Thursday, 25 April 2024
กสทช

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ จับมือ ‘กสทช.’ ดึงผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์ ร่วมมือแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์และหลอกลวงทางออนไลน์!!

วันนี้(15 ก.พ.65) เวลา 15.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(ศปอส.ตร.) หรือ ศูนย์ PCT และนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช., พล.ต.ท.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ฯ, พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.สส.สตม./หน.ชุดปฏิบัติการ PCT ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น AIS DTAC TRUE บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ 3BB

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ กล่าวว่า วันนี้ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการมายัง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาประสานความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ในเรื่องการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์และอาชญากรรมทางออนไลน์ โดยในที่ประชุมมีการหารือความร่วมมือ ดังต่อไปนี้

1. การขอความร่วมมือให้สำนักงาน กสทช.และผู้ให้บริการ แจ้งประชาสัมพันธ์/ส่งข้อความเตือนภัย ให้ความรู้แก่ประชาชน ถึงรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวน 14 รูปแบบ ได้แก่

(1)หลอกขายของออนไลน์ (2) คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ข่มขู่ให้เกิดความกลัว (3) เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยโหด (4)เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) (5)หลอกให้ลงทุนต่างๆ (6)หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ (7) ใช้ภาพปลอมหลอกให้หลงรักแล้วโอนเงิน (Romance scam) หรือ หลอกให้ลงทุน (Hybrid scam) (8)ส่งลิงก์ปลอมเพื่อหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว (9) อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว (10) ปลอม Line , Facebook หรือ Account หลอกยืมเงิน (11) ข่าวปลอม (Fake news) - ชัวร์ก่อนแชร์ (12) หลอกลวงเอาภาพโป้เปลือยเพื่อใช้แบล็คเมล์ (13) โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศแล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย (14) ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

2. การขอความร่วมมือผู้ให้บริการ ผู้รับใบอนุญาต ในการแก้ปัญหาการหลอกลวงประชาชนโดยใช้การปลอมหมายเลขโทรศัพท์ จากการใช้เทคโนโลยี VoIP (Voice over Internet Protocol) นั้น ผู้ให้บริการต่อสาย VoIP ไปยังปลายทาง (Call Termination) ต้องตรวจสอบการโทรที่มาจากต่างประเทศ หากเบอร์ที่โทรมานั้นมีรูปแบบเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์พิเศษ 3 หลัก หรือเบอร์พิเศษ 4 หลักของประเทศไทย ให้ผู้ให้บริการดังกล่าวตัดสายเพื่อไม่ให้ส่งต่อการโทรนั้นไปยังปลายทางในประเทศไทย และกำชับผู้ให้บริการต่อสาย VoIP ไปยังปลายทาง (Call Termination)ดังกล่าว ต้องแสดงเบอร์โครงข่ายของตนเองหรือโครงข่ายที่ตนเองเช่าใช้ ที่โทรศัพท์ที่รับสายปลายทางด้วย หากพบว่ามีการโทรเข้าโดยส่งเบอร์แปลกปลอมที่ไม่ใช่เบอร์ของตนเองเข้ามาให้ตัดสายนั้นทันที ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการปลอมแปลงเบอร์โทรเข้ามา รวมทั้งให้แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่มาจากต่างประเทศ ให้ชัดเจน แตกต่างจากข้อมูลภายในประเทศ เช่น มีเครื่องหมาย + หรือสัญลักษณ์เฉพาะ ที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือของประชาชน เพื่อจะได้ทราบในทันทีจะได้ไม่หลงเชื่อว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ

3. การตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล/ช่องทางการส่งข้อมูล(Traffic) ที่คนร้ายใช้ในการติดต่อ เพื่อสืบสวนหาต้นตอในการจับกุม สืบสวน และปิดกั้นช่องทางการส่งข้อมูล(Traffic) ดังกล่าวต่อไป

ด้านนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล กล่าวว่า ทางสำนักงาน กสทช. ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี และได้มีความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อร่วมกันดำเนินการด้านเทคนิคเพื่อการป้องกันการใช้เทคโนโลยีของมิจฉาชีพไปสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายดังกล่าว และการให้ข้อมูลสนับสนุนการสืบสวน สอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งในเรื่องประเด็นการส่งข้อความสั้นหรือ SMS และการหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์

