็นโดยเฉพาะข้อเสนอให้ดัน ‘นายชวน หลีกภัย’ ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเรียกศรัทธาประชาชนกลับมา จากปัญหาที่เกิดขึ้น

มีรายงานจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า ผู้ใหญ่ของพรรคได้ขอสมาชิกยุติการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการทวงถามความรับผิดชอบจากคณะผู้บริหารพรรค เหตุจากนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ถูกแจ้งความดำเนินคดีล่วงละเมิดทางเพศ และขอให้รอผลสอบข้อเท็จจริง จากคณะกรรมการ 2 ชุดที่ตั้งขึ้น ก่อนจะประมวลผลและกำหนดแนวทางร่วมกันต่อไป เพื่อหยุดรอยร้าว ที่จะทำให้แตกแยกกันไปมากกว่านี้

ขณะที่ ทุกข้อเสนอหรือทุกความเห็น ก็ต้องพร้อมน้อมรับไว้ ซึ่งนายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวขอบคุณนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กรณีเสนอให้ผลัดดันนายชวน หลีกภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเรียกศรัทธาประชาชนกลับมา พร้อมย้ำว่า ทั้งหมดอยู่ที่กรรมการบริหารพรรคจะตัดสินใจ

'ชวน หลีกภัย' เข้ารับพระราชทาน ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบที่ 18

จากเฟซบุ๊กเพจ ‘ชวน หลีกภัย Chuan Leekpai’ ของนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการโพสต์รูปภาพและข้อความว่า…

เมื่อ 4 มิถุนายน 2565 นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้ารับพระราชทานปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ในฐานะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถอย่างยิ่งในด้านการเมืองการปกครอง ณ อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นับเป็นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบที่ 18

สำหรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใบแรกจนถึงใบที่ 18 มีดังต่อไปนี้

1. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2528
2. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2530
3. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2536
4. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2537
5. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล พ.ศ. 2541
6. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัย San Marcosสาธารณรัฐเปรู พ.ศ. 2542
7. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2545
8. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า พ.ศ. 2547
9. ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549

แพทย์เผย ‘ลุงชวน’ อาการดีขึ้น แต่ให้นอน รพ.ต่ออีกระยะ

หลังจากเมื่อวาน (28 มิ.ย.65) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอาการมีไข้ หนาวสั่น 

ล่าสุดมีอาการดีขึ้นแล้ว แต่แพทย์ยังให้นอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกสักระยะ จนกว่าไข้จะลด และแข็งแรงขึ้น หลังจากวานนี้ (28มิ.ย.65) นายชวน เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอาการมีไข้ หนาวสั่น โดยได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ผลการตรวจเป็นลบ ไม่พบเชื้อ
 

'ชวน' วอน กกต.แจงให้ชัดอะไรทำได้ -ทำไม่ได้ ช่วง 180 วัน เผย ส.ส.กลัวกันจนถึงขั้นต้องเก็บหรีดงานศพ

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกระเบียบว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงในระยะเวลา 180 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ (24 ก.ย.) ที่ผ่านมาว่า เท่าที่พูดคุยกับส.ส. ก็ระมัดระวังตัวอยู่แล้ว เพราะเงื่อนไขใหม่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดและต้องปฏิบัติ 180 วันก่อนการเลือกตั้ง ต้องระวังไม่ให้ผิดกฎหมาย ซึ่งก็มีการเตือนกันทุกพรรคการเมือง ว่าอย่าทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะเป็นเหยื่อของคู่ต่อสู้นำมาร้องเรียนได้ และเชื่อว่าในพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีการย้ำเตือนเช่นกัน ในขณะที่ กกต.ยังไม่ชัดเจนในบางเรื่อง โดยความเห็นของกกต.ในต่างจังหวัดกับส่วนกลาง อาจจะยังไม่ตรงกัน ดังนั้นเหนือสิ่งอื่นใดขอให้ส.ส.ทุกคนระมัดระวัง และยึดกฎหมายเป็นหลัก หากกฎหมายห้ามก็ต้องปฏิบัติตาม

