Wednesday, 24 April 2024
กรุงเทพ

อัตลักษณ์กรุงเทพฯ คืออะไร? ภูมิปัญญาแบบไหนที่ควรรักษา !! | Click on Clear THE TOPIC EP.141

📌 ‘อัตลักษณ์กรุงเทพฯ’ แบบไหน ที่ต้องคงไว้และรักษา!! พูดคุยไปกับ ‘คุณรสนา โตสิตระกูล’ ว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค

📌ใน Topic : อัตลักษณ์กรุงเทพฯ คืออะไร? ภูมิปัญญาแบบไหนที่ควรรักษา !!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ ว่าที่ 'ผู้สมัคร สก.’ ! | Click on Clear THE TOPIC EP.177

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘นายมานพ มารุ่งเรือง’ ผู้สมัคร สก. เขตบางบอน และ ‘นายเจริญศักดิ์ มณีรัตนสุบรรณ’ ผู้สมัคร สก. เขตทุ่งครุ! 
📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ ว่าที่ 'ผู้สมัคร สก.’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ ว่าที่ 'ผู้สมัคร สก.’ ! | Click on Clear THE TOPIC EP.180

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘คุณนภาพล จีระกุล’ อดีต และว่าที่ผู้สมัคร สก. บางกอกน้อย !
📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ ว่าที่ 'ผู้สมัคร สก.’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

สุขสันต์วันเกิด​ สะพานพระราม​ 3 (30​ มี.ค.65)​

HBD สะพานพระราม3

พิธีเปิดสะพาน 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 แต่เปิดใช้งานก่อนหน้านั้นหลายเดือน เป็นสะพานที่ขับรถขึ้นทีไรใจหวิวทุกครั้ง ด้วยสะพานค่อนข้างสูงและชัน รถแอดก็เก๋าเก่า แต่ก็อดชำเลืองมองวิวกรุงเทพและแม่น้ำเจ้าพระยา

ยิ่งมอง ยิ่งงาม ยิ่งน่าค้นหา


 

งานสุดหิน!! ฉลองกรุงเทพ​ 200​ ปี เมื่อต้องย้ายตลาดนัดสนามหลวงไปที่​ 'จตุจักร'​ แต่คลี่คลายได้เพราะ​ 'พลเอกเปรมฯ'​

งานหนึ่งที่ยากที่สุดของการเตรียมงานฉลองกรุงเทพ​ 200​ ปี​ เมื่อปี​ พ.ศ.​ 2525 คือ​ การย้ายตลาดนัดสนามหลวงไปที่จตุจักร

มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย!! 

เพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความผูกพันของผู้คนจำนวนมาก

เชื่อมสองเจริญ ‘สะพานกรุงเทพ’ และ ‘สะพานพระราม ๓’ สะพานเชื่อม ‘เจริญกรุง - เจริญนคร’

เจริญกรุง เจริญนคร
ชื่อถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งกรุงเทพและฝั่งธนบุรี

ถนนเจริญกรุงสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
ถนนเจริญนครสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๘

ภาพนี้มองไม่เห็นถนน
แต่มองเห็นตึกรามบ้านช่องบนถนนเจริญกรุง ถนนเจริญนคร 
และแม่น้ำเจ้าพระยา

มองเห็นสะพานกรุงเทพและสะพานพระราม ๓ 
เชื่อมสองเจริญ

และเป็นสะพานที่ขึ้นทีไร
ก็อดใจที่จะหันเหลียวมอง เจริญกรุง เจริญนคร อันตื่นตาตื่นใจ ไม่ได้


ที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid=510465683770428&set=a.242244413925891
 

กาลครั้งหนึ่ง ‘สาทร’ เคยขึ้นกับจังหวัด ‘พระประแดงบุรีศรีนครเขื่อนขันธ์’

กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว...
"สาทร" เคยขึ้นกับจังหวัด “พระประแดงบุรีศรีนครเขื่อนขันธ์"

จากมุมนี้ เห็นได้ว่าบางกระเจ้าที่พระประแดงไม่ไกลจากสาทรสักเท่าไร
มีการโอนสาทรขึ้นกับจังหวัดพระนคร ในปี พ.ศ. 2458

โอนพระโขนง ช่องนนทรี และโพงพางของจังหวัดพระประแดง มาขึ้นกับจังหวัดพระนคร ในปี พ.ศ. 2470


ที่มา : https://www.facebook.com/photo?fbid=529839138499749&set=a.242244413925891

ถนนสายแรกของธนบุรี ‘ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน’ เชื่อมความเจริญ ‘สะพานพุทธ’ สู่ ‘ดาวคะนอง’

ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ถนนสายที่ 1 ของธนบุรี (สะพานพุทธ-ดาวคะนอง)
โครงการเริ่มปี พ.ศ. 2472
รองรับสะพานพุทธข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมพระนครและธนบุรี

ก่อนหน้านั้น ธนบุรีเป็นเมืองน้ำ 100%
มีเพียงถนนคนเดินเล็กๆ
เค้าเล่าว่า สมัยนั้น หมาฝั่งธน ไม่เคยเห็นรถยนต์ ซึ่งน่าจะจริง 
เพราะฝั่งธนยังไม่มีถนนให้รถวิ่งได้เลย

ช่วงสะพานพุทธ-วงเวียนใหญ่ (รถไฟสายแม่กลอง) ใช้ชื่อถนนประชาธิปก

ช่วงวงเวียนใหญ่ (รถไฟสายแม่กลอง) ถึงดาวคะนองสร้างภายหลัง ในปีพ.ศ. 2482 ใช้ชื่อถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2497 

ทศวรรษ 251X - 252X รถติด สะพานพุทธวิกฤติ
เด็กนักเรียนฝั่งธนฯ เดินจากวงเวียนใหญ่ไปโรงเรียนศึกษานารี หรือเดินข้ามสะพานพุทธไปโรงเรียนสวนกุหลาบเร็วกว่าขึ้นรถเมล์

รัฐบาลยุคนั้น มีแผนทำโครงการรถไฟฟ้าลอยฟ้าลาวาลิน สายสะพานพุทธ-ดาวคะนอง แต่โครงการล่มสลาย เหลือแค่ซากสะพานสร้างค้างไว้ ทิ้งร้างกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลา 30 ปี (เพิ่งมีการปรับปรุงเป็น "สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา" เปิดใช้งานปี พ.ศ. 2563)

พ.ศ. 2527 เปิดใช้สะพานพระปกเกล้า

10 สถานีในภาพเดียว! สถานีใต้พิภพ ‘รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้’ ความเจริญจากเมืองกรุงสู่รอบนอก

มารอต้อนรับรถไฟฟ้าสายม่วงใต้
ภาพนี้ แอดถ่ายแล้ว อึ้งครับ

รวม 10 สถานีรถไฟฟ้าสายม่วงใต้ในหนึ่งภาพ

1.) สถานีรัฐสภา
2.) สถานีศรีย่าน
3.) สถานีวชิรพยาบาล 
4.) สถานีหอสมุดแห่งชาติ 
5.) สถานีบางขุนพรหม
6.) สถานีผ่านฟ้า
7.) สถานีสามยอด
8.) สถานีสะพานพุทธ
9.) สถานีวงเวียนใหญ่
10.) สถานีสำเหร่

แต่ท่านมองไม่เห็นหรอกครับ  
เพราะรถไฟฟ้าภายในวงแหวนรัชดาภิเษก 
ทุกสถานีอยู่ใต้ดิน

ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537
เป็นที่มาของรถไฟฟ้าสายม่วงใต้ 
วิ่งใต้ดินตั้งแต่สถานีรัฐสภาจนถึงสถานีสำเหร่
จะลอยฟ้าเมื่อออกพ้นวงแหวนที่แยกมไหศวรรย์  

หรือจุดตัดของถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินและถนนรัชดาภิเษกนั่นเอง
(ส่วนที่เราเห็น BTS ARL และสายสีทองลอยฟ้าในวงแหวนรัชดาได้ เพราะมีการยกเว้น ไว้เล่าให้ฟังกัน)

ภาพนี้ มองเห็นสิ่งก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้าสายม่วงใต้ ตั้งแต่สถานีแรก
สัปปายะสภาสถาน ที่สถานีรัฐสภา The Old Siam Plaza ที่สถานีสามยอด เห็นสะพานพุทธ สี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ รถไฟฟ้า BTS ข้ามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และรพ.สมิติเวชที่สำเหร่ สถานีที่ 10

กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ ! | Click on Clear THE TOPIC EP.183

📌สัมผัสกรุงเทพฯ จากมุม ‘ผู้สมัคร ส.ก.’ ไปกับ! ‘ผู้ใหญ่กั๊ม - เริง ม่วงชุ่ม’ ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางแค!

📌 ใน Topic : กรุงเทพมิติใหม่!! ส่องวิสัยทัศน์ 'ผู้สมัคร สก.’ !

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

🎥 ช่องทางรับชม 
Facebook: https://www.facebook.com/thestatestimes/videos/1922075874660696


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top