'ก้าวไกล' ผิดหวัง 'กสทช.' แค่รับทราบควบรวม 'ทรู-ดีแทค' จ่อยื่นป.ป.ช.เอาผิด ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่

(21 ต.ค. 65) ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประชุมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติ 3 ต่อ 2 เสียงรับทราบการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แบบมีเงื่อนไข โดยมีการกำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้น ว่า เป็นไปตามที่คาดเดา แต่ยังคงผิดหวัง เพราะเราคาดหวังไว้ว่า กสทช.จะใช้อำนาจตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งหากสังเกตมติครั้งนี้ไม่ใช่การอนุญาตให้ควบรวมแต่เป็นการรับทราบ มีการโหวต 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการลงมติว่าสรุปแล้วกสทช.มีอำนาจให้ควบรวมหรือไม่ สิ่งที่ลงมติออกมาเป็น 2 ต่อ 2 เสียง ซึ่งก็เป็นประเด็นว่าในการลงมติเรื่องนี้จำเป็นจะต้องได้เสียงข้างมากของคณะกรรมการทั้งหมด คืออย่างน้อยต้องได้ 3 เสียงแต่กรณีนี้เป็นการที่คะแนนเท่ากัน จึงต้องให้ประธานชี้ขาด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่เป็นกรณีพิเศษไม่ใช่ในกรณีนี้ ตามข้อบังคับการประชุมของกสทช.

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า เมื่อมาดูมติเสียงข้างมากบอกว่าตัวเองไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตและใช้วิธีเพียงแค่การรับทราบผลการขอควบรวมธุรกิจ แสดงว่ากสทช.ตีความว่า ทรูและดีแทคไม่ได้อยู่ในธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งค้านสายตาคนทั้งประเทศ และการที่ออกมาตรการหรือเงื่อนไขภายหลังแบบนี้ ตนคิดว่าสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับกฎหมายกำกับดูแลในประเทศนี้ ถ้าต่อไปเอไอเอสต้องการจะควบรวมกับ 3BB เขาจำเป็นต้องขออนุญาตหรือไม่ และในกรณีนี้จะนับว่าเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันอีกหรือไม่ ฉะนั้น ตนคิดว่ามีปัญหาตั้งแต่กระบวนการโหวตและการตีความกฎหมายทั้งคู่ ผลที่ออกมาในส่วนที่เป็นเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะในหลายเรื่องทั้งในเรื่องเชิงโครงสร้างและในเชิงพฤติกรรม ซึ่งหลายคนอาจจะรู้สึกพอใจแล้วว่ามาตรการที่จะช่วยควบคุมราคา แต่ขอบอกว่าไม่มีการตัดสินของการอนุญาตควบรวมใด ๆ ในโลกนี้ที่ให้รัฐเป็นผู้ควบคุมราคา เพราะทราบกันดีว่าในความเป็นจริงทำได้ยากมาก

“ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีที่สุดคือมาตรการในเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นการขายลูกค้าให้กับเจ้าอื่น หรือขายคลื่นหรือคืนคลื่นออกมาในส่วนที่มีถือครองคลื่นเกินจำนวนที่กสทช.กำหนดไว้ หรือการใช้เสาสัญญาณร่วมในราคาที่เป็นธรรม ที่สำคัญที่สุดคือทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ขึ้นเป็นเจ้าที่ 3 ซึ่งในกรณีนี้ต้องมีการกันคลื่นไว้ส่วนหนึ่งเพื่อที่จะนำไปประมูลสัมปทานให้กับรายใหม่ได้ และอาจจำเป็นต้องให้แต้มต่อกับรายใหม่ให้ได้ราคาที่ถูกเป็นพิเศษด้วยซ้ำ เพื่อดึงดูดให้มีรายที่ 3 เข้ามา จึงคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขและมาตรการที่ไม่เพียงพอที่จะกู้คืนสภาพการแข่งขันที่เคยมีอยู่ 3 เจ้าได้เลย จึงเป็นที่มาของการคัดค้านการตัดสินใจของ กสทช. ในครั้งนี้ต่อไป เนื่องจาก กสทช.ไม่ได้ใช้อำนาจของตัวเองอย่างที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