'ชวน' เชื่อประชุมสภาฯ พุธนี้ ราบรื่นไร้ปัญหาองค์ประชุม ตั้งเป้าเคลียร์เรื่องแจ้งเพื่อทราบ-รายงาน กมธ.ให้เสร็จ

'ชวน' เชื่อประชุมสภาฯ พุธนี้ ราบรื่นไร้ปัญหาองค์ประชุม ตั้งเป้าเคลียร์เรื่องแจ้งเพื่อทราบ-รายงาน กมธ.ให้เสร็จ บ่นอุบ!! เสียดายประชุมสภาฯ พฤหัสบดีที่แล้วปิดเร็วไป

(26 ธ.ค. 65) ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่า การประชุมสภาฯ เป็นพิเศษ วันที่ 28 ธ.ค. เชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือจากสมาชิกและไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม เนื่องจากการนัดหมายการประชุมตามวาระนั้น เป็นผลมาจากการหารือของวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล ทั้งนี้จะมีวาระพิจารณาร่างกฎหมายที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 5 ฉบับ อย่างไรก็ดีตนเชื่อว่าจะสามารถผ่านการพิจารณาได้ เพราะมีการแก้ไขจากวุฒิสภาเพียงเล็กน้อย จะมีก็เพียงแต่ร่างพ.ร.บ.กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ... ที่วุฒิสภาแก้ไขในประเด็นดอกเบี้ยและอัตราค่าปรับที่อาจต้องใช้เวลาพิจารณาว่าสภาฯ จะเห็นด้วยหรือไม่

'ชวน' แฉ!! ยุครัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์' ปัดซ่อมแซมถนนภาคใต้ 'ชัชชาติ' ยังอาย!! ส่วนอธิบดีทางหลวง ไม่กล้าขัดกลัวเด้ง

อึ้ง!!! 'นายหัวชวน' แฉเอง นอกจากไม่ซ่อมถนนภาคใต้แล้ว สมัยรัฐบาลเพื่อไทย ยังขวางอีก 'ชัชชาติ' ยังอาย อธิบดีทางหลวง ไม่กล้าขัดกลัวโดนเด้ง

นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษในเทปก่อนปีใหม่กับรายการตอบโจทย์ ตอน 'การเมืองไทย 2566 มองผ่านเลนส์ ชวน หลีกภัย' เกี่ยวกับฉายาที่ได้รับ และการทำหน้าที่ประธานสภา รวมถึงการวิเคราะห์บริบทการเมืองไทยที่เปลี่ยนไป ในตอนหนึ่งมีการกล่าวถึงปัญหาการดูแลถนนหนทางในภาคใต้ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่า...

"ถ้าเล่าอาจจะไม่เชื่อว่า บางยุคเนี่ย นอกจากไม่ทำให้แล้ว ยังไม่ซ่อมถนนให้ ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปัจจุบันดู สมัยเป็น รมว.คมนาคม ท่านดร.ชัชชาติ เนี่ย พวกผมเนี่ยไปพึ่งท่าน ขอให้ท่านไปช่วยตรวจถนนภาคใต้ให้หน่อย ท่านก็ไปให้ แต่ในที่สุดท่านก็ทำอะไรไม่ได้ ผมเคยถามท่านว่า ท่านครับถนนภาคใต้ว่าไง ท่านพ้นตำแหน่งมาแล้ว ท่านบอกผมเลยว่า อย่าพูดถึงเลยครับ ผมอายครับ"

‘ชวน’ นัดถกวิป 3 ฝ่าย เคาะวันอภิปราย ด้าน 'ชลน่าน' ขอฝ่ายค้านได้เวลากว่า 22 ชม.

'ชวน' นัดถกวิป 3 ฝ่าย เตรียมเคาะวันอภิปรายมาตรา 152 ชี้ กม.รัฐบาลไม่ควรค้างแม้เรื่องเดียว ด้าน 'ชลน่าน' คาด เวทีซักฟอกอาจเป็นช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือน หวังได้เวลามากกว่า 22 ชม.

