Saturday, 20 April 2024
การแพทย์

'เกาหลีใต้' เตรียมกม. สั่ง รพ.ติดกล้องในห้องผ่าตัด หลังแพทย์ให้ผู้ช่วยผ่าตัดต่อจนผู้ป่วยเสียชีวิต

วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า รัฐสภาเกาหลีใต้ได้บรรลุการแก้ไขกฎหมายด้านการแพทย์ หลังจากที่มีการเสนอเพื่อทบทวนกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยในกฎหมายความปลอดภัยด้านการแพทย์ฉบับล่าสุดนี้

กำหนดให้ห้องผ่าตัดทุกห้องที่ดูแลผู้ป่วยภายใต้การดมยาสลบ หรือห้องผ่าตัดที่มีการดำเนินการให้ผู้ป่วยหมดสตินั้น จะต้องมีการติดกล้องวงจรปิดภายในห้องผ่าตัด เพื่อบันทึกภาพการทำงานของแพทย์และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องหลังเกิดกรณี ผู้ป่วยเสียชีวิตหลังเข้าผ่าตัดหลายรายเนื่องจากแพทย์ปล่อยให้บุคลากรที่ไม่เชี่ยวชาญ ดูแลเคสผ่าตัดคนไข้ต่อ

กฎหมายดังกล่าวหากประธานาธิบดีลงนามและมีผลบังคับใช้ เกาหลีใต้จะถือเป็นชาติแรกๆของโลกที่มีการบังคับให้โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่มีการวางยาสลบเพื่อผ่าตัด ต้องติดกล้องวงจรปิดภายในห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแพทย์ส่งต่อให้ผู้ช่วยซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญ ดูแลคนไข้ผ่าตัดต่อ

อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวได้รับเสียงวิจารณ์จากบรรดาบุคลากรทางการแพทย์ในเกาหลีใต้ ตลอดจนสมาคมศัลยแพทย์อเมริกัน (American College of Surgeons) ที่เตือนว่า การบังคับติดกล้องวงจรปิดสอดส่องการทำงานของแพทย์เพื่อป้องกันกรณีดังกล่าวนั้น อาจบ่อนทำลายความไว้วางใจในแพทย์ ส่งผลเสียต่อขวัญกำลังใจ ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และทำให้แพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะช่วยชีวิต

โดยสมาคมศัลยแพทย์แห่งเกาหลีใต้ซึ่งไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว เตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลให้สั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายนี้ออกไปก่อน

ทว่า ฝ่ายผู้สนับสนุนกฎหมายกล่าวมองว่า กฎหมายนี้จะช่วยปกป้องผู้ป่วย สร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อแพทย์ และมอบหลักฐานเพื่อใช้ในศาลแก่เหยื่อจากการทุจริตต่อหน้าที่ทางการแพทย์

เกาหลีใต้ถือเป็นชาติที่มีชื่อเสียงด้านการรักษาพยาบาลระดับโลก โดยเฉพาะวงการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความงาม ทว่าช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาความน่าเชื่อถือในโรงพยาบาลต้องสั่นคลอน หลังเกิดข้อร้องเรียนมากมายเกี่ยวกับแพทย์ที่ไร้ความรับผิดชอบปล่อยให้ผู้ช่วยที่ไม่มีความเชี่ยวชาญจัดการผู้ป่วยซึ่งกำลังหมดสติจากยาสลบอย่างไม่เหมาะสม

พบ 'วัคซีนฝีดาษ' อายุ 40 ปี 1 หมื่นขวด กรมวิทย์ฯ เร่งตรวจประสิทธิภาพ-การปนเปื้อน

กรมวิทย์เผยวัคซีนฝีดาษอายุ 40 ปี มี 1 หมื่นไวอัล แบ่งฉีดได้ 5 แสนโดส ทดสอบประสิทธิภาพ 1 ไวอัลยังออกฤทธิ์แรง แต่ยังต้องทดสอบ 1 โดสยังประสิทธิภาพดีหรือไม่ พร้อมตรวจการปนเปื้อน ย้ำเป็นเทคโนโลยีเก่ามีรายงานผลข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่น้อยมาก