‘พล.อ.ประวิตร’ มอบความสุขแฟนบอลชาวไทย กำชับ กกท. เร่งดำเนินการประสานงาน กสทช. ถ่ายทอดสด ‘ฟุตบอลโลก Qatar 2022’

เมื่อ (27 ต.ค. 65) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม 2 คณะต่อเนื่องกัน คือคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เวลา 09.30 น. เริ่มการประชุม คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบ กกท.สรุปผลการจัดการแข่งขันรถจักรยานยนต์ ชิงแชมป์โลก รายการ ‘โมโต จีพี พ.ศ.2565’ (สนามที่ 17) ระหว่าง 30 ก.ย. - 2 ต.ค. 65 ณ สนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 178,463 คน มีผู้รับชมถ่ายทอดสดทั่วโลกกว่า 800 ล้านคน และสนามที่ 18 ของฤดูกาลหน้า จะจัดแข่งขันในประเทศไทยระหว่าง 27-29 ต.ค. 66 ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่ากีฬา ที่มีศักยภาพเพื่อการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี จากนั้นได้มีการพิจารณาเห็นชอบ 10 แผนงานพัฒนาการกีฬาของไทย ตามนโยบาย กกท. ประจำปี 66-69 ประกอบด้วย 

1) โครงการยกระดับการให้บริการของ กกท. 
2) แผนธุรกิจการกีฬา 
3) แผนการยกระดับการบริหารจัดการองค์กรทั้งระบบ สู่องค์กรสมรรถนะสูง 
4) แผนการพัฒนา ข้อมูลดิจิทัล ฐานข้อมูลประชากรกีฬาของชาติ ด้านการกีฬา 
5) โครงการพัฒนากีฬาสีขาวเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
6) การพัฒนาศักยภาพและยกระดับสวัสดิการบุคลากร กกท. 
7) โครงการพัฒนานักกีฬาหน้าใหม่ 
8) โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา 
9) แผนการดำเนินงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านเวชศาสตร์การกีฬา สู่กีฬาภูมิภาค 
และ 10) แผนงานยกระดับการให้บริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ส่วนภูมิภาค

ทรู ยอมให้ ทีวีดิจิทัลถ่ายบอลโลกแบบคู่ขนานแล้ว ด้าน กกท. วอน ทรู ปลดล็อกดูได้ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

กสทช. เผย ทรู ยอม ทีวีดิจิทัล ถ่ายบอลโลก 2022 แบบคู่ขนาน จำนวน 16 นัด ให้ กกท. จัดสรร ด้าน สมาคมฯก็พอใจกับข้อสรุปนี้ ขณะที่ ผู้ว่า กทท. วอน ทรูปลดล็อกให้ดูได้ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

(22 พ.ย. 65) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากได้มีการพิจารณาตามหนังสือที่ทางสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) ได้ยื่นมาสำหรับที่จะมีการขอให้ทบทวนการจับฉลากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) 2022 อีกครั้งนั้น จึงได้มีการหารือร่วมกับทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

'กสทช.' เรียกเงินคืนจาก 'กกท.' 600 ล้าน ผิดกฎ Must Carry ทำบอลโลกจอดำ

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด กสทช. ได้ประชุม นัดพิเศษ เรื่อง การพิจารณาการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย

โดยที่ประชุมบอร์ด กสทช.จำนวน 6 คน มีมติเอกฉันท์ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. คืนเงิน 600 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) หลังจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ไม่สามารถดำเนินการตามกฎ “มัสต์แครี” จนทำให้เกิดปัญหาโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก หรือ IPTV จอดำ ไม่สามารถรับชมการแข่งขันเวิลด์ คัพ ครั้งนี้ได้

พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกสทช. ระบุว่า จากการประชุมล่าสุดของบอร์ดกสทช. มีมติ 6:0 ให้ส่งหนังสือทางปกครองเรียกเงินคืน 600 ล้านบาท จากทาง กกท. และให้คืนเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี (หากมี)