(4 ม.ค. 66) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการวางกรอบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ว่า วันนี้เวลา 14.00 น. จะหารือกับวิปทั้ง 3 ฝ่าย ประเด็นแรกคือเรื่องญัตติการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยจะเป็นการถามฝ่ายผู้เสนอว่าจะใช้ช่วงเวลาใด ซึ่งเท่าที่คุยกับนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้าน เบื้องต้นอยากได้ช่วงปลายเดือนม.ค. แต่เนื่องจากจะเชิญตัวแทนของรัฐบาลมาด้วย หากทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกัน ก็จะได้กำหนดเวลาแน่นอนส่วนเรื่องอื่นตั้งใจว่าจะพูดเรื่องกฎหมายที่ค้าง เพราะเนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)กัญชา กัญชง พ.ศ. … อาจจะต้องใช้เวลา รวมถึงร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต้องให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถพิจารณากฎหมายฉบับอื่นได้ โดยจะเป็นการหารือว่าหากจะให้มีการประชุมในวันศุกร์ใด วันศุกร์หนึ่งจะพร้อมหรือไม่ เพราะเท่าที่ดูช่วงปลายสมัยก็จะยากหน่อย

นายชวน กล่าวว่า อีกเรื่องเป็นเรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยจะเป็นการหารือว่าเมื่อบรรจุวาระเข้าไปแล้ว แต่ละฝ่ายจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งหากสามารถตกลงกันได้ก็จะทำให้เรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วผ่านไปได้ เพราะตนคิดว่าเป็นผลงานที่แต่ละฝ่ายทำมา บางคณะอาจใช้เวลา 1 ปี หรือบางคณะอาจใช้เวลา 2 ปี จึงไม่ควรที่จะค้างเพราะจะทำให้เสียของ จึงอาจะให้ผ่าน ส่วนกฎหมายหากไม่ทันก็เป็นเรื่องที่แล้วแต่รัฐบาล เพราะกฎหมายที่สำคัญก็เป็นของรัฐบาล

'ชวน' กรีด!! ส.ส.ย้ายพรรค 'เอาเปรียบ-คบไม่ได้' เตือนเพื่อน ส.ส. รู้ทัน 'พรรคเฉพาะกิจ' ไม่ยั่งยืน!!

'ลุงชวน' เชื่อประชาธิปัตย์ภาคใต้ไม่สูญพันธุ์ แฉมีการจ่าย 200 ล้านบาท ดึงตัวคนประชาธิปัตย์ หวังกวาด ส.ส.ยกจังหวัด กรีด ส.ส.ย้ายพรรคหวังเป็นรัฐมนตรี เอาเปรียบ-คบไม่ได้

รายการ 'ชั่วโมงข่าวเสาร์อาทิตย์' ทางไทยพีบีเอส ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายชวนกล่าวยอมรับว่า "เป็นห่วงความนิยมของพรรค โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้บางจุด แต่มั่นใจว่าไม่น่าจะถึงขั้นสูญพันธุ์ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์มีชาวบ้านเป็นฐานเสียงสำคัญ ที่ยังศรัทธาในความซื่อสัตย์สุจริตของพรรคประชาธิปัตย์"

เมื่อถามว่า ยุคนี้ถือเป็นยุคตกต่ำของประชาธิปัตย์ และมีปัญหาที่เกิดจากปัญหาภายในของพรรคมากน้อยแค่ไหน นายชวน ยอมรับว่า "ปัญหาภายในพรรคมีบ้าง เช่น มีบางคนในพรรคอยากให้มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค บางคนมาเจรจาขอให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค ซึ่งได้ปฏิเสธไป เนื่องจากเป็นมติพรรคที่เลือกนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรค ทุกคนในพรรคก็ต้องช่วยกันทำงาน อีกทั้งการเปลี่ยนม้ากลางทางอาจไม่เหมาะสม ดังนั้น ทางเดียวคือหากต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องรอให้ครบวาระและเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่"

ทั้งนี้ นายชวน เชื่อด้วยว่าเหตุผลความไม่พอใจตัวหัวหน้าพรรค ไม่ใช่เหตุผลของการย้ายสังกัดพรรค แต่เหตุผลสำคัญ คือ การกลัวแพ้เลือกตั้ง และการเจรจาทาบทามให้มีการย้ายพรรค