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบวัคซีนฝีดาษที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เก็บแช่แข็งรักษาไว้ หลังยุติการปลูกฝี เพราะกวาดล้างโรคจนหมดไปในปี 2523 ว่า ขณะนั้นไทยผลิตได้เองเหลือเก็บไว้จนถึงตอนนี้กว่า 40 ปี เป็นวัคซีนลักษณะผง (Dry freeze) มี 10,000 ขวด (ไวอัล) ในจำนวน 13 ล็อต ใน 1 ไวอัลฉีดได้ 50 โดส เมื่อคำนวณจะเท่ากับมีประมาณ 5 แสนโดส เบื้องต้นกรมวิทย์ฯ นำมาทดสอบประสิทธิภาพผลปรากฎสามารถฟื้นตัวได้ดี และออกฤทธิ์ได้แรงดี

"วัคซีนฝีดาษชนิดผงนี้ทำมาจากฝีดาษวัว ซึ่งเป็นเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนแรง เป็นวัคซีนรุ่นแรก รูปแบบการนำมาใช้จะสะกิดให้ผิวหนังเป็นแผลและนำผงวัคซีนแตะแปะไว้ ก็จะเกิดเป็นฝีแล้วกลายเป็นสะเก็ดแห้ง จากนั้นก็จะไปสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในขณะที่วัคซีนฝีดาษปัจจุบันเป็นรุ่นที่สามที่ใช้ฉีดเข้าผิวหนัง" นพ.ศุภกิจกล่าว

'บิ๊กป้อม' ปลื้ม!! 'คิวบา' หนุนเด็กไทยเรียนแพทย์ 1,000 โควตา เพาะต้นกล้าใหม่ เติม สธ.ไทย ในวาระฉลองมิตร 65 ปี

(8 ก.พ. 66) เวลา 10.35 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ นายเอกเตอร์ กอนเด อัลเมย์ดา เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคิวบา เข้าเยี่ยมคำนับ โดยทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความสัมพันธ์ และความก้าวหน้าของความร่วมมือทั้งสองประเทศด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณสุขและการวิจัยทางการแพทย์, กีฬา, วิชาการ โดยเฉพาะเฉพาะมิติด้านสาธารณสุข และเห็นพ้องร่วมกันที่จะสานต่อและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิด และครอบคลุมหลายมิติมากขึ้น

พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต่อเนื่องที่ผ่านมา ส่งผลให้เด็กและเยาวชน ขาดโอกาสทางด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแก้ปัญหาดังกล่าวต่อเนื่องมา และยินดีอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลคิวบาโดย สถาบัน อิก-ร่า เข้ามาร่วมพิจารณาสนับสนุนทุนการศึกษาด้านการแพทย์แก่นักเรียนไทยที่เรียนดีทั่วประเทศ จำนวน 3,000 ทุน โดยเร่งนำร่องกับเด็กเรียนดีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 5 จังหวัด รวม 1,000 ทุน เพื่อให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลตำบลในพื้นที่

'นักวิจัย' เผย ผลสำรวจพบ 'องคชาต' ของผู้ชายทั่วโลก เพิ่มขึ้นถึง 24% ตลอดช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา

(21 ก.พ. 66) ทีมนักวิจัยทางการแพทย์ด้านระบบทางเดินปัสสาวะ (urology) จากสหรัฐฯ และอิตาลี ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร The World Journal of Men’s Health โดยระบุว่า ขนาดของอวัยวะเพศชายขณะแข็งตัวเต็มที่นั้น ดูเหมือนว่าจะขยายยาวเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้

ขนาดของอวัยวะเพศชายดังข้างต้น เป็นค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสำรวจประชากรบุรุษทั่วโลก 55,761 คน ในการสำรวจหลายครั้งที่จัดทำขึ้นระหว่างปี 1942-2021

ทีมผู้วิจัยบอกว่า ค่าเฉลี่ยดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือในระดับสูง เพราะการตรวจวัดขนาด 'น้องชาย' ในการสำรวจทุกครั้ง ทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้เครื่องมือได้มาตรฐาน โดยไม่นำเอาข้อมูลจากการวัดขนาดด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่างมาพิจารณาร่วมด้วย

ผลการสำรวจพบว่า ความยาวของอวัยวะเพศชายขณะแข็งตัวเต็มที่ ในหลายภูมิภาคของโลกและในทุกกลุ่มอายุ เพิ่มขึ้นถึง 24% ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญอย่างสูง โดยความยาวของอวัยวะเพศชายขณะแข็งตัวเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยเดิมที่ 12.3 เซนติเมตร (4.8 นิ้ว) ไปเป็น 15.2 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ในปัจจุบัน