ก่อนหน้านี้ กสทช. ได้ส่งหนังสือถึง กกท. ขอคืนค่าสนับสนุน 600 ล้านบาท หลังจากระบบบอกรับสมาชิก IPTV จอดำ มีสาระสำคัญดังนี้ ทั้งนี้มีการเปิดเผยว่าในบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กสทช. กับ กกท. เรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดครั้งนี้ ระบุว่า

กสทช. บีบ กกท. ซื้อลิขสิทธิ์ยิงสดซีเกมส์ ชี้ ตามกฎมัสต์แฮฟ คนไทยต้องได้ดูฟรี

กฎมัสต์แฮฟ ส่อแววพ่นพิษอีก! กสทช. บีบ กกท. ต้องซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดซีเกมส์กัมพูชาให้คนไทยได้ดูฟรี

ความเคลื่อนไหวการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2023 ที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม 2566 โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เจรจากับทางกัมพูชา เพื่อให้ได้ข้อสรุปค่าลิขสิทธิ์ดำเนินการถ่ายทอดสดซึ่งตามกระแสข่าวก่อนหน้านี้คือ กัมพูชา เรียกค่าลิขสิทธิ์เป็นเงินสูงถึง 8 แสนเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 28 ล้านบาท ซึ่ง กกท. ได้เคยทำหนังสือปรึกษา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรณีนี้ไว้ก่อนหน้านี้เนื่องจากการชมการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ถูกระบุออยู่ในกฎมัสต์แฮฟ (Must Have) ที่ต้องมีการถ่ายทอดสดรับชมอย่างทั่วถึงเท่าเทียม

‘กสทช.’ ยืนยันไม่ซื้อลิขสิทธิ์ ‘ซีเกมส์ 2023’ ไม่ผิด เล็งแก้กฎ ‘มัสต์แฮฟ’ หลังเป็นมีปัญหาตามมาเพียบ

ความคืบหน้าเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคมนี้ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กำลังเตรียมเจรจากับเจ้าภาพกัมพูชา ให้ลดค่าลิขสิขสิทธิ์ที่ตั้งไว้สูงถึง 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 27.6 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. เรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนยกเลิกกฎ "มัสต์แฮฟ" (Must Have) 

เพราะเห็นว่าเป็นต้นตอปัญหาในการดึงภาคเอกชนร่วมลงทุนในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬา 7 รายการที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชียนเกมส์, เอเชียนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลกนั้น

ล่าสุด นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า กรณีของการพิจารณาประเด็นปัญญาของกฎ "มัสต์แฮฟ" ที่ขัดแย้งกับธุรกิจกีฬาโลกนั้น บอร์ด กสทช. มีความเห็นให้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด โดยมี น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เป็นประธานเพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งคณะกรรมการชุดใหญ่รอฟังข้อสรุปก่อนจะพิจารณาตัดสินใจต่อไป

ด้าน น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องที่ กกท. ระบุว่า กสทช. บีบบังคับให้ กกท. ดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้น น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน เพราะก่อนหน้านี้ กสทช. เชิญ กกท. และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ มาหารือและชี้แจงทำความเข้าใจกฎ ‘มัสต์แฮฟ’ และ ‘มัสต์ แครี่’ 

ซึ่งทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า สำหรับการบังคับใช้ของกฎ ‘มัสต์ แฮฟ’ และ ‘มัสต์ แครี่’ จะเริ่มต้นก็ต่อเมื่อ ลิขสิทธิ์ถูกซื้อมาดำเนินการในประเทศไทย แต่ตราบใดที่ไม่มีการซื้อเข้ามา กฎดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับใช้ หรือสรุปง่ายๆ ว่า ถ้าประเทศไทยไม่ซื้อถือว่า ไม่ได้มีความผิดอะไร แต่ถ้าซื้อมาแล้ว ต้องถ่ายทอดสดให้คนไทยได้รับชมตามช่องทางต่าง ๆ ที่ระบุไว้แบบไม่เสียเงินค่ารับชม อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่าทาง กกท. จะดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของ กกท. ซึ่งแจ้งไว้คร่าว ๆ ว่า กำลังหางบประมาณ และจะขอจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

‘พิธา’ ขอยกเครื่องกฎหมายต่อต้านผูกขาด ปิดช่องโหว่ กสทช. เปลี่ยนจาก ‘รบ.เกรงใจกลุ่มทุน’ เป็น ‘รบ.ที่เกรงใจประชาชน’