นายหัวออกโรง ‘ชวน’ ลั่น!! หลังยุบสภาจะช่วยหาเสียงเต็มที่ งง ‘จุรินทร์’ เป็นคนเก่ง แต่ไฉนรั้งท้ายโพลตลอด

(8 มี.ค. 66) ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่อดีตสมาชิกพรรค ปชป. ที่ออกไปอยู่พรรคการเมืองอื่นระบุว่า มีการซื้อเสียงกรรมการบริหารพรรค 200 ล้าน ตรงนี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หรือไม่ ว่า กระทบแน่นอน เรื่องที่เป็นด้านลบก็กระทบ แต่ในระบบพรรค ปชป. สมาชิกต้องมีความรู้สึกระลึกถึงบุญคุณพรรค การแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ในพรรคไม่เคยใช้เงิน

ทั้งนี้ ตนยืนยันได้ว่าการเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องจ่ายเงินสักบาท เช่น นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดังนั้นคนในพรรคจะต้องมีความรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่พรรคให้ เช่น การให้เกียรติ

“ผมมาเป็นหัวหน้าพรรคได้ก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร แต่ระบบพรรค ปชป. ที่ยอมรับเสียงข้างมากว่าคนไหนเหมาะสม ผมก็ใช้เวลาพิสูจน์ 22 ปี ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวหน้าพรรคได้ เมื่อชนะเลือกตั้ง ผมก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้จ่ายเงินสักบาท บุญคุณเหล่านี้ ในชีวิตนี้ก็ใช้ไม่หมด การที่มาจากเลือกตั้งโดยไม่ใช้เงิน บุญคุณที่มีกับชาวบ้านในชีวิตนี้ก็ใช้ไม่หมด ผมจึงคิดว่าในช่วงปลายของชีวิตผม จะเดินทางไปเยี่ยมเพื่อขอบคุณคนที่เคยช่วยเหลือผมที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเป็นการตอบแทนผ่านการทำงานอย่างซื่อสัตย์ และสุจริต ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คนในพรรค ปชป. ต้องระลึกว่า คุณได้อะไรไปจากพรรคบ้าง” นายชวน กล่าว

‘ชวน’ ปลื้ม!! สภาอยู่ครบ 4 ปี ผ่าน กม. หลายฉบับ แต่เสียดาย เริ่มทำงาน 500 คน สุดท้ายเหลือ 393 คน

‘ชวน’ แถลงขอบคุณสื่อสภา นำเสนอพฤติกรรมนักการเมือง ชี้มีส่วนช่วยตัดสินใจวันกาบัตร ปลื้มผ่าน กม.หลายฉบับ เสียดายแผ่วปลายช่วงท้าย เหตุองค์ประชุมไม่ครบ เผยเริ่มต้นทำงาน 500 คน สุดท้ายเหลือ 393 คน

(20 มี.ค. 66) ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าวขอบคุณสื่อมวลชนประจำรัฐสภาตลอดการทำงานร่วมกัน 4 ปีที่ผ่านมาว่า วันนี้คาดหมายว่าน่าจะมีประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภา ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้รายงานสถานภาพของสภาผู้แทนราษฎรให้พี่น้องสื่อมวลชนได้ทราบเป็นครั้งสุดท้าย

นายชวนกล่าวว่า ความจริงตัวเลขของผู้แทนราษฎรชุดนี้เริ่มต้น 500 คน แต่เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบทำให้ ส.ส.ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคสิ้นสภาพไป 11 คน, มี ส.ส.ที่ศาลฎีกาสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่เรื่องเสียบบัตรแทนกัน 3 คน, มี ส.ส.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ 4 คนกรณีขอสร้างสนามฟุตซอล, มี ส.ส.พรรคต่าง ๆ ที่ถูกศาลตัดสินให้พ้นสมาชิกภาพโดยไม่มีการเลือกตั้งซ่อมและไม่มีการเลื่อนลำดับทดแทน 4 คน, และมี ส.ส.ลาออกในช่วง 180 วัน ทำให้สมาชิกลดลงไปอีก 84 คน และเสียชีวิตในช่วงเวลานั้นอีก 1 คน ดังนั้น ในวันนี้จึงเหลือ ส.ส.อยู่ 393 คน