มองชีวิตเป็นที่ตั้ง เปิดทาง 'หลากศาสตร์' สู่กระบวนการทางการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยสิ้นหวังด้วยหลักเมตตาธรรม

ทุกวันนี้สังคมไทยยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวทางการแพทย์อยู่อีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของกระบวนการรักษาที่มีความสลับซับซ้อน แต่สิ่งซึ่งผู้เขียนอยากนำมาเสนอในบทความนี้คือ ความปรารถนาให้ผู้คนได้รู้และเข้าใจเรื่องราวของการเข้าถึงกระบวนการการรักษาด้วยหลักเมตตาธรรมทางการแพทย์  รวมทั้งไม่เพิกเฉยละเลยในศาสตร์ต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและรักษาชีวิตมนุษย์ทุกผู้ทุกคนบนโลกใบนี้

ในการรักษาตามศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันนั้น กระบวนการในการรักษาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทางการแพทย์โดยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดขึ้นมา ครอบคลุมตั้งแต่ บุคลากร วิธีการปฏิบัติ ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ ฯลฯ ดังนั้นกระบวนการรักษาโดยรวมจึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา แต่ก่อนถึงการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีกระบวนการที่เรียกว่า “การวิจัยทางคลินิก” (Clinical Trial) อันเป็นหนึ่งในกระบวนการทดสอบใน “มนุษย์” ว่า ยา วัคซีน วิธีการรักษา วิตามิน อาหารเสริม หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นั้น สามารถรักษาโรคได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และปลอดภัยเพียงพอสำหรับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้และจำหน่ายแล้วหรือยัง 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิทยาการทางการแพทย์ในยุคปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้มียาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล แต่ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าวเหล่านี้ได้ผ่านการทดลองในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับมนุษย์ในแต่ละสิ่งอย่างนับร้อย ๆ ชีวิต เป็นร้อย ๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็น หนู สุกร กระต่าย หรือ ลิง ซึ่งผ่านการทดลองอย่างปลอดภัยจนมั่นใจว่า สามารถนำไปใช้ในมนุษย์ได้แล้ว แต่อาจจะใช้ในการรักษาโรคผู้ป่วยที่หมดหนทางในการรักษาตามมาตรฐานสากลเท่าที่มีอยู่ และได้ใช้วิธีการรักษาที่มีอยู่จนหมดแล้ว 

โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้ป่วยสิ้นหวัง” (Desperate patient) อันได้แก่ ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคทางกายและ/หรือทางใจ โดยไม่มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์ทรมาน และไม่สามารถใช้เวลาที่เหลือในชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้ ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ ดังกล่าวอาจสามารถใช้รักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ และเป็นหลักการที่ยอมรับของวงการแพทย์ทั่วโลก ตามที่เรียกกันว่า Compassionate treatment หรือการรักษาด้วยหลักเมตตาธรรม ตามปฏิญญาเฮลซิงกิของแพทยสมาคมโลก ค.ศ. 2013 (WMA Declaration of Helsinki 2013)

การรักษาด้วยหลักเมตตาธรรมจึงเป็นหลักการทางการแพทย์ที่ถือว่า มีความเป็นสากล เพราะการใช้ยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ อาทิ ยาชนิดใหม่เพื่อการวิจัย หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกการทดลองทางคลินิก โดยผู้ป่วยที่มีสภาวะร้ายแรงหรือมีภาวะถูกคุกคามชีวิต ซึ่งไม่ตรงตามเกณฑ์การลงทะเบียนสำหรับการทดลองทางคลินิกที่กำลังดำเนินอยู่

ในสหรัฐอเมริกา การรักษาด้วยหลักเมตตาธรรมเริ่มต้นจากการจัดหายาสำหรับผู้ป่วยบางรายในช่วงปลายทศวรรษ 1970 โดยโครงการที่เป็นทางการเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เพื่อตอบสนองต่อผู้ป่วย HIV/AIDS ที่ร้องขอการเข้าถึงยาที่กำลังพัฒนา และทำให้เกิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญคือ Right-to-try laws (กฎหมายว่าด้วยสิทธิในการทดลอง) กลายเป็นกฎหมายของมลรัฐในสหรัฐอเมริกากว่าสี่สิบมลรัฐแล้ว 