‘พิธา’ ชี้ ค่ามือถือ-เน็ตบ้านเสี่ยงแพงขึ้น จากบรรทัดฐานที่เลวร้ายของ กสทช. เผย ‘ก้าวไกล’ เป็นรัฐบาล พร้อมยกเครื่องกฎหมายต่อต้านผูกขาด ปิดช่องโหว่ กสทช. ปฏิเสธอำนาจตัวเอง เปลี่ยน ‘รัฐบาลเกรงใจกลุ่มทุน’ เป็น ‘รัฐบาลเกรงใจประชาชน’

(21 เม.ย.66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แสดงความเห็นกรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เห็นชอบหลักการกรณี AIS เข้าซื้อหุ้น JAS และ 3BB ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ TRUE-DTAC ว่า ในข่าวไม่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดมากนัก ยิ่งทำให้ประชาชนเป็นกังวลว่า ‘หลักการ’ ทิศทางเดียวกับ TRUE-DTAC หมายความว่า กสทช.จะยอมให้ควบรวมแบบไม่ต้องขออนุญาตเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะ กสทช. ได้สร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายว่าการควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม มีช่องโหว่ให้สามารถรวมกันได้ โดยไม่มีหน่วยงานใดในประเทศนี้สามารถยับยั้งได้ และกำลังจะใช้บรรทัดฐานนี้กับการควบรวมครั้งใหม่ของ AIS และ 3BB หรือไม่

นายพิธากล่าวว่า การควบรวมครั้งใหม่นี้จะส่งผลต่อค่าอินเทอร์เน็ตบ้านอย่างไร อธิบายง่ายๆ ก็คือการที่บริษัท AIS ที่ขาหนึ่งทำธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน จะเข้าซื้อบริษัท 3BB ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านอีกราย ทำให้ AIS จะกลายเป็นบริษัทที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ตบ้านเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจนอาจมีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งในระยะยาวจะลดการแข่งขันลงและทำให้ค่าเน็ตบ้านที่ประชาชนต้องจ่ายแพงขึ้น

อธิบายให้ละเอียดกว่านั้น คือในขณะนี้ตลาดของอินเทอร์เน็ตบ้าน มีผู้แข่งขันอยู่ 4 ราย ได้แก่ TRUE ครอบครองส่วนแบ่งตลาด 36%, 3BB ครองส่วนแบ่งตลาด 28%, NT (TOT เดิม) ครองส่วนแบ่งตลาด 20% และ AIS ครองส่วนแบ่งตลาด 13% การที่ AIS จะเข้าซื้อ 3BB จะทำให้ AIS+3BB ครองส่วนแบ่งตลาด 41% มากเป็นอันดับหนึ่ง แทนที่ TRUE ถ้าเรายังจำกันได้ ก่อนที่จะมี AIS Fiber และมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านแค่ 3 ราย ค่าบริการสูงกว่าในปัจจุบัน และคุณภาพการให้บริการก็แย่กว่าในปัจจุบัน

นายพิธากล่าวต่อว่า เราคงต้องจับตากันว่ากรณีนี้ กสทช. จะมีมติออกมาเร็ว ๆ นี้หรือไม่ แต่หลังเลือกตั้งหากพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล จะต้องมีการยกเครื่องกฎหมายต่อต้านการผูกขาดใหม่ทั้งหมด ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อปิดช่องโหว่ที่ กสทช.จะปฏิเสธอำนาจตัวเอง แล้วปล่อยปละละเลยหน้าที่การกำกับดูแลของตัวเอง ให้เกิดการควบรวมที่จะลดการแข่งขัน สร้างภาระค่าครองชีพให้ประชาชนด้วยราคาสินค้าค่าบริการที่แพงขึ้น