นายชวนกล่าวว่า ถ้าเราทบทวนการปฏิบัติหน้าที่ของสภาชุดนี้ก็จะเห็นว่าเป็นชุดพิเศษที่หลังว่างเว้นให้มีการเลือกตั้งมา 5 ปี จึงเป็นเหมือนชุดที่เริ่มใหม่ สมาชิกที่เข้ามาใหม่ 500 คน ตอนเริ่มแรกนั้นจึงเป็นสมาชิกใหม่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง จึงมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในพฤติกรรม ทั้งนี้ สภาชุดนี้ได้เริ่มใช้ที่ในการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นย้ายไปห้องประชุมของ TOT ต่อมาย้ายมาที่ห้องประชุมจันทราของวุฒิสภา และห้องประชุมสุริยันของสภา จึงไม่มีเคยมีสภาชุดไหนที่เปลี่ยนที่ประชุมมากเท่านี้ ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19

“โชคดีว่าสภาขยันทำงานในช่วงต้น ประกอบกับรัฐบาลเสนอกฎหมายในช่วงต้นไม่มากนักจึงไม่มีอะไรค้าง จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 เราก็หยุดการประชุมไป 1 เดือน ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แม้จะมีสมาชิกบางฝ่ายเสนอให้หยุดต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากโรคระบาด แต่เราก็เชื่อว่าถ้าจะรอให้หมดการระบาดคงเป็นไปไม่ได้ เราจึงประชุมต่อเนื่องตลอดมา และชดเชยการประชุมในวันศุกร์” ประธานสภากล่าว

นายชวนกล่าวต่อว่า โดยหลักแล้วพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือเครื่องมือของฝ่ายบริหารที่ต้องใช้ ดังนั้น กฎหมายของรัฐบาลจึงไม่มีฉบับใดค้างอยู่ ทั้งในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา แต่ในช่วงท้ายที่รัฐบาลส่งกฎหมายมาอีกหลายฉบับ แล้วก็ไม่นำองค์ประชุมมาด้วย จนตนต้องทำหนังสือถึงนายกฯ และเจ้ากระทรวงผู้เสนอกฎหมายนั้น แต่สุดท้ายองค์ประชุมก็ยังไม่ครบ

นายชวนกล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจที่สภาอยู่ได้มาจนครบ 4 ปี ซึ่งไม่ได้มีอย่างนี้ทุกครั้งไป ถือว่าฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่จนเกือบครบถ้วน ถ้าไม่มองช่วงปลายที่มีกฎหมายค้างอยู่ เช่น ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง และร่างรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้มีการพิจารณา เพราะองค์ประชุมไม่ครบ เกือบจะพูดได้ว่ากฎหมายของรัฐบาลได้ผ่านไปเกือบทั้งสิ้น ยกเว้นช่วงปลายซึ่งเป็นกฎหมายที่เสนอเข้ามาใหม่และองค์ประชุมไม่ครบ

นายชวนกล่าวว่า ส่วนตนที่ได้นั่งเป็นประธานสภาตลอด 4 ปี ตั้งใจจะคุมสภานี้ให้ถึงที่สุด และคิดว่าสมาชิกใหม่ต้องการคำแนะนำหลายเรื่อง ซึ่งสมาชิกเหล่านี้ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยมีปรากฏการณ์ใหม่ก็คือ  เรื่องการรักษาเวลาการอภิปราย ทำให้ทุกคนที่ได้อภิปราย แต่มีบางเรื่องคือพรรคที่มีเสียงมากอภิปรายไม่กี่คน ส่วนพรรคที่เสียงน้อยกลับอภิปรายมาก ทั้งที่ความจริงควรจะเป็นไปตามสัดส่วนของจำนวน ส.ส.ของพรรคนั้นๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top