แล้วที่สุดกลายเป็นกฎหมายของรัฐบาลกลางที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถเข้าถึงการรักษาเชิงทดลอง (ยา สารชีวภาพ อุปกรณ์) ที่ได้ผ่านการทดสอบระยะที่ ๑ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) เมื่อ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ก่อนที่จะมีกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการทดลองใช้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) เพื่อใช้ยาทดลอง ในปี ค.ศ. 2018 มี ๔๑ มลรัฐของสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการทดลอง กฎหมายว่าด้วยสิทธิในการทดลองใช้ของรัฐบาลกลางผ่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 นับตั้งแต่การลงนามในร่างกฎหมาย ผู้ป่วยหลายพันคนสามารถใช้วิธีการรักษาแบบทดลองตามกฎหมายนี้ได้ จากข้อมูลของ Scott Gottlieb ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของ FDA ในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ องค์การอาหารและยา (FDA) ได้อนุมัติคำขอของผู้ป่วยถึง 99% ในการเข้าถึงยาทดลอง ทั้งทางโทรศัพท์ทันทีหรือภายในไม่กี่วันก่อนที่จะมีการลงทะเบียนตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของความสำเร็จในการรักษาด้วยหลักเมตตาธรรมคือ กรณีของ Martin A. Couney ผู้คิดค้นตู้อบทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนด (Neonatal incubators) เมื่อย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษ 1900 นักสุพันธุศาสตร์ (นักวิชาการซึ่งทำการประมวลความเชื่อและวิธีปฏิบัติว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพทางพันธุกรรมของประชากรมนุษย์) หลายคนได้เผยแพร่ความเชื่อที่ว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดควรถูกกำหนดให้ตาย และไม่คุ้มค่าที่จะทำการรักษา

แต่ Martin Couney ท้าทายแนวคิดนั้นด้วยนิทรรศการของเขา ซึ่งเขาสร้างขึ้นหลังจากที่เขาดัดแปลงตู้ฟักไก่ให้เป็น “โรงเพาะฟักเด็ก” ในงาน Chicago world fair โดย Martin Couney ผู้ซึ่งไม่เคยได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ใด ๆ เลย แต่เขาได้ช่วยชีวิตทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่า ๗,๐๐๐ คนตลอดช่วงชีวิตของเขา โดยจัดแสดงไว้ในตู้อบทารกในนิทรรศการของเขาที่ Coney Island

'ศุภชัย' ถาม 'ชูวิทย์' หลากพรรคถ่วง 'กัญชาเสรี' ดันไม่ร้อง แต่ข้อง ภท. ทั้งที่ไม่เคยปล่อยพี้เสรี-ให้มีไว้ใช้ทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 13 มี.ค.66 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาโต้กลับ กรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ได้ออกมาพูดว่ากัญชาเสรี คือการปล่อยให้เยาวชนนำกัญชามาพี้ โดย นายศุภชัย ได้ออกมายืนยันด้วยตัวเองว่า 'ไม่ใช่'

นายศุภชัย ได้เปิดเผยว่า การปลดล็อกกัญชาออกจากรายชื่อบัญชียาเสพติด โดยคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด ซึ่งมีนายกฯ เป็นประธาน เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 และหลังจากนั้น ก็ได้มีการเสนอ พ.ร.บ. กัญชา เข้าสภาฯ ในวันที่ 26 มกราคม 2565 และมีการปลดล็อกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งได้ร่างกฎหมายเข้าสภาไปแล้ว วาระ 1 และเสียงส่วนใหญ่ในสภาได้เห็นชอบกับร่างกฎหมายตัวนี้ ซึ่งพอได้มีการส่งกลับมาวาระ 2 ก็มีพรรคการเมืองที่ดึงเรื่องไม่ให้กฎหมายผ่าน เช่น พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคก้าวไกล, พรรคประชาชาติ

"พรรค ‘ภูมิใจไทย’ ไม่เคยทำกัญชาให้พี้กันได้อย่างเสรี แต่กัญชาที่เสรีคือ ให้เกษตรกรปลูกไว้ใช้ทางการแพทย์ แต่ทั้งนี้ก็มีกฎหมายรองรับเพื่อควบคุมเอาไว้ แต่ดันถูกสภา พรรคการเมืองถ่วงไว้” นายศุภชัย ได้ย้อนถามกลับ นายชูวิทย์ ว่าเช่นนี้ทำไมถึงไม่ไปโจมตี

พร้อมยังยืนยันอีกด้วยว่า “กฎหมายที่ได้เสนอร่างเข้าไป ถือว่าเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมที่สุด ซึ่งในกฎหมายมีกำหนดไว้ว่า เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 หากสูบ จะมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 2 แสนบาท และห้ามสูบในสถานที่สาธารณะ ห้ามค้าขายกัญชาทางออนไลน์ ซึ่งกฎหมายมีบังคับไว้หมด แต่ดันถูกพรรคการเมืองเตะถ่วง”