กสทช. ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ตามแนวชายแดนแม่สอด

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 66 เวลา 11.00 น. พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช.ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ, พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. รับผิดชอบงานด้านป้องกันและปราบปราม, พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช. สอท., นายสุธีระ พึ่งธรรม ผอ.สำนักกิจการภูมิภาค, นายจาตุรนต์ โชคสวัสดิ์ ผอ.สำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม, นายภาณุพงษ์ ชัยศรีทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กสทช. เขต 31, พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท. และ พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กสทช. และ สอท. ร่วมกันแถลงผลการจับกุมสถานีวิทยุคมนาคมและเสาสัญญาณผิดกฎหมายตามแนวชายแดน อ.แม่สอด จว.ตาก ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีการลักลอบส่งสัญญาณโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอาชญากรรมด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์และเว็บพนันออนไลน์ ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ร่วมมือกับ สำนักงาน กสทช. ในการเดินหน้าปราบปรามสถานีโทรคมนาคมผิดกฎหมาย และจัดระเบียบเสาสัญญาณตลอดแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด, อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อสกัดไม่ให้มีการเผยแพร่สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาได้มีการกวาดล้างจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการย้ายฐานปฎิบัติการเข้าสู่พื้นที่ใหม่ๆ ที่ยังสามารถอาศัยสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตจากฝั่งไทยได้ และปลอดภัยจากการกวาดล้างจับกุม โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนด้าน อ.แม่สอด จว.ตาก ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและบางส่วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนกลุ่มน้อย ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ชุดปฏิบัติการร่วมตำรวจและ กสทช. ได้มีการลงพื้นที่หาข่าวจนนำมาสู่การปฎิบัติการในครั้งนี้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

​กรณีที่ 1 เข้าจับกุมสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และหันทิศทางสายอากาศไปยังประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน ๒ สถานี และในพื้นที่ อ.แม่สาย และ อ.เชียงของ จ.เชียงราย จำนวน 4 สถานี เป็นความผิดฐาน “มีและใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต” ตามมาตรา 6 และ 11 แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ และความผิดฐาน “ประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตแบบที่หนึ่งโดยไม่ได้อนุญาต” ตามมาตรา 67 (1) แห่งพรบ.ว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท พร้อมทั้งจับกุมผู้กระทำผิด จำนวน 3 ราย ในการนี้ ได้ทำการรื้อถอนสถานีวิทยุคมนาคมผิดกฏหมายดังกล่าวทั้งหมด และทำการยึดอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ใช้กระทำความผิดได้เป็นจำนวนมาก นำส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป  

​กรณีที่ 2 พบการตั้งสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหันทิศทางสายอากาศไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน ฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งทำให้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเหตุให้พื้นที่การให้บริการผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเกินกว่าอาณาเขตพื้นที่ประเทศไทย และล่วงล้ำไปยังอาณาเขตประเทศข้างเคียง โดยตรวจสอบพบสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เข้าลักษณะดังกล่าวจำนวนหลายสถานี ในกรณีนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด เร่งแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยให้ถอนการติดตั้งสายอากาศบางจุด หรือ ปรับทิศทางสายอากาศ หรือ ดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด มิให้แพร่สัญญาณคลื่นความถี่ออกนอกเขตพื้นที่ประเทศไทย เพื่อให้พื้นที่การให้บริการ อยู่ภายในอาณาเขตพื้นที่ประเทศไทย ​นอกจากนี้ ตั้งแต่ พ.ค.66 - ปัจจุบัน ได้ตรวจพบการจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลงทะเบียนการใช้งานโดยใช้ชื่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ใช้งานที่แท้จริงเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลอื่น จำนวน 7,668 ซิมการ์ด จับกุมผู้ต้องหา จำนวน 20 คน แบ่งเป็นคนไทย 12 คน และต่างชาติ 8 คน ดำเนินคดีตาม  พรก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

​สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กสทช. ได้มีการบูรณาการความร่วมมือในการเดินหน้าปราบปรามสถานีโทรคมนาคมผิดกฏหมาย ควบคู่ไปกับการจัดระเบียบเสาสัญณาณไม่ให้แพร่สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน กวดขันจับกุมผู้ขายและผู้เป็นธุระจัดหา ซิมผี บัญชีม้า เพื่อตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์และพนันออนไลน์ไม่ให้ทำงานได้สะดวกเหมือนเคย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการผู้รับใบอนุญาตเป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีการหารือในการปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อตีกรอบการใช้เทคโนโลยีให้เป็นไปตามที่ภาครัฐกำหนด สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับพี่น้องประชาชน