‘ดร.กมล’ ชี้!! 'ภท.' ขอยกระดับ 'กัญชาศึกษา' เดินหน้าใช้เพื่อ 'การแพทย์-สุขภาพ-เศรษฐกิจ'

ไม่นานมานี้ ดร.กมล รอดคล้าย ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อและคณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย ได้อธิบายเรื่อง กัญชาศึกษา เพื่อใช้เป็นยาอย่างชาญฉลาด ว่า....

“ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาที่มีคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการนำกัญชาไปจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก”

ดร.กมล ยังได้เสริมอีกว่า “นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ของพรรคภูมิใจไทยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และเตรียมจะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต เรามุ่งเน้นไปที่ กัญชาเพื่อการแพทย์ เพื่อการรักษาโรค ซึ่งกัญชามีการใช้มาตั้งแต่โบราณ แล้วยังมีงานวิจัย มีหน่วยงานรับรองว่าถ้าเราใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ เราจะลดการสูญเสียการซื้อยาจากต่างประเทศ โดยใช้กัญชาเป็นสารตั้งต้น ในการแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บของพี่น้องประชาชน”

“ในขณะเดียวกันนั้นกัญชาสามารถใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่นอกจากใช้เพื่อการแพทย์แล้วยังใช้ในการประกอบอาหาร ประกอบเครื่องดื่ม ประกอบกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย”

ดร.กมล ได้ยกนโยบายของพรรคขึ้นมาพูดเสริมอีกว่า “ระบบการจัดการของเราในวันนี้คือพรรคภูมิใจไทย ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ผ่านโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ แต่เรายังมีการขับเคลื่อนผ่านระบบการศึกษาอีกด้วย

“โดยวันนี้พรรคภูมิใจไทยสามารถขับเคลื่อนการเรียนรู้กัญชาเพื่อการแพทย์ไปยังสถานศึกษาของ กศน. ทั่วประเทศใน 77 จังหวัด และอีกประมาณ 800-900 อำเภอ นอกจากในการจัดการเรียนการสอนผ่าน กศน. แล้ว ในสภาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่มีคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการนำกัญชาไปจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญา

‘บิ๊กตู่’ หนุน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ต่อยอด ศก.ดันไทยสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพ

(24 เม.ย. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่งเสริมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นายอนุชา กล่าวว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Center of Excellence for Life Sciences (TCELS) ภายใต้การกำกับดูแลของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ติดอันดับ 1 ใน 10 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ

โดยจะผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง สร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ที่นำองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองและความต้องการ เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงเป็นโอกาสของ SMEs มากกว่า 6,000 ราย โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน 2566

ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงาน TCELS Life Sciences Beyond Aspiration ซึ่ง TCELS ได้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ของไทย มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.4 แสนล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 3-5% แบ่งเป็น การผลิตในประเทศ 30% และนำเข้า 70% ซึ่งมีมูลค่าการตลาดที่สูง  จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะขยายศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) บูรณาการทำงานร่วมกับภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล

ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการจากหลายภาคส่วน เช่น

‘สดช.’ ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ เชื่อมโยงข้อมูลการแพทย์ ยกระดับการรักษาพยาบาลเพื่อ ปชช.

คณะผู้บริหาร สดช. ลงพื้นที่ม.เชียงใหม่ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District)

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 66 นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร พร้อมด้วย นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อํานวยการกองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะผู้บริหาร และข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยโครงการฯ ดังกล่าว เป็นโครงการของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยี 5G ในการส่งเสริมการให้บริการการแพทย์ 5G Smart Ambulance สำหรับบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์ และ Telemedicine สำหรับโรงพยาบาลประจำอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง รวม 20 แห่ง โดยผู้รับทุนกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานดังกล่าวในแผนการดำเนินโครงการ มีแหล่งข้อมูล (Big Data) เพื่อนําไปวิเคราะห์และประมวลผลต่อในด้านการพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสมต่อประชากรในท้องถิ่นระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลุ่มข้อมูลแบบเรียลไทม์