​ทั้งนี้ได้ฝากเตือนไปยังพี่น้องประชาชน ให้มีความระมัดระวังการใช้การใช้งานเทคโนโลยี เพราะปัจจุบันแก๊งมิจฉาชีพมีการพัฒนารูปแบบการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลา มีการออกอุบายใหม่ๆ ที่เน้นสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เหยื่อตกใจตื่นตระหนก ตกหลุมพรางของแก๊งมิจฉาชีพ ขอให้ประชาชนตั้งสติ อย่าตกใจ ไม่เชื่อ ไม่โอน ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ยังพบว่า แก๊งมิจฉาชีพได้มีการจ่ายเงินซื้อโฆษณา เพื่อให้ลิงค์หรือเว็บไซด์ปลอมมาแสดงอยู่ในลำดับต้นๆ หรือสามารถเข้าถึงผู้ใช้แพลตฟอร์มเป็นจำนวนมาก มีการปลอมยอดติดตามหรือยอดไลท์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เมื่อประชาชนที่ถูกหลอกลวงออนไลน์ต้องการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ กดเข้าไปในลิงค์หรือเว็บไซต์ปลอม ถูกหลอกซ้ำซ้อนสร้างความเสียหายมากขึ้นไปอีก ดังนั้น หากเกิดข้อสงสัยหรือต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ขอให้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

กสทช.-กตป.จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

กสทช.-กตป.จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ‘Public Hearing’ ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการติดต่อสื่อสารถึงกันจากทุกภาคส่วน โดยกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานฯ ร่วมกับที่ปรึกษา ม.บูรพา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง

วันที่ 12 ต.ค.2566 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชาสโมสร บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น พล.ร.อ.ประสาน สุขเกษตร ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ตาม พรบ. กสทช. และ กตป. ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวเปิดงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing) การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช.ในด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประจำปี 2566 พร้อมด้วย ดร.ณฐาภพ สมคิด หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิต บุคลากรจากสถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้นำชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน 

หลังเปิดงานอย่างเป็นทางการแล้ว ภาคเช้า พล.ร.อ.ประสาน สุขเกษตร ได้บรรยายสรุป บทบาทหน้าที่และภารกิจของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ศ.ดร.สุมาลี วงษ์วิฑิต คณะที่ปรึกษาโครงการและเป็นวิทยากรด้านกฎหมาย ได้บรรยายสรุปแนวทางการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช.ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประจำปี 2566  และนายสัญญา กระจ่างศรี ผู้อำนวยการของสำนักงาน กสทช. ภาค 2 ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายถึงบทบาทหน้าที่และภารกิจของสำนักงาน กสทช. ภาค 2 ภาคบ่ายได้มีการจัดกลุ่มย่อย 6 กลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing) จากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงกัน และก่อประโยชน์สูงสุด

พล.ร.อ.ประสาน สุขเกษตร เปิดเผยว่า “การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย กตป.ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.) และที่ปรึกษา ม.บูรพา จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing) การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช.ในด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประจำปี 2566 ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น”

โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จะได้รับทราบบทบาทหน้าที่ และผลการดำเนินการในปี 2566 ของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. พร้อมทั้งสามารถให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการติดต่อสื่อสารถึงกัน ที่สำคัญ คือ ทาง กตป.และที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยบูรพา จะได้รับทราบปัญหาขัดข้อง และข้อเสนอแนะในการติดต่อสื่อสารของประชาชนในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้แทนจากกลุ่มต่างๆ เพื่อรวบรวมไปวิเคราะห์และรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ มิติหลักในการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในการติดต่อสื่อสารถึงกัน ดำเนินการโดย กสทช. นั้น คือ การดำเนินการหลักเพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม  มีการแข่งขันอย่างเสรี รวมทั้งประชาชนได้สิทธิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ จากการใช้วงโคจรดาวเทียม อันเป็นสมบัติของชาติ รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วน ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในทุกพื้นที่ รวมถึงในท้องถิ่นทุรกันการของประเทศไทยมีสิทธิในการรับบริการด้านการสื่อสารขั้นพื้นฐาน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่รัฐบาลจัดให้อย่างเท่าเทียมกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top