ปัจจุบันโครงการฯ ดังกล่าว มีระบบที่สามารถเชื่อมข้อมูลได้อย่างน้อย 15 โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลอื่น ๆ ในภาคเหนือ ซึ่งการทำงานของระบบแบบ Real Time สามารถพูดคุยเพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ระบบ Telemedicine ได้นำมาใช้เฉพาะเจาะจงในการติดตามรักษาโรคเรื้อรัง เช่น หัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ไตเรื้อรัง เป็นต้น

‘ทีมแพทย์มะกัน’ เจ๋ง!! ผ่าตัดปลูกถ่ายตาทั้งดวงครั้งแรกของโลก ด้านผู้ป่วยฟื้นตัวดี รอลุ้นผลลัพธ์ ปลุกความหวังทางการแพทย์

(10 พ.ย. 66) สำนักข่าวเอเอฟพีและเอพีรายงานว่า ทีมแพทย์จากโรงพยาบาล ‘NYU Langone Health’ ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายดวงตามนุษย์ทั้งดวงเป็นครั้งแรกของโลก ให้กับ ‘นายอารอน เจมส์’ คนไข้วัย 46 ปี โดยการผ่าตัดดังกล่าวถูกยกให้เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีใครตอบได้ว่าเจมส์จะกลับมามองเห็นด้วยตาดวงใหม่ของเขาหรือไม่

เจมส์ ทำงานเป็นช่างสายส่งไฟฟ้าในรัฐอาร์คันซอและถูกกระแสไฟฟ้า 7,200 โวลต์ดูดเมื่อเดือนมิถุนายน 2021 อาการบาดเจ็บที่รุนแรงทำให้เจมส์ต้องสูญเสียดวงตาซ้าย แขนซ้ายตั้งแต่ช่วงศอกลงไป จมูก ริมฝีปาก ฟันหน้า แก้มซ้าย และคาง เขาต้องรอรับการบริจาคดวงตาอยู่นาน 3 เดือนก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้าและดวงตาที่โรงพยาบาล NYU Langone Health เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ในปัจจุบันการปลูกถ่ายกระจกตาเป็นวิธีการรักษาทั่วไป ให้กับคนไข้ที่สูญเสียการมองเห็นบางประเภท แต่การปลูกถ่ายตาทั้งดวงซึ่งประกอบไปด้วยลูกตา หลอดเลือดของดวงตา และเส้นประสาทตาที่ต้องเชื่อมต่อกับสมองของคนไข้ ยังคงถือเป็นเรื่องที่ยากมากในทางการแพทย์ ถึงแม้นักวิจัยจะเคยประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายดวงตาทั้งดวงให้กับสัตว์มาบ้างในอดีต จนทำให้การมองเห็นของสัตว์กลับมาบ้างบางส่วน แต่ยังไม่เคยมีการปลูกถ่ายดวงตาทั้งดวงในมนุษย์มาก่อน

คณะแพทย์ของโรงพยาบาลให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ว่าจนถึงตอนนี้เจมส์กำลังฟื้นตัวดีจากการผ่าตัดและตาดวงใหม่ของเขาที่ได้จากการบริจาคก็ดูปกติดีเช่นกัน และสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมา ถึงแม้เจมส์จะยังไม่สามารถมองเห็นด้วยตาดวงใหม่ของเขาก็ตาม “มันรู้สึกดีนะ ผมยังไม่สามารถขยับตาของผมได้ ผมยังกะพริบตาไม่ได้ แต่ผมเริ่มรู้สึกอะไรบางอย่างที่ตาแล้ว” เจมส์กล่าว

นายเอดูอาร์โด โรดริเกซ หัวหน้าทีมแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำการปลูกถ่ายใบหน้าให้กับคนไข้มาแล้ว 4 ครั้ง กล่าวให้ความรู้สึกว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายตาทั้งดวงเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน ทีมแพทย์สามารถลดระยะเวลาในการผ่าตัดจาก 36 ชั่วโมง เมื่อครั้งแรกที่เขาเริ่มทำการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้าในปี 2012 จนเหลือเพียง 21 ชั่วโมงในการผ่าตัดครั้งนี้

“เราไม่ได้บอกว่าเราจะฟื้นฟูการมองเห็น แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราเข้าใกล้เข้าไปอีกขั้นแล้ว” โรดริเกซ กล่าว พร้อมกับบอกอีกว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายใบหน้าไม่ใช่การทดลองอีกต่อไป และควรถูกมองว่าเป็นขั้นตอนการรักษาทั่วไป สำหรับอาการบาดเจ็บรุนแรงบริเวณใบหน้